วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เด็กดื่มนำ้อัดลมผสมอะไร....... ภัยร้ายอันตารายเด็กรุ่นใหม่

 4x100 คือ อะไร 
เกี่ยวกับการนำยาแก้ไอเด็กซ์โต (dexto) ผสมน้ำอัดลม หรือน้ำร้อนครั้งละ 5-10 เม็ด ซึ่งจะทำให้ไม่ง่วง แต่มึนเบลอ นอกจากนั้นยังพบว่ามีกลุ่มวัยรุ่นบางกลุ่ม นิยมนำเด็กซ์โตกินผสมกับยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล ซึ่งมีรสหวานคล้ายๆ ยาแก้ไอ บรรจุขวดขนาด 100 ซีซี ราคา 80 บาท ซึ่งมีราคาถูกกว่ายาแก้ไอผสมโคเดอีน และ พบว่ามีการใช้ยา 2 ตัวนี้ กินพร้อมกับยาโซแรม (xoram) หรือยาคลายเครียด ด้วยจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เป็นการนำยาที่ใช้ในการรักษาทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิด คือ ยาเด็กซ์โต (dexto) และยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล จัดเป็นยาอันตราย ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป ส่วนยาโซแรม (xoram) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ที่ต้องจำหน่ายโดยเภสัชกร และมีใบสั่งแพทย์ เท่านั้นดังนั้น กองควบคุมวัตถุเสพติด ขอชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับยาทั้ง 3 ตัว ดังนี้1. ยาเด็กซ์โต (dexto) มีชื่อสามัญทางยาว่า dextromethorphan เป็นยาลดอาการไอที่แพทย์นิยมสั่งให้ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และมีอาการไอร่วมด้วย dextromethorphan ในปริมาณที่แพทย์สั่งจ่าย จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัย สามารถกดอาการไออย่างได้ผล และมีผลข้างเคียงน้อย แต่ถ้าได้รับยาในปริมาณสูง สามารถก่อให้เกิดอาการเคลิ้มเป็นสุขได้ (euphoric effects)
    กลไกการออกฤทธิ์
dextromethorphan เป็น dextro isomer ของ levorphanol ซึ่งเป็น analog ของ codeine สามารถลดอาการไอโดยออกฤทธิ์ที่ศูนย์ควบคุมการไอในสมองส่วนเมดุลลา (medulla) โดยเพิ่ม threshold ศูนย์ควบคุมการไอ (ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ opiate s-receptors) แต่ไม่มีฤทธิ์อื่นๆ ของอนุพันธ์ฝิ่น เช่น ระงับปวด กดการหายใจ และ ไม่ทำให้เสพติด ในขนาดที่แนะนำให้ใช้ ยาถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ระยะเวลาที่เริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 15-30 นาที และมีช่วงระยะการออกฤทธิ์นาน 5-6 ชั่วโมง     อันตรายจากการใช้ยาโดยปกติ dextromethorphan เป็นยาที่ปลอดภัยในขนาดที่ให้ใช้คือ 15-30 มก. แต่ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิด มักใช้ในปริมาณที่สูง โดยมักใช้มากกว่า 360 มก. ซึ่งจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน และมีอาการเหมือนได้รับ phencyclidine หรือ ketamine และยาจะมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 6 ชม. ผู้ใช้ยาอาจทำอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่นได้ เนื่องจากผลของยาที่ทำให้เกิดภาพหรือการรับรู้หลอนพิษเฉียบพลันจากการได้รับ dextromethorphan เกินขนาด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ง่วงงุน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน พูดไม่ชัด ม่านตาขยาย เคลิบเคลิ้ม หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะไม่ออก มึนงง ประสาทหลอน กระวนกระวาย สั่น ชัก ปวดศีรษะ เซลสมองถูกทำลายถาวร หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้รูปแบบเภสัชภัณฑ์ 
- ชนิดเม็ด มีทั้งสูตรยาเดี่ยว เช่น romilar® , dextramet® ขนาดความแรง 15 มก./เม็ด และสูตรยาผสมมักผสมร่วมกับยาลดน้ำมูก เช่น dextromine®
- ชนิดน้ำส่วนใหญ่เป็นสูตรยาผสม เช่น robitussin dm® , dextro osoth®
     การควบคุมตามกฎหมายจัดเป็นยาอันตราย ตาม ...ยา .. 2510
2. ยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล (procodyl® syrup) ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ promethazine hydrochloride มีข้อบ่งใช้คือ บรรเทาอาการแพ้ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ promethazine เป็น h1- antihistamine เป็นสารเคมีพวก amine อยู่ในกลุ่มphenothiazines มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมาก จึงอาจนำมาใช้ช่วยให้นอนหลับ ใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ( เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงความเร็วและสถานที่ได้ผลดีมาก เช่นเดียวกับ dimenhydrinate ) และมีฤทธิ์คล้าย atropine ยาในกลุ่มนี้อาจกดการหายใจ และทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง (agranulocytosis)
     ข้อควรระวังในการใช้ยา
1. ห้ามใช้กับผู้ที่หมดสติหรือมีอาการซึมเซามาก
2. ควรระมัดระวังในการใช้กับผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคหัวใจ
3. อาจทำให้หยุดหายใจ     รูปแบบเภสัชภัณฑ์ เป็นยาน้ำเชื่อมใส สีน้ำตาล รสหวาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด บรรจุขนาด 100 ซีซี ขนาดรับประทาน 5 มก./5 มล.
 การควบคุมตามกฎหมายจัดเป็นยาอันตราย ตาม ...ยา .. 2510
3. ยาโซแรม (xoram) หรือ alprazolam เป็นยากลุ่ม benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้น หรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam มีชื่อทางการค้า เช่น zolam® , xanax® เป็นต้น ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล มีการดูดซึมยา ( t max) ภายใน 1-2 ชั่วโมง จับกับโปรตีนในพลาสมาได้ 67-72 % มีค่า ครึ่งชีวิต 11.1 – 19 ชั่วโมงขนาดและวิธีใช้  : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ1/2 – 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยหนัก ควรลดขนาดยาลง การติดยา  การใช้ยา benzodiazepines ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้การควบคุมตามกฎหมาย  ยาโซแรม หรือ alprazolam จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตาม ... วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท .. 2518 การขายต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยมีเภสัชกรควบคุม การจำหน่ายการจัดทำรายงาน  ผู้รับอนุญาต ต้องจัดให้มีการทำบัญชีรับ-จ่ายวัตถุออกฤทธิ์ และเสนอ รายงานให้เลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี บัญชีดังกล่าวต้องเก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาในขณะเปิดดำเนินการ (.87) ได้แก่
1. แบบ ..4 (บัญชีซื้อวัตถุออกฤทธิ์)
2. แบบ ..5 (บัญชีขายวัตถุออกฤทธิ์ตามใบสั่งยา)
3. แบบ ..9 (รายงานประจำเดือน )
4. แบบ ..10 (รายงานประจำปี )


อารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว
        เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย และภาวะ ซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder
ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า อาการที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบ
 ภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์ตก
      ภาวะแมเนียหรืออารมณ์คลุ้มคลั่ง
   ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า
   มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
   เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา
   มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
   อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน
   มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน
     ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
   ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรง
     ในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา
    ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถ
      ควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่น
      มากขึ้น เอาแต่ใจ
   หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ
   มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
   มองโลกในแง่ร้ายไปหมด
   ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
   ขาดสมาธิ ความจำลดลง
   ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็ว
     และมีเนื้อหามาก เสียงดัง
   หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้
   ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
   ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม
   ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ
      มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว
   มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ
   มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
   มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม

   มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ

ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์และโรคอารมณ์เศร้า

        ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major depressive disorder หรือ Unipolar depression) แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว



ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression)มักมีลักษณะอาการต่อไปนี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ
1.                                        มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง
2.                                        มีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลง
3.                                       นอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้น
4.                                        ขาดกำลังใจ มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์
5.                                       มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริง
6.                                        มีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย
7.                                        มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
8.                                       มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มองว่าบุคคลอื่นไม่สนใจหรือไม่เป็นมิตร
9.                                       มีประวัติการติดสารเสพติด หรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
10.                                   มีประวัติโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว


         มีความจำเป็นอย่างมากในการแยกภาวะซึมเศร้าในโรคทั้งสองโรคออกจากกัน เพราะการดำเนินโรค ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันก็ต่างกันการรักษาภาวะ ซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์

        การรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยา การดูแลด้านจิตใจ การปรับพฤติกรรมตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการรักษากับผู้ป่วยและญาติ

        ยังไม่มียารักษาอาการเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์

        ถ้าจำเป็นต้องใช้ยารักษาอาการเศร้า ควรลดขนาดยาลงเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้วและหยุดในที่สุด ควรระมัดระวังการเหวี่ยงกลับไปเป็นแมเนีย อย่างรวดเร็ว หรือเกิด

rapid cycling

        ถ้าผู้ป่วยได้รับยาคงสภาพอารมณ์ที่มีฤทธิ์ต้านซึมเศร้าอันได้แก่ Lithium และ Lamotrigine อยู่ก่อนแล้ว ควรปรับขนาดขึ้นให้เพียงพ