วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

สิทธิ กับ ระเบียบวินัย ตอบคำถามกันหน่อย

สิทธิ VS ระเบียบวินัย จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อาจทำให้สังคมมองว่าเด็กสมัยนี้ดูแรง ดูกล้ามากขึ้น แต่การจะถ่ายทอดและบ่มเพาะให้คนรุ่นใหม่เข้าใจกับคำว่า 'สิทธิ' และ 'ระเบียบวินัย' ได้อย่างลึกซึ้งนั้นก็ยังคงต้องเป็นหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่ได้ของผู้ใหญ่ในสังคม สังคมไทยยังไม่เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดของคนรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มที่ เพราะสังคมไทยยังติดอยู่ในกรอบความคิดแบบมายาคติที่มีต่อนักเรียนนักศึกษาว่าต้องเป็นไป ตามกรอบที่สังคมกำหนด คือ เชื่อฟัง และ ไม่ตั้งคำถาม และยังสะท้อนให้เห็นถึงการปะทะกันของแนวคิดระหว่างกระแสโลกานุวัตร กับ ประเพณีดั้งเดิม ที่คนรุ่นใหม่ตั้งคำถามและเรียกร้องวิถีชีวิตที่แตกต่างจากระเบียบประเพณีเดิม สังคมไทยยังต้องการให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ผลิต "พลเมือง" ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าสู่ตลาดในระบบทุนนิยม มากกว่าผลิตบุคคลที่มีความคิดและสามารถตั้งคำถามกับสังคมได้ สังคมไทยมีความเกลียดชังคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากตนเอง และไม่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิดอย่างแท้จริง "จริงๆ แล้วคำว่า 'ระเบียบวินัย' เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในสังคมสมัยใหม่ ถูกนำมาใช้ในการควบคุมวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบ และขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปภายใต้การปกครองอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็พึงมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัยและความเหมาะสม และไม่พึงละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิเสรีภาพในความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในการพูด สิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง และสิทธิที่จะกระทำ หรือ ไม่กระทำ ในสิ่งที่ไม่ไปทำร้ายชีวิตผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องยอมรับ และก้าวข้ามให้พ้นความเกลียดชังที่มีต่อคนที่ความคิดเห็นแตกต่างจากตนเองให้ได้" หากสังคมไทยยังต้องการบุคลากรของประเทศที่มีประสิทธิภาพ ก็ต้องกลับมาดูกันว่าวันนี้เราได้ให้พื้นที่กับคำว่า 'สิทธิ' กับเด็กรุ่นใหม่มากแค่ไหน ได้อบรมและทำความเข้าใจเรื่อง 'ระเบียบวินัย' อย่างลึกซึ้งและจริงใจต่อกันหรือเปล่า "คำว่าระเบียบวินัยในสังคมยังต้องมี แต่ต้องแยกออกจากสิทธิขั้นพื้นฐาน ประเทศนี้ต้องมีระเบียบวินัยไม่งั้นประเทศก็ล่ม เราเพียงแต่มองว่าสิทธิขั้นพื้นฐานก็น่าจะคู่กับระเบียบวินัยไปด้วยกัน"

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

Classic Period รูปแบบเพลง

รูปแบบบทเพลงสมัยคลาสสิค รูปแบบและโครงสร้างของดนตรีที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าในยุคคลาสสิค มักจะเป็นบทเพลงยาวๆ ที่ประกอบด้วยหลายๆท่อนในเพลงเดียวกัน แต่ละท่อนมักจะมีลักษณะที่ตัดกันทั้งจังหวะ ความเร็ว-ช้า และคุณลักษณะอื่นๆ เช่น สีสัน และความดัง ความเบาของท่วงทำนอง โดยทั่วไปแล้วบทเพลงสมัยนี้มักจะมี 4 ท่อนเรียงกันประกอบด้วย 1. ท่อนเร็ว (Fast Movement) 2. ท่อนช้า (Slow Movement) 3. ท่อนที่เป็นเพลงเต้นรำซึ่งสัมพันธ์กับบทเพลง (Dance Movement) 4. ท่อนเร็ว (Fast Movement) ที่จบเป็นการส่งท้ายเพลง เมื่อโครงสร้างเป็นเช่นนี้ก็เลยพูดกันเล่นๆติดปากว่า รูปแบบของบทเพลงยุคคลาสสิค คือ เร็ว-ช้า-เต้นรำ แล้วก็เร็ว (Fast-Slow-Dance-Fast) รูปแบบของเพลงลักษณะนี้พบมากในวงดนตรี Chamber Music โดยเฉพาะอย่างยิ่ง String Quatit แต่บทเพลงประเภท Sonata อาจจะประกอบด้วย 2-3 หรือ 4 ท่อนก็ได้ บทเพลงประเภท Symphony จะแต่งขึ้นสำหรับวง Orchestra Quartet (2 Violins, Viola และ Cello) แต่ประเภท Sonata สำหรับเครื่องดนตรีเพียง 2 ชิ้นเท่านั้น และบทเพลงเหล่านี้จะมีรูปแบบหลากหลายแล้วแต่คีตกวีจะเลือกใช้ เช่น เป็นแบบ A-B-A หรือแบบ Themes Variation บทเพลงแต่ละท่อนมักจะมีลักษณะที่ขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด มีหลายอารมณ์ และเมื่อพูดถึงดนตรียุคคลาสสิค ก็มักจะนึกถึงคีตกวีที่เป็นหลักของยุคนี้ 3 ท่าน คือ Haydn, Mozart และ Beethoven ซึ่งมีบุคลิกแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Beethoven ซึ่งมีผลงานโดดเด่นเป็นพิเศษด้วยสีสันและอารมณ์รุนแรง ขณะที่ Haydn และ Mozart มีลักษณะแบบละครแฝงอยู่ด้วย Mozart เองชอบแต่งเพลงที่สนุกสนาน กุ๊กกิ๊ก มีลูกเล่นมาก ได้อารมณ์สุนทรีและน่ารักๆ ในจำนวนบทเพลงประเภท Sonata และ Theme and Variation นั้น คำว่า “Sonata” มีสิ่งที่จะต้องอธิบายในรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด คำว่า Sonata ซึ่งเป็นประเภทของบทเพลงกับคำว่า Sonata Form นั้นเป็นคนละอย่าง คนละความหมาย Sonata เฉยๆ หมายถึงบทเพลงที่มีหลายท่อนเป็นแบบเร็ว-ช้า-ระบำ-เร็ว แต่คำว่า Sonata Form หมายถึงลักษณะของบทเพลงท่อนใดท่อนหนึ่งเพียงท่อนเดียวซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ 4 ส่วนด้วยกันคือ Exposition เป็นท่อนที่มีทำนองหลัก 2 ทำนอง ทำนองที่หนึ่ง เล่นในบันไดเสียงที่เป็นเสียงหลักของบทเพลงแล้วตามด้วยทำนองสั้นๆ ที่เชื่อมไปสู่ทำนองที่สอง ซึ่งเปลี่ยนไปบรรเลงในบันไดเสียงอื่นและจบด้วยทำนองนี้จึงได้ชื่อส่วนแรกนี้ว่า Exposition Development เป็นการนำเอาทำนองที่ได้เล่นมาแล้วมาพัฒนา คือขยายในรายละเอียด ใส่กลเม็ดเด็ดพรายต่างๆเข้าไป มีการปรับเสียงไปเล่นในบันไดเสียงอื่นๆต่อไป Recapitulation ส่วนที่ 3 กลับมาบรรเลงทำนองหลักในบันไดเสียงเดิมส่วนที่ 1 เหมือนเมื่อเริ่มต้นแล้วเชื่อมด้วยทำนองสั้นๆ ก่อนที่จะบรรเลงทำนองที่ 2 ในบันไดเสียงหลักจบลงด้วยทำนองในบันไดเสียงหลัก Coda ส่วนที่ 4 เป็นท่อนจบหรือลูกหมดบรรเลงในบันไดเสียงหลักที่เป็นรูปแบบของ Sonata Form ซึ่งอาจจะใช้กับท่อนไหนของบทเพลงก็ได้

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ตอนนี้เป็นเวลาของการสอบเข้า ไม่สนใจเรื่องสอบผ่าน ผมจะพาลูกผมไปติว...

วิธีสร้างวินัยในตนเอง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ตัดตอนจาก "วินัยเรื่องที่ใหญ่กว่าที่คิด" คัดลอกจาก http://www.budpage.com/ ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "วินัย" วินัยเป็นการจัดสรรโอกาส วินัยนี้มักจะเข้าใจกันในความหมายเชิงลบ คือไปเข้าใจเป็นเครื่องบังคับควบคุม ซึ่งยังไม่ถูกต้อง เรียกว่าเป็นความหมายสำหรับคนที่ยังไม่ได้พัฒนา ความหมายที่ต้องการของวินัยเป็นความหมายเชิงบวก กล่าวคือวินัยเป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไร ได้คล่องดำเนินชีวิตได้สะดวก ดำเนินกิจการได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาส ในการที่จะดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดี ตลอดจนทำให้การพัฒนาได้ผลดี ทำไมจึงต้องจัดระเบียบ ทำไมจึงต้องมีวินัย ถ้าชีวิตวุ่นวาย การเป็นอยู่ของมนุษย์สับสนหาระเบียบไม่ได้ โอกาสในการดำเนินชีวิตก็จะหายไป เช่นในที่ประชุมนี้ ถ้าเราไม่มีระเบียบเลย โต๊ะเก้าอี้ก็วางเกะกะทั่วไป คนก็เดินกันไปเดินกันมา อาตมภาพพูดนี่ก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง สับสน แม้แต่เมื่ออยู่ในบ้านของเรา ถ้าสิ่งของตั้งวางไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายอยู่ตรงโน้นตรงนี้ แม้แต่จะเดินก็ยาก เดินไปก็เตะโน่น ชนนี่ กว่าจะถึงประตูก็เสียเวลาตั้งหลายนาที แต่พอเราจัดของให้เป็นระเบียบ ตกลงกันว่าตรงนี้เป็นทางเดินก็เว้นไว้เป็นช่องว่างเราเดินพรวดเดียวก็ถึงประตูทำให้สะดวกรวดเร็ว กิจการต่างๆ ต้องมีระเบียบหรือต้องอาศัยวินัยมาจัดสรรโอกาสทั้งนั้น ที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดศัลยแพทย์จะต้องการวินัยมาก จะต้องจัดระเบียบเครื่องมือที่ใช้ตามลำดับการทำงานอย่างเคร่งครัดทีเดียว ต้องตกลงกันไว้ก่อนว่า ขั้นตอนใดจะใช้เครื่องมือไหน และส่งเครื่องมือให้ถูกต้อง คนนี้ยืนตรงนี้ จังหวะนี้ ถึงเวลาไหนส่งเครื่องอันไหนเพราะอยู่ในช่วงของความเป็นความตาย พยาบาลที่จัดเตรียมเครื่องมือ ต้องพร้อมและต้องจัดให้ถูกลำดับทุกอย่างผิดนิดไม่ได้ เพราะงานนั้นต้องเป็นไปตามเวลาที่จำกัด ฉะนั้นในกิจการที่ยิ่งมีความสำคัญ มีความซับซ้อน มีความเป็นความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง วินัยจะยิ่งต้องมีความเคร่งครัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น ในสังคมวงกว้างออกไป ถ้าชีวิตคนไม่ปลอดภัย สังคมไม่มีความเป็นระเบียบ มีโจร มีขโมย มีการทำร้ายกัน เราจะไปไหนเวลาไหน ก็ไม่สะดวก เพราะกลัวว่าถ้าไปเวลานี้ หรือผ่านสถานที่จุดนั้นแล้ว อาจจะถูกทำร้ายได้ เมื่อคนไม่กล้าเดินทาง มีความหวาดระแวง กิจการงานของสังคมและการ โดยนัยนี้ วินัยจึงช่วยจัดทำให้เกิดระบบระเบียบในชีวิตและสังคมขึ้น ทำให้เกิดความคล่องตัว จะทำอะไรต่ออะไรก็ได้ผล ฉะนั้น การจัดวางวินัยจะต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายนี้อยู่เสมอ เช่นต้องตรวจสอบว่า การจัดวางวินัยของเรามีความมุ่งหมายชัดเจนหรือไม่ ที่จะช่วยให้ชีวิตและกิจการงานเป็นไปได้ด้วยดี เกิดมีโอกาส และทำให้มั่นใจว่า เมือเราจัดระบบระเบียบเรียบร้อยดีแล้ว โอกาสในการพัฒนาชีวิตจะเกิดขึ้น ความเป็นอยู่และกิจการต่างๆ จะเป็นไปด้วยความคล่องตัว นำไปสู่จุดหมายดีงามที่ต้องการ ในการพัฒนามนุษย์ระยะยาว ถ้าไม่มีวินัยเป็นฐาน ก็จะทำให้เกิดความขัดข้องวุ่นวายสับสน ฉะนั้น เราจึงจัดวางวินัยเพื่อความมุ่งหมายระยะยาว ในการพัฒนามนุษย์ด้วย และด้วยเหตุนี้ วินัยจึงเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยต้องการโอกาสเหล่านี้ ในการที่จะให้มนุษย์มาสื่อมาแสดงออก เพื่อนำเอาศักยภาพของตัวเองออกมาร่วมในการสร้างสรรค์สังคมอย่างได้ผล สรุปว่า วินัยมีความหมายเชิงบวก คือ เป็นการจัดสรรโอกาสให้ชีวิตและสังคมดำเนินไปโดยสะดวก คล่องตัว ได้ผลมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์ด้วย ความสำคัญของวินัย อยู่ที่การฝึกคนให้มีศีล ศีลนั้นมีความสำคัญมาก เมื่อคนตั้งอยู่ในวินัยอย่างที่เรียกกันว่าเป็นคนมีวินัยแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม ซึ่งมี ๗ ประการด้วยกัน ความมีวินัยหรือศีลนี้เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา หรือแสงเงินแสงทองนั้นอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระอาทิตย์จะอุทัย ย่อมมีแสงเงินแสงทองขึ้นมาก่อน ฉันใด ชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น โดยมีความถึงพร้อมด้วยศีลหรือความมีวินัยนี้เป็นสิ่งบ่งบอกเบื้องแรกด้วย ฉันนั้น ถ้าคนตั้งอยู่ในวินัยมีศีลแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น เท่ากับว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้คำรับรองไว้ว่าศีลหรือความมีวินัยเป็นรุ่งอรุณของการศึกษา เป็นสัญญาณว่ามนุษย์จะมีการพัฒนาและมีชีวิตที่ดีงามต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

Orchestra Classic Period

วงออร์เคสตร้าในยุคคลาสสิค ได้กล่าวถึงเรื่องราวของลักษณะทางดนตรีหรือ Style ของดนตรีในยุคคลาสสิค คือระหว่างปี ค.ศ. 1750-1820 ไปแล้ว ต่อไปนี้จะกล่าวถึงลักษณะของวงดนตรีที่เรียกว่าวงออร์เคสตร้าในยุคนี้บ้าง พอเป็นที่เข้าใจกันได้ วงออร์เคสตร้าในสมัยบาโร้คนั้นมีรูปแบบไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามใจของคีตกวีว่าบทเพลงไหนจะใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้าง แต่พอตกมาถึงยุคคลาสสิค จึงกลายเป็นวงดนตรีที่มีการจัดระบบระเบียบชัดเจนขึ้น คือวงออร์เคสตร้ายุคนี้จะประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 ประเภท ได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มพวกปี่และขลุ่ย กลุ่มพวกแตรต่างๆ และกลุ่มเครื่องเคาะเครื่องตี ซึ่งนิยมกำหนดเครื่องดนตรีไว้ดดยประมาณดังนี้ เครื่องสาย (String) ได้แก่ ไวโอลิน 1 และ 2 วิโอล่า เชลโล และดับเบิ้ลเบสส์ ปี่และขลุ่ย (Wood wind) ได้แก่ ฟลุท 2 โอโม 2 คลาวิเนต 2 และบาสซูน 2 แตร (Brass) ได้แก่ เฟรนซ์ฮอร์น 2 และทรัมเปต 2 (ทรอมโบนใช้ใน opera และเพลงศาสนา) เครื่องตี (Percussion) ใช้กลอง Timpani เป็นหลัก มีข้อสังเกตว่า กลุ่มเครื่องสายนั้นใช้เป็นหลักของวง พวกปี่-ขลุ่ยและแตรใช้เป็นคู่ๆ คือ อย่างละ 2 คัน คลาริเนตนั้นเพิ่มเข้ามาจากที่ไม่เคยใช้มาก่อน ส่วนทรอมโบนจะใช้เฉพาะในอุปรากรและบทเพลงทางศาสนาดังที่ Haydn และ Mozart ใช้ในคีตนิพนธ์ของท่าน อนึ่งจำนวนนักดนตรีในวงก็เพิ่มขึ้นจากยุคบาโร้ค แต่อาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามกาละเทศะ เช่น Haydn ตามปกติจะใช้วงขนาด 25 คน แต่พอไปบรรเลงที่ London ในปี 1795 จะเพิ่มจำนวน เป็น 60 ตน คีตกวีในยุคคลาสสิคนิยมแต่งเพลงแสดงให้เห็นความโดดเด่นของสีสันหรือสุ้มเสียงที่มีลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจึงไม่มีการใช้เครื่องดนตรี 2 ชิ้น เล่นทำนองเดียวกันทั้งท่อนอย่างที่เป็นในยุคบาโร้ค แต่มักจะผลัดกันแสดงความโดดเด่นโดยกำหนดให้เครื่องดนตรีบรรเลงในแนวทำนองที่ต่างกัน และเปลี่ยนบ่อยๆ ทำนองหลักอาจจะเริ่มด้วยวงออร์เคสตร้า จากนั้นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเครื่องสายและตามด้วยปี่-ขลุ่ย เป็นต้น เครื่องดนตรีแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทหน้าที่ของตนโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และเบส ทำหน้าที่หลักโดยเป็นกระดูกสันหลังของวงออร์เคสตร้า โดยใช้ไวโอลิน 1 บรรเลงทำนองสำคัญ เครื่องสายเสียงต่ำบรรเลงแนวประสานเสียเป็นส่วนมาก ปี่-ขลุ่ย จะบรรเลงในแนวทำนองที่ตัดกันกับกลุ่มเครื่องสายและบรรเลงเดี่ยวบางทำนองเป็นครั้งคราว ส่วนออร์แกนและทรัมเป็ตจะสร้างความรู้สึกในพละกำลัง ในช่วงที่ต้องการเสียงดังหนักแน่นเพิ่อจะเพิ่มเติมแนวประสาน แต่ไม่ค่อยใช้บรรเลงทำนองหลัก และกลองทิมปานี่จะตีเฉพาะในช่วงที่เน้นจังหวะจะโคน และแสดงถึงจุดสำคัญของบทเพลง เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ววงออร์เคสตร้าสมัยคลาสสิคแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น ความแปรผันตามความต้องการในการแสดงอารมณ์ สีสัน และความมีลักษณะพิเศษของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ซึ่งคีตกวีสามารถจะเลือกใช้ได้ตามใจ เพื่อให้บทเพลงของตนมีสีสัน ได้อารมณ์และความรู้สึกอย่างที่ผู้แต่งต้องการ

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Classic Period 02

ลักษณะสำคัญของดนตรียุคคลาสสิค 1. ให้อารมณ์ที่ขัดแย้งกันในบทเพลงหนึ่ง หรือในท่อนหนึ่งๆจะมีหลายอารมณ์ มีการเปลี่ยนอารมณ์เพลงอย่างรวดเร็วทันทีทันควัน และบ่อยๆ แสดงงความขัดแย้ง และตรงข้ามกันอย่างชัดเจน แต่ก็อยู่ในกรอบของบทเพลงที่ผู้แต่งจะกำหนดทั้ง Haydn, Mozart และ Beethoven มีความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งทางอารมณ์นี้อย่างมีเหตุผลและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ตลอดทั้งเพลง 2. จังหวะ ใช้จังหวะหลากหลาย ไม่อาจจะเดาล่วงหน้าคาดการณ์ได้เลยว่าต่อไปข้างหน้าจะมีรูปแบบอย่างไร ไม่เหมือนยุคบาโร้คที่พอฟังไปสัก 2-3 ห้องก็จะทราบได้เลยว่าตลอดทั้งเพลงจะมีจังหวะแบบไร แต่ในยุคคลาสสิคนั้นอาจจะหยุดโดยกระทันหัน หรือลักจังหวะและมีการใช้เสียงสั้นๆ ยาวๆ สลักกันไปมาบ่อยๆ รวมทั้งรูปแบบของจังหวะจะโคนด้วย 3. ผิวพรรณ (Texture) ของบทเพลงยุคนี้แตกต่างกับบทเพลงแบบหลายทำนอง (Polyphony) ของ Baroque โดยสิ้นเชิงเพราะเป็นแบบ Homophonic คือมีทำนองเดียวและใช้การประสานเสียงแบบง่ายๆเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็เอาแน่ไม่ได้เพราะบางทีขึ้นต้นทำนองเดียวและมีเสียงประสาน แต่จู่ๆก็อาจจะกลายเป็นหลายทำนอง หรือไม่ก็เป็นทำนองสั้นๆ มาต่อๆ กันก็เอาแน่ไม่ได้ ดังนั้นผิวพรรณของบทเพลงก็ผันแปรไปได้เช่นเดียวกับจังหวะ 4. ทำนองเพลง (Melody) ทำนองของบทเพลงยุคคลาสสิค ฟังคล้ายเพลงร้อง จำง่าย แม้แต่เพลงก็ถือกันว่าชั้นสูงยังนำทำนองมาจากเพลงพื้นบ้าน (Folk) หรือเพลงสมัยนิยม (Popular Music) ได้ ตัวอย่างเช่น บทคีตกวีนิพนธ์บางบทของ Mozart นำมาจากเพลงพื้นบ้านฝรั่งเศสที่ชื่อ Twinkle little star และบ่อยครั้งที่ทำนองแบบนี่ก็ยังเขียนไว้ในลักษณะเดิมของเพลง Pop ด้วยซ้ำไป โครงสร้างของทำนองเพลงมันจะเป็น 2 ส่วน หรือ 2 วลีเท่าๆกัน คือเป็นแบบ A-A ที่เริ่มต้นเหมือนวลีแรก แต่จบต่างกันคล้ายๆเพลงเด็กแบบ Many Had A Little Lamb ซึ่งตรงข้ามกับบาโร้คที่จำยากและสลับซับซ้อน 5. ความดัง-เบา (Dynamic) ในสมัยบาโร้คบทเพลงจะเล่นดังหรือเบาสลับกันเป็นช่วงยาวๆ แต่สมัยคลาสสิคคีตกวีแต่งเพลงให้มีอารมณ์หลากหลายด้วยการบรรเลงแบบค่อยๆ ดังขึ้น หรือค่อยๆ เบาลง บางทีก็ดังกระหึ่มขึ้นมาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ทำให้คนดูต้องทะลึ่งพรวดจากเก้าอี้ด้วยความประหลาดใจก็มี และเพื่อให้ได้อารมณ์ดังกล่าวมี จึงมีการใช้เปียโนเข้ามาแทนออร์แกน ฮาร์ฟซิคอร์ด และคลาวิคอร์ด ซึ่งนิยมใช้กันในยุคบาโร้ค แม้ว่าเปียโนจะมีใช้มาถึงแค่ ค.ศ. 1700 แล้วก็ตามแต่เพิ่งจะมาเป็นที่นิยมก็ในราว ค.ศ. 1770 นี่เอง แล้วก็ได้กลายเป็นเครื่องมือยอดนิยมไปในยุคนี้ 6. การเลิกใช้ Basso Continuo หรือการเล่นแนวทำนองแบบตามใจ (Improvise) ไปตามแนวของเบสที่กำหนดให้ซึ่งเป็นลักษณะของดนตรียุคบาโร้ค แต่ในยุคคลาสสิคนี้คีตกวีไม่ต้องการใช้การ improvise ของนักดนตรีเพราะมีบทเพลงไม่น้อยที่เขียนให้นักดนตรีสมัครเล่น (amateur) ที่ไม่สามารถจะเล่นทำนองขากจินตนาการของตนเองได้ แล้วตัวคีตกวีเองก็ต้องการแต่งบทเพลงที่บังคับให้นักดนตรีเล่นตามที่ตัวเองแต่งมากกว่าการเล่นบบด้น ดังนั้นลักษณะของแนวเบสที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (Basso Contimuo) จึงค่อยๆหมดไป

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Classic Period 1725 - 1820

ยุคคลาสสิค Classic (1725-1820) การดนตรีในยุคคลาสสิค ถ้าเราย้อนไปพิจารณาสังคมในยุคบาโร้คก็จะเห็นได้ว่าความเป็นอัจฉริยะของนักวิทยาศาสตร์อย่างกาลิเลโอและเซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้เปลี่ยนแนวคิดและมุมมองของประชาชนในยุคนั้นไปอย่างสิ้นเชิง เพราะได้พากันหันมามองโลกในแง่ของเหตุผลและความจริงมากขึ้น จนกลายเป็นกลุ่มพลังเงียบที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมในยุคถัดมา ความเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มต้นในราวกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อความเชื่อในกลุ่มอำนาจการปกครองและศรัทธาในศาสนาเสื่อมถอยลงเพราะมีเหตุมาจากการเสนอแนวคิดเชิงปรัชญาของนักปรัชญาคนสำคัญๆ เช่น Voltaire (1694-1778) และ Deris Diderot (1713-1784) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์อย่างสำคัญจนมีการขนานนามยุคนี้ว่า “ยุคแห่งการรู้แจ้ง” (Enlightenment age) ประชาชนในยุคนี้มีศรัทธาในความก้าวหน้าและความมีเหตุผลมากกว่าการปฏิบัติตามระเบียบประเพณีที่เคยชินมาต่าก่อน เริ่มมีการต่อต้านอำนาจของบุคคลชั้นสูงและบรรดาเจ้านครต่างๆ ซึ่งเริ่มจะไม่แน่ใจในพลังอำนาจที่ตนเคยมีอยู่ แนวคิดของกลุ่มแห่งความรู้แจ้งเห็นจริงแสดงให้เห็นหลายประการ เช่น จักรพรรดิ Joseph II แห่ง Austria ที่ทรงสละราชบัลลังก์ในระหว่างปี 1780-1790 และยกเลิกระบบเจ้าขุนมูลนาย ปิดวัดและสำนักชีตลอดจนยกเลิกตำแหน่งขุนนางและบรรดาผู้ลากมากดีต่างๆจนหมดสิ้น โดยเฉพาะผุ้ที่ทำการต่างๆ อย่างผิดกฎหมายดดยใช้อำนาจในทางมิชอบได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านพิธีกรรมทางศาสนาและประกาศิตต่างๆ เช่น การฝังศพแบบง่ายๆ ภายหลังกฎระเบียบนี้มีการปรับปรุงใหม่ทำให้เกิดมีพิธีฝังศพอย่างหรูหราเป็นระเบียบปฏิบัติมาจนปัจจุบันนี้ โดยเริ่มแรกเกิดขึ้นที่กรุงเวียนนาก่อนในปี 17991 แต่ถึงกระนั้นศพของ Mozart มหาคีตกวีแห่งยุค Classic ก็ยังถูกฝังอย่างไร้ศักดิ์ศรีและไร้ร่องรอยอยู่ดี ในปี 1791 เกิดมีการต่อสู้ในสังคมและระหว่างประเทศอย่างขนานใหญ่ ในช่วง 70 ปี คือระหว่างปี 1750-1820 โดยมีสงครามอยู่ 7 ปี ได้แก่ การปฏิวัติในฝรั่งเศส สงครามกลางเมืองในอเมริกาและสงครามนโปเลียนทำให้ศูนย์กลางแห่งอำนาจเปลี่ยนจากบุคคลชั้นสูงและศาสนาจักรลงมาตกอยู่ในมือชนชั้นกลาง โดยนัยยะนี้เองที่ทำให้นโปเลียน โบนาปาร์ค กลายมาเป็นจักรพรรดิ์แห่งประเทศฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยความฉลาดสามารถด้วยตัวของเขาเอง แต่เป็นเพราะการเกิดมาในชาติตระกูลผู้ครองนครและวิธีการสืบสันตตวงศ์ ในยุคนี้มีคำขวัญต่างๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น คำว่า “อิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (Liberty, quality และ Fraternity) คำขวัญเหล่านี้ต้ดปากและติดใจผู้คนอยู่เสมอ ความคิด ความเชื่อต่างๆ มีการตรวจสอบและนำมาคิดใหม่มากมาย รวมทั้งในเรื่องที่ว่า “พระเจ้ามีอยู่จริงหรือ” ด้วย ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบของศิลปะ จากรูปแบบที่แข็งแกร่ง หนักแน่น มั่นคงตามแบบฉบับของสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมแบบบาโร้คมาเป็นความอ่อนโยนและละมุนละมัยแบบ Rococo ที่ใช้สีอ่อน เส้นคดโค้ง และการประดับตกแต่งรายละเอียดอย่างสวยงาม โดยมีศิลปินคนสำคัญในสาขาต่างๆเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ในตอนปลายศตวรรษก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอีกโดยที่มีความเห็นกันว่าศิลปแบบ Rococo นั้นถึงแม้จะสวยงามอ่อนช้อยแต่ก็ย่อหย่อนในทางคุณธรรม จึงกลายมาเป็นศิลปะแบบ Neoclassic ที่เป็นความมีสติปัญญา ความสงบ เรียบง่าย และสมถะ แบบกรีกและโรมันโบราณ โดยแสดงออกถึงเส้นอันหนักแน่น โครงสร้างที่ชัดเจนและเนื้อหาที่แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมมากยิ่งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของดนตรีจากแบบบาโร้คมาแบบคลาสสิค หาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสิ้นสุดยุคบาโร้ค ซึ่งกำหนดโดยความตายของ J.S. Bach ก็หาไม่ แต่ที่จริงแล้วดนตรีได้เริ่มมีเค้าการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยที่ทั้งบาคและแฮนเดลยังมีชีวิตอยู่ด้วยซ้ำไป โดยมีลักษณะดนตรีที่เรียกว่า Preclassic ในระหว่างปี ค.ศ. 1730-1770 ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้คู่ขนานไปกับแนวคิดและความเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรมและเป็นไปในระยะเดียวกันกับที่ทั้งบาคและแฮนเดลกำลังสร้างสรรค์งานชิ้นเอกของตนนั่นเอง บุคคลสำคัญที่บุกเบิกงานดนตรีในลักษณะใหม่ๆ แบบนี้ ก็ไม่ใช่อื่นไกลเลย ที่แท้ก็คือบุคคลในตระกูล Bach นั่นเอง ได้แก่ Carl Phillip Euranuel Bach (1714-1788) และ Johann Christian Bach (1735-1782) ในราวกลางศตวรรษที่ 18 คีตกวีให้ความสำคัญในการสร้างดนตรีแบบเรียบง่ายและชัดเจน โดยยกเลิกลักษณะที่มีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากตามแบบบาโร้คตอนปลายโดยสิ้นเชิง รูปแบบของดนตรีหลายทำนองแบบ Polyphony ถูกแทนที่ด้วยท่วงทำนองเบาๆ สบาย และการประสานเสียงแบบง่ายๆ C.E. Bach กล่าวถึงดนตรีแบบบาโร้คว่า “แห้งแล้งและแสดงออกถึงผลงานของความเป็นผู้คงแก่เรียนมากเกินไป” คีตกวีในยุคนี้จึงสร้างความรื่นเริงบันเทิงใจให้แก่ผู้ฟังด้วยบทเพลงที่แสดงถึง “ความขัดแย้งทางอารมณ์และเนื้อหาของบทเพลง” บทเพลงที่ฟังสบายๆและให้อารมณ์นี้รู้จักในลักษณะที่เรียกว่า “Gallant Style” (หนุ่มหล่อนักรัก) ความจริงแล้วคำว่า “Classic” ค่อนข้างสร้างความสับสนให้แก่คนทั่วๆไป และมีหลายความหมาย เช่น อาจจะหมายถึงศิลปกรรมแบบกรีก-โรมันโบราณก็ได้ หมายถึงศิลปกรรมของชาติใดๆ ที่มีการวิวัฒนาการไปจนถึงจุดสูงสุดที่ถือเป็นแบบฉบับก็ได้ และในทางดนตรีอาจจะหมายถึงบทเพลงแบบฉบับที่ใช้ Jass หรือ Rock ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามในทางประวัติดนตรีตะวันตกเป็นการแย้มยิ้มคำว่า Classic นี้มาจากผลงานทางศิลปะยุคปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งนิยมทำเลียนแบบกรีก-โรมันโบราณ แม้ว่าในทางดนตรีจะแสดงออกถึงความเป็น “ของเก่า” น้อยเต็มทนเลยทีเดียวก็ตาม ดังนั้นศัพท์คำว่า “classic” ก็ดีหรือ “Neo classical” ก็ดี จึงมีความหมายแต่เพียงบทเพลงที่แสดงถึงความเรียบง่ายได้ดุลยภาพและความชัดเจนของโครงสร้างเท่านั้นเอง คุณลักษณะแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจนในบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1770-1820 ซึ่งมีคีตกวีคนสำคัญๆ หลายคนในยุคนี้แต่งเพลงที่มีลักษณะดังกล่าวโดยเฉพาอย่างยิ่งก็คือ Joseph Haydn (1732-1809) Wolfgang Amadeus Mozard (1756-1791) และท้ายที่สุดคือ คีตกวีร่วมสมัยระหว่าง Classic กับ Romantic ท่าน Ludwig Van Beethoven (1770-1827) ซึ่งเราได้ศึกษาและฟังบทเพลงของท่านเหล่านี้ต่อไปภายหลัง

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คีตกวีในยุคบาโร้ค

คีตกวีสมัยบาโร้ค คีตกวีคนสำคัญสมัยบาโร้คมีเป็นจำนวนมากไม่อาจนำมากล่าวได้หมด แต่คนสำคัญๆที่ควรกล่าวมี 3 คน คือ Antonio Vivaldi, Johann Sebatian Bach และ George Frederic Handel โยฮัน เซบาสเตียน บาค Johann Sebastian Bach (1685-1750) Bach ถือเป็นหลักชัยของยุคบาโร้ค ผลงานชิ้นสำคัญของบาคหลายชิ้นถือเป็นผลงานสูงสุดของยุคบาโร้ค ตัวบาคเองมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1685-1750 (2228-2293) พูดง่ายๆว่าท่านสิ้นชีวิตก่อนที่ไทยจะเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าครั้งที่ 2 ในราว 17 ปี หรือกล่าวได้ว่าท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายของไทยเรานี่เอง บาคเป็นลูกหม้อนักดนตรีโดยแท้ นับตั้งแต่คุณปู่ทวด และคุณพ่อต่างก็เป็นนักออร์แกนประจำโบสถ์ หรือไม่ก็เป็ฯนักดนตรีท้องถิ่นของประเทศเยอรมันมาก่อนทุกคน จริงๆแล้วสมาชิกในตระกูล Bach เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นจำนวนมากมายจนกระทั่งคำว่า Bach ใช้ในความหมายโดยรวมว่า “นักดนตรีประจำเมือง” ไปเลยทีเดียว ดังนั้น ในการพบปะสมาชิกครอบครัวปีละครั้งจะมีสมาชิกชาวบาคคืนสู่เหย้าคราวละกว่าร้อยคน ซึ่งนอกจากจะพบปะกันแล้ว ยังมีการเล่นดนตรีด้วยกันอีกด้วย Johann Sebastian Bach หรือ JS. Bach ก็ดำเนินรอยตามบรรพบุรุษคือมีลูกถึง 20 คน 9 คน เล่นดนตรีได้ดีและอีก 4 คน ได้เป็นคีตกวีที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา Bach เกิดที่เมือง Eisenach (ไอซ์แนค) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาเล่าเรียนดนตรีจาก Bach ผู้พ่อซึ่งเป็นนักดนตรีในเมืองนั้น และจากลูกพี่ลูกน้องที่เป็นนักออร์แกนในโบสถ์ซึ่งทั้ง 2 ท่านนี้ได้เสียชีวิตลงเมื่อบาคอายุเพียง 9 ขวบ เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับพี่คนโตซึ่งเป็นนักออร์แกนนเมืองใกล้เคียง ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่จนอายุ 15 ปี จึงได้อำลาบ้านพี่ชายที่มีผู้คนมากหน้าหลายตาไปดำเนินชีวิตตาลำพังในเมืองใกล้เคียง โดยหารายได้จากการร้องเพลงในกลุ่มนักร้องประสานเสียง (Choir) และเล่นออร์แกนหรือไวโอลินตามโบสถ์ซึ่งทำให้ JS.Bach มีรายได้มากพอที่จะส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือในโรงเรียนได้ด้วย ในช่วงนี้เองที่ความหลงใหลในดนตรีได้ปรากฎชัดในตัวบาค เขาจะสามารถเดินทางด้วยเท้าเป็นระยะทางถึง 20-30 ไมล์ (40-50 กม.) เพียงเพื่อจะไปฟังนักออร์แกนที่มีชื่อเสียงบรรเลงดนตรีดีๆที่หาฟังได้ยาก เมื่ออายุได้ 18 ปี JS. Bach เป็นนักดนตรีประจำโบสถ์ใน Arnstald (เอ็นสตัค) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับสถานที่เกิดของเขาเอง โดยทำหน้าที่เป็นนักออร์แกน บาคมีปัญหากับผู้บริหารที่นี้เพราะพวกคนีอำนาจพวกนั้นคิดว่าดนตรีของบาคยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป แล้วยังถามซอกแซกถึงเรื่องที่เขาพบปะกับ “สุภาพสตรี” แปลกหน้าในโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งอีกด้วย บาคแก้ปัญหาทั้งสองนี้ด้วยการย้ายไปเป็นนักดนตรีในตำแหน่งที่สูงขึ้นที่ Muhl hause (มึลเฮาเซ่น) และแต่งงานกับสุภาพสตรีแปลกหน้านั้นเสียเลยรู้แล้วรู้รอดไป ซึ่งแท้จริงแล้วเธอก็คือลูกพี่ลูกน้องของบาคนั่นเอง เธอชื่อ บาบาร่า (Babara) การเล่นดนตรี ณ ที่ใหม่นี้ทำให้ฝีมือของบาคขึ้นไปสู่ระดับชั้นครู โดยมีเทคนิคการบรรเลงแบบใหม่ๆแปลกๆ เช่น การใช้เท้าเล่นออร์แกนโดยเหยียบที่กระเดื่อง ซึ่งดีเสียกว่านักดนตรีที่มีชื่อเสียงขณะนั้นเล่นด้วยมือเสียอีก หลังจากที่ได้ประสบการณ์จากการเล่นออร์แกนในโบสถ์สองแห่งที่กล่าวมาแล้ว บาคก็ได้งานดีกว่าเดิมโดยการไปเป็นนักดนตรีในราชสำนักแห่งเมือง Weimar ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็น Concert Master ให้แต่วงออเคสตร้าราชสำนักนี้ ภายหลังเขาก็ลาออกเพราะไม่ได้รับความยุติธรรมในการเลื่อนตำแหน่งและ Duke of Weimer ที่ไม่ชอบความ “หัวดื้อหัวรั้น” ของบาคจึงได้จับเขาขังคุกเสียหนึ่งเดือนเต็มๆ แต่บาคก็หาได้กลัวหัวหดต่อการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมนั้นไม่ เพราะตลอดชีวิตของเขา บาคได้เรียกร้องและต่อสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรมของเขาตลอดมา ตำแหน่งอันสำคัญยิ่งของบาคก็คือ เขาได้เป็นผู้อำนวยการเพลง (Conductor) หรือวาทยกรให้กับวงออร์เคสตร้าประจำของเจ้าชายแห่ง Cothen ซึ่งมีเงินเดือนพอกันกับทหารตำแหน่งนายพลเลยทีเดียว และที่สำคัญก็คือเป็นครั้งแรกที่งานของบาคตรงนี้ไม่เกี่ยวกับโบสถ์และดนตรีเกี่ยวกับศาสนาแต่อย่างใด นอกจากบทเพลงประเภท psalm ธรรมดาที่ใช้ในพิธีกรรมบ้างเท่านั้น เพราะเหตุว่า เจ้าชายอยู่ในนิกายใหม่หรือ Calvinistic ตลอดระยะเวลา 6 ปีในตำแหน่งอันทรงเกียรติแห่งนี้ บาคทำหน้าที่ควบคุมวงออร์เคสตรี่มีสมาชิกในวง 18 คน และได้แต่งเพลงไว้มาก รวมทั้งบทเพลงสำคัญอย่าง Brandenburg concerto ด้วย ในปี 1720 ภรรยาของบาคถึงแก่กรรมทิ้งลูกไว้ให้เขาเลี้ยงดู 4 คน ต่อมาเมื่อเขาอายุ 36 ปีจึงได้แต่งงานใหม่กับนักร้องอายุ 21 ปี ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันซึ่งก็อยู่ดีมีสุข ไม่แพ้การแต่งงานครั้งแรก เจ้าชายแห่ง Cothen คบกับบาคในฐานะเพื่อนเนื่องจากพระองค์ท่านก็ทรงเป็นนักดนตรีสมัครเล่นด้วย แต่ความสัมพันธ์นั้นก็ต้องเปลี่ยนไป รวมทั้งความรักดนตรีของพระองค์ด้วย เมื่อได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงที่ไม่ชอบดนตรี บาคก็เลยดิ้นรนที่จะหางานใหม่ต่อไป เขาได้งานในปี 1723 โดยเป็นผู้อำนวยการวงดนตรีแห่งโบสถ์ เซนต์ โธมัน ที่เมือง Leipzig ซึ่งรับผิดชอบงานในโบสถ์ที่เป็นหลักทั้งสิ้น 4 แห่ง ซึ่งที่นี่เองที่บาคทำงานอยู่ตลอดเวลา 27 ปี จนถึงวาระสุดท้ายของชีวินและแม้ว่าจะเป็นโบสถ์สำคัญแห่งหนี่งของเยอรมันก็ตาม แต่ทว่าความมีหน้ามีตาและเงินเดือนที่บาคได้รับนั้นน้อยกว่าเมื่อทำงานที่ราชสำนัก Cothen เสียอีก แต่บาคก็ยอมเพราะเมืองใหญ่อย่าง Leipzig นั้นมีประชากรถึง 30,000 คน และเป็นโอกาสที่ลูกๆจะได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยและอบรมบ่มนิสัยในคริสเตียนลัทธิ Lutheran เพระบาคเองก็เป็นพ่อที่เคร่งครัดในศาสนาไม่น้อยเลย เขามักจะเขียนอักษรย่อทั้งตอนต้นบทและจบเพลงของเขา ด้วยการสรรเสริญพระเจ้าอยู่เสมอ เช่น “ด้วยความเชื่อของจีซัส” และ “พระเจ้าผู้ทรงกรุณา”ในตอนจบเป็นต้น ผลงานของ Bach ที่ถือเป็นหลักของการดนตรียุคต่อๆมานั้น มีหลายบท เช่น Toccata & Fugue และ Brandenburg และนอกจากบทเพลงสวดประเภท Mass แล้ว ก็ยังมีบทเพลงประเภท Suite แจจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าเพลงตับก็ได้ คีตกวีคนสำคัญๆ ของโลกหลายคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่น่ารื่นรมย์ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักประสบปัญหาในชีวิตเสมอ บาคก็เป็นคนหนึ่งที่สร้างผลงานอมตะไว้ให้แก่ชาวโลก แต่บั้นปลายชีวิตนั้นไม่น่ารื่นรมย์สักเท่าไร และต้องอยู่ในโลกแห่งความมืดด้วยดวงตาที่มือสนิท ที่เมืองไลฟ์ซิก บาคทำงานดนตรีอย่างขมักเขม้นทั้งฝึกซ้อมทั้งควบคุมวงดนตรีในฐานะวาทยากร และแน่นอนที่สุดคือ แต่งเพลง ซึ่งมีทั้งบทเพลงร้องประสานเสียง เพลงเดี่ยว และบทเพลงสำหรับวงออร์เคสตร้าที่จะต้องบรรเลงทุกๆวันอาทิตย์และวันสำคัญทางศาสนา นอกจากนั้นยังรับผิดชอบในการสอนลูกศิษย์ถึง 55 คนในโรงเรียน St. Thomas ซึ่งหลังจากทำงานที่เมืองไลฟ์ซิกได้หลายปี บาคก็ได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการวงดนตรี Colloquium Museum ด้วย โดยมีการบรรเลงดนตรีทุกๆคืนวันศุกร์ ณ โรงน้ำชาแห่งหนึ่ง นอกจากนั้นก็ยังเล่นและสอนออร์แกน ตลอดจนตัดสิน แก้ไข ปรับปรุงผลงานประพันธ์ของผู้อื่นที่ส่งเข้ามาด้วยจนเป็นเรื่องที่หลายๆคนเองก็หาคำตอบไม่ได้ว่า บาคสามารถจะทำงานศิลปะแบบนี้ได้อย่างไร ในเมื่อรอบๆตัวเขามีแต่กลุ่มเด็กๆ ญาติพี่น้อง และลูกศิษย์ลูกหาโดยอาศัยอยู่ในห้องพักที่อยู่ติดกับห้องเรียนเลยทีเดียว ในปี 1740 เศษสายตาของบาคเริ่มพร่ามัว แต่เขาก็ยังแต่งเพลงควบคุมวงดนตรีและดำเนินการสอนไปด้วยกัน จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1750 ซึ่งเป็นปีสุดท้านของชีวิต บาคก็จบชีวิตลงในโลกของควงามมืดด้วยสายตาที่บอดสนิท แม้จะเป็นที่รู้จักกันดีในฝีมือของบาค แต่ก็เฉพาะคนเยอรมันเท่านั้น แต่พวกนั้นมักจะคิดว่างานของบาคยุ่งยาก สลับซับซ้อน และหนักเกินไปสำหรับสังคมและพวกเขา หลังความตายของบาคบทเพลงของเขาก็ถูกลืมไปสนิท และไม่มีการพิมพ์ผลงานของเขาเลยเป็นเวลากว่า 70 ปี นอกจากลูกศิษย์ของบาคที่ยังคงแสดงผลงานของครูอยู่บ้าง เนื่องจากทราบดีว่าเป็นผลงานจากคีตกวีผู้อัจริยะ จนกระทั่ง Felix Mendel John ได้นำผลงานชื่อ St. Matthew Passion ของบาคออกแสดงในปี 1829 จึงเป็นเหตุให้มีการรื้อฟื้นผลงานของบาคออกมาศึกษาและแสดงกันอย่างแพร่หลายอีกครั้งหนึ่ง และเป็นที่ทราบกันดีถึงผลงานอันอมตะและความเป็นอัจฉริยะของบาคจนทุกวันนี้ ดังได้กล่าวในตอนต้นว่า ผลงานของบาคอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก เป็นรูปแบบของคีตนิพนธ์สมัยบาโร้คและเป็นแบบกันต่อๆมา คือเพลงแบบ “เพลงตับ” (Suite) ซึ่งประกอบด้วยเพลงสั้นๆหลายเพลงบรรเลงติดต่อกัน Suite ในยุค Baroque เป็นวิวัฒนาการของ Suite สมัยเรอเนสซองส์ ซึ่งเป็นเพลงเต้นรำในราชสำนัก แต่บทเพลงยุคบาโร้คนี้ควรจะมีความคล้ายคลึงกับเพลงเต้นรำ แต่ก็มีจุดประสงค์เพื่อการฟังเสียมากกว่าและสามารถบรรเลงได้ทั้งด้วยเครื่องดนตรีเพียงชั้นเดียว วงคัภดุริยางค์และวงออร์เคสตร้าขนาดเล็ก บทเพลงประเภทนี้จะบรรเลงในบันไดเสียงเดียวกันทุกท่อน แต่ว่าแต่ละท่อนอาจจะแตกต่างกันในแง่ของจังหวะ อารมณ์และคุณลักษณะอย่างอื่น และมีที่มาจากบทเพลงประจำชาติต่างๆกัน อย่างเช่นจังหวะปานกลางที่เรียกว่า Allemande (ของเยอรมัน) ซึ่งจะตามด้วยท่อนเร็วแบบ Courante และปานกลางที่เรียกว่า Gavolt (ของฝรั่งเศส) หรือท่อนช้าที่เรียกว่า Sarabande (จากสเปน) และท่อนเร็วแบบ Gigue (ของอังกฤษและไอร์แลนด์) เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้นิยมบรรเลงกันในช่วงอาหารเย็นในห้องโถง และกลางแจ้งเมื่อมีงานรื่นเริง งานฉลองต่างๆ ด้วย

ลองตอบดู คุณรู้แค่ไหน

แนวคำถามข้อสอบประวัติดนตรีตะวันตก ให้นักเรียนบอกชื่อเพลงตามรายชื่อศิลปิน คีตกวีในยุคต่างๆ ดังต่อไปนี้ Baroque Period Music by J.S.Bach 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Vivaldi 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Handel 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Classic Period Music by Haydn 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Mozart 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Beethoven 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Romantic Period Music by Weber 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Mendelsohn 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Chopin 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Schubert 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Schumann 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Lizst 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Brahms 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. Music by Thaikovsky 1…………………………………. 2…………………………………. 3…………………………………. บอกความหมายคำศัพท์ต่อไปนี้ Concerto……………………………………………………………………………….. Basso Pontinuo………………………………………………………………………… Opera……………………………………………………………………………………. Symphonic Poem……………………………………………………………………….. Overture………………………………………………………………………………….. Tone Row………………………………………………………………………………… Etude……………………………………………………………………………………… Twelve Tone Serial………………………………………………………………………. Prelude……………………………………………………………………………………. Recitative…………………………………………………………………………………. Toccata……………………………………………………………………………………. Cantabile………………………………………………………………………………….. Fuque……………………………………………………………………………………… Variation…………………………………………………………………………………… Cantata……………………………………………………………………………………. Aria………………………………………………………………………………………… Mass……………………………………………………………………………………….. Symphony…………………………………………………………………………………. Motet……………………………………………………………………………………….. Sonata……………………………………………………………………………………... Figured bass………………………………………………………………………………. Sonatina………………………………

วินัยในตนเอง 2 รู้ว่าผิดแต่ยังทำอีก ทำไม?

โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว) เรียบเรียง จาก รายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC Q1: ทำไมคนเราถึงชอบทำความผิดทั้งๆ ที่รู้ตัวว่าสิ่งนั้นไม่ดี และจะแก้ไขได้อย่างไรบ้างคะ? คำถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ ลูกอยากกราบเรียนถามหลวงพ่อเจ้าค่ะ ทำไมคนเราถึงชอบทำความผิด ทั้งๆ ที่รู้ตัวว่าสิ่งนั้นไม่ดี และจะแก้ไขได้อย่างไรบ้างคะ คำตอบ: ทั้งๆ ที่รู้ว่าสิ่งนั้นผิด อะไรๆ ไม่ดีก็รู้หมด แต่อดไม่ได้ที่จะไปทำมันอีก ปัญหานี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดกับเรา มันเกิดมาพร้อมกับโลกใบนี้เกิด เพราะใจมนุษย์คุ้นกับกิเลส เหมือนปลาคุ้นน้ำ ลองจับปลาเป็นๆ โยนขึ้นมาบนบก แล้วจะเห็นว่า มันอยู่เฉยๆ หรือมันดิ้น จะเห็นว่ามันพยายามดิ้นจะกลับลงน้ำ ซึ่งความจริงในน้ำน่าจะหายใจไม่ออก น่าจะสำลัก อยู่บนบกน่าจะหายใจคล่อง มันไม่ใช่ เพราะมันเป็นปลา มันคุ้นกับน้ำ มากกว่าคุ้นกับอากาศ มันก็เลยดิ้นจะกลับลงน้ำต่อไป ใจเราคุ้นอยู่กับกิเลส เมื่อเราอยู่ในท้องแม่ กิเลสก็ฝังอยู่ในใจ ติดตัวข้ามภพข้ามชาติมาแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เลยบีบคั้นใจเรามาตั้งแต่เกิด บีบคั้นมาข้ามชาติยังไม่พอ ชาตินี้บีบต่ออีก ให้เราคุ้นกับความไม่ดี เหตุนี้เองแม้รู้ว่าอะไรที่เป็นความดี ยังไม่ค่อยอยากทำเลย กลับย้อนไปทำความไม่ดีเสียอีก ใจคุ้นกับกิเลสเหมือนปลาคุ้นน้ำ เพราะฉะนั้นในการแก้ไขตัวเองจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เรามีความจำเป็นที่จะยึดหลักง่ายๆ ในการแก้ไขตัวเองก็คือ นอกจากเราจะศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพิ่มนั้น มีอะไรบ้าง ๑. หาคนที่เขามีกำลังใจในการประกอบคุณงามความดี หรือคนที่เขาเคยไม่เข้าท่าเหมือนเรามาก่อน แต่วันนี้เขาชนะใจตนเองได้แล้ว หาคนประเภทนี้มาเป็นครูให้ได้ ถ้าได้ โชคดียิ่งกว่าถูกล็อคเตอรี่รางวัลที่ ๑ ร้อยครั้ง แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร สิ่งที่ต้องทำต่อคือ หัดเพิ่มกำลังใจให้กับตัวเอง วิธีเพิ่มกำลังใจให้ตัวเอง ทำอย่างไร? หาคนที่เขาพอรู้ใจ แล้วเขาก็มีความปรารถนาดีต่อเรา อยากให้เราเป็นคนดียิ่งๆ ขึ้นไป ได้ใกล้ชิดกับท่านเหล่านี้บ่อยๆ ก็จะได้กำลังใจจากท่านมาบ้าง แต่ก็จะช่วยได้เป็นเพียงครั้งคราว มันเป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องสร้างกำลังใจเอง ในการสร้างกำลังใจให้กับตัวเองก็มีหลักง่ายๆ หลักขั้นต้น ลองตรองดูว่าความผิดไม่เหมาะไม่ควรอะไร ต่างๆ นานา มีโทษทางบ้านเมืองขนาดไหน มีโทษต่อการงานความเจริญก้าวหน้าของเราขนาดไหน พิจารณาให้มากๆ อีกเรื่องหนึ่ง ให้หนักเข้าไปอีกว่า โทษในฐานะที่เป็นความชั่ว นรกขุมไหนรอเราอยู่ ต้องลงโทษตัวเองกันขนาดนั้น การลงโทษตัวเอง ตำหนิตัวเองแรงๆโดยเอานรกเป็นตัวตั้ง มันก็เป็นการให้กำลังใจได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน ตรงนี้คงต้องไปถามท่านผู้รู้ ท่านที่ฝึกสมาธิ(Meditation)มามาก แตกฉานธรรมะมามาก แล้วท่านจะมีวิธีแนะนำหรือชี้ขุมนรกต่างๆ ให้ฟัง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะทำให้เราเกิดความอายบาป กลัวบาปขึ้น คือมีหิริโอตัปปะเพิ่มขึ้นนั่นเอง และพลังแห่งความอายบาป กลัวบาป อายชั่ว กลัวนรกของเรา จะเป็นพลังขับดันให้เรา กล้าที่จะฝืนใจไม่ย้อนกลับไปทำความชั่วอีก นี่เป็นประการที่ ๑. ประการที่ ๒. หมั่นนั่งสมาธิเยอะๆ ถ้าไม่มีกำลังใจในการนั่งสมาธิ ก็บอกได้คำเดียว “รีบตกนรกไปเถอะ” มันเป็นเรื่องที่เมื่อรู้แล้วมันจะต้องสู้ เพราะธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าช่วยได้เฉพาะคนที่คิดจะช่วยตัวเอง ถ้ายังไม่คิดจะช่วยตัวเอง ใครก็ช่วยเราไม่ได้ เพราะวิธีช่วยตัวเองและเพิ่มกำลังใจให้กับตัวเองที่ดีอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการนั่งสมาธินั่นเอง ให้นั่งไป ถึงแม้จะเมื่อยบ้าง ง่วงบ้าง สัปหงกบ้าง ก็ไม่เป็นไร หลับตาแล้วก็ยังมืดมิด คิดอะไรก็ไม่ออก ก็ช่างมัน ทำไปสักระยะหนึ่ง ไม่ช้าใจก็จะสงบ แล้วใจมันก็จะนิ่ง จะสว่างขึ้นมาได้เอง นี่เป็นวิธีสร้างกำลังใจให้กับตัวเองวิธีที่ ๒. นอกจากตรึกนึกนรกแล้ว ยังตรึกนึกถึงธรรมะ แล้วทำสมาธิไป ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ความจริงแล้วเป็นวิธีประกอบ แต่ว่าก็ได้ผลดี คือปู่ย่าตาทวดของเราก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว แต่ว่าคนรุ่นหลังไม่ค่อยทำตาม โดยท่านมีห้องพระเอาไว้ให้ เหมือนจำลองเอาพระนิพพานมาไว้ในบ้าน เอาไว้สวดมนต์ นั่งสมาธิอย่างที่ว่า แล้วในห้องพระนั้น พระพุทธรูปก็มี รูปบรรพบุรุษของตัวเองที่ตั้งวงศ์ ตั้งตระกูล ตั้งฐานะมาได้ ก็มี ท่านประกอบคุณงามความดีไว้มาก รูปดีๆ ติดไว้ให้รอบบ้าน ที่ทำงานด้วย ไม่เฉพาะภาพของบรรพบุรุษที่สร้างตระกูลเรามา แม้แต่บรรพบุรุษของชาติ เอารูปของท่านมาติด แล้วกำลังใจของเราจะเพิ่มขึ้น และรูปที่ไม่เหมาะสมทั้งหลาย ภาพเกี่ยวกับอบายมุข เอาไปทิ้งเสียให้หมด มีเอาไว้ก็อัปมงคล เทวดาจะไม่อยากมาลงรักษาบ้านเรา อะไรที่เป็นอุปกรณ์ส่งเสริมความดี เอามาจัดเตรียมไว้ให้เต็มบ้าน รูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ท่านบำเพ็ญพระราชกรณียกิจให้กับพสกนิกรมาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ไม่ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยากใดๆ เลย ควรมีท่านเอาไว้บูชา แล้วเราก็ทำความดีตามท่าน ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับผู้ชายใครที่เคยบวช รูปตัวเองสมัยบวช รูปของพระอุปัชฌาย์ ควรเอามาติดไว้ดูจะได้นึกถึงความดีที่เคยทำ อย่างนี้บรรยากาศในการสร้างความดี ทั้งที่ทำงาน ทั้งที่บ้าน แม้ห้องพระ ห้องนอน มันพร้อมหมด อย่างนี้กำลังใจที่จะสู้กับกิเลส กำลังใจที่จะเพิ่มพูนความดีให้กับตัวเอง มันจึงจะทับทวีนับอสงไขยไม่ถ้วนให้กับเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วเราก็จะสามารถทำความดีจนคุ้น กลายเป็นคนดีที่โลกต้องการ คำถาม : ถ้ามีญาติหรือมีเพื่อนมาขอยืมเงินเราควรจะวางตัวอย่างไรดี เพราะถ้าไม่มีให้ก็จะเสียน้ำใจ ถ้าให้บ่อยๆ เราก็เดือดร้อน วันนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อของเราจะมาตอบคำถามนี้ให้เรารับทราบกันค่ะ คำตอบ: การที่ใครจะมีเพื่อน มีญาติ สิ่งที่ต้องจำไว้ก็คือเราต้องเป็นที่พึ่งให้แก่เขาได้เมื่อถึงคราวจำเป็น ถ้าถึงคราวจำเป็น ใครพึ่งก็ไม่ได้ แล้วใครเขาจะอยากมาเป็นเพื่อน เป็นญาติกับเรา นี่ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เราก็ต้องรู้ไว้ว่าแม้คราวตัวเองก็เหมือนกัน บางครั้งอาจตกเข้าที่คับขัน สิ่งที่เราเตรียมไว้ มีไว้อย่างมหาศาล บางทีก็ถึงคราวขาดแคลนได้ เข้าทำนองถึงเวลาราชสีห์ก็ต้องพึ่งหนูเหมือนกัน ตรงนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกันเอาไว้ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงคราวญาติ หรือเพื่อน ขอความช่วยเหลือ วิสัยของคนดี คนที่หวังความก้าวหน้าจะต้องเตรียมพร้อมตรงนี้เอาไว้ตลอดเวลา ว่าพรรคพวกเพื่อนฝูงญาติสนิทมิตรสหายบ่ายหน้ามาแล้ว มาขอความช่วยเหลือแล้ว ต้องไม่ยอมให้กลับมือเปล่า จำคำนี้ไว้ก่อน ส่วนว่าจะช่วยกันได้มากน้อยแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง อย่างไม่ได้จริงๆ ก็ต้องมีค่ารถกลับบ้านได้ ไม่อย่างนั้นมาแล้ว เสียเวลาแล้ว หวังจะได้รับความช่วยเหลือบ้าง กลับไม่ได้อะไรเลย มันก็กระไรอยู่ อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ความช่วยเหลือใคร มากน้อยแค่ไหน อย่างไร มีหลักพิจารณาอย่างนี้ ๑. ดูความพร้อม ความรู้ ความสามารถ ดูกำลังของเราว่ามีกำลังจะให้เขาพึ่งได้เท่าไหร่ ตรงนี้ดูก่อน จะช่วยใครก็ได้ แต่ว่าอย่าให้เกินกำลังตัว อันนี้ต้องถือเป็นหลักเอาไว้ให้ดี คราวนี้ ก็มาดูถึงบุคคลที่มาขอความช่วยเหลือเรา ไม่ว่าญาติหรือเพื่อน ดูอย่างไร ข้อแรก ก็คือดูความจำเป็นของเขาว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มีความจำเป็นอะไรนัก มาเผื่อได้เท่านั้นเอง อย่างนี้ กินข้าว เลี้ยงข้าวสักมื้อหนึ่ง แล้วก็ให้ค่ารถกลับบ้านก็พอแล้ว แต่ถ้าหากมีความจำเป็น เช่นตัวเขาเองป่วย หรือพ่อแม่ตาย ลูกหลานเกิดอุบัติเหตุฯลฯ มันเป็นเรื่องเหลือวิสัย ตรงนี้ต้องช่วยกัน ไม่มากก็น้อย ต้องช่วยกันให้เต็มที่ เต็มตามกำลังของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเขาผู้นั้นเคยมีความสำคัญอันดีกับเราในอดีต เช่น เราเองก็เคยเป็นหนี้พระคุณเขามา ถึงคราวเราเดือดร้อน เขาก็ช่วยเหลือเราเต็มกำลังมาก่อน ถ้าในกรณีนี้ ถึงคราวเขาเดือดร้อนบ้างแล้ว เราก็ต้องช่วยให้เต็มที่ ในกรณีเช่นว่าพ่อแม่เขาป่วยหนัก ตัวเขาเองถูกกลั่นแกล้ง ถูกโกง ถูกคดีความ ต้องมีค่าประกันตัว ไม่เช่นนั้นเขาจะติดคุกติดตาราง ขึ้นโรงขึ้นศาลไม่หวาดไม่ไหว อะไรทำนองนี้ นึกถึงความจำเป็นและนึกถึงความสัมพันธ์อันดีในอดีตซึ่งมีต่อกันแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนชาวพุทธเอาไว้ว่า เพื่อนที่ดี ในวาระอย่างนี้ ต้องหาทางช่วยกันให้เต็มที่ อย่าว่าแต่เขาขอร้อง ขอยืมมาเท่าไหร่แล้วให้เท่านั้น เนื่องจากเขาเป็นคนดี เกรงใจผู้อื่น เพราะฉะนั้นที่เขาเอ่ยปากขอความช่วยเหลือนั้น มันคงเต็มที่แล้ว พระองค์จึงทรงสอนเอาไว้ว่ากรณีเช่นนี้ให้เป็น ให้เป็น ๒ เท่าที่เขาขอเลย เพราะเขาเป็นคนดี เคยมีพระคุณกับเรามาก่อน แล้วก็ครั้งนี้เขาจำเป็นจริงๆ แต่ว่าในเชิงปฏิบัติ ถ้าเราเป็นประเภทเราเองก็ตัวคนเดียว ไม่มีครอบครัวให้ห่วง ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ใช้คำว่าลูกผู้ชายใจนักเลง เทกันหมดกระเป๋าช่วยกันเลย ตรงนี้คือวิสัยที่ควรทำ แต่ว่าถ้าเป็นกรณีทั่วๆ ไปแล้ว เขากับเราก็เพียงรู้จัก แล้วก็นิสัยใจคอก็เพียงแค่พื้นๆ ยังไม่ชัดเจนนักก็พิจารณาดูว่าจมอบายมุขไหม ถ้าจมอบายมุข อย่างนี้ถ้าให้ไปแล้วนอกจากไม่เกิดประโยชน์ ยังกลายเป็นส่งเสริมให้คนทำความชั่วด้วย ในกรณีอย่างนี้ไม่ควรให้ เช่นติดเหล้า เล่นการพนัน ฯลฯ ถ้าเขาจะโกรธก็โกรธไป เพราะถ้าให้ไป เขาก็จะไม่มีโอกาสได้แก้ไขนิสัยของเขาเลย แต่ถ้าเขาเป็นคนตั้งใจทำมาหากิน นิสัยใจคอก็ ดูก็ไม่มีข้อเสียอะไร ถ้าอย่างนี้ก็ให้ไปตามสมควร ถ้าไม่มากนัก ในกรณีอย่างนี้ ก็ต้องทำใจ คือถ้าให้ไปแล้วไม่คืน หรือคืนแต่ไม่ตรงเวลา แล้วจะเกิดความเสียหายแก่เรา ถ้าอย่างนี้ คงต้องคิดมากสักหน่อย เอาไปสักแค่ครึ่งหนึ่งก็พอ นี่ยกตัวอย่าง ที่เหลือก็ให้เขาไปหาจากพรรคพวกคนอื่นบ้าง เพราะถ้าเขาไม่เอามาคืนตรงเวลา เดี๋ยวเราจะเดือดร้อน อันนี้ก็ช่วยกันไป เพราะว่ายังไม่มีประวัติในทางเสียหาย ช่วยเท่าที่ไม่เกินกำลังเรา เมื่อให้ไปแล้ว วันหลังเขาเอามาคืนตามที่สัญญาเอาไว้ ในกรณีเช่นนี้ ก็ถือว่าประวัติใช้ได้ ก็เข้าทำนองที่ว่า หากวันหลังเดือดร้อนมาใหม่อีก ก็ให้อีก เพราะประวัติดี พอให้กันได้ แต่ถ้าประเภทไหนที่ให้ไปแล้ว ไม่เคยให้คืนกลับเราเลย ถ้ามาอีก ก็คงให้ไม่ได้ เข้าทำนองที่ว่า ไม่ให้ก็ไม่ให้ คือให้คุณไปแล้ว แล้วคุณไม่ให้คืนกลับ มาขอใหม่อีก ก็เลยไม่ให้ ประการที่ ๓. ในกรณีที่เขาก็เป็นคนดี นิสัยใจคอก็ดี แต่ว่าตอนนี้เขาเคราะห์หามยามร้าย กลายเป็นคนพิการไปแล้ว อาจจะรถเฉี่ยวรถชน หรือจะอะไรก็ตามที รู้เลยว่าให้ไปแล้วไม่ได้คืน เพราะวันนี้เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยจะได้เสียแล้ว ในกรณีนี้ทำใจเสียต้องให้ในระดับที่เราไม่เดือดร้อน ให้ได้เท่าไหร่ให้ไป เพราะเขาเป็นคนดี แต่เพียงว่าเขาโชคร้าย เขาไม่ใช่คนเลว อย่างนี้ต้องให้กัน ถึงจะไม่มีปัญญามาใช้คืน ก็ไม่ว่ากัน คิดเสียว่าถ้าถึงคราวเราเคราะห์หามยามร้าย ต้องตกอยู่ในสภาพอย่างนี้ รถคว่ำ จนพิการ อุบัติเหตุ จนกระทั่งตาบอดหูหนวกไปเสียแล้ว ทำมาหากินก็ขาดแคลนเต็มที ขาดบ้าง ไม่ขาดบ้าง อย่างนี้เราก็ไม่รู้จะเจอภาวะอย่างนี้เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้น ช่วยใครได้ก็ช่วยไป คือให้ไปแล้ว เขาจะคืนได้หรือไม่ เมื่อมาใหม่ก็ต้องให้ไปอีก นึกว่าสงสารลูกนกลูกกา เผื่อว่าถ้าคราวเราต้องเคราะห์หามยามร้ายอย่างนี้ ก็คงจะมีใครเมตตาเราบ้าง เพราะบุญที่เราทำไว้กับเพื่อนคนนี้ หรือญาติคนนี้ ถ้าจะให้ดี สร้างบุญไว้ตั้งแต่วันนี้เยอะๆ ถึงเวลาสมบัติมันจะเกิดกับเรา มันได้เกิดเยอะๆ ใครเดือดร้อนมา เราก็จะได้ช่วยเขาได้ทีเยอะๆ กลายเป็นไม้ใหญ่ให้นกให้กาได้อาศัยได้เยอะๆ ได้มากๆ มันก็ดีเหมือนกัน

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วินัยในตนเอง

การสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็ก เขียนโดย นฤมล เนียมหอม วินัยนั้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สังคมมนุษย์จำเป็นต้องมีวินัยเพื่อทำให้เกิดระบบระเบียบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสงบสุข และความเจริญก้าวหน้าแก่ชีวิตและสังคม
 เมื่อกล่าวถึงคำว่า "วินัย" มักเข้าใจกันในทางลบว่าเป็นเครื่องบังคับควบคุม เป็นคำสั่ง เป็นระเบียบ จึงเป็นที่น่าเสียดายที่คนจำนวนมากคิดถึงวินัยในความหมายที่ควบคู่ไปกับการลงโทษ ดังจะเห็นได้จากการวิจัยของ Garvey (1999) ซึ่งได้ศึกษาว่าพ่อแม่ปลูกฝังวินัยให้แก่เด็กจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างไร จากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจำนวน 16 ครอบครัว พบว่า พ่อแม่ทุกครอบครัวคิดถึงคำว่าวินัยควบคู่ไปกับการลงโทษ เนื่องจากมีประสบการณ์เรื่องวินัยจากการลงโทษ และพ่อแม่ยังคงใช้การลงโทษในการสอนให้ลูกมีวินัย ในบางครอบครัวพ่อแม่พยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษแบบที่พ่อแม่เองจำฝังใจ โดยเปลี่ยนเป็นการลงโทษแบบอื่นแทน มี 2 ครอบครัว เท่านั้นที่ระลึกได้ว่าตนเองเคยได้รับการปลูกฝังวินัยด้วยคำชื่นชมที่ทำให้ตนประสบความสำเร็จในการเรียน 
 แท้จริงแล้วคำว่า "วินัย" เป็นคำที่มีความหมายธรรมดา มีการเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต ดังที่วีระ สมบูรณ์ (2543: 36-37) ได้ให้ความหมายว่า วินัยเป็นวิถีที่เหมาะสมหรือยุติธรรม ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย หัวใจของการดำเนินชีวิตที่สมดุลและเป็นสุขในโลกสมัยใหม่ คือ วินัยที่เต็มไปด้วยความเรียบง่าย โดยอาจกล่าวได้ว่าวินัย คือ วัฒนธรรมก็ได้
 พระธรรมปิฎก (2538: 12-13) กล่าวว่า วินัยเป็นบัญญัติของมนุษย์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามสมมติ เป็นการจัดระเบียบความเป็นอยู่และการจัดระบบสังคมซึ่งแยกเป็นความหมาย 3 อย่าง คือ 1) การจัดระเบียบระบบ ก็เรียกว่าวินัย 2) ตัวระเบียบระบบ หรือตัวกฎนั้นก็เรียกว่าวินัย 3) การฝึกคนให้ตั้งอยู่ในระบบระเบียบ ก็เรียกว่าวินัย
 วินัยที่ถูกต้องจะต้องตั้งอยู่บนฐานของความจริงในธรรมชาติ และมีความมุ่งหมายเพื่อ "ธรรม"อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ความชอบธรรม ความเป็นธรรม ความดีงามของสังคม ทั้งนี้ พระธรรมปิฎก (2538: 8-12) ได้นำเสนอไว้ว่า วินัยที่แท้ในความหมายที่กว้าง คือ ระบบระเบียบทั้งหมดของชีวิต และสังคมมนุษย์ เป็นการจัดสรรโอกาสทำให้ชีวิตและสังคมมีระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไรๆ ได้คล่อง ดำเนินชีวิตได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาสในการที่จะดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดี ตลอดจนทำให้การพัฒนาได้ผลดี ดังนั้น การพัฒนามนุษย์ในระยะยาวจึงต้องมีวินัยเป็นฐาน เพื่อให้มนุษย์สามารถนำศักยภาพของตนออกมาร่วมสร้างสรรค์สังคมอย่างได้ผล ถ้าชีวิตและสังคมขาดวินัยย่อมทำให้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ในที่สุดก็จะสูญเสียโอกาสในการที่จะดำเนินชีวิต และทำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดี
วินัยเกิดขึ้นได้ต้องมีการอบรมและฝึกฝน เพราะวินัยเป็นนามธรรมที่เป็นความจริงได้จากการที่มนุษย์ยอมรับ ไม่ใช่ความจริงตามธรรมชาติ ทั้งนี้ Bronson (2000: 32-37) กล่าวว่าช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการพัฒนาวินัยได้มากที่สุด การปลูกฝังวินัยสำหรับเด็กช่วยให้เด็กมั่นใจว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เด็กสามารถหลีกเลี่ยงการทำผิด หรือรู้สึกอายต่อการทำผิด อีกทั้งยังช่วยให้เด็กอยู่ในมาตรฐานการยอมรับของสังคมและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ช่วยให้เด็กพัฒนาจิตสำนึก มโนธรรม หรือเสียงจากภายในตนเอง ซึ่งช่วยทำให้สามารถตัดสินใจและควบคุมพฤติกรรมด้วยตนเอง (Hurlock, 1984: 393) ดังนั้น การปลูกฝังวินัยให้กับเด็กจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปลูกฝังวินัยในช่วงปฐมวัย เนื่องจากเป็นการบ่มเพาะเมล็ดพืชแห่งวินัยในตัวเด็กตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อให้วินัยหยั่งรากลึกลงอย่างมั่นคงมากขึ้น ดังที่พระธรรมปิฎก (2538: 18-22) ได้แสดงธรรมไว้ว่าการสร้างวินัยที่ดีที่สุดต้องอาศัยธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยการเริ่มต้นจากการยอมรับว่ามนุษย์ส่วนใหญ่อยู่ด้วยความเคยชิน การสร้างวินัยจึงต้องทำให้วินัยเป็นพฤติกรรมที่เคยชิน โดยพยายามเอาพฤติกรรมที่ดี ที่มีวินัย ให้เด็กทำเป็นครั้งแรกก่อนซึ่งได้แก่ในช่วงปฐมวัย หลังจากนั้นเมื่อเด็กทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ก็จะเกิดความเคยชิน และเป็นวิถีชีวิตในที่สุด

 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540: 18) ได้แบ่งวินัยออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) วินัยภายนอก หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติปฏิบัติโดยเกรงกลัวอำนาจหรือการถูกลงโทษ เป็นการปฏิบัติที่บุคคลดังกล่าวไม่มีความเต็มใจ ตกอยู่ในภาวะจำยอม หรือถูกควบคุม วินัยภายนอกเกิดจากการใช้อำนาจบางอย่างบังคับให้บุคคลปฏิบัติตาม ซึ่งบุคคลอาจกระทำเพียงชั่วขณะเมื่ออำนาจนั้นคงอยู่ แต่หากอำนาจบังคับหมดไป วินัยก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน และ 2) วินัยในตนเอง หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเลือกข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับตนขึ้นโดยสมัครใจ ไม่มีใครบังคับหรือถูกควบคุมจากอำนาจใดๆ ข้อประพฤติปฏิบัตินี้ต้องไม่ขัดกับความสงบสุขของสังคม วินัยในตนเองเกิดจากความสมัครใจของบุคคลที่ผ่านการเรียนรู้อบรม และเลือกสรรไว้เป็นหลักปฏิบัติประจำตน

 เอกสารทางวิชาการหลายฉบับได้ระบุไว้อย่างสอดคล้องกันว่า เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการปลูกฝังวินัยให้แก่เด็ก คือ การพัฒนาให้เด็กมี "วินัยในตนเอง" (Dinkmeyer, McKay, and Dinkmeyer, 1989: 106; Gordon and Browne, 1996: 15; Hendrick, 1996: 276; Marshall, 2001: 67) เพราะการที่เด็กมีวินัยในตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการที่เด็กจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ช่วยให้สังคมมีความสงบสุข และเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งนี้ วินัยในตนเอง (Self discipline) เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กัน เอกสารส่วนใหญ่ได้ให้ความหมายของวินัยในตนเองในมุมมองด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ทางสังคม โดยอาจสรุปได้ว่า วินัยในตนเอง หมายถึง การควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นที่ยอมรับ และละเว้นการปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี ไม่เป็นที่ยอมรับ โดยสมัครใจ โดยที่การประพฤติปฏิบัตินี้เป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อตนเอง และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

 การสำรวจความคิดเห็นของผู้คนที่มีต่อการศึกษาของสมาคมไฟ เดลตา แคปพา (Phi Delta Kappa) มีคำถามหนึ่งซึ่งถามว่า "ปัญหาสำคัญที่โรงเรียนต้องเผชิญคือปัญหาอะไร" พบว่า ปัญหาเรื่องวินัยเป็นปัญหาที่ถูกระบุไว้ในอันดับต้นๆ (Charles, 2002: 4) ผลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าสังคมกำลังประสบกับปัญหาของการขาดวินัย และอาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยกำลังประสบกับปัญหาความไร้วินัยของคนในสังคมเช่นกัน เห็นได้จากการที่สังคมเต็มไปด้วยอันตรายและความเสี่ยงหลายประการ ทั้งปัญหายาเสพติด การแก่งแย่งชิงดี การทุจริตและประพฤติมิชอบ การขาดความรับผิดชอบ การทารุณและทำร้ายร่างกาย อาชญากรรม ฯลฯ ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ของ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546: 93-96) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "คนในอนาคตควรเป็นคนที่มีระเบียบวินัย เพราะในโลกยุคแห่งการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การมีระเบียบวินัยเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดระบบระเบียบข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ลักษณะชีวิตของการมีระเบียบวินัยมีความสำคัญในอนาคต ไม่ควรปล่อยให้เกิดสภาพของ ‘ทำอะไรตามใจคือไทยแท้' ต่อไป มิเช่นนั้นจะเกิดความสับสน ไร้ระเบียบ ก่อให้เกิดการขาดประสิทธิภาพ ขาดความน่าเชื่อถือ อันจะเป็นการยากที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้"

 การที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติ ประกอบกับผลการวิจัยเอกสารภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างวินัย-ในตนเองให้แก่เด็กเพื่อเป็นพื้นฐานให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวินัยต่อไปในอนาคต

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Opera Baroque 1600-1750

อุปรากร (Opera) สมัยบาโร้ค ประดิษฐกรรมการสร้างสรรค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในยุคบาโร้คคืออุปรากร (Opera) ซึ่งหมายถึงการแสดงละครแต่เป็นการแสดงละครที่ถือเอาตัวดนตรีเป็นสำคัญ พูดง่ายๆก็คือการขับร้องประกอบด้วยวงออร์เคสตร้า โดยมีท่าทางแบบละครเข้ามาผสม อุปรากรประกอบด้วยส่วนสำคัญหลายส่วน ได้แก่ ดนตรี ศิลปการแสดง กวีนิพนธ์ การเต้น ร่ายรำ ฉาก แสง สี และเครื่องแต่งตัวละคร ซึ่งเมื่อประกอบเข้าด้วยกันอย่างดีแล้วละก็สามารถจะชักจูงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามได้เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องจริงเลยทีเดียว การขับร้องและดนตรีซึ่งเป็นหัวใจของอุปรากรนั้น ที่สำคัญคือการขับร้องเดี่ยว ที่เรียกว่า Aria ซึ่งเป็นการร้องที่มีการเอื้อน คือเนื้อร้องเพียงคำเดียวสามารถจะเอื้อนเสียงไปได้หลายเสียงหลายตัวโน้ต และการ้องแบบ recitative ที่ร้องเนื้อร้อง 1 คำต่อโน้ต 1 ตัว เป็นแบบร้องเนื้อเต็มของไทยและยังมีการร้องหมู่ที่เรียกว่า Chorus อีกด้วย นักร้องเสียงดีที่แสดงเป็นตัวละครสำคัญๆ นั้นจะต้องฝึกฝนการแสดง ท่าเต้น และการแสดงท่าทางต่างๆ อย่างดีเลิศด้วยเพื่อให้การแสดงสมจริงสมจัง Opera จึงเป็นมหรสพที่สำคัญเต็มไปด้วยศิลปะชั้นสูงไม่แพ้การแสดงโขนของไทยเราเลยทีเดียว Opera ถือกำเนิดในประเทศอิตาลี ซึ่งเริ่มมาจากการสนทนาปราศัยในหมู่ของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณความรู้ทางด้านศิลปะต่างๆ ผู้ทรงคุณความรู้เหล่านี้เป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งนัดหมายพูดคุยกันเป็นประจำ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1575 โดยพบกันที่เมืองฟลอเรนซ์ กลุ่มนักวิชาการนี้เรียกกันว่า Comerata คนสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มนี้ได้แก่ คีตกวีชื่อ วินเซนโซ่ กาลิเลอี บิดาของท่านกาลิเลโอ (นักวิทยาศาสตร์) เป็นต้น ชาวคณะที่เรียกว่า Comerata นี้มีจุดประสงค์สำคัญที่จะสร้างสรรการแสดงดนตรีในรูปแบบใหม่ คล้ายๆละครแบบกรีกโบราณซึ่งเป็นละครแบบ “โศกนาฏกรรม” ซึ่งไม่มีหลักฐานและข้อมูลทางดนตรีอะไรหลงเหลือไว้ให้ศึกษาเลย เพียงแต่ได้แนวคิดมาจากวรรณคดีสมัยกรีกที่ตกทอดมาถึงเท่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าละครกรีกนั้นมีลีลาการร้องเพลงแบบกึ่งร้องกึ่งพูด ซึ่งเป็นวิธีที่กลุ่ม Camerata ต้องการจะสร้างละครที่มีการพูดเป็นทำนองเพลง ให้มีจังหวะจะโคน และเสียงสูงต่ำที่เต็มไปด้วยศิลปะและนี่ก็คือที่มาของอุปรากร อุปรากรเรื่องแรกของโลกชื่อว่า “Euridice” ประพันธ์โดย Jacopo Peri ซึ่งต่างขึ้นแสดงเนื่องในโอกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับ Maric di Medici อุปรากรนี้จัดแสดงขึ้นในเมืองฟลอเรนซ์เมื่อปี ค.ศ. 1600 หลักจากนั้นอีก 7 ปี คีตกวีคนสำคัญชื่อ Monteverdi ก็แต่งอุปรากรที่มีชื่อเสียงคือ Orfeo จะไม่เล่าเรื่องราวโดยละเอียดของ Orfeo เพียงแต่จะบอกว่าเป็นอุปรากรที่แต่งขึ้นตามแนวของเทพนิยายกรีกเรื่อง Orpheus เดินทางไปสู่นรกเพื่อจะนำเอาวิญญาณของสาวคนรักที่ชื่อ Eurydice กลับคืนมา นักแต่งอุปรากรคนสำคัญคนหนึ่ง ท่านคือ Claudio Monleverdi ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1507-1643 ผู้ซึ่งเกิดที่เมือง Cremona ใน Jbalu ท่านผู้นี้เป็นคีตกวีสำคัญในยุคบาโร้คตอนต้นๆ เขาทำงานอยู่ในราชสำนัก Matua อยู่ราว 21 ปี โดยเริ่มจากการเป็นนักร้องและนักไวโอลินและภายหลังจึงได้เป็นผู้อำนวยการวงดนตรีในราชสำนักนั้น และนี่เองเป็นที่ๆเขาได้สร้างอุปรากรชั้นครูชั้นแรกขึ้นมาคือเรื่อง Orfeo (Opheus, 1607) ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับหรือกว่าจะได้รับการยกย่องอีกเท่าไรนัก ความสำเร็จของ Monteverdi เริ่มต้นเมื่อเขาได้รับเลือกให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวงดนตรีที่ St. Mark เมืองเวนิส ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับในโบสถ์ของอิตาลี ซึ่งเขาทำงานอยู่เรียกว่า 30 ปี จนกระทั่งถึงแก่กรรมลงไปในปี 1643 ในขณะที่ทำงานที่ St.Mark นี้ Monterverdi ไม่ได้แต่งเฉพาะบทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาเท่านั้น แต่ยังได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับฆราวาส เพื่อใช้บรรเลงในหมู่ขุนน้ำขุนนางและบุคคลชั้นสูงด้วย เขาได้เขียนอุปรากรให้แก่ San Cassiano แห่งเวนิส ซึ่งเป็นโรงอุปรากรสาธารณะแห่งแรกในยุโรป และเขียนอุปรากรเรื่องสุดท้าย คือ The Corondtion of Poppea (1642) เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี Monteverdi เป็นเสมือนอนุสาวรีย์ทางประวัติการดนตรีในยุคศตวรรษที่ 15-17 งานของเขาเชื่อมโยงลักษณะของดนตรีของ 2 ศตวรรษนี้เข้าด้วยกัน และยังส่งอิทธิพลให้แก่นักดนตรีและคึตกวีในยุคนั้นอีกไม่น้อยเลย

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุณลักษณะทางดนตรี ในยุคบาโร้ค

คุณลักษณะทางดนตรีในยุคบาโร้ค ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า คุณลักษณะทางดนตรีสมัยบาโร้คที่จะกล่าวต่อไปนี้เพ่งเล็งเฉพาะในช่วง ค.ศ. 1680-1750 เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาของบทเพลงยุคบาโร้คประเภทที่พวกเราได้ยินได้ฟังกันอยู่ในปัจจุบันเป็นส่วนมาก ในช่วงปลายยุคสมัยนี้บทเพลงบรรเลงมีความสำคัญขึ้นพอๆกับเพลงร้อง และแม้ว่าในช่วงแรกของยุคบรรดาคีตกวีจะเป็นแบบ Homophony Texture คือบทเพลงทำนองเดียวก็ตาม แต่ค่อยๆเพิ่มลักษณะของ polyphony คือบทเพลงหลายทำนองขึ้นในตอนปลายยุค ลักษณะสำคัญของดนตรียุคบาโร้ค ดนตรีในยุคนี้มีลักษณะที่สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ 1. มีอารมณ์เดียวกันตลอดเพลง (Unity of Mood) เขียนบทเพลงที่เริ่มต้นด้วยอารมณ์สนุกสนาน ก็สนุกสนานไปตลอดเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่คีตกวีจะเลือกใช้จังหวะที่แน่นอนตายตัวควบคู่ไปกับท่างทำนอง ซึ่งสามารถจะพบได้ทั้งเพลงร้อง และเพลงบรรเลง 2. ใช้จังหวะเดียวกันตลอดเพลง (Unity of Rhythm) บทเพลงเพลงหนึ่งจะใช้จังหวะอย่างเป็นเอกภาพตลอดเพลง ไม่มีช้าลงหรือเร็วขึ้นไม่เปลี่ยนแปลงจังหวะ ซึ่งจะทำให้อารมณ์เพลงคงที่อยู่เช่นนั้นเรื่อยไป 3. ท่วงทำนองเพลงให้ความรู้สึกที่เชื่อมโยงติดต่อกัน (Continuity of Feeling) ทำนองที่ได้ยินตอนต้นเพลงจะมีการนำมาใช้บ่อยๆ ในลักษณะต่างๆกัน โดยไม่เปลี่ยนแปลง ให้ความรู้สึกที่เคลื่อนที่ไปอย่างต่อเนื่อง ทำนองสั้นๆ เมื่อขึ้นต้นเพลงจะถูกนำมาขยายให้ยาวขึ้นภายหลังโดยไม่มีหยุด แต่บรรเลงด้วยโน้ตติดต่อกันเป็นทำนองเต็ม 4. ใช้เสียงดังและเบาสลับกัน (Terraces Dynamics) ถึงแม้ว่าการบรรเลงดตนรีที่เป็นความเบาและดังประเภทค่อยๆดังขึ้นหรือค่อยๆเบาลง จะไม่มีปรากฏในยุคบาโร้คด้วยข้อจำกัดของเครื่องดนตรีที่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ก็ตาม แต่ก็มีการใช้เสียงดังและเบาสลับกันเป็นช่วงๆที่เรียกว่า Terraces Dynamics คือ ดังเป็น ff สลับกับเบา p เป็นสาเหตุที่ต้องใช้ Dynamic แบบนี้ก็เพราะเครื่องดนตรี เช่น ออร์แกน และฮาร์พซิคอร์ดที่ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้ และเม้ว่าตอนปลายยุคจะมีคลาวิคอร์ดซึ่งสามารถทำเสียงหนักเบาได้บ้างแต่ก็ในช่วงแคบๆ คือระหว่างเบาที่สุดไปจนถึงปานกลางเท่านั้น จึงไม่อาจสร้างอารมณ์ด้วยเสียงหนัก-เบาได้มากนัก 5. Texture หรือผิวพรรณของดนตรียุคบาโร้ค เด่นชัดในลักษณะของดนตรีหลายทำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำนองในระดับเสียงสูง (Soprano) และเสียงต่ำ (Bass) จะมีความสำคัญเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามคีตกวีบางคนเช่น Handel ก็ยังคงใช้ผิวพรรณแบบหลายทำนองกับแบบทำนองเดียวสลับกันไปมาอยู่บ้างเหมือนกัน 6. มีการใช้ Figured Bass หรือการกำหนดทำนองของ Bass โดยการเขียนเป็นตัวเลขที่เรียกว่า Figured Bass แทน การเขียนเป็นตัวโน้ต ซึ่งสามารถประหยัดเนื้อที่กระดาษได้เป็นอย่างมาก การกำหนดแนวเบสด้วยตัวเลขนี้มีลักษณะคล้ายกับการวางแนวทำนองหลักของเสียงเบสในดนตรี Jazz ซึ่งไม่ได้กำหนด Chord progression ไว้เป็นตายตคัว เปิดโอกาสให้คีตกวีสามารถตกแต่งทำนองต่างๆได้อย่างมาก และความงามของท่วงทำนองที่มีแนวเบสเป็นตัวนำนี้เองก่อให้เกิด “กลอนเพลง” (Sequences) ตามแบบฉบับของบาโร้คขึ้นมา 7. การบรรยายอารมณ์และความรู้สึกด้วยท่วงทำนองเฉพาะ (Words and Music) เช่น เสียงสูงหมายถึงสวรรค์ เสียงต่ำอาจจะหมายถึงนรก การเสียงสูงขึ้นหมายถึงการทำดี เสียงค่อยๆต่ำลงอาจหมายถึงความตกต่ำและความเจ็บปวด ความผิดหวังใช้การเรื่องเสียงต่ำลงของขั้นคู่สี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานของดนตรีในยุคนี้ 8. ลักษณะการประสมวงดนตรี ดนตรียุคบาโร้คเน้นที่การรวมกันเป็นวงบรรเลง โดยใช้กลุ่มเครื่องสายตระกูลไวโอลินเป็นหลัก และถ้าเอาเกณฑ์ปัจจุบันเป็นมาตรฐานแล้ว วงออร์เคสตาร์ในสมัยบาโร้คนั้นค่อนข้างจะมีขนาดเล็ก คือประกอบด้วยเครื่องดนตรีตั้งแต่ 10 ชิ้น ไปจนถึง 30 ชิ้น และน้อยครั้งที่จะมากขึ้นไปถึง 40 ชิ้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประสมวงก็ไม่แน่นอน แล้วแต่บทเพลงว่าคีตกวีจะกำหนดให้ใช้อะไร เครื่องดนตรีหลักที่บรรเลงแนวทำนอง Basso Continuo ได้แก่ ฮาร์ฟซิคอร์ด และเชลโล่ ดับเบิ้ลเบสหรือบาสซุน ส่วนทำนองเพลงเสียงสูงได้แก่ Violin 1st 2nd และ Viola ส่วนเครื่องดนตรีประเภทปี่ ขลุ่ย (หรือ Wood Wino) แตร (Brass) และเครื่องตี (Percussion) นั้น สุดแล้วแต่ความเหมาะสมของเพลงแต่ละบท ในส่วนของเครื่องดนตรีดำเนินทำนองในกลุ่มของเครื่องสาย ก็อาจจะเพิ่มขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ฟลุท ปี่โอโบ แตรทรัมเป็ แตรทรอมโบน หรือกลองทิมปานี่ก็ยังได้ด้วย จำนวนของเครื่องดนตรีก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป บทเพลงบางบทอาจจะใช้ฟรุทเลาเดียวขณะที่มีโอโบ 2 เลา และทรัมเป็ต 4 คัน แตรทรัมเป็ตและกลองทิมปานี่มักจะใช้ในตอนที่แสดงถึงเทศกาลงานฉลองต่างๆเสียเป็นส่วนมาก ลักษณะการประสมวงดนตรีในยุคบาโร้คนี้ไม่ได้เป็นไปตามการประสมวงในดนตรีปัจจุบันที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เครื่องสาย ปี่-ขลุ่ย แตร และเครื่องจัวหวะ ทรัมเป็ตในยุคบาโร้คคล้ายกับเฟรสซ์ฮอร์นในยุคแรกๆ คือไม่มีลูกสูบกดนำเสียงสูงต่ำ แต่ใช้ปากบังคบ สามารถเป่าเสียงสูงต่ำเป็นทำนองได้อย่างรวดเร็วในระดับเสียงค่อนข้างสูง เครื่องดนตรีชนิดนี้เล่นยากและเคยมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์ และถือเป็นเครื่องดนตรีบรรดาศักดิ์ของวงออร์เคสตร้า ในอดีตหากนักเป่าทรัมเป็ตถูกจับได้ในสงครามแล้วมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกกันละก็นักเป่าทรัมเป็ตจะได้รับเกียรติในฐานะเดียวกับนายทหารเลยทีเดียว คีตกวีอย่าง Bach, Handel และ Vivaldi จะเลือกใช้เครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังเพื่อให้เหมาะสมกับบทเพลงที่แต่งขึ้น แต่ละทางและนิยมทดลองใช้เครื่องนั้นเครื่องนี้จนกว่าจะพอใจ 9. รูปแบบของดนตรีในยุคบาโร้ค มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง และเป็นที่ทราบดีว่าแต่ละเพลงมักจะมีอารมณ์เพลงเป็นเอกภาพ เพลงบทหนึ่งๆ ประกอบด้วยหลายท่อน ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกัน แต่ละท่อนมีลักษณะที่จบสมบูรณ์ในตัวเอง และไม่จำเป็นต้องมีความเกี่ยวพันกับท่อนต่อๆไป โดยที่แต่ละท่อนมักจะมีทำนองหลัก (Theme) ของตนเอง บทเพลงแบบ 3 ท่อนของยุคบาโร้คอาจจะขึ้นต้นด้วยลักษณะที่ตัดกันของจังหวะที่ช้าและเร็วตามด้วยท่อนช้าและสุขุมคัมภีรภาพ จบด้วยท่อนเร็วสบายๆหรือเต็มไปด้วยอารมณ์ขันก็ได้ รูปแบบของดนตรียุคบาโร้คมีทั้งบทเพลง 3 ท่อน ABA เพลงทั้งท่อน AB และเพลงที่มีท่อนเดียว ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นๆ และคือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะให้มีลักษณะตัดกันระหว่างการบรรเลงของเครื่องดนตรีกลุ่มย่อยๆกับวงออร์เคสตร้าหรือระหว่างเครื่องดนตรีกับการขับร้องประกอบวงดนตรี

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Baroque period 1600 - 1750

ดนตรียุคบาโร้ค Baroque 1600-1750 สภาพทางสังคม ศิลปะแบบบาโร้คเกิดในระยะเวลาแห่งความรุ่งเรือง การประดับตกแต่ง ความหรูหรา และความสมบูรณ์แบบของศิลปะต่างๆ ระยะเวลาของดนตรียุคบาโร้คตกอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1600-1750 พิเศษระหว่างดนตรีใช้คำว่า “บาโร้ค” เพื่อกำหนดยุคของศิลปะในช่วงเวลานี้ ลักษณะของศิลปะช่วงนี้จะใช้การประดับตกแต่งให้เต็มพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนสีน้ำมัน การแกะสลักหิน และแม้แต่เสียงดนตรี ทั้งนักดนตรี จิตรกร ช่างปั้นและสถาปนิก ต่างก็ให้ความสนใจในการสร้างงาน ที่ประดิษฐ์ประดอยโดยสมบูรณ์ทั้งชิ้นงานของตน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ การจัดฉากในการแสดงต่างๆ และงานศิลปกรรมอื่นๆ ศิลปินคนสำคัญๆ เช่น Bernini, Rubens และ Rembrandt ต่างก็ใช้วัสดุในการประดับตกแต่งส่วนละเอียดและขยายเนื้อหาของงานศิลปะของเขาโดยการใช้สีสันต่างๆกันบ้าง การประดับประดาให้เป็นส่วนลึกแบบสามชั้นบ้าง เพื่อให้ได้โครงสร้างที่สมบูรณ์แบบในผลงาน สไตล์หรือรูปแบบงานในลักษณะนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่บุคคลชั้นสูงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นประสงค์ของประชาชนคนที่สร้างในช่วงเวลานั้นก็คือ “การประสมประสานของศิลปะโดยรวม” (Total Integrates) ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ “พระราชวังแวร์ซายส์” ในราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งเป็นที่รวมของศิลปะทุกสาขาเอาไว้ด้วยกัน ทั้งภาพเขียน ภาพปั้น แกะสลัก สถาปัตยกรรม และเสียงเพลง ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ความฟุ่มเฟือย และอำนาจราชศักดิ์ บทเพลงแบบของบาโร้ค เกิดจากการสร้างงานของโบสถ์ในอันที่จะใช้เรื่องราวของอารมณ์ ความรู้สึก ที่แสดงออกแบบการละครมาใช้ในเพลงสวดเพื่อสร้างศรัทธา ความเชื่อ ความขลังของศาสนายิ่งขึ้นไปอีก ในยุคบาโร้คนี้แม้ว่าศิลปกรรมจะหรูหราฟู่ฟ่ามากก็ตาม แต่ในทางวิทยาการแล้วเป็นจุดแห่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยเลย เช่น งานของกาลิเลโอ (ดนตรี) Newton (แรงโน้มถ่วง) ฟรานซิส เบคอน ด้านปรัชญาก็มี ปรัชญาเมธี ที่ให้ความคิดความเห็นกว้างขวางเช่น จอห์น ลอค/เรอเน เดการ์ท/จิตรกรคนสำคัญ ได้แก่ แรมแบรนท์ รูเบน โฮการ์ช นักเขียนคนสำคัญ ได้แก่ จอห์น มิลตัน แดเนียล แดโฟ Gulliver Travel ฯลฯ วรรณกรรมในยุคนี้จะเป็นเรื่อง Satiro (ล้อเลียน) สังคมอันหรูหราฟู่ฟ่าของคนชั้นสูง ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปยังจมอยู่ในกอบทุกข์และการเอารัดเอาเปรียบ ในจุดต้นๆ ของสมัยบาโร้คนี้ คีตกวีได้เลิกใช้ Texture แบบ Polyphony ไปแล้วเป็นส่วนมาก แต่หันมาใช้บทเพลงที่มี Texture แบบ Monody/Molophony คือมีทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียว แล้วมีแนวขับร้องเสียงต่ำเป็นตัวประกอบที่เรียกว่า Basso continuo ลักษณะของ polyphony ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในดนตรีแบบ Fugue ที่บรรเลงด้วยคลาวิคอร์ท ฮาร์พซิคอร์ดและออร์แกน รวมทั้งประเภท Chrale และ Toccata ที่ประพันธ์ขึ้นโดยใช้การประสานทำนอง (Counterpoint) บทเพลงที่ใช้ในศาสนาในลักษณะต่างๆกันได้แก่ บทเพลงแบบ Oratorio, Mass, Passion, Cantata ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปภายหลัง ลักษณะสำคัญที่ทำให้ดนตรีบาโร้คมีลักษณะเด่นก็คือ “ความตรงข้ามหรือการตัดกัน” (Contrasting) เช่น ด้านความเร็ว-ช้า ดัง-ค่อย การบรรเลงเดี่ยว-และทั้งวง ซึ่งจะพบได้ในบทเพลงประเภท Trio-Sonata, Concerto Grosso, Sinfonia และ Cantata ซึ่งจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไปเช่นเดียวกัน

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คีตกวี ยุคเรเนสซองส์

คีตกวี (Composers) สมัยนี้มีคีตกวีที่มีชื่อเสียงจำนวนมรก แต่ควรรู้จัก ได้แก่
กิโยม ดูฟาย (Guillaum Dufay : 1400-1474) ท่านผู้นี้เป็นครูดนตรีคนสำคัญสำนักดนตรีเบอร์กันดี (Burgundian School) ลักษณะสำคัญทางดนตรีของท่านผู้นี้ คอ การให้ความสำคัญกับทำนองเพลงในระดับเสียงสูง ทั้งในตัวทำนองเพลงเองและในกระสวนจังหวะของแต่ละวลี
จอสแกง เด เปร (Josquin des Prez : 1420-1521) เป็นนักดนตรีคนสำคัญกลุ่มเฟลมิช (Flemish School) ถือกันว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ท่านผู้นี้ทำให้บทเพลงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงลักษณะทางศิลปะของบุคคลได้อย่างชัดเจน เป็นคีตกวีที่ผลงานดนตรีได้รับการตีพิมพ์ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ อาเดรียน วิลลาร์ด (Adrian Willaert : 1490-1562) เป็นนักดนตรีกลุ่มเฟลมิช แต่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีเวียนนา (Venetian School) แต่งเพลงสำหรับศาสนาที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทมาดิกราล มีชื่อเสียงมาก 
จิโอวันนี เปอลุยจี ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi Palestrina : 1525-1594) ครูดนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเรอเนสซองส์ ชำนาญด้านดนตรีแบบโรมันคาทอลิก เป็นผู้อำนวยการวงดนตรี Cappella Givalia แห่งสำนักวาติกัน ถือว่าเป็นผู้แต่งเพลงร้องสมบูรณ์แบบตามลักษณะของ แคพเพลล่า โดยใช้เทคนิคชั้นสูงอย่างสมบูรณ์ นิยมแต่งเพลงแบบที่ใช้เสียงประสม (diatonic) และใช้ผิวพรรณทางดนตรีที่เกลี้ยงเกลา
 วิลเลียม เบอร์ด (William Byrd : 1543-1623) เป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สึดเท่าที่ประวัติศาสตร์ดนตรีของอังกฤษเคยมี เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้แต่งเพลงโพลีโฟนีชั้นยอดที่ใช้เนื้อร้องทางศาสนา เช่น แมส 3 4 และ 5 แนวทำนอง รวมทั้งเพลงที่บรรเลงด้วยออร์แกน
เวอร์จินอล (Virginal) เคลาดิโอ มองเตเวอร์ดี (Claudio Monteverdi : 1543-1567) เป็นคีตกวีคนสุดท้ายแห่งยุคเรอเนสซองส์ และเป็นคนแรกแห่งยุคบาโร้ค เป็นผู้มีลักษณะการประพันธ์เพลงเป็น 2 รูปแบบที่ต่างกัน คือ แบบเก่า (stile antico) กับ แบบใหม่ (stile medomo) แบบแรกเป็นบทเพลงร้องศาสนา เช่น คอราล (Choral) และ มาดิกราล (Madrigal) ส่วนแบบหลังเป็นลักษณะทางดนตรีที่ถือได้ว่าเป็นการปูทงไปสู่ลักษณะของบาโร้คที่แท้จริง

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บัลเล่ต์ สมัยเรอเนสซอลส์

บัลเล่ต์สมัยเรอเนสซองส์ บทเพลงร้องของประชาชนคนธรรมดาทั่วไปซึ่งไม่ใช้บทเพลงของนักบวชหรือเพลงที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และเป็นบทเพลงที่เรียบง่ายกว่าเพลงร้องแบบ “Madrigal” ก็คือประเภทที่เรียกว่า Ballet (Fa-la) ซึ่งเป็นบทเพลงที่คล้ายกับเพลงเต้นรำประกอบด้วยการร้องเดี่ยวหลายๆเสียงที่มีผิวพรรณแบบ Homophonic การร้องเพลงแบบนี้มีลักษณะที่ตรงข้ามกับเพลงที่มีผิวพรรณเป็น Polyphony ตามแบบฉบับทั่วไปในยุค Renaissance นี้ เพลงทำนองเดียวที่ร้องซ้ำซากด้วยเนื้องร้องในบทต่างๆของกวีนิพนธ์ และใช้ลูกคอร้องด้วยคำว่า fa-la ซ้ำทุกๆ 1 คำกลอน บทเพลงแบบ Ballet ของยุคนี้เริ่มต้นขึ้นในประเทศอิตาลีก่อน ชาวอิตาเลียนเรียกบทเพลงประเภทนี้ว่า “balletto” เมื่อเผยแพร่เข้าไปในอังกฤษจึงเรียกสั้นๆว่า “ballet: แต่ที่นิยมกันมากคือเรียกว่าเพลง “fa-la-la” ด้วยเหตุที่เพลงแบบนี้จะมีลูกคู่ร้องว่า “fa-la-la” หรือำม่ก็ร้องด้วยวลีที่ปราศจากความหมายอื่นๆ เช่น “hey nonny nonny” หรือ “tan tan tarira” เป็นต้น บทเพลงชนิดนี้แพร่หลายมากในราวตอนปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17 บทเพลงประเภท ‘Ballet” หรือ fa-la-la ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ “Now is the month of Maying” (1595) ของ Thomas Morley ในขณะที่บทเพลงร้องแบบนี้แพร่หลายอยุ่ในอังกฤษ บทเพลงประเภทที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี (Instrumental Music) ก็มีความเข้มแข็งขึ้นและเป็นที่นิยมมากขี้น ทั้งการบรรเลงประกอบร้องและประกอบการแสดง โดยเริ่มมาตั้งแต่ตอนต้นศตวรรษที่ 15 โดยกการดัดแปลงปรับปรุงมาจากเพลงร้องพื้นของ โดยบรรเลงแบบ Polyphonic ในช่วงศตวรรษที่ 16 บทเพลงบรรเลงก็มีความก้าวหน้าและทวีความสำคัญมากขึ้น มีการแต่งเพลงแบบนี้ขึ้นใหม่ โดยไม่ได้เลียนแบบเพลงร้องแต่อย่างใด และมีการกำหนดท่วงทำนองเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดด้วย เช่น มีการใช้ Harp sichord, Organ และ Lute เป็นต้น บทบรรเลงจำนวนมากได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อประกอบการแสดงเพื่อความบันเทิง คนที่หลงใหลในวัฒนธรรมแบบนี้พยายามจะเรียนและฝึกฝนการเต้นรำให้เก่งจากครูเต้นรำมืออาชีพเพื่อความมีหน้ามีตาม การเต้นรำแบบราชสำนักจะมีการเต้นเป็นคู่ 1 ที่นิยมกันมากคือ การเต้นช้าๆ แบบที่เรียกว่า “pavanne” ในแบบอัตรา 2 จังหวะ เช่น 2/2 และ 2/4 เป็นต้น ที่มาของการเต้นแบบนี้ก็คือจากเมือง “Para” และเมือง “Padua” ของอิตาลี ส่วนการเต้นแบบ 3 จังหวะมักเป็นชนิดที่เรียกว่า “galliard” ซึ่งยังมีบทเพลงตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องดนตรีสำคัญสมัยเรอเนสซองส์แบ่งออกเป็ฯประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีเสียงดัง สำหรับบรรเลงกลางแจ้ง เช่น แตร “ทรัมเป็ต” และประเภทเสียงนุ่มนวล สำหรับบรรเลงในอาคาร เช่น Lute ชนิดต่างๆและขลุ่ย Recorder วงดนตรีประกอบด้วยการบรรเลงเครื่องดนตรี 3-8 ชนิดในระดับเสียงตั้งแต่ Soprano จนถึง Bass

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปาเลสตรีนาแบบของเรเนสซองส์

ปาเสลตรีนาและแบบของเรเนสซองส์ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 คีตกวีอิตาเลียนให้ความสนใจและประพันธ์เพลงตามแนวคิดของกลุ่ม “เฟรมิส” อย่างเช่น งานของ นหๆรืฟ ฏำหยพำหห คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในหมู่คีตกวีอิตาเลียนดังกล่าวนี้ก็คิอ Giovanni Pier Wigi da Palestrina (1525-1594) ซึ่งอุทิศตนให้แก่การประพันธ์เพลงใฝห้แก่ศาสนาที่ใช้ในพิธีกรรมของคาทอลิค งานของเชาปรากฎมากที่สุดในโรมซึ่งเป็นที่ที่เขาทำงานในหน้าที่สำคัญๆ รวมทั้งเป็ฯผู้อำนวยการวงดนตรีที่โบสถ์ St .Peter ด้วย งานของปาเลสตร์นามีมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเพลงสวดประเภท Mass มีถึง 104 บท และบทเพลงอื่นๆอีก 450 บท บทเพลงที่มีชื่อเสียงมากของปาเลสตร์น่ก็คือบทที่ชื่อว่า “Pope Macellus (1562-63) ซึ่งอุทิศให้แก่สันตปาปาชื่อ Pop Macellus เช่นเดียวกันบทเพลงบทนี้เขียนสำหรับนักร้องประสานเสียง 6 แนวคือ soprano alto, 2 tenors, และ 2 basses บทเพลงสวดในยุคเรอเนสซองส์นั้นมีมากมายเหลือคณานับ แต่ในชณะเดียวกันบทเพลงสำหรับฆราวาสก็เจริญขึ้นมาก บทเพลงสำหรับฆราวาสหรือชาวบ้านชาวเมืองทั่วไปที่จะกล่าวถึงก็คือ เพลงประเภทเพลงร้อง เพลงร้องที่สำคัญในจุดนี้ก็คืเพลงร้องแบบ Madrigal เนื่องจากในจุดนี้มีบทเพลงที่เป็น “บทกวีนิพนธ์” ในภาษาต่างๆมากมาย ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งทั่วทั้งทวีปยุโรป ดนตรีกลายเป็นงานอดิเรก และการพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญยิ่งยวด บทเพลงส่วนมากเป็นการร้องเดี่ยว และ/หรือมีดนตรีประกอบบทเพลงของชาวบ้านมีการแสดงออกถึงอารมณ์ต่างๆอย่างชัดเจนและเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างรวดเร็ว รูปแบบที่สำคัญของบทเพลงเป็นแบบที่เรียกว่า “Madrigal” ซึ่งเขียนขึ้นสำหรับการร้องเดี่ยวหลายแนวในลักษณะของคีตนิพนธ์ และบทกวีสั้นๆ มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ลักษณะของผิวพรรณ (Texture) ของดนตรีคล้ายๆกับ Motet คือเป็น homophonic และ polyphonic (ทำนองเดียวมีการประสานเสียง และบทเพลงที่มีทำนองหลายทำนองซ้อนกัน) แต่มักจะบรรยายความรู้สึกด้วยถ้อยคำต่างๆ บทเพลงแบบ Madrigal เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศอิตาลีในราวปี 1520 ในช่วงที่นิยมกันมากมีการพิมพ์บทเพลงเหล่านี้ออกมานับพันๆบท ในระหว่างศตวรรษที่ 16 และมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์ออกเผยแพร่ในกรึงลอนดอนในปี 1588 อีกด้วย ทำให้มีผลที่ตามมาก็คือคีตกวีอังกฤษก็เขียน Madrigal ขึ้นมาเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่บทเพลงแบบอังกฤษจะฟังสบายๆและแสดงออกถึงอารมณ์ขันมากกว่า มีท่วงทำนองและการประสานเสียงฟังง่ายกว่าด้วย

renaissance period (1450 - 1600 )

ยุคเรอเนสซองส์ Renaissance (1450-1600) สไตล์ หรือท่วงที ลีลา รูปแบบและลักษณะของดนตรีแบบฉบับในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 450 ถึง 1450 หรือที่ทราบกันในนามของ Medieval Period หรือยุคกลางของยุดรปซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง 1,000 ปีนั้น ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างเชื่องช้ามาก เนื่องจากการคมนาคมและการสื่อสารในจุดนั้นยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือกว่าที่ใครจะผุดแนวคดใหม่ทางดนตรีขึ้นมา และส่งผลกระทบถึงสังคมซึ่งใช้เวลานานมาก ดนตรีของสังคมหนึ่งๆจึงคงลักษณะเฉพาะของตัวเองไว้ได้นาน ลักษณะของดนตรีในยุคโมดิเอวัลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นๆ สรุปได้ว่าเป็น 2 จำพวก คือ เพลงสวดในโบสถ์ ซึ่งเริ่มต้นจากทำนองเดียวโดดๆ แล้วขยายเป็น 2 ทำนอง 3 ทำนอง โดยแปรเปลี่ยนทิศทางของท่วงทำนองไปตามสมควร เพลงพวกนี้คือจำพวก Organum อย่างหนึ่ง และเพลงของฆราวาสหรือประชาชนธรรมดาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งภายหลังมากลายเป็นบทเพลงหลายทำนองอย่างแท้จริง โดยมีคีตกวีสำคัญสองท่านจากค่ายดนตรี Notre Dame คือ Perotin และ Leonin เป็นหลัก จากนั้นแนวคิดเรื่องบทเพลงหลายทำนองก็ค่อยๆแผ่ขยายกว้างขวางออกไป สไตล์ของดนตรีในช่วงต่อมามีความเปลี่ยนแปลงไปจากยุคเมดิเอวัลคือยุรเรอเนส์ซองซ์ (Renaissance) ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1450-1600 อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้เป็นเพียงการหมายรู้ในทางวิชาการเท่านั้น หาใช่จุดแบ่งอันชัดเจนเหมือนรั้วหรือความแตกต่างระหว่างขาวกับดำไม่ แท้จริงแล้วยังมีบริเวณคาบเยวระหว่างดนตรีลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่งอยู่ด้วย เปรียบเสมือนรอยต่อสีเทาระหว่างขาวแล้วค่อยๆกลายไปเป็นดำฉะนั้น ดนตรีในยุคเรอเนซองส์ระหว่าง ค.ศ. 1450-1600 นี้ ก็ยังคงจำแนกออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดิมคือ บทเพลงทางศาสนา (Sacred Music) และบทเพลงของฆราวาส (Secular Music) คำว่า Renaissance มีความเช่นเดียวกับคำว่า Rebirth หรือ “การเกิดใหม่” ซึ่งหมายถึงการมีแนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การค้นพบสิ่งใหม่ๆเป็นจุดแห่งการสำรวจ การค้นคว้า ทั่งทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งมีผลมาจากทางการเมืองการปกครองและสังคม เริ่มต้นจากการเดินทางสำรวจดินแดนของท่านคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (1492) การเดินทางของวาสโก ดา กามา (1498) และเฟอร์ดินาน แมกเจนแลนท์ (1519-1522) เรอเนสซองส์เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัย และมีคำถามแง่มุมต่างๆมากมาย พูดง่ายๆว่าเป็นยุคที่ผู้คนรู้จักใช้ความคิดมากการการเชื่อตาม จึงก่อให้เกิดลัทธิตัวใครตัวมัน (Individualism) ขึ้นมา ศิลปกรต่างๆรวมทั้งดนตรีจึงมีความหลากหลายมากว่าแต่ก่อน แนวความคิดที่เป็นแกนนำของสังคมสมัยนั้นคือ แนวคิดที่เรียกว่า “Humanism/มนุษยนิยม” ซึ่งเพ่งเล็งถึงความสำคัญและการสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นหลัก “นักมนุษยนิยม” ไม่สนใจแม้กระทั่งนรกหรือสวรรค์วิมานอะไรทั้งสิ้น พวกนี้ไม่แคร์คำสอนของคริสเตียน แต่ใช้วัฒนธรรมแบบกรีกและโรมันโบราณ ทำให้ผู้เคร่งศาสนามองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นพวกนอกศาสนาหรือเป็นพวกโบราณนิยม ซึ่งแนวคิดของนักมนุษยนิยมนี้มีผลอย่างยิ่งของศิลปกรรมยุโรป ภาพเขียนก็ดี ภาพปั้นก็ดี จะแสดงสัดส่วนอันงดงามของเรือนกายมนุษย์โดยไม่มีผ้าผ่อนท่อนสไบมาปิดบัง ดังนั้น “มาดอนน่า” จึงไม่ใช่เด็กไร้เดียงสาอีกต่อไป แต่เป็นการแสดงออกถึง “ความงามของเด็กสาว” ในช่วงนี้โบสถ์คริสต์และนักบวชทั้งหลายเสื่อมอำนาจลง หลังจากได้เช่นฆ่าสตรีที่เข้าใจว่าเป็น “แม่มด” เสียนับไม่ถ้วน ความเสื่อมอำนาจของคาธอลิคเห็นเด่นชัดด้วยกำเนิดของนิกายโปรแตสเต็นท์ที่นำโดย Martin Luther (1483-1546) ดนตรีในยุคเรเนสซองศ์รุ่งเรืองขึ้นเช่นเดียวกับศิลปะอื่นๆ เนื่องจากมีการประดิษฐกรรมด้านการพิมพ์เกิดขึ้นจึงสามารถพิมพ์โน้ตเพลงได้ ทำให้ดนตรีแบบใหม่ๆแพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็ว มีคีตกวีและนักดนตรีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า สั่งห้ามเข้าไทยฤทธิ์เท่าเฮโรอีน

คือจาก http://www.pantip.co...9/X8973999.html จั่วหัวไว้ว่า เตือนภัย บุหรี่ไฟฟ้า : สั่งห้ามเข้าไทย ฤทธิ์เท่าเฮโรอีน เอ่ออ่านดูก็น่าสนใจนะ มันไม่ดีจริงเหรอ พออ่านไปเรื่อยๆ กลับพบว่า rep ที่ตอบหลังๆ กลับมาสนับสนุนซะอีก ว่า ที่เค้าเลิกบุหรี่ได้ ก็เพราะ ไอ้บุหรี่ไฟฟ้านี่แหละ และหลายๆคน เลิกสูบบุหรี่จริง ตั้งแต่สูบไอ้บุหรี่ไฟฟ้านี่ครั้งแรกเลย ผมก็เลยไล่ๆตามหาข้อมูลต่อ ถึงเรื่องข้อมุลที่ว่า ก็ไปเจอนี่เข้า http://www.iquittclu...mo=5&qid=444053 1.มีนิโคตินสูงเปน 15 เท่าของบุหรี่จริง (ทำให้บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายเทียบเท่าโคเคน) 2.ห้ามจำหน่ายใน 5 ประเทศตามเนื้อข่าวคือ ควีนส์แลนด์/ออสเตรเลีย ปานามา บราซิล ตุรกี จอร์แดน ...ผมได้ข่าวนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 มีนาคมแล้วครับ โดยลงหนังสือพิมพ์ในวันที่ 10 ถึงเรื่องดังกล่าว และผมได้ต่อสายตรงเพื่อเข้าชี้แจงกับท่านผอ.สนง.ควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรรัตน์ (ผู้ให้ข่าว ตามข่าว) เพื่อแจ้งท่านว่า 1. นิโคตินที่บอกว่าสูงเป็น 15 เท่านั้น ผิดจากข้อเท็จจริงมาก เพราะท่านเทียบจากบุหรี่ตัวหนึ่งมีนิโคติน 1.2 มก. แต่ระดับความเจือจางของนิโคตินในคาร์ทริดจ์ระดับสูงคือ 18 มก.ท่านก็เทียบแบบบัญญัติไตรยางเลยคือ 1.2/18 เท่ากับ 15 เท่า ในความเปนจริง น้ำยาในคาร์ทริดจ์ ของ iquitt จะมีระดับนิโคตินแบบสูงสุดที่ 16 มิลลิกรัม/1มิลลิลิตร ซึ่งน้ำยาจริงๆที่บรรจุในคาร์ดทริดจ์จะมีอยู่ 0.48 มก. หรือเทียบง่ายๆว่าครึ่งหนึ่ง จึงจะเหลือค่านิโคตินเจือจากเพียงแค่ครึ่งเดียว...ซึ่งเท่ากับ 8 มก. เมื่อทราบว่ามีปริมานนิโคตินในคาร์ดทริดจ์เต็มๆอยู่ราว 8 มก. ก็จะเทียบได้กับบุหรี่จริงๆ 1.2 มก/8 มก เท่ากับไม่ถึง 7 ตัวนะครับ แต่ด้วยว่ามันสามารถใช้งานได้จริงๆ 80-120 puff ซึ่งเทียบกับบุหรี่จริงๆ ซึ่งจะมีค่าอยู่ที่ 12-15 puff ต่อตัว ก็จะเทียบได้ว่าเท่ากับบุหรี่ ราวๆ 7-9 ตัว บวกลบ... เมื่อเทียบกันแล้ว...การสูบในแต่ละ Puff ของ iQuitt จะให้ค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่จริงๆมากที่สุด ไม่มีใครที่ใช้งาน iQuitt 1 คาร์ดทริดจ์แล้วใช้เวลาเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ตัวได้หรอกครับ เปนการเทียบเคียงที่ขาดสภาพความเปนจริงอย่างมาก2. ที่กล่าวว่าห้ามจำหน่ายใน 5 ประเทศข้างต้น จริงๆมี สิงคโปร์ ฮ่องกง รวมอยู่ด้วย เท่ากับราวๆ 7-8 ประเทศที่ไม่อนุญาติให้จำหน่าย แต่..ประเทศที่ให้จำหน่ายจริงๆอย่างเสรีคือ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปอันประกอบด้วย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย, ไซปรัส, สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน เรียกได้ว่าเกือบทั้งทวีป รวมถึงนิวซิแลนด์ และรัฐอื่นๆที่เหลือนอกจากควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย และประเทศที่อยู่ในระหว่างการพิจาณาคือ สหรัฐอเมริกา (ใช้งานได้ในบางรัฐ) รวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะประกาศเปนเครื่องมือทางการแพทย์ หรือเปนบุหรี่ชนิดที่ปลอดภัยได้หรือไม่... ได้ทำหนังสือชี้แจงพร้อมทั้งเอกสารต่อ สธ และ สนงควบคุมการบริโภคยาสูบแล้ว รวมถึงชี้แจงต่อสื่อมวลชน (เมื่อว่าให้สัมภาษณ์กับช่อง 3 ดังที่เปนข่าวในช่วงข่าวเด่นฯ และข่าว 3 มิติ ผู้ให้ข่าวคือผมเอง) ...หวังว่าคงทำความเข้าใจได้นะครับ หรือหากไม่เข้าใจจุดไหน เดี๋ยวจะเข้ามา monitor บ่อยๆครับผม... เอ่อนะ บอกว่า มันห้ามจำหน่ายใน หลายๆประเทศ แต่ก็ไม่เอาประเทศที่เค้าให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องมา ซึ่ง เยอะแยะมากมาย - -" แล้วก็เหลือบไปเห็นจากในกระทู้จากพันทิพแหละ ว่า รัฐ วิสาหกิจที่นำส่งรายได้เข้ารัฐ ประกอบด้วย โรงงานยาสูบ (รยส.) จำนวน 1,853 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ 733.18 ล้านบาท เนื่องจาก "ได้นำเงินบางส่วนไปใช้ในการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่" สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 1,120 ล้านบาท บมจ.กสท.โทรคมนาคม จำนวน 1,109 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 530 ล้านบาท บมจ.ท่า อากาศยานไทย จำนวน 420 ล้านบาท การประปานครหลวง (กปน.) จำนวน 300 ล้านบาท การเคหะแห่งชาติ (กคช.) จำนวน 260.30 ล้านบาท สำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 76.38 ล้านบาท องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) จำนวน 5 ล้านบาท การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จำนวน 6,000 บาท จากดอกผล ของบัญชีเงินฝาก และกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% คือ กองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ส่งผลให้การนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 (ต.ค.52-ก.พ.53) รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งเงินรายได้เข้าคลังทั้งสิ้น 32,498.52 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่ประมาณการไว้ จำนวน 1,798.08 ล้านบาท จากเป้า 30,700.44 ล้านบาท และเชื่อว่าทั้งปีงบประมาณ 53 รัฐวิสาหกิจจะสามารถนำส่งรายได้ให้รัฐได้ตามเป้าหมาย เห็นภาพไม๊ครับว่า..รัฐวิสาหกิจองค์กรไหน ทำรายได้ให้รัฐสูงสุด!! สูงกว่าอันดับ 2 และ 3 รวมกันเสียอีก หากไม่ได้เอาเงินไปลงทุนทำโรงงานยาสูบแห่งใหม่??? 733 ล้านที่หายไป ไม่ใช่ค่าสร้างโรงงานนะ แต่เพราะสร้างโรงงานแล้ว กำไรขาดไปแค่เจ็ดร้อยกว่าล้าน กำไรจากโรงงานยาสูบ สร้างโรงงานใหม่ได้ปีละหลายโรงก็ว่าได้.... - -* เลยมองเห็นภาพแล้วว่า เค้าว่าไอ้บุหรี่ไฟฟ้า ว่ามันไม่ดีเนี่ย เพราะอะไร โดยส่วนตัวไม่สูบบุหรี่ แต่เห็นหลายๆคนที่สูบอยู่ อยากเลิก(จากที่เคยอ่านมาในเนต ทุกคนที่สูบบุหรี่ เคยลองเลิกบุหรี่มาแล้วทั้งนั้น) เลยสนใจเพราะอุปกรณ์ตัวนี้ เท่าที่ลองอ่านดู และอ่านจากเวปบอร์ดที่มีคนตอบเป็นพันๆ เค้าก็ใช้อยู่และมันใช้งานได้จริง (หมายถึงเลิกได้จริงอ่ะนะ) อย่าให้รัฐบิดเบือนความจริงในเรื่องที่ว่ามันช่วยให้คนที่ติดบุหรี่อยู่ เลิกบุหรี่ได้จริง และมันมีพิษร้ายแรงกว่าบุหรี่จริง ซึ่งจริงๆ มันไม่ได้ต่างอะไรกับบุหรี่จริงเลย ต่างก็แค่ไม่มีสารพิษ สารก่อมะเร็ง สารโน่นนั่นนี่ที่ในบุหรี่มีกว่า 4000 ชนิด ซึ่งในบุหรี่ไฟฟ้าก็มีแค่นิโคตินสกัด ซึ่งในบุหรี่จริงมี แค่นั้นเอง ตอนที่ได้อ่านจากพันทิพ ตื่นเต้นนะ ว่าเอ่อมันมีอุปกรณ์ที่ทำให้เลิกบุหรี่แบบนี้ได้ด้วยเหรอ (ดีใจแทนคนอยากเลิก) แต่ก็เป็นห่วงว่า ถ้ามันบังคับห้ามขายจริงเนี่ย แล้วคนที่เลิกสูบบุหรี่จริงได้ แล้วสูบพวกนี้แบบ non คือแบบไม่มีนิโคติน สูบเอาควันเฉยๆเนี่ย เค้าจะทำยังไง ? บางคนอาจเลิกได้ แต่บางคนต้องกลับไปทำร้ายสุขภาพตัวเองโดยการกลับไปสูบบุหรี่จริง ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม เด๋วผมก็คงหามาแปะๆเองแหละ จนถึงวันนี้ ก็ยังหาซื้อได้ทั่วไป แนะนำว่า ถ้าไม่ได้สูบ ไม่ต้องอยากซื้อมาลองนะ - -" คนติดเค้าอยากเลิกจะตาย แต่ไอ้คนไม่สูบ ดันอยากจะติดเนี่ย ท่าจะแย่ แต่ผมจะหาซื้อมาซักตัว กะว่าให้คนรู้จักที่สุบบุหรี่จริงอยู่เค้าลอง เผื่อว่า เค้า ok ใช้ไอ้นี่แทนบุหรี่ อย่างน้อย ถึงเลิกบุหรี่จริง มาติดไอ้นี่แทน แต่ บุหรี่ไฟฟ้า ไม่มีน้ำมันดิน ไม่มีสารพิษเทียบเท่าบุหรี่จริง ถึงเลิกบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ แต่มันก็ไม่ทำลายสุขภาพเหมือนบุหรี่จริง ก็ยังดีสินะ แล้วจากที่ผมลองตามหาข้อมูลของผลข้างเคียงมาหลายวัน ก็พบประมาณนี้ - ทำให้อ้วนขึ้น เพราะไม่ได้สูบบุหรี่จริง กินข้าวได้ดีขึ้น = = - ฟันไม่เหลือง กลิ่นบุหรี่ไม่มีติดมือ ติดเสื้อผ้า เหมือนบุหรี่จริง - ไม่ไอตอนเช้าเหมือนตอนสูบบุหรี่อยู่ แถม ไม่ค่อยมีเสมหะด้วยสินะ - เลิกเหนื่อยง่าย - ปากแห้ง หิวน้ำบ่อยขึ้น ถ้าฝืนไม่กินน้ำ ก็จะเป็นร้อนใน <<< อันนี้จริงๆ ข้างบนก็ล้อเล่น แต่เป็นผลจริงๆของมัน - ตด <<< เห็นว่าบริโภคลมเข้าไปเยอะ เลยออกทางก้นมั้ง - -" ผมว่า ในบอร์ดนี้ เด็กๆที่สูบบุหรี่ก็คงมีไม่น้อยหรอก - -" แต่ถ้าอยากเลิก แล้วลองหลายๆวิธีไม่ได้ผล ก็ลองไอ้นี่ดู เพราะมันไม่ได้เป็นการเลิกบุหรี่หรอก แค่เราไปสูบอีกอย่าง ที่คล้ายๆบุหรี่ แต่ไม่มีพิษต่อร่ายกาย เท่าบุหรี่ แค่นั้นเอง ดูนี่สิ ว่าบุหรี่ที่คุณๆสูบกันหน่ะ มันมีอะไรอยู่ในนั้น

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผลการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกซ้อมวิชาดนตรี สาธิต มศว ประสานมิตร (ฝายมัธยม)

คำสำคัญ : ปัจจัย / การฝึกซ้อม / นักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกทางดนตรี / โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ( ฝ่ายมัธยม ) ยงยุทธ เอี่ยมสอาด : ปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกซ้อมดนตรีของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกทางดนตรี และเหตุผลในการไม่ฝึกซ้อมดนตรีของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรได้แก่ นักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกทางดนตรีในกลุ่มเครื่องดนตรีเครื่องสายสากล กลุ่มเครื่องดนตรี โยธทวาธิต กลุ่มเครื่องดนตรีเครื่องสายไทยและกลุ่มเครื่องดนตรีปี่พาทย์ จำนวน 211 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการหาค่าร้อยละ และค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่า 1.สาเหตุที่ไม่ฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอพบว่าเกิดจากนักเรียนขาดแรงจูงใจในการฝึกซ้อมเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียนแต่ต้องเรียนตามที่ผู้ปกครองต้องการ นักเรียนให้ความสำคัญและ ใช้เวลาในการศึกษาวิชาการมากกว่าด้านดนตรี นักเรียนมีกิจกรรมมากที่ต้องกระทำ การมไม่มีเครื่องดนตรีส่วนตัวสำหรับฝึกซ้อมที่บ้าน นักเรียนไม่มีเป้าหมายทางดนตรีในอนาคต 2. ปัจจัยด้านต่างๆที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมมี ดังนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครอง ได้แก่ การสนับสนุนของผู้ปกครองและ ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการเรียนดนตรี ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้เรียน ได้แก่ ทัศนคติต่อการเรียนดนตรี เหตุผลในการเลือกเรียนดนตรี และเป้าหมายทางดนตรีในอนาคต ปัจจัยที่เกี่ยวกับครู ได้แก่ บุคลิกภาพของครู ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อครู และความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน ปัจจัยเกี่ยวกับเพื่อน ได้แก่ การมีเพื่อนเรียนในบทเพลงเดียวกัน ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทเพลงและแบบฝึกหัด ได้แก่ ความยากง่ายของเพลง ความไพเราะและ เป็นที่นิยมของบทเพลง และการมีส่วนร่วมในการเลือกเพลง ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและ บรรยากาศในการฝึกซ้อม ได้แก่ การมีห้องซ้อมดนตรีเป็นสัดส่วน และการซ้อมดนตรีในขณะที่สมาชิกในบ้านกำลังทำกิจกรรมอื่นในห้องเดียวกัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ได้แก่ การสอบเทียบเกรดทางดนตรี การแสดงคอนเสริต์ และการเข้าร่วมการแข่งขันด้านดนตรี 3.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับผู้เรียน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับเพื่อน

โมโนโฟเบีย โรคห่างโทรศัพท์มือถือไม่ได้

ฝ่ายพัฒนานักเรียนโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นจากการที่นักเรียนถูกคุณครูเรียกเก็บโทรศัพท์มือถือที่นำมาใช้ในห้องเรียน มีนักเรียนถึงกับถีบเก้าอี้เพื่อแสดงออกในความไม่พอใจ ในการถูกเรียกเก็บโทรศัพท์มือถือที่เล่นในชั่วโมงเรียน มีนักเรียนใช้มือตนเองทุบโต๊ะอย่างแรงเพื่อแสดงอารมณ์ไม่พอใจเมื่อยึดโทรศัพท์มือถือ มีนักเรียนหญิงไม่สนใจต่อการที่จะถูกตัดคะแนนความประพฤติ อยากตัดก็ตัดไป แต่อย่าเอาโทรศัพท์มือถือไป.............อีกหลายเหตุการณ์มาก อดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า โทรศัพท์มือถือสำคัญกว่าอะไร ใดๆแล้วหรือ.......เพราะอะไรล่ะ........... โมโนโฟเบีย ลองสำรวจตัวเองกันหน่อยมันมาใกล้ตัวเราหรือยัง โรคห่างโทรศัพท์มือถือไม่ได้..... ความกลัวจากสัตว์หรือสิ่งของซึ่งคนธรรมดาทั่วไป อาจเห็นเป็นเรื่องสามัญมากๆนี้ เป็นความกลัวซึ่งเป็นโรคเล็กๆที่เรียกว่า Phobia นั่นเอง Phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวช เราถือว่าเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล เป็นความกลัวคนละแบบกับ กลัวที่แปลว่า fear ในพจนานุกรม อธิบายคำว่า โฟเบีย (Phobia) นี้ว่าหมายถึง ความกลัว โรคหวาดกลัว ความกังวลชนิดครอบงำ ซึ่งฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงหรือน่าเห็นอกเห็นใจอะไรเท่าไหร่ เพราะเราทุกคน ล้วนแล้วแต่มีความกลัวอะไรบางอย่างกันทั้งนั้น แต่ นายแพทย์ไมเคิล คาฮาน จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคโฟเบีย โรงพยาบาลฮิลล์ไซด์ นิวยอร์ค ชี้แจงไว้ว่า ผู้ที่มีอาการโฟเบียต่ออะไร จะกลัวสิ่งนั้นๆ "แบบไร้ขีดจำกัด" "อย่างไร้เหตุผล" และความกลัวที่ว่าก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากใครสักคนกลัวงู เรายังไม่สามารถด่วนสรุปได้ว่า เขาหรือเธอคนนั้นมีอาการโฟเบียงู นอกเสียจากว่า ความกลัวงูของเขาจะก่อให้เกิดผลกระทบในทางเลวร้ายต่อคุณภาพชีวิตของตัวเอง ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ผู้ที่เกิดอาการโฟเบียมีแนวโน้มที่จะทำ "ทุกวิถีทาง" เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นๆ ซึ่งก็ส่งผลร้ายต่อไปอีกขั้น เพราะความพยายามในการหลบๆ เลี่ยงๆ สัตว์ วัตถุ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นไปอีก คุณหมอไมเคิลยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งโฟเบียได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Specific Phobia และ Social Phobia แปลกันอย่างตรงตัว Specific Phobia คือ โฟเบียแบบจำเพาะ และ Social Phobia ก็คือ โฟเบียทางสังคม - Cynophobia กลัวสุนัข แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น จะพอสรุปได้ว่า โฟเบียแบบจำเพาะ หรือ Specific Phobia คือความกลัวอย่างรุนแรงต่อ วัตถุ สัตว์ หรืออะไรบางอย่างเปนการเฉพาะเจาะจง เช่น กลัวหนู กลัวงู หลัวลิฟต์ กลัวเลือด กลัวความมืด กลัวหมอฟัน หรือกลัวลูกเจี๊ยบ Acrophobia กลัวความสูง ส่วนโฟเบียทางสังคม หรือ Social Phobia คือความกลัวในสถานการณ์ เช่น กลัวเวที กลัวการปรากฏตัวในที่สาธารณะ กลัวที่จะต้องทำความรู้จักกับคนแปลกหน้า ผู้ที่เกิดความกลัวในประเภทนี้ มักจะหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เพราะกลัวว่าตนเองอาจแสดงอะไรไม่เข้าท่าให้เป็นที่ขายหน้าได้ พูดง่ายๆ ก็คือ คล้ายกับคนขี้อาย แต่เป็นการอายแบบสุดขั้ว ชนิดที่แทบจะไม่สามารถไปไหนมาไหนโดยลำพังได้ ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ไม่คิดหาทางแก้ไข ก็อาจส่งผลร้ายถึงขั้นที่ทำให้เกิดอาการเก็บกดหรือซึมเศร้า เสี่ยงต่อการเป็นโรคประสาทถาวรกู่ไม่กลับมาก ตามสถิติที่แจ้งไว้ทางหน้าข่าวสุขภาพของ www.msn.com คือ ปัจจุบันชาวอเมริกันจำนวนร้อยละ 6-12 มีอาการโฟเบียแบบแรก ส่วนโฟเบียประเภทหลัง ตัวเลขปาเข้าไปถึงกว่าร้อยละ 13 แล้ว ถามว่า โฟเบียมีสาเหตุมาจากอะไร ขอย้อนกลับไปอ้างถึงคำพูดของคุณหมอไมเคิล คาฮาน นั่นคือ ไม่มีใครให้คำตอบได้แน่ชัด แม้ในบางรายของโฟเบียแบบจำเพาะ จะพอรู้คร่าวๆ ถึงต้นสายปลายเหตุได้อยู่บ้าง เช่น คนที่กลัวหมา นั่นก็อาจเป็นเพราะเคยถูกหมากัดตอนเด็กๆ หรือกลัวน้ำ เพราะเคยจมน้ำมาก่อน แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ว่าอาการโฟเบียเกิดจากอะไรแน่ อยากให้ลองสำรวจตัวเองกันดูว่าเราห่างจาโทรศัพท์มือถือไม่ได้หรือป่าว เราใกล้โมโนโฟเบียแล้วหรือยัง

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อคิดเห็นต่อการพัฒนานักเรียน

ข้อคิดเห็นต่อการพัฒนานักเรียน โดย อาจารย์ระวีวรรณ กนิษฐานนท์ 1. ความรับผิดชอบต่อการเรียน 2. ไม่นำข่าวสารหรือการสื่อสารจากทางโรงเรียนให้กับผู้ปกครอง (ใบตอบรับ) 3. การสอบซ่อม ตกรายวิชาสะสมจำนวนมาก 4. เล่นเครื่องมือสื่อสารตลอดเวลา ทำให้ขาดสมาธิไม่ฟังหรือสนใจเรียน 5. ไม่ยอมรับผิด ชอบโยนความผิดให้ผู้อื่น 6. ลอกการบ้าน ลอกงานต่างๆเพื่อแค่ส่ง 7. การมาโรงเรียนเพื่อมาฝึกความเป็นสุภาพชน 8. แต่งกายถูกระเบียบ เครื่องแต่งกายแสดงถึงศักดิ์ศรีของสถาบัน กาละเทศะในการแต่งกายในการติดต่องานราชการและโรงเรียน 9. ไม่แบ่งเวลาในการเล่น การเรียน เวาลาพัก เวลาเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

กฏกระทรวงเครื่องแต่งกาย ทรงผม ฉบับบร่าง

-ร่าง- กฎกระทรวง กำหนดความประพฤติ การแต่งกาย และแบบทรงผมของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. .... -------------------------------------------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๓) กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “นักเรียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน “นักศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาและระดับต่ำกว่าปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน หมวด ๑ ความประพฤติ ข้อ ๓ นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่ และต้องไม่ประพฤติตน ดังต่อไปนี้ (๑) หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน (๒) เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน (๓) พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด (๔) ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด . (๕) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น (๖) ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน (๗) แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ -๒- (๘) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี (๙) ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ข้อ ๔ นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่ ข้อ ๕ โรงเรียนหรือสถานศึกษาอาจกำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาเพื่อผ่อนคลายได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ หมวด ๒ การแต่งกาย ข้อ ๖ นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่แต่งกายไม่สมควรแก่วัยหรือไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ข้อ ๗ นักเรียนต้องแต่งกายหรือแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน นักศึกษาต้องแต่งกายหรือแต่งเครื่องแบบนักศึกษาตามข้อบังคับหรือระเบียบของสถานศึกษานั้น ข้อ ๘ นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งปลอมเพื่อเสริมสวย หมวด ๓ แบบทรงผม ข้อ ๙ นักเรียนต้องไว้ทรงผมแบบสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ ดังนี้ ๑) นักเรียนชายให้ไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวไม่เลยตีนผม เช่น แบบทรงผมรองทรง ๒) นักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย ห้ามนักเรียน ดัดผม ซอยผม ทำสีผม ไว้หนวดเครา หรือทำการอื่นใดที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน หากมีความจำเป็นต้องไว้ทรงผมแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เนื่องจากความจำเป็นทางศาสนา ประเพณีหรือความจำเป็นอื่นใด ก็ให้อยู่ในอำนาจของสถานศึกษานั้นเป็นผู้พิจารณา ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษานั้น ข้อ ๑๐ โรงเรียนหรือสถานศึกษาอาจกำหนดแบบทรงผมของนักเรียนและนักศึกษาเพื่อ ผ่อนคลายได้ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ทำอย่างไรให้เรียนรู้มากขึ้น....

ทำอย่างไรให้สอนน้อยลง…ได้เรียนรู้มากขึ้น มีผู้กล่าวว่า “การปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน” เป็นแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เริ่มทำมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่กลับเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายสำหรับครูส่วนมาก เมื่ออบรมเสร็จแล้ว ก็ขาดการนำไปใช้จริงในห้องเรียนมักเป็นเรื่องสูญเปล่า ดังนั้นการนิเทศภายในของสถานศึกษายังมีความจำเป็นในการจัดการเรียน การสอนของครู ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมร่วมกัน อย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ในส่วนของการเรียนการสอน หากผู้สอนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อยลง แต่เพิ่มเวลาให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น และผู้เรียนเกิดการเรียน รู้มาก ย่อมถือว่าเป็นประสิทธิภาพในการสอนดีของครูที่เลือกใช้นวัตกรรมการสอนได้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน นับเป็นการสอนน้อยลง…ได้เรียนรู้มากขึ้น (Teach less , Learn More) ถ้าเปรียบได้กับทางด้านเศรษฐกิจ เราจะลงทุนน้อยได้กำไรมาก ส่วนผู้สอนได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง มีความเหนื่อยยาก และใช้เวลาเพื่อการนี้เป็นจำนวนมากจนไม่มีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มนุษย์ปกติเขาทำกัน แต่ผลที่ได้ออกมามันไม่มากเหมือนที่ได้ตั้งใจร่วมกันเอาไว้ กล่าวคือ คนเรียนสอบตกมากกว่าสอบได้ ดังผลการทดสอบระดับชาติที่ปรากฏให้ทราบกันแล้ว นับเป็นการลงทุนมากแต่ได้กำไรน้อย และเมื่อพบว่าประสิทธิภาพของการเรียนการสอนน้อยหรือต่ำ ในศตวรรษที่ 21 ครูต้องการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ใช้เวลาในการสอนน้อยลงและผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น ต้องทำอย่างไรจึงจะยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน ผู้เรียนแต่ละคน มีวิธีการรับรู้ต่างกัน สามารถเรียนรู้ด้วยทักษะที่ต่างกัน มีความถนัดในการทำความเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน ครูที่เข้าใจในวิธีการรับรู้และการเรียนรู้ประเภทต่างๆ จะสามารถยก ระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้นได้ โดยใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิมและมีประสิทธิผลมากขึ้น มีเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนดีขึ้น มีความเข้าใจกันมากขึ้น ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน มุ่งมั่นในการเรียนรู้ ผลการเรียนดีขึ้น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น นอกจากสอนน้อยแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ สอนเท่าที่จำเป็น ครูต้องรู้ว่าตรงไหนควรสอน ตรงไหนไม่ควรสอน เพราะเด็กเรียนได้เอง โดยครูออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กเรียนจากกิจกรรม นั้น แล้วครูชวนเด็กฝึกค้นคว้าหาความรู้ ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง และยังไม่ได้เรียนรู้อะไรบ้าง ครูจะเข้าใจอัตราความเร็วของการเรียนรู้ของเด็กที่หัวไวไม่เท่ากัน และที่สำคัญยิ่งคือ ให้เด็กบอกว่าอยากเรียนรู้อะไรบ้าง สำหรับครูเอามาออกแบบการเรียนรู้ต่อไป ในส่วนของพฤติกรรม แต่ละคน ต้องการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เพื่ออนาคตของศิษย์ทุกคน

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

เด็กคนหนึ่งต้องมีความเก่งสักอย่างหนึ่ง เพียงแต่หาให้เจอ....

แผนการเรียนดุริยางคศิลป์เชื่อมโยงโครงการเพาะบ่มพหุปัญญา ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner - เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล แตกต่างกัน - คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้านบางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง - ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝน ที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ - ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ การ เรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา 1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้ 2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมาย ถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิด ขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) 2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็น พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม 1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า ผู้ ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่น กระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวาง เงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ 2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ 3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตาม ธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ 4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะ ลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ 5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

ศาสตราจารย์เมธี ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ อัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยไวโอลิน



ศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  ของรองศาสตราจารย์  ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
THE ANALYSIS  STUDIED VIOLIN  SOLO  OF  LAO – PAN  SONG  BY  PROF.DR.  KOVITH   KANTASIRI 

ยงยุทธ  เอี่ยมสอาด1,ดร.ชนิดา  ตังเดชะหิรัญ2
Yongyuth  Eiamsa - ard1, Dr. JanidaTangdajahiran 2
1สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1Ethnomusicology, Srinakharinwirot University.
2คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

บทคัดย่อ
             รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์    ขันธศิริ   เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2484  เกิดที่กรุงเทพมหานครย่านฝั่งธนบุรี  บิดาชื่อนายสมบุญ  ขันธศิริ  มารดาชื่อนางสมจิตต์  ขันธศิริ  มีน้องสาวหนึ่งคน  คือ รองศาสตราจารย์อรวรรณ  บรรจงศิลป์  มีบุตร 1 คน  คือนายปิยะวิทย์  ขันธศิริ  คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวอยุธยา  ท่านเติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ชอบดนตรีไทยมาก  โดยเฉพาะคุณพ่อมีความสามารถเล่นซออู้และไวโอลิน  และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกของท่าน   ต่อมาท่านเรียนดนตรีกับนายจำนง   ราชกิจ  และคุณหลวงไพเราะเสียงซอ    ได้เรียนเพลงไทยประเภทเพลงเดี่ยว  เช่น เพลงนกขมิ้น  เพลงสารถี เพลงพญาโศก  เพลงแขกมอญและเพลงสุดสงวน เป็นต้น 
การศึกษาดนตรีสากลท่านสอบได้ประกาศนียบัตรทางการเล่นไวโอลินเกรด 8  จาก Royal  School  of  Music, UK  จบปริญญาตรี  K.C.M.  Royal  Conservatory  of Music , Natherlandจบปริญญาโท  M.A.  in  Misicology-Ethnomusicology   Kent  State  University , Ohio  USA. และจบการศึกษาปริญญาเอกทางดนตรีเปรียบเทียบ (Music  Comparative)  Sussex  College  of   Technology , UK.  
การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ  จากแนวคิดที่ว่า  คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก  ส่วนคนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง เอกลักษณ์ของเสียงและ เทคนิคไวโอลินมาใช้อย่างเหมาะสม  เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  โดยไม่ทำลายให้เสียหาย  สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลิน
การวิเคราะห์บทเพลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ได้ทำการวิเคราะห์ในท่อนเดี่ยว  โดยนำทำนองเพลงลาวแพนทางของครูดนตรีไทยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ในแนวคิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก  มาบรรเลงตามขนบแบบไทย นำสีสัน  สำเนียง เอกลักษณ์ของเสียง และเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
มีการนำเทคนิคมือขวา  การเล่นโน้ตหลายๆตัว (Loure Bowing ) การขยายส่วน  ( Augmentation  )  เทคนิคการขยายส่วนจังหวะให้มีความยาวเป็น 2 เท่าหรือยาวกว่านั้น  มีการนำเทคนิคการพรมนิ้ว ( The Trill )  การเล่นโน้ต 2 ตัวสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว  เทคนิคโน้ตประดับ ( Turn  )กลุ่มโน้ต 4 – 5 ตัวที่เป็นโน้ตประดับของโน้ตหลัก มีลักษณะการขึ้นลงที่มีแบบแผน เทคนิคการไล่เลียน ( Imitation )การเลียนการไล่เลียนกันของทำนองระหว่าง 2 แนว ขึ้นไป  ประโยคถาม ( Antecedent ) ทำนองถาม  ประโยคที่ตามด้วยประโยคตอบ   มีการนำเทคนิคการครั่นโน้ตสะบัด  โน้ตประดับชนิดหนึ่ง  เป็นโน้ตตัวเล็กที่อยู่หน้าโน้ตหลัก เล่นผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่นับจังหวะการประพันธ์ห้วงลำดับทำนอง ( Sequence )ทำนองที่มีลักษณะขึ้นลงเหมือนกันเป็นระยะขั้นคู่เท่ากัน      การเล่นซ้ำ ( Repetition )เทคนิคสำคัญของการแต่งเพลงที่นำทำนองมาเล่นซ้ำทันทีในระดับเสียงและ ลักษณะจังหวะเหมือนกัน

คำสำคัญ : ไวโอลิน
Keyword :   Violin
                                                              Abstract
 A study of violin solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri consists of the following study research proposes:
          1. To research biography and works of Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
          2. To research a unique style of violin solo of Lao-Pan song by
Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
           The research by collecting academic documents concerning interviews by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri can be summarized as follows:  Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri was born on 10th November, 1941 at Thonburi, Bangkok, a son of Mr. SomboonKanthasiri and Mrs. SomjitKanthasiri (Sukhantarak).  He has a sister Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp and a son, Mr. PiyavithKanthasiri.  His father and mother were born in Ayudhaya.
          His family, especially his father, Mr. SomboonKanthasiri has a great affection for Thai classical music.  He can play Thai fiddle and violin.  He is the first teacher of   Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri.  After that he and his sister (Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp) studied Thai classical music with Mr. JamnongRatchakij (JarunBoonyarattanapan), Thai classical music teacher who was deputy of His Majesty’s Principle Private Secretary at that time and studied with KhunluangPairoaSiangsor.  He studied solo Thai classical songs, such as NokKmin Song, Saratee Song, Phraya Sok Song, Kaek Mon Song and SudSagnuan Song. He got grade 8 violin certificate from Royal  School  of  Music, UK and bachelor degree from  K.C.M.  Royal  Conservatory  of Music , Natherland  M.A.  in  Misicology-Ethnomusicology   Kent  State  University , Ohio  USA. and Ph.D. (Music  Comparative)  Sussex  College  of   Technology , UK
         Generally violin players always perform only classical music whereas Thai fiddle player always perform only Thai classical music.  Therefore the solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri is originated from the idea to combine Thai classical music and classical music harmoniously without ignoring Thai style.  Violin’s tones, accents and technics are applied in combination properly to be an innovation without losing a unique of Thai style.  It can be regarded as a unique Thai classical music performed by violin.

A study research of violin solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasirianalyzes only one part of Lao-Pan Tang song of Mr. Jaroen, Thai classical music teacher at Baan Somdej Chao Phraya Teacher’s University.  The research is in the concept of harmonious combination of Thai classical music and classical music performed in Thai style with tones, accents, unique tunes and advanced technics to be applied properly.
           There are several technics applied to performance, such as right hand technics of Loure Bowing (to play several notes), Augmentation (to double time values of notes twice or more), left hand technics of Trill (a musical ornament consisting of the rapid alternation of 2 notes), Turn (an ornament consisting of 4-5 notes as an ornament notes to principal note with principled ascending and descending, Imitation (a restatement in close succession of a musical idea in different voice parts), Antecedent (a phrase as a question with a weak cadence followed by a consequent phrase as an answer). To research technics of Stretch, Accompanying, Insert of Thai classical music. Technics of double stop, left hand pizzicato, vibration, grace note (an ornament note printed in small type to indicate that its time value is not counted in the general rhythm)Sequence (in musical composition, a sequence is a phrase repeated at a higher or lower interval), Harmonic Sequence (a repetition is of a series of chords), Repetition (As a device of composition, repetition is one of the fundamental principles of musical structure, providing unity where sequences are repeated in balance with the initial statements

ผลการวิจัยพบว่า
1.     ผลการศึกษาประวัติของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  มีประเด็นสำคัญดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์    ขันธศิริ เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานครย่านฝั่งธนบุรี  บิดาชื่อนายสมบุญ  ขันธศิริ  มารดาชื่อนางสมจิตต์  ขันธศิริ(สุคันธลักษณ์)  มีน้องสาวหนึ่งคน  คือ รองศาสตราจารย์อรวรรณ  บรรจงศิลป์  มีบุตร 1 คน  คือนายปิยะวิทย์  ขันธศิริ  คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวอยุธยา  ท่านเติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ชอบดนตรีไทยมาก  ได้เรียนดนตรีกับครูดนตรีไทย  คือ  นายจำนง   ราชกิจ (จรัญ  บุญรัตนพันธ์)  และคุณหลวงไพเราะเสียงซอ   ซึ่งท่าน รศ.ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ได้เรียนเพลงไทยประเภทเพลงเดี่ยว  เช่น เพลงนกขมิ้น  เพลงสารถี เพลงพญาโศก  เพลงแขกมอญและเพลงสุดสงวน เป็นต้น 
             ชีวิตการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในด้านงานการสอนและ  การแสดงดนตรี  การแสดงผลงานทางดนตรี  ด้านงานสอนเคยเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตจุฬา ฯ วิชาคณิตศาสตร์  ดนตรีไทย  และดนตรีสากล   อาจารย์พิเศษ    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ใหญ่ และผู้จัดการโรงเรียนดนตรีสยามกลการกรุงเทพ    ก่อตั้งหลักสูตรให้คณะศิลปกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้รับทุน  Fulbright  Scholar   ทำการสอนมหาวิทยาลัย    สหรัฐอเมริกา อาจารย์พิเศษวิชาดนตรีวิจักษ์มหาวิทยาลัยศิลปากร   ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และหัวหน้าสาขาดนตรีศึกษาหัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์  บรรณาธิการสารานุกรมดนตรีไทย  ราชบัณฑิตยสถาน  ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต   และ เป็นอาจารย์พิเศษในระดับบัณฑิตศึกษา  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล   อาจารย์พิเศษ  คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล     และท่านยังเป็นกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก  ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ทางด้านการสอนพิเศษ  ท่านยังสอนที่ไวโอลินที่โรงเรียนประถมสาธิตจุฬา ฯ และสอนนักเรียนส่วนตัวด้วย    การแสดงผลงานทางดนตรีงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล  ณ โรงละครแห่งชาติ  ได้เดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสบยามราชกุมารีที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามราชการี  ได้เดี่ยวซอด้วงในบทเพลงกราวใน
                   ได้รับเลือกเป็นนักไวโอลินคนไทยที่ได้เล่นกับวงสตัสการ์ด ซิมโฟนี (Stuttgart  Symphony)จากประเทศเยอรมันแสดงในกรุงเทพฯ   ได้รับเชิญจากทางราชการเป็นวิทยากรนักแสดงและตัวแทนประเทศไทยเพื่อบรรยาย สาธิตและเปรียบเทียบดนตรีไทยและตะวันตก ณ ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา  เป็นหัวหน้าวงแฟนตาเซียไลท์ ออเครสตร้า (Fantasia Light Orchestra)และ จามจุรีแชมเบอร์ (Chamber Music) ได้รับเชิญจากสถานทูตไทยประจำประเทศเยอรมันให้ไปแสดงดนตรีไทยและสากลในงานเฉลิมพระเกียรติวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าประชุมแลกเปลี่ยนด้านดนตรีและนักดนตรีกับผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยในกรุงบอนน์ และมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน   ได้รับเชิญเป็นวิทยาการของงาน “Art of All” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ เป็นประธาน และได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวงดนตรี กรุงเทพมหานคร ฟิลฮาโมนิก ออร์เคสตรา (Bangkok Philharmonic Orchestra)
ผลงานทางด้านดนตรีไทย  เมื่อตอนเด็กได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1  ในการประกวดรายการแมวมอง (เด็กพรสวรรค์) ณ สถานีวิทยุ ททท.การดนตรีในการเดี่ยวซอด้วงได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวดร้องเพลงไทยงานศิลปหัตถกรรม  ได้รับรางวัลที่ 1  ในการเล่นซอด้วง  และการนำวงของวงดนตรีสวนสุนันทา  เป็นผู้เผยแพร่ดนตรีไทยในกรุงเฮก  ประเทศเนเธอร์แลนด์  โดยการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยซอด้วงในบทเพลงกราวในและ การแสดงเดี่ยวไวโอลินในบทเพลงลาวแพนจนสามารถก่อตั้งวงดนตรีไทยในต่างแดนได้  เคยบรรเลงดนตรีไทยต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานโดยนายจำนงราชกิจเป็นคนนำพาเข้าเฝ้าเพื่อแสดง  แสดงเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน  ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามราชกุมารี  ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ผลงานทางด้านดนตรีสากล  ได้รับทุนเรียนไวโอลิน ณ Royal School of Music กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์   ได้รับทุนปริญญาโทโดยทุน Fulbright และปริญญาเอก ณ Kent State University ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัย Kent State ในฐานะ Graduate  ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีตะวันตก นักไวโอลิน และผู้สอนไวโอลินในดนตรีเยาวชนอาเซียน เชิญโดยคณะกรรมการดนตรีและผู้บริหารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งกรรมการวงดนตรีเยาวชนแห่งชาติ  ประธานฝ่ายควบคุมการแสดงในการจัดงานมหกรรมดนตรีนานาชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. 9) ประธานการแสดงดนตรี และผู้ร่วมในการทำวิจัย และการตั้งศูนย์ดนตรีเอเซียนแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน  ผู้ร่วมก่อตั้ง ผู้แสดงและกรรมการบริหารวงบางกอก ซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า( BangkokSymphony Orchestra)  ผู้ร่วมก่อตั้งวงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( CU Orchestra )  กรรมการพิจารณาหลักสูตรทางดนตรีของมหาวิทยาลัยเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน  กรรมการพิจารณาผลงานข้าราชการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านศิลปิน ดนตรี ละคร ศิลปะ ในฐานะกรรมการประจำของกรมข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในปัจจุบัน  กรรมการพิจารณาผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของอาจารย์ด้านดนตรีของกรมอาชีวะในปัจจุบัน  กรรมการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน  กรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สาขาวิชาดุริยางคศิลป์  ได้รับการคัดเลือกจากภาควิชาดุริยางคศิลป์ เพื่อเสนอเป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก   ได้รับการคัดเลือกจากภาควิชาดุริยางคศิลป์ เพื่อเสนอเป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้รับตำแหน่งครูในดวงใจแห่งสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทย  ได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งสาขาดุริยางคศาสตร์สากล  คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
2.     ผลการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
 ผลการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริการเดี่ยวเครื่องดนตรีสากลด้วยทำนองเพลงไทยเดิม   เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง    มีเครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง  กลองแขก  บรรเลงไปด้วยกัน การบรรเลงเดี่ยวตลอดทั้งเพลง เพลงลาวแพนเป็นเพลงที่นักดนตรีนิยมนำมาบรรเลงเป็นเพลงเดี่ยวอวดฝีมือกันมากเพลงหนึ่ง ประวัติเดิมนั้นเล่ากันว่า เพลงนี้มีต้นเค้ามาจากเพลงที่นิยมร้องเล่นกันในหมู่เชลยชาวลาวที่ไทยกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทร์ในสมัยตอนต้นๆของยุครัตนโกสินทร์ ท่วงทำนองเพลงนี้มีทั้งความอ่อนหวานรำพึงรำพันและโศกเศร้าระคนกัน จะเห็นได้จากเนื้อร้องเดิมที่บรรยายถึงความยากลำบากทุกข์ระทมใจที่ต้องจากบ้านเมืองมาอยู่ในต่างแดน ต่อมานักดนตรีไทยเห็นว่าเพลงนี้มีท่วงทำนองแปลกไพเราะน่าฟังจึงนำมาปรุงแต่งเสียใหม่ให้เข้ากับอรรถรสของบทเพลงไทยที่มีสำเนียงลาว และเนื่องจากเค้าโครงของเพลงนี้มีลักษณะพิเศษที่เปิดโอกาสให้ปรุงแต่งท่วงทำนองที่แปรเปลี่ยนไปได้มากมายหลากหลายรูปแบบ จึงมีการคิดประดิษฐ์ทางเพลงที่แตกต่างกันออกไปหลายแนวทางด้วยกัน
การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ  จากแนวคิดที่ว่า  คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก  ส่วนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง ซุ่มเสียงแล้วเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม  เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  โดยไม่ทำลายให้เสียหาย  สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลิน
การวิเคราะห์บทเพลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ 
A.        ท่อนเดี่ยว  นำทำนองเพลงลาวแพนทางของครูเจริญ  ครูดนตรีไทยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ในแนวคิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก  มาบรรเลงตามขนบแบบไทย นำสีสัน  สำเนียงเสียง และเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
                  ผลของการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือขวา  มีการนำเทคนิคมือขวาการเล่นโน้ตโยงเสียง (Loure Bowing)  เทคนิคนี้โน้ตหลายๆตัวจะถูกแบ่งจากการโยงเสียง (Slur) โดยการหยุดเพียงเล็กน้อยในระหว่างที่ใช้คันชักหรือการเน้นโน้ตแต่ละตัวโดยไม่ต้องเปลี่ยนทิศทางของคันชัก และจะใช้ในเพลงที่เป็น Cantabile (อ่อนหวานเหมือนเสียงร้องเพลง)การขยายส่วน (Augmentation)  เทคนิคการขยายส่วนจังหวะให้มีความยาวเป็น 2 เท่าหรือยาวกว่านั้น  โดยรักษาระดับเสียงเดิมไว้ นิยมใช้ในการสอดทำนองเพลง 
               ผลของการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือซ้าย  มีการนำเทคนิคการพรมนิ้ว (The Trill)  การเล่นโน้ต 2 ตัวสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว  โน้ตประดับ  (Turn)กลุ่มโน้ต 4 – 5 ตัวที่เป็นโน้ตประดับของโน้ตหลัก มีลักษณะการขึ้นลงที่มีแบบแผน การไล่เลียน(Imitation)การไล่เลียนกันของทำนองระหว่าง 2 แนว ขึ้นไป  เกิดจากทำนองเดียวกันที่เริ่มไม่พร้อม ประโยคถาม (Antecedent) ทำนองถาม  ประโยคที่ตามด้วยประโยคตอบ
              ผลของการศึกษาลูกเอื้อน  ลูกคลอ  ลูกสะบัดในดนตรีไทย  เทคนิคการกดนิ้วควบสองสาย เทคนิคการดีดสายไวโอลินด้วยนิ้วมือซ้าย  มีการนำเทคนิคการครั่น  เป็นวิธีที่ทำให้เสียงสะดุดสะเทือน  เพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน  การทำให้เสียงสะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้  ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่  ขลุ่ยและเครื่องดนตรีประเภทสี เช่นซอต่างๆเท่านั้น การขับร้องครั่นด้วยคอ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าครั่นด้วยลมจากลำคอและเครื่องดนตรีประเภทสีครั่นด้วยคันสี (หรือคันชัก)โน้ตสะบัด  (Grace note) ห้วงลำดับทำนอง(Sequence)ห้วงลำดับเสียงประสาน(Hamonic Sequence)การซ้ำ  (Repetition)การนำทำนองมาเล่นซ้ำทันทีในระดับเสียงและ ลักษณะจังหวะเหมือนกัน
บทนำ 
มนุษย์มีความเหมือนและความแตกต่าง การแสดงออกทางดนตรีช่วยสะท้อนโลกทัศน์ระบบความคิดมนุษย์ ดังนั้น ในการแสดงออกทางดนตรีที่หลากหลาย เนื่องจากดนตรีจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักทั้งตนเอง และรู้จักว่าผู้อื่นนั้นมีความเหมือนและมีความแตกต่างกับตนเองอย่างไร   การเรียนดนตรีในวัฒนธรรมของตนเอง มีความจำเป็นที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ประสบการณ์สุนทรียะที่คนในวัฒนธรรมของตนนั้นได้แสดงออกมา แต่เราก็มีความจำเป็นที่ให้ผู้เรียนได้เรียนประสบการณ์สุนทรียะของวัฒนธรรมอื่นๆ ที่แตกต่างจากผู้เรียนด้วย เพื่อผู้เรียนได้เข้าใจว่าโลกใบนี้ประกอบด้วยคนที่แตกต่างในเรื่องวัฒนธรรม มีอะไรที่มนุษย์ในโลกใบนี้แสดงออกมาเหมือนกันทั้งโลก และมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน และการแสดงออกในเรื่องดนตรี หรือประสบการณ์ในเรื่องสุนทรียะ มีอะไรที่มนุษย์ทั้งโลกนี้แสดงออกได้เหมือนกันหมดและมีอะไรที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องสอนดนตรีทั้งในวัฒนธรรมของตนเองและที่มีความแตกต่างเพื่อการเรียนรู้
วัฒนธรรมทางดนตรีไทย  การถ่ายทอดวิชาความรู้  ขนบธรรมเนียมวิธีต่อการปฏิบัติทางดนตรีมีแบบแผนบ้านครู  บ้านนักดนตรี  ทางเพลงของแต่ละสำนักเพลง  การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม  แก่นรากทางวัฒนธรรมที่ยังเข้มแข็งอยู่มาก  แต่ด้วยวัฒนธรรมทางดนตรีที่เป็นแบบนี้ก็ทำให้ของเก่าๆ  ของดีๆที่มีอยู่อาจถูกลืมเลือนหรือสูญหายไปก็มาก  บุคคลที่จะเข้าสู่ เข้าถึง ทางวัฒนธรรมก็จะถูกขีดจำกัดในวงที่แคบลงเฉพาะกลุ่มคนมากขึ้นทุกขณะ จนถึงเวลาหรือยังที่นักการศึกษา  ครูทางดนตรี  ที่จะเริ่มทบทวนหรือหาข้อสรุปว่าจะมีวิธีการดำเนินการอย่างต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมดนตรีที่จะเป็นวิถีของโลกในอนาคต  เยาวชนรุ่นใหม่ๆ  ที่ถูกกระแสกลืนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย
ในวัฒนธรรมทางดนตรีไทยที่ถือได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่เข็มแข็ง  เป็นวัฒนธรรม เป็นภาษาเฉพาะกลุ่มชน  จนทำให้ผู้ได้เรียนดนตรีไทยถูกขีดจำกัดอยู่ในกลุ่มคนไทย หรือต้องมาเรียนดนตรีไทยในประเทศไทยกับคนไทยครูผู้สอนดนตรีไทยเท่านั้น  วัฒนธรรมสากลหรือดนตรีสากลได้พัฒนาก้าวหน้าไปไกล  โดยเฉพาะเรื่องการเรียน  ไม่ต้องเรียนเครื่องดนตรีสากล(ดนตรีตะวันตก)กับคนในแถบประเทศยุโรป  กับคนเยอรมัน  กับคนอังกฤษ กับคนฝรั่งเศสเท่านั้น  แต่สามารถเรียนเครื่องดนตรีสากล(ดนตรีตะวันตก)  ได้กับคนจีน  คนญี่ปุ่นหรือชนชาติอื่นๆอีกมาก  ถ้าในอนาคตข้างหน้าสามารถมีครูสอนดนตรีไทยได้  อยู่ในทั่วทุกมุมโลก  มีครูดนตรีชนชาติจีนสามารถสอนดนตรีไทยที่ประเทศจีน  มีครูดนตรีชนชาติเยอรมันที่สอนดนตรีไทยในประเทศเยอรมัน  เราควรต้องทำอะไร  อย่างไร
                องค์ประกอบสำคัญของดนตรีได้แก่ คนเล่นดนตรี  คนแต่งเพลงและ คนฟังดนตรี  บริบทดนตรีไทยในยุคปัจจุบันยังขาดผลสัมฤทธิต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยให้เกิดความเข็มแข็งและ เข้าถึงเยาวชนรุ่นใหม่หรือ กลุ่มผู้ฟังต่างๆให้หลากหลายและทั่วถึง  ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้การเผยแพร่ดนตรีไทยต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ  รูปแบบการแสดง  วิธีการบรรเลงใหม่ๆที่สามารถเรียกร้องดึงดูดกลุ่มผู้ฟังสนใจดนตรีไทย  ก็จะทำให้ดนตรีไทยเข็มแข็งและพัฒนาต่อเนื่อง
ดังนั้น  การวิจัยเรื่องศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทางด้านการศึกษาบุคคลากรทางดนตรีที่มีภูมิปัญญาความรู้ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่ในตัวคนเดียวหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนสองวัฒนธรรม  และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในบริบทการแปลงทำนองเพลงจากเครื่องดนตรีไทยคือซอด้วงไปสู่เครื่องดนตรีสากลคือไวโอลิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบรรเลงเพื่อเผยแพร่ดนตรีไทย
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.         เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
2.         เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
วิธีการดำเนินการวิจัย
            ในการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาโดยยึดหลักการทางมนุษยดุริยางควิทยา ( ETHNOMUSICOLOGY )  ซึ่งได้ออกภาคสนาม ( FILEDWORK ) การสัมภาษณ์  การสังเกต  การบันทึก  และการศึกษาทางเอกสาร  ตำราวิชาการ  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการรวบรวมเรียบเรียง  จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลต่างๆที่รวบรวมไว้มาทำการศึกษาวิเคราะห์  และสรุปผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนาวิจัยตามประเด็นต่างๆ  ดังนี้
1.     ประวัติรองศาสตราจารย์ โกวิทย์  ขันธศิริ
1.1     ประวัติส่วนตัว
1.2     ประวัติการศึกษาทั่วไป
1.3     ประวัติทางด้านดนตรี
1.4     ประวัติการทำงาน
1.5     ผลงาน
1.5.1            ผลงานการแสดงและ ประสบการณ์
1.5.2            ผลงานทางด้านดนตรีไทย
1.5.3            ผลงานทางด้านดนตรีสากล
1.6     ผลงานตำราและ งานวิจัย
1.7     ผลงานทางด้านการสอนไวโอลิน
1.8    รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

2.     ศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ
2.1     ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือขวาเช่น  การใช้คันชักถ่ายทอดอารมณ์เพลงไทย  ประเภทของคันชัก
2.2     ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือซ้ายเช่น  เทคนิคการพรมนิ้ว การรูดนิ้ว  และการวิบราโต
2.3     ศึกษาลูกเอื้อน ลูกคลอ ลูกสะบัดในดนตรีไทย  เทคนิคการกดนิ้วควบสองสาย  เทคนิคการดีดสายไวโอลินด้วยมือซ้ายในบทเพลงไทย
อภิปรายผล
รองศาสตราจารย์  ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  เป็นครูดนตรีอาวุโสทั้งทางด้านดนตรีไทย  และดนตรีสากล เป็นนักดนตรีไทยอย่างเชี่ยวชาญท่านหนึ่งที่มีบทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยในต่างแดนและ การบรรเลงเดี่ยวซอด้วงในบทเพลงกราวใน  ด้วยการศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่ยังเล็กจากคุณหลวงไพเราะเสียงซอ  และครูจำนง   ราชกิจ  ซึ่งทำให้ท่านมีความแตกฉานทางดนตรีไทย   และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากบรมครูอีกหลายท่าน    ทำให้ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในลักษณะผสมผสานระหว่างดนตรีไทยและดนตรีสากลได้อย่างลงตัว   มีความไพเราะ   และมีคุณค่าทางดุริยศิลป์อย่างสูง   ซึ่งในการสอนดนตรีของท่านนั้น  ท่านได้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบรรเลงดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่เสมอซึ่งสอดคล้องกับ กาญจนา  อินทรสุนานนท์ ( 2540: 105 ) ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมที่แสดงความเจริญงอกงาม วัฒนธรรมเป็นมรดกที่สำคัญยิ่งของสังคมมนุษย์  มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาย่อมมีวัฒนธรรมซึ่งได้มาโดยการเรียนรู้จากการถ่ายทอดของคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  มนุษย์ที่เกิดมาอยู่ในสังคมใดก็จะเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้นมีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่  สนองความต้องการของตนเอง เพาะมนุษย์ทุกคนยังมีความต้องการในสิ่งต่างๆอย่างไม่สิ้นสุด
            การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพนจากแนวคิดที่ว่า  คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก  ส่วนคนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง ซุ่มเสียงแล้วเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม  เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  โดยไม่ทำลายให้เสียหาย  สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลินซึ่งได้สอดคล้องกับ  กาญจนาอินทรสุนานนท์ (2552 : 29 - 38 )  การวิจัยองค์ความรู้ศิลปินแห่งชาตินายศิริ  วิชเวชเพื่อศึกษาประวัติศิลปิน  และผลงานด้านดนตรีไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ  องค์ความรู้และผลงานของครูศิริ  วิชเวช  นั้นมีหลายด้าน  นับเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่า  การได้รับการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้  จะนำไปสู่การขับเคลื่อนต่อระบบการศึกษาวัฒนธรรมไทยต่อวงการดนตรีไทยต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สาธารณชน  สู่นานาชาติ    การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริเป็นการคิดนอกกรอบของดนตรีไทย ซึ่งเป็นแนวคิดดนตรีไทยแนวประยุกต์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่บทเพลงไทยโดยเครื่องดนตรีไวโอลิน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสากลที่คนนานาชาติต่างๆสนใจและ เข้าใจต่อการฟังดนตรี ดังนั้นการบรรเลงดนตรีที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ไม่ได้เป็นการล้มล้างความคิด วัฒนธรรมเดิมแต่เป็นการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อการเผยแพร่ดนตรีไทยนั่นเองซึ่งสอดคล้องกับ  มานพ  วิสุทธิแพทย์  (2552 : 19 )  การวิจัยองค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ นายจรัส  อาจณรงค์ เพื่อศึกษาประวัติศิลปิน  และผลงานทางด้านดนตรีไทย เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทย  และเผยแพร่องค์ความรู้ของครูด้านดนตรีไทย  ครูจรัส นับได้ว่าเป็นปรมาจารย์ด้านดนตรีไทยที่มีความรู้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดนตรีไทยว่าท่านเป็น “คลัง” หรือ “ธนาคารดนตรีไทย” ได้แก่องค์ความรู้ทางด้านบทเพลงองค์ความรู้ทางด้านการปฏิบัติและ องค์ความรู้ทางด้านการนำไปใช้  การบูรณาการองค์ความรู้  นำองค์ความรู้ที่ได้จัดทำฐานคลังข้อมูลทางวัฒนธรรม
การวิจัยเรื่องการศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  เป็นการศึกษาอัตลักษณ์เพลงไทยโดยการบรรเลงด้วยไวโอลิน  จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทางด้านการศึกษาบุคคลากรทางดนตรีที่มีภูมิปัญญาความรู้ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่ในตัวคนเดียวหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนสองวัฒนธรรม  และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในบริบทการแปลงทำนองเพลงจากเครื่องดนตรีไทยคือซอด้วงไปสู่เครื่องดนตรีสากลคือไวโอลิน

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
การศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน  โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์  ขันธศิริ  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับที่จะทำการศึกษาต่อไปนี้
1.         ควรทำการศึกษาเพลงอื่นๆ การบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
2.         ควรทำการศึกษานักดนตรีท่านอื่นๆเปรียบเทียบระหว่าง  การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินหรือเดี่ยวเครื่องดนตรีสากลอื่นๆในบทเพลงไทยเดิม