รวบรวมข่าวสารดนตรีศึกษา ดนตรีวิทยา ดนตรีชาติพันธ์ การศึกษาทางมานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556
renaissance period (1450 - 1600 )
ยุคเรอเนสซองส์
Renaissance (1450-1600)
สไตล์ หรือท่วงที ลีลา รูปแบบและลักษณะของดนตรีแบบฉบับในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 450 ถึง 1450 หรือที่ทราบกันในนามของ Medieval Period หรือยุคกลางของยุดรปซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง 1,000 ปีนั้น ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างเชื่องช้ามาก เนื่องจากการคมนาคมและการสื่อสารในจุดนั้นยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือกว่าที่ใครจะผุดแนวคดใหม่ทางดนตรีขึ้นมา และส่งผลกระทบถึงสังคมซึ่งใช้เวลานานมาก ดนตรีของสังคมหนึ่งๆจึงคงลักษณะเฉพาะของตัวเองไว้ได้นาน
ลักษณะของดนตรีในยุคโมดิเอวัลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นๆ สรุปได้ว่าเป็น 2 จำพวก คือ เพลงสวดในโบสถ์ ซึ่งเริ่มต้นจากทำนองเดียวโดดๆ แล้วขยายเป็น 2 ทำนอง 3 ทำนอง โดยแปรเปลี่ยนทิศทางของท่วงทำนองไปตามสมควร เพลงพวกนี้คือจำพวก Organum อย่างหนึ่ง และเพลงของฆราวาสหรือประชาชนธรรมดาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งภายหลังมากลายเป็นบทเพลงหลายทำนองอย่างแท้จริง โดยมีคีตกวีสำคัญสองท่านจากค่ายดนตรี Notre Dame คือ Perotin และ Leonin เป็นหลัก จากนั้นแนวคิดเรื่องบทเพลงหลายทำนองก็ค่อยๆแผ่ขยายกว้างขวางออกไป
สไตล์ของดนตรีในช่วงต่อมามีความเปลี่ยนแปลงไปจากยุคเมดิเอวัลคือยุรเรอเนส์ซองซ์ (Renaissance) ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1450-1600 อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้เป็นเพียงการหมายรู้ในทางวิชาการเท่านั้น หาใช่จุดแบ่งอันชัดเจนเหมือนรั้วหรือความแตกต่างระหว่างขาวกับดำไม่ แท้จริงแล้วยังมีบริเวณคาบเยวระหว่างดนตรีลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่งอยู่ด้วย เปรียบเสมือนรอยต่อสีเทาระหว่างขาวแล้วค่อยๆกลายไปเป็นดำฉะนั้น
ดนตรีในยุคเรอเนซองส์ระหว่าง ค.ศ. 1450-1600 นี้ ก็ยังคงจำแนกออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดิมคือ บทเพลงทางศาสนา (Sacred Music) และบทเพลงของฆราวาส (Secular Music) คำว่า Renaissance มีความเช่นเดียวกับคำว่า Rebirth หรือ “การเกิดใหม่” ซึ่งหมายถึงการมีแนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การค้นพบสิ่งใหม่ๆเป็นจุดแห่งการสำรวจ การค้นคว้า ทั่งทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งมีผลมาจากทางการเมืองการปกครองและสังคม เริ่มต้นจากการเดินทางสำรวจดินแดนของท่านคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (1492) การเดินทางของวาสโก ดา กามา (1498) และเฟอร์ดินาน แมกเจนแลนท์ (1519-1522)
เรอเนสซองส์เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัย และมีคำถามแง่มุมต่างๆมากมาย พูดง่ายๆว่าเป็นยุคที่ผู้คนรู้จักใช้ความคิดมากการการเชื่อตาม จึงก่อให้เกิดลัทธิตัวใครตัวมัน (Individualism) ขึ้นมา ศิลปกรต่างๆรวมทั้งดนตรีจึงมีความหลากหลายมากว่าแต่ก่อน
แนวความคิดที่เป็นแกนนำของสังคมสมัยนั้นคือ แนวคิดที่เรียกว่า “Humanism/มนุษยนิยม” ซึ่งเพ่งเล็งถึงความสำคัญและการสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นหลัก “นักมนุษยนิยม” ไม่สนใจแม้กระทั่งนรกหรือสวรรค์วิมานอะไรทั้งสิ้น พวกนี้ไม่แคร์คำสอนของคริสเตียน แต่ใช้วัฒนธรรมแบบกรีกและโรมันโบราณ ทำให้ผู้เคร่งศาสนามองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นพวกนอกศาสนาหรือเป็นพวกโบราณนิยม ซึ่งแนวคิดของนักมนุษยนิยมนี้มีผลอย่างยิ่งของศิลปกรรมยุโรป
ภาพเขียนก็ดี ภาพปั้นก็ดี จะแสดงสัดส่วนอันงดงามของเรือนกายมนุษย์โดยไม่มีผ้าผ่อนท่อนสไบมาปิดบัง ดังนั้น “มาดอนน่า” จึงไม่ใช่เด็กไร้เดียงสาอีกต่อไป แต่เป็นการแสดงออกถึง “ความงามของเด็กสาว”
ในช่วงนี้โบสถ์คริสต์และนักบวชทั้งหลายเสื่อมอำนาจลง หลังจากได้เช่นฆ่าสตรีที่เข้าใจว่าเป็น “แม่มด” เสียนับไม่ถ้วน ความเสื่อมอำนาจของคาธอลิคเห็นเด่นชัดด้วยกำเนิดของนิกายโปรแตสเต็นท์ที่นำโดย Martin Luther (1483-1546) ดนตรีในยุคเรเนสซองศ์รุ่งเรืองขึ้นเช่นเดียวกับศิลปะอื่นๆ เนื่องจากมีการประดิษฐกรรมด้านการพิมพ์เกิดขึ้นจึงสามารถพิมพ์โน้ตเพลงได้ ทำให้ดนตรีแบบใหม่ๆแพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็ว มีคีตกวีและนักดนตรีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น