วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปาเลสตรีนาแบบของเรเนสซองส์

ปาเสลตรีนาและแบบของเรเนสซองส์ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 คีตกวีอิตาเลียนให้ความสนใจและประพันธ์เพลงตามแนวคิดของกลุ่ม “เฟรมิส” อย่างเช่น งานของ นหๆรืฟ ฏำหยพำหห คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในหมู่คีตกวีอิตาเลียนดังกล่าวนี้ก็คิอ Giovanni Pier Wigi da Palestrina (1525-1594) ซึ่งอุทิศตนให้แก่การประพันธ์เพลงใฝห้แก่ศาสนาที่ใช้ในพิธีกรรมของคาทอลิค งานของเชาปรากฎมากที่สุดในโรมซึ่งเป็นที่ที่เขาทำงานในหน้าที่สำคัญๆ รวมทั้งเป็ฯผู้อำนวยการวงดนตรีที่โบสถ์ St .Peter ด้วย งานของปาเลสตร์นามีมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเพลงสวดประเภท Mass มีถึง 104 บท และบทเพลงอื่นๆอีก 450 บท บทเพลงที่มีชื่อเสียงมากของปาเลสตร์น่ก็คือบทที่ชื่อว่า “Pope Macellus (1562-63) ซึ่งอุทิศให้แก่สันตปาปาชื่อ Pop Macellus เช่นเดียวกันบทเพลงบทนี้เขียนสำหรับนักร้องประสานเสียง 6 แนวคือ soprano alto, 2 tenors, และ 2 basses บทเพลงสวดในยุคเรอเนสซองส์นั้นมีมากมายเหลือคณานับ แต่ในชณะเดียวกันบทเพลงสำหรับฆราวาสก็เจริญขึ้นมาก บทเพลงสำหรับฆราวาสหรือชาวบ้านชาวเมืองทั่วไปที่จะกล่าวถึงก็คือ เพลงประเภทเพลงร้อง เพลงร้องที่สำคัญในจุดนี้ก็คืเพลงร้องแบบ Madrigal เนื่องจากในจุดนี้มีบทเพลงที่เป็น “บทกวีนิพนธ์” ในภาษาต่างๆมากมาย ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งทั่วทั้งทวีปยุโรป ดนตรีกลายเป็นงานอดิเรก และการพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญยิ่งยวด บทเพลงส่วนมากเป็นการร้องเดี่ยว และ/หรือมีดนตรีประกอบบทเพลงของชาวบ้านมีการแสดงออกถึงอารมณ์ต่างๆอย่างชัดเจนและเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างรวดเร็ว รูปแบบที่สำคัญของบทเพลงเป็นแบบที่เรียกว่า “Madrigal” ซึ่งเขียนขึ้นสำหรับการร้องเดี่ยวหลายแนวในลักษณะของคีตนิพนธ์ และบทกวีสั้นๆ มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ลักษณะของผิวพรรณ (Texture) ของดนตรีคล้ายๆกับ Motet คือเป็น homophonic และ polyphonic (ทำนองเดียวมีการประสานเสียง และบทเพลงที่มีทำนองหลายทำนองซ้อนกัน) แต่มักจะบรรยายความรู้สึกด้วยถ้อยคำต่างๆ บทเพลงแบบ Madrigal เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศอิตาลีในราวปี 1520 ในช่วงที่นิยมกันมากมีการพิมพ์บทเพลงเหล่านี้ออกมานับพันๆบท ในระหว่างศตวรรษที่ 16 และมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์ออกเผยแพร่ในกรึงลอนดอนในปี 1588 อีกด้วย ทำให้มีผลที่ตามมาก็คือคีตกวีอังกฤษก็เขียน Madrigal ขึ้นมาเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่บทเพลงแบบอังกฤษจะฟังสบายๆและแสดงออกถึงอารมณ์ขันมากกว่า มีท่วงทำนองและการประสานเสียงฟังง่ายกว่าด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น