วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

เทศกาลปีใหม่จีน ขอแนะนำเครื่องดนตรีโบราณของจีน

ขลุ่ยเซียว
               เซียว มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ตุ้งเซียว เป็นเครื่องดนตรีโบราณของจีน  ตั้งแต่หลายพันปีก่อน เซียวก็เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่แพร่หลายในจีนแล้ว เมื่อเริ่มมีเครื่องดนตรีไผ เซียว(pipe of pan)ในหลายพันปีก่อนนั้น ผู้คนพบว่า  เจาะรูที่มีช่องว่างต่างกันในตัวขลุ่ยเลาเดียวกัน ก็สามารถเป่าเสียงที่มีความสูงต่ำไม่เท่ากันได้  จึงเกิดเซียว ขลุ่ยเลาเดี่ยวที่มีหลายรูขึ้น
                เซียวในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่น สมัยนั้นเรียกว่าเชียงตี๋ เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชนชาติเชียงที่อยู่ในเขตพื้นที่เสฉวนและกันซู่ ก่อนคริสต์ศักราช 1 ศตวรรษ เซียวแพร่ไปถึงเขตลุ่มแม่น้ำหวางเหอ พัฒนาเป็นขลุ่ย 6 รู 
                เซียวมีรูปร่างคล้ายๆ กับขลุ่ยไม้ไผ่(flute) มักจะทำด้วยไม้ไผ่สีม่วง ไม้ไผ่สีเหลืองหรือไม้ไผ่สีขาว ตัวเซียวยาวกว่าขลุ่ยนิดหน่อย ปลายขลุ่ยบนปิดหลอดโดยอาศัยข้อไม้ไผ่ เปิดรูเป่าเล็กรูหนึ่ง  ด้านหน้าเซียวมี 5 รู ต้านหลังมีอีกรูหนึ่ง  ข้างล่างของเซียวยังมีอีก 3-4 รู ใช้ปรับเสียงให้ไพเราะขึ้นและมีเสียงดังขึ้น เสียงของเซียวอ่อน ไพเราะ ระดับเสียงต่ำออกเสียงทุ้มลึก มีลักษณะพิเศษ  ระดับเสียงกลางออกเสียงใส ไพเราะ วิธีการเป่าเซียวเหมือนการเป่าขลุ่ย แต่ไม่เหมาะกับการบรรเลงเพลงที่กังวาลและพลิกแพลง เหมาะสำหรับบรรเลงเพลงที่แผ่วผลิ้วละเอียดอ่อน  มักจะใช้มาบรรเลงเพลงที่พรรณนาทิวทัศน์ที่สวยงามและอารมณ์ความรู้สึกในใจ  เซียวสามารถบรรเลงเดี่ยว บรรเลงซ้อนและบรรเลงร่วม กับบรรเลงดนตรีประเภทอื่นๆ  เช่นดนตรีฮกเกี้ยน ดนตรีกวางตุ้งและงิ้วท้องถิ่นบางชนิดเป็นต้น
                  เซี่ยวมีหลายชนิด เช่นเซียวไม้ไผ่สีม่วง เซียวหยก เซียว 9 ปล้องเป็นต้น
อาจารย์ วิชัย โกษียาภรณ์ อาจารย์โรงเรียนดนตรีและวัฒนธรรมจีนสยามกลการ
เพลงเสี่ยวเฉินเตอร์กู้ซื่อ  เป็นเพลงที่เล่านิทานของเมืองนี้ เป็นเมืองเล็กๆ ในอดีต

 อาจารย์วิชัย  โกษียาภรณ์  เริ่มศึกษาดนตรีตั้งแต่อายุ 19 ปี กับคนแก่ในหมู่บ้านเป็นคนสีซอ ชาวแต้จิ๋ว  โดยเริ่มแรกศึกษาเพลงจีนโบราณสำเนียงแต้จิ๋ว  และต่อมาภายหลังรวมกลุ่มกันตั้งเป็นวงดนตรีจีนสากลและนาฎศิลป์จีน เป็นสมาคมดนตรีจีนแห่งประเทศไทย โดยรับการแสดงในรูปแบบต่างๆเป็นระยะเวลาประมาณ 40 ปีได้แล้ว ต่อมาภายหลังได้ทำวงดนตรีในกลุ่มที่เล็กลงชื่อวงดนตรีเหลียงเซิน โดยเล่นเป็นอาชีพ รับงานแสดงดนตรีจีนต่างๆ เครื่องดนตรีจีนที่ถนัด ได้แก่ ขลุ่ยผิวจีน  และขิมจีน ซอเอ้อหู ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนดนตรีและวัฒนธรรมจีนในเครือบริษัทสยามกลการแห่งประเทศไทย