วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

FUGUE ดนตรีในยุคบาโร้ค

ฟิวก์ (Fugue)ดนตรีในยุคบาโร้ค
Fugue เป็นรูปแบบของดนตรียุคบาโร้คซึ่งมีผิวพรรณ (Texture) แบบหลายทำนองหรือ polyphony ที่ได้ทราบแล้วคือ Continuo Grosso (ซึ่งมีการบรรเลงทั้งที่เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีบรรเลงสลับกับดนตรีทั้งวงบ้าง และบรรเลงไปพร้อมกันบ้าง) รูปแบบของบทเพลงที่ขึ้นหน้าขึ้นตามากที่สุดแบบหนึ่งของยุคนี้ก็คือ ฟิวก์ (Fugue)
บทเพลงแบบฟิวก์สามารถจะประพันธ์ให้บรรเลงได้ทั้งด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้องเป็นกลุ่ม หรือแม้แต่สำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชิ้นเดียวอย่าง Harpsichord
Fugue เป็นลักษณะหนึ่งของ Polyphony ที่มีทำนองหลักเพียงทำนองเดียว (ทำนองหลักนี้เรียกว่า “Subject” (เนื้อหา) ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเครื่องดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงสูงหรือต่ำตลอดจนเสียงร้อง แต่ละแนวจะบรรเลงทำนองหลักนี้ซ้ำไปซ้ำมาในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทำนองหลักที่บรรเลงในลักษณะต่างๆนี้ ให้ความหมายและความรู้สึกทางอารมณ์และจิตใจไม่เหมือนกัน โดยการบรรเลงในแบบใดเสียงที่ต่างออกไปบ้าง ประสานกับทำนองส่วนอื่นของทำนองหลัก ที่บรรเลงด้วยแนวอื่นบ้างหรือในจังหวะช้า-เร็วต่างกันไปบ้าง
รูปแบบของ Fugue มีหลากหลายและยืดหยุ่นได้ ทำนองที่ตายตัวจะปรากฎอยู่เฉพาะตอนต้นๆเท่านั้น การสังเกตบทเพลงแบบ Fugue ก็คือพิจารณาดูว่า ทำนองตอนต้นของทำนองหลักนี้จะเริ่มต้นและทยอยกันปรากฎออกมาเป็นระยะๆ เสมือนคนหลายคนเล่าเรื่องราวสั้นๆที่ขึ้นต้นการเล่าด้วยข้อความเดียวกัน เช่นคนที่ 1 เล่าว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีสิงโตตัวหนึ่ง นอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้... ต่อมาคนที่ 2 ก็เล่าเรื่องเดียวกันว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีสิงโตตัวหนึ่ง.......คนที่ 3 คนที่ 4 เรื่อยๆไป เป็นต้น (ดังแผนภูมิข้างล่างนี้)

Soprano ………subject …………… counter subject__________________

                Tenor ……….subject ………… counter subject ________________

                            Alto ………subject …………counter subject _____________

                                           Bass ……subject ………counter subject ________

หลังจากที่แต่ละแนวทำนองได้บรรเลงทำนองหลัก (subject) จบแล้วจึงจะสามารถจะเล่นทำนองอื่นๆได้ต่อไป ด้วยเหตุนี้เอง Fugue จึงมีความยืดหยุ่นและหลากหลายมาก
นอกจากจะมีทำนองหลักหรือ subject แล้ว ยังมีทำนองรอง (Counter subject) ด้วย ทำนองรองก็คือทำนองเพลงอื่นๆ ที่เล่นควบคู่ไปกับทำนองหลักจะมีเสียงสูงกว่าหรือต่ำกว่าทำนองหลักก็ได้ คีตกวีจะพิจารณาว่าทำนองหลักนั้นๆจะนำมาใช้บ่อยแค่ไหน และเมื่อไร หลังจากจบทำนองหลักก็จะเป็นทำนองอมตะ ที่จะเชื่อมต่อกับการบรรเลงทำนองหลักครั้งต่อไป ทำนองนี้คณะนี้เรียกว่า episodes นอกจากนั้นบางครั้งการประสานเสียงยังใช้วิธีเล่นเครื่องเสียงต่ำด้วยเสียงยาวๆครั้งละนานๆ คล้ายการเหยียบขณะเดี่ยวเสียงต่ำของออร์แกนเรียกเทคนิคนี้ว่า Pedal point
วิธีการแต่งทำนองสำคัญ (Subject) ให้มีความหลากหลายทำได้ 4 วิธีด้วยกันคือ
1.             การบรรเลงกลับหัว (Inversion) ได้แก่ การแต่งทำนองเพลงในทิศทางตรงข้ามกับทำนองหลัก เช่น ถ้าทำนองหลักบรรเลงเสียงสูงขึ้น 1 ขั้น ทำนองใหม่ก็จะต่ำลง 1 ขั้น ตัวอย่างทำนองหลักว่า ด-ร-ม-ซ-ล-ด ทำนองใหม่จะเป็น ดลชมด เป็นต้น
2.             การบรรเลงถอยหลัง (Restoration) คือบรรเลงทำนองหลักจากโน้ตตัวท้ายกลับมาตัวต้น เช่น ทำนองหลักว่า ซมลซ ดลรด ทำนองใหม่จะเป็น ดรลด ซลมซ
3.             การยืดจังหวะ (Augmentation) คือการบรรเลงทำนองหลักให้ช้าลงกว่าเดิม
4.             การย่นจังหวะ (Diminution) คือการบรรเลงทำนองหลักอัตราจังหวะที่เร็วขี้น
ด้วยวิธีการทั้ง 4 และเทคนิคดังกล่าวข้างต้น ทำนองหลักใน Fugue  จะหลากหลายและยืดหยุ่นมาก จนไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว Fugue เป็นบทเพลงที่มีสาระสำคัญไม่มากเท่าใดเลย

1 ความคิดเห็น: