วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค(ปิติ วาทยะกร)เพลงไทยและศิลปะของชาติในอนาคต


เพลงไทยและศิลปะของชาติในอนาคต

พ.ศ.๒๔๘๗                               ความปรารถนาของข้าพเจ้า เท่าที่ดิ้นรนต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆตลอด
พ.ศ.๒๔๘๘       มาจนถึงบัดนี้นั้น ก็เพื่อชาติและศิลปะอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า ฉะนั้น การกระทำ
พ.ศ.๒๔๘๙       ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้เป็นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันจึงมิได้มีทางนอกเหนือไปเป็นอย่างอื่นแต่ประการใด ข้าพเจ้าได้พยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ตลอดมาจนนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว ทั้งนี้ก็โดยประสงค์เพื่อที่จะให้ศิลปะของชาติ ได้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเท่าเทียมกับอาระประเทศอื่นเขา แต่ผลจากการกระทำเหล่านี้แม้จะสำเร็จลงไปก็มิได้มีเวลายาวนาน ทุกครั้งทุกสมัยมักจะปรากฏผ๔คอยทำลายล้างอยู่
                                                  สุดท้ายของการบันทึกนี้ ข้าพเจ้าหมดหวังอย่างใดๆทั้งสิ้น มีความห่วงใยเหลืออีกเพียงสิ่งเดียวก็คือ ดนตรีไทย-ศิลปะประจำชาติที่มียั่งยืนมาแต่โบราณกาล แต่ในอนาคตนั้นดนตรีไทยอันเป็นศิลปะประจำชาติจะเป็นไปสถานใด เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องวิตกอยู่มาก
                                                  สมัยหนึ่ง ได้มีการบันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากลขึ้น ข้าพเจ้าควบคุมการบันทึกด้วยความพากเพียร แม้จะเกิดอุปสรรคนานาประการก็หาได้ย่อท้อไม่ เมื่อเวลาล่วงไป บทเพลงไทยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นไว้มาก ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินงานการบันทึกโดยตรงก็รู้สึกยินดีที่จะเห็นศิลปประจำชาติไทยได้เป็นหลักฐานปึกแผ่นมั่นคงไปถึงชั้นลูกหลานอนุชนรุ่นหลังเหล่านี้ก็จะได้มีไว้เป็นพยานอวดแก่ชาวต่างประเทศได้ว่า ประเทศไทยก็หาได้เป็นประเทศที่ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม ไร้อารยะธรรม หรือปราศจากศิลปกรรมเช่นที่เขาคิดไม่ ด้วยความปรารถนาดีอย่างแท้จริงของข้าพเจ้านี้ แม้ในการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ข้าพเจ้าก็ไม่ลืมเอาเพลงไทยติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการว่าจ้างให้โรงพิมพ์ในต่างประเทศถ่ายทอดโน้ตบันทึกในต้นฉะบับเป็นตัวพิมพ์เสีย ซึ่งทั้งนี้ย่อมจะเป็นหลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้นอีก ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ข้าพเจ้าได้พบกับเจ้าของและผู้จัดการบริษัทการพิมพ์บทเพลงที่มีชื่อเสียงของโลกบริษัทหนึ่งคือ Boosey & Hawkes เพื่อตกลงจ้างพิมพ์บทเพลงไทยชุดเรื่อง “ทำขวัญ” ขึ้นประมาณ ๑๗๕ หน้า และในฐานที่เจ้าของเป็นผู้ชอบพอกับข้าพเจ้าอยู่มาก เขาจึงตอบรับด้วยความยินดีโดยยอมรับพิมพ์ให้ในอัตราค่าจ้างที่ต่ำที่สุดเพียง ๑๕๐ ปอนด์ ต่อบทเพลงทั้งเรื่องถึง ๕๐๐ ชุด ซึ่งในอัตราแลกเปลี่ยนเงินเวลานั้นก็ประมาณ ๑,๖๐๐ บาท นอกจากนั้นบริษัทยังจะมอบแม่พิมพ์ให้ไว้กับเราอีกด้วย ซึ่งการมอบแม่พิมพ์นี้เป็นสิทธิพิเศษ สำหรับเราเท่านั้นที่ได้รับ ข้าพเจ้าส่งข่างอันน่ายินดีนี้มายังกรมศิลปากรโดยหวังที่จะได้รับเงิน
พ.ศ.๒๔๘๐        อนุเคราะห์เพื่อศิลปะประจำชาติ แต่แล้วกรมศิลปากรผู้มีหน้าที่โดยตรงกับการรักษาศิลปะก็หาได้กระตือรือร้นไม่ แม้ข้าพเจ้าได้พยายามแผ้วถางทางเพื่อกิจการนี้ทุกอย่างแล้วก็ตาม ท่านผู้บริหารงานแห่งกรมศิลปากรก็กลับตอบปฏิเสธไป บทเพลงไทยที่หวังจะได้เข้าสู่แท่นพิมพ์เพื่อเป็นตัวอย่าง และหลักฐานอันถาวรก็จำต้องกลับมาสู่ประเทศในลักษณะตัวเขียนอีกตามเคย
                                                         บัดนี้ กรมศิลปากรก็ยังได้เก็บบทเพลงไทยไว้ด้วยลักษณะที่เป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น ข้าพเจ้าจึงวิตกถึงความเสื่อมโทรมของแผ่นกระดาษบางๆ กับลายเส้นดินสอที่จะต้องลบเลือนไปตามอายุขัย บทเพลงไทยที่ครั้งหนึ่งได้ถูกเอาใจใส่ป้องกันไม่ให้สูญหายไปจนถึงกับบันทึกไว้เป็นโน้ตสากลเพื่อความถาวรในอนาคตนั้น แต่บัดนี้ก็มาอาจแน่นอนใจว่า จะยั่งยืนตลอดไปหรือไม่ เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีการสถาปนาให้บทเพลงเหล่านี้เป็นตัวพิมพ์และเผยแพร่ออกไป.
                                                     (ทราบต่อมาว่าในปี พ.ศ.๒๔๙๖ กรมศิลปากรได้พิมพ์เพลงในเรื่องโหมโรงเย็น พร้อมสรรพมีฉบับรวมเครื่อง (Score) และฉบับประจำเครื่องต่างๆของวงปี่พาทย์ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็ได้พิมพ์เพลงในเรื่อง “ทำขวัญ” แต่เพียงฉบับรวมเครื่อง (Score) อย่างเดียวเท่านั้น)

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค(ปิติ วาทยะกร) ความหวังที่ล้มเหลว


ความหวังที่ล้มเหลว

พ.ศ.๒๔๗๖                       ในสมัยต้นของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง วงราชการก็ได้ตั้งใจให้มีการทำนุบำรุงศิลปะทางการดนตรีขึ้นอีกวาระหนึ่ง การทำนุบำรุงศิลปะที่ทางราชการได้กำหนดนี้ก็คือจัดตั้งสถานที่สามัญคยาจารย์เพื่อให้บรรดาครูสามัญได้รับการอบรมศึกษาทางด้านวิชาการดนตรี (แต่การกระทำนี้ก็ล้มเลิกลงใน ๒ ปี ต่อมา) และต่อจากนั้นก็ได้มีการจัดส่งนักศึกษาคนหนึ่งไปรับการอบรมที่เมืองมะนิลา ในประเทศฟิลลิปินส์
พ.ศ.๒๔๗๘                       ส่วนทางด้านเอกชนก็ได้มีการจัดตั้งสถานการศึกษาวิชาการดนตรีขึ้นเพื่อรับนักเรียนให้ได้มีการศึกษาโดยเคร่งครัด ในการนี้ เพื่อนข้าราชการทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้าคนหนึ่งได้เป็นผู้ทำการวิ่งเต้นหาทุนมาช่วยเหลือและผลที่ได้สำเร็จลงอย่างน่าขอบคุณ โครงการพิเศษที่กำหนดนี้ได้รับทุนช่วยจากท่านรัฐบุรุษในคณะรัฐมนตรีบางท่านเป็นเงินซึ่งรวบรวมได้ประมาร ๓,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ บาท และในที่สุดสถานศึกษาวิชาการดนตรีก็ได้อุบัติขึ้น ณ ตึกว่างชั้นบนของบริษัทสยามอิมปอร์ต (เดิม) เชิงสะพานมอญ มีชื่อว่า วิทยาสากลดนตรีสถาน
พ.ศ.๒๔๗๗                        วิทยาลัยการดนตรีแห่งนี้รับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาวิชาการดนตรีได้ประมาณ ๔๐ ถึง ๕๐ ซึ่งเป็นนักศึกษาชาย, หญิงที่เข้ามาสมัครเรียนด้วยใจรัก แต่ทั้งหมดต้องการเรียนรู้วิชาการดนตรีเพื่อเป็นเพียงสมัครเล่น (Amateur) มากกว่าต้องการจะศึกษาเพื่อยึดถือเอาเป็นอาชีพ (Professional) อย่างจริงจังสถานที่ศึกษาแห่งนี้ได้เปิดทำการสอนขึ้นสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐น. ถึง ๑๙.๐๐ น. อันเป็นเวลานอกราชการ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่บรรดาอาจารย์และนักศึกษาผู้มีธุรกิจธุระในเวลาปรกติ
พ.ศ.๒๔๗๙                          วิทยาสากลดนตรีสถานได้ดำเนินกิจการสืบมาเพียงชั่วเวลา ๒ ปี หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้ถูกส่งออกไปดูกิจการดนตรียังต่างประเทศ เป็นเหตุให้หมดโอกาสที่จะควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด กิจการต่างๆ จึงมิได้ดำเนินไปโดยราบรื่น และภายหลังก็เลิกล้มไปในที่สุด



๑๐ เดือนในต่างประเทศ

                                          มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ข้าพเจ้าถูกส่งตัวออกไปดูกิจการดนตรียังต่างประเทศ
พ.ศ.๒๔๘๐        ประเทศตามตำสั่งของทางราชการข้าพเจ้าคิดหวังด้วยความยินดีว่า ความปรารถนาดีของ    รัฐบาลที่มีขึ้นในบัดนั้น บางทีคงอาจเป็นผลให้ศิลปะทางการดนตรีเจริญขึ้นได้อีกในวาระหนึ่ง เพราะกิจการทางวิชาการดนตรีในอารยะประเทศย่อมเป็นแบบแผนอันดียิ่งสำหรับเขา          

                                                 ข้าพเจ้าออกเดินทางไปตามประเทศต่างๆ ที่มีการศึกษาวิชาการดนตรีชั้นเยี่ยมของโลก เช่นประเทศอังกฤษ(ที่กรุงลอนดอน) ,ประเทศฝรั่งเศส(กรุงปารีส),ประเทศเยอรมัน(กรุงเบอร์ลินและเมืองมิวนิค),ประเทศอิตาลี(กรุงโรงแรมและเมืองมิลาน) กับที่ประเทศออสเตรีย(คือที่กรุงเวียนนา) ทุกๆเมืองของทุกๆประเทศ ข้าพเจ้าได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ทางการดนตรีเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าถูกพาเข้าชมรมกิจการของวิทยาลัยการดนตรีต่างๆ หลายแห่งเช่น :-
                                                 ในประเทศอังกฤษ กรุงลอนดอน (๑) Royal Academy of Music (๒) Royal College of Music (๓) Guildhall school of Music (๔) Trinity College of Music (๕) Royal Military School of Music Kneller Hall.
                                                  ในประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน (๑) Hochschule fur Musik และที่เมืองมิวนิค (๒) Staatlicher Akademie der Tonkunst Hochschule fur Musik.
                                            ในประเทศฝรั่งเศส กรุงปารีส (๑) Conservatoire National de Musique (๒) Ecole Normal de Musique
                                            ในประเทศอิตาลี กรุงโรม (๑) Regia Academia di Santa Cecillia และที่เมืองมิลาน (๒) R. Conservatoire di Musica Giuseeppe Verdi.
                                            กับสถานที่การแสดง Opera หลายแห่งในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สำหรับที่กรุงเวียนนานี้ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสที่จะเข้าดูกิจการศึกษาได้ เพราะเป็นเวลาที่วิทยาลัยการดนตรีปิดภาคเรียน
                                                   ทุกๆประเทศที่ข้าพเจ้าแวะเยี่ยม นอกจากจะได้ดูกิจการดนตรีตามวิทยาลัยต่างๆ ดังกล่าวนานมาแล้ว ข้าพเจ้ายังได้มีโอกาสเข้าฟังและชมการแสดง Symphony Concert และ Opera อีกด้วยหลายแห่ง เช่นที่ Queen’s Hall,Albert Hall, Convent Garden, Sadler’s Well กับสถานที่อื่นๆอีกมาก ทั้งในลอนดอน,เบอร์ลิน, ปารีส, โรม, มิลาน, ซาลสบูร์ก และเวียนนา ฯลฯ ข้าพเจ้าถูกเจ้าหน้าที่พาเข้าดูความเป็นไปต่างๆ ได้ฟังและได้ชมการแสดงหน้าเวที ได้ดูหลังฉากการสร้าง ได้ดูดำเนินงานภายในของเขา และทุกสิ่งทุกอย่างก็อยู่ในความสังเกตจดจำของข้าพเจ้ามาทุกๆระยะ
                                                  ข้าพเจ้ากลับมาสู่ประเทศไทยในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ.๒๔๘๐ พร้อมด้วยความหวังที่จะได้พบเห็นกิจการดนตรีของเราเจริญรุ่งเรืองขึ้น
พ.ศ.๒๔๘๑                               ข้าพเจ้าลงมือร่างโครงการการศึกษาเสนอให้กับกรมศิลปากรทันทีระเบียบและวิธีการดำเนินงานต่างๆ ที่มีอยู่พร้อมมูลในโครงการนั้นก็ได้เป็นไปตามแนวการศึกษา เช่น อารยะประเทศเท่าที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น แต่กรมศิลปากรก็กลับเพิกเฉยมิได้นำพาแต่อย่างใด ความหวังของข้าพเจ้าในอันใดที่จะได้เห็นกิจการทางด้านดุริยางค์ศิลปะของชาติเจริญรุ่งเรืองขึ้นในอนาคต ก็เลยต้องยุติสุดสิ้นลงพร้อมกันกับโครงการนั้นด้วย

ความผิดหวังทางด้านต่างๆ

พ.ศ.๒๔๘๒                               ภายหลังที่ข้าพเจ้ากลับมาประเทศไทยแล้ว ความหวังต่างๆ ที่จะให้ศิลปทางการดนตรีของชาติดำเนินไปอย่างรุ่งโรจน์ก็กลับต้องล้มเหลวลงทุกๆด้าน แม้กระทั่งวงดนตรีสากลของกรมศิลปากรเองแทนที่จะเจริญขึ้นก็กลับทรุดโทรมลงอีก จำนวนนักดนตรีลดน้อยลงกว่าเดิมโดยได้ลาออกไปเพื่อประกอบอาชีพทางอื่น เพราะไม่ได้รับความยุติธรรมในเรื่องเงินเดือนบ้าง ถูกปลดออกไปด้วยเหตุต่างๆบ่าง ฐานะของวงดนตรีจึงอยู่ในสภาพที่น่าสลดใจอย่างที่สุด และบทเพลงไทยก็พลอยรับเคราะห์กรรมถูกสั่งให้งดการบันทึกต่อไปด้วย
                                                   ครั้งหนึ่ง วงดนตรีสากลวงนี้ได้มีงานพิเศษโดยถูกขอร้องให้ไปทำการบรรเลง ณ สโมสรราชกรีฑาสมาคมเป็นงานประจำปี เดือนละ ๑ ครั้งหรือ ๒ครั้งทุกเดือน และวงดนตรีก็มีรายได้จากผลงานนั้นตลอดมาเป็นเงินประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาท เงินจำนวนนี้ทางการมิได้แจกจ่ายให้แก่นักดนตรีเลยแม้แต่น้อย คงเก็บไว้โดยอ้างว่าเพื่อบำรงวงดนตรีนี้ต่อไป และบัดนี้วงดนตรีก็ได้รับความททรุดโทรมลงควรที่จะได้รับการทำนุบำรุงแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ทำใบเสนอขึ้นเพื่อขออนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อรับนักเรียนฝึกหัดรุ่นใหม่ เพราะทางการไม่มีเงินงบประมาณให้ คำร้องขอของข้าพเจ้าได้ดำเนินไปด้วยความติดขัด และกว่าจะสำเร็จลงได้ก็ต้องชี้แจงกับท่านผู้บริหารงานแห่งกรมศิลปากรมากมาย ในที่สุดก็ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนมาทำการฝึกหัดได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมจำนวนนักดนตรีของวงที่ขาดอัตราเดิมไป
                                                    ข้าพเจ้าจัดตั้งโรงเรียนขึ้นอีกครั้งหนึ่งภายในโรงโขนหลวงสวนมิสกวัน โรงเรียนอยู่ในห้องหลังโรงโขนซึ่งระเกะระกะไปด้วยฉากละครเก่าๆ และสกปรกอย่างที่สุด แต่ถึงกระนั้นก็ดี นักดนตรีทั้งหลายก็ร่วมมือกันช่วยทำความสะอาดและจัดที่ว่างเพื่อการศึกษาของนักเรียนฝึกหัดด้วย ความหวังอันแจ่มใสขงกาดนตรีที่เรานึกคิดกันอยู่ ทางกรมศิลปากรมิได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเครื่องอุปกรณ์เลย ดังนั้นกระดานดำ, โต๊ะเรียน และม้านั่ง ฯลฯ จึงเป็นสิ่งของที่เอามาจากวิทยาสากลการดนตรีสถานที่ได้เลิกล้มไปแล้วทั้งสิ้น โรงเรียนการดนตรีที่ข้าพเจ้าสถาปนาขึ้นใหม่นี้ เริ่มรับนักเรียนในรุ่นแรกประมาณ ๒๘ คน  ๖ เดือนให้หลังก็มีการสอบไล่คัดเลือกเอาเฉพาะผู้มีไหวพริบและความเพียร คงเหลืออยู่เพียง ๑๗ คน
                                                   ในการรับนักเรียนรุ่นแรกนี้ ข้าพเจ้าได้ทำการตกลงกับท่านผู้มีอำนาจแห่งกรมศิลปากรไว้แล้วว่า เงินที่เสนอขอขึ้นไปนั้นจะต้องได้รับจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้สำหรับนักเรียนฝึกหัดเหล่านี้คนละ ๑๕ บาทต่อเดือน เมื่อปรากฏจำนวนนักเรียนที่แท้จริงเช่นนี้ แทนที่จะได้รับเงินจ่ายดังที่ทำการตกลงกันไว้ก็กลับผิดหวังอีก แม้ข้าพเจ้าจะได้เสนอคำร้องเรียนขึ้นไปก็มิได้รับผลตอบแทนประการใด ครั้นได้ส่งคำร้องฉะบับที่ ๒ ที่ ๓ เตือนขึ้นไปอีก ผลที่ได้รับก็คือข้าพเจ้าถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่งหัวหน้ากองดุริยางค์ศิลปะ เปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นอาจารย์ใหญ่ขาดอำนาจหน้าที่ทางการปกครองเด็ดขาดตั้งแต่นั้น บรรดานักเรียนฝึกหัดทั้งหลายเมื่อหมดที่พึ่งจากเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ต่างคนต่างก็พากันออกไปรับราชการเป็นนักดนตรีในกรมกองอื่นจนหมดสิ้น เช่นวงดนตรีกรมโฆษณาการ วงดนตรีทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และวงดุริยางค์ทหารอากาศเป็นต้น
                                                    วงดนตรีของกรมศิลปากรเมื่อขาดความหวังจานัเรียนฝึกหัดเช่นนี้แล้ว จำนวนนักดนตรีก็คงขาดตกบกพร่องอยู่เช่นเดิม ฐานะของวงทรุดหนักลงอีกจนเหลือวิสัยที่ข้าพเจ้าจะดิ้นรนเพื่องานนี้ต่อไปได้
                                                    เบื้องหลังของการที่วงดนตรีไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับนักเรียนฝึกหัดนั้น เหตุผลที่ข้าพเจ้าสืบทราบมาภายหลังก็คือ จำนวนเงินนับพันที่มีอยู่นั้น เป็นแต่เพียงตัวเลขในบัญชีเท่านั้นเอง ส่วนตัวเงินที่แท้จริงได้อันตรธานไปทางใดข้าพเจ้าหาทราบไม่
                                                  ข้าพเจ้าได้ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของกรมศิลปากรได้ประมาณ
พ.ศ. ๒๔๘๔      ๖เดือนก็ถูกสั่งย้ายไปรับราชการทางกองทัพอากาศ เมื่อคราวที่เป็นสถาปนากอง
พ.ศ. ๒๔๘๕       ภาพยนตร์ขึ้นมา จึงจำต้องมีวงดนตรีเพื่อใช้ประกอบการทำภาพยนตร์เสียง และข้าพเจ้าได้ถูกย้ายมาเพื่อการนี้ ต่อมาภายหลังทางการได้ร้องขอให้ข้าพเจ้า
พ.ศ. ๒๔๘๖       มาช่วยเหลือดูแลกิจการดนตรีของวงดุริยางค์ศิลปากรอีกในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ข้าพเจ้าได้สละหน้าที่ทางกองภาพยนตร์ทหารอากาศกลับมาอีกครั้งหนึ่ง และภายหลังก็ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในแผนกดุริยางค์ศิลปแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร


วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทะยากร) #วงดนตรีสากลในสมัยกรมศิลปากร


เมื่อวงดนตรีฝรั่งหลวงได้ย้ายจากพระราชสำนักรัชกาลที่ ๗ มาสู่กรมศิลปากรแล้วได้มีการแสดงละครเรื่อง อุเทน กับการแสดงคอนเสอร์ตที่โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน เนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๙ ในงานนี้กรมศิลปากรได้เชิญคณะทูตานุฑูตและชาวต่างประเทศมาชมการแสดงอย่างพรักพร้อมกัน.

พ.ศ. ๒๔๗๗                              วงดนตรีสากลในสมัยกรมศิลปากร

                                    ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้ว กิจการของวงดนตรีสากลก็ถูกย้ายเข้ามาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร ระดับความเจริญของวงดนตรีซึ่งเคยมีขีดสูงสุดในรัชกาลที่ ๗ นั้นก็กลับลดลงสู้ต่ำ กิจการของวงดนตรีสากลได้ถูกกระทบกระเทือนอย่างหนักที่สุดอีกวาระหนึ่ง
                                    กรมศิลปากรได้ร้องขอให้ดนตรีฝรั่งหลวงย้ายจากสำนักพระราชวังมาอยู่ในความควบคุมของกรมนี้ต่อไปและก็ได้มีชื่อเรียกว่า วงดนตรีสากลกรมศิลปากร แทนชื่อวงดนตรีฝรั่งหลวง ข้าพเจ้าถูกเชิญตัวให้เข้าพบกับท่านผู้บริหารงานของกรมศิลปากรในสมัยนั้น ในขั้นแรกที่ได้รับทราบก็คือ มติของคณะรัฐมนตรีที่ประสงค์จะตัดงบประมาณของวงดนตรีนี้ลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งโดยมีการให้เลือกให้ตัดทอนได้ ๒ ประการคือ (๑) จะปลดนักดนตรีให้มีจำนวนเหลืออยู่เพียงครึ่งหนึ่ง หรือ (๒) ถ้าต้องการจะให้นักดนตรีมีจำนวนอยู่เต็มก็ต้องลดเงินเดือนพวกเขาให้น้อยลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ข้าพเจ้ารับทราบมติของคณะรัฐมนตรีด้วยความตกใจยิ่ง และรู้สึกเดือดดาลขึ้นมาบ้างในมติที่ทำได้คำนึงอะไรหมดนอกจากจะตัดเพื่อทุ่นเงิน ข้าพเจ้าได้กล่าวชี้แจงให้ฟังว่าดนตรีสากลวงนี้พระมหามงกุฎเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติยศของประเทศชาติสืบไป เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์แล้วสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงรับไว้ในพระบรมราชาอุปถัมภ์ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นสมดังพระราชประสงค์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ดนตรีวงนี้เป็นวงเดียวเท่านั้นที่นำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ประเทศชาติมากที่สุด ชาวต่างประเทศที่มาพบเห็นจะมาฟังก็พากันยกย่องด้วยความจริงใจว่าดีเด่นอยู่ในภาคตะวันออกไกล บัดนี้มติของคณะรัฐมนตรีต้องการตัดค่าใช้จ่ายของวงดนตรีลงเสียก็เท่ากับตัดรากฐานของวงให้ยุบสลายลง เพียงขณะนี้บรรดานักดนตรีก็ได้รับพระราชทานเงินเดือนเพียงเล็กน้อย ( ราว๒๐ ถึง๕๐บาท ) หากจะถูกลดอัตราให้ต่ำลงอีกความอัตคัตขัดสนทางด้านการครองชีพก็ย่อมเกิดขึ้นในครัวเรือนของเขา การปฏิบัติราชการมาด้วยความพากเพียรน่าที่จะได้รับความกรุณาเป็นรางวัลตอบแทนน้ำใจแต่เมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีจะตัดเงินเดือนเขาให้น้อยลงอีกก็ดูกระไรอยู่ อีกประการหนึ่งถ้าจะปลดนักดนตรีให้มีจำนวนน้อยลง ผลร้ายนอกจากจะบังเกิดแก่ผู้รับเคราะห์จากการว่างงานแล้ว ดนตรีวงนี้ก็จะไม่เป็นวงดนตรีที่สมบูรณ์สมลักษณะของวงดุริยางค์ (Orchestra) อีกด้วย ในที่สุดข้าพเจ้าจึงชี้แจงว่าหนทางที่ดียิ่งก็คือข้าพเจ้าเองกล้าพอที่จะพ้นจากตำแหน่งไปเสียคนเดียวดีกว่าเพื่อลดเงินก้อนหนึ่งของข้าพเจ้าลงไปแทนที่จะลดเงินเดือนของนักดนตรีออกคนละครึ่งและทั้งยังสนองมติของคณะรัฐมนตรีให้สมปราถนาอีกด้วย ท่านผู้บริหารงานแห่งกรมศิลปากรได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าพิจารณาหาทางที่เหมาะสมกว่าที่ได้กล่าวแล้ว ข้าพเจ้าถูกนัดให้มาทำการตกลงกันใหม่ภายในหนึ่งสัปดาห์
                                        
                                         วงดนตรีสากลกำลังจะถูกทำลายลงอีก คำบอกเล่าของบิดาข้าพเจ้าเมื่อ 25 ปีก่อนกำลังจะปรากฏผลจริงขึ้น ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงถ้อยคำของท่านบิดาที่ห้ามมิให้ยึดถือการดนตรีเป็นอาชีพเพราะจะบังเกิดความเดือดร้อนลำบากนานาประการนั้น บัดนี้กำลังเป็นจิงขึ้นแล้ว คุณความดีที่พวกเรานักดนตรีได้สร้างขึ้นด้วยความพากเพียรและยากแค้นทุกๆสมัยไม่เคยรอดพ้นจากความเดือดเนื้อร้อนใจไปได้เลย บำเหน็จรางวัลในฝีมือทางด้านศิลปของเรานั้นได้รับผลตอบแทนคือการถูกรื้อถอนที่พักอาศัย,ถูกโยกย้ายสถานที่,ถูกปลด,ถูกลดเงินเดือน และอื่นๆอีกหลายต่อหลายอย่าง นี้คือผลตอบแทนอย่างยุติธรรมที่พวกเราได้รับ? เราไม่มีโอกาสได้รับความปราถนาดีอันใดจากบรรดารัฐมนตรีที่ลงมตินี้หากจะประสงค์อย่างเดียวเท่านั้น คือการตัด ตัด ตัดให้ลดน้อยลงอย่างที่สุดไม่มีใครทราบฐานะของการดนตรีได้ดีนอกจากข้าพเจ้า วงดนตรีที่มีจำนวนสมลักษณะของ Orchestra ถ้าถูกตัดลงก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าพเจ้าจำต้องร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมให้แก่ศิลปะของชาติอีกวาระหนึ่ง ในคราวนี้ขอความเห็นอกเห็นใจจากเจ้านายชั้นู้ใหญ่ในฐานันดรศักดิ์พระองค์หนึ่งในฐานะที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของท่านเจ้าคุณพหลฯนายกรัฐมนตรี แล้วในที่สุดกรรมการพิจารณาค่าใช้จ่ายสำหรับวงดนตรีสากลของเราก็ถูกจัดตั้งขึ้น คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยเจ้านายอีกคนหนึ่งทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยเลขานุการ,กรรมการ,ซึ้งเป็นผู้แทนราษฎรจากจังหวัดต่างๆ เช่นจังหวัดหนองคายและมหาสารคามเป็นต้น ซึ่งโดยเฉพาะผู้แทน ๒ ท่าน ๒ จังหวัดนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการประชุมครั้งนั้นจะกล่าวต่อไป
                                         ในการประชุม ข้าพเจ้ามิได้เป็นกรรมการ แต่ได้ถูกเชิญตัวไปเข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะเป็นผู้ทรงคุณวุติ เมื่อประธานได้เริ่มเปิดการประชุมด้วยการกล่าวบอกจุดหมายของการประชุมแล้วท่านผู้แทนราฎรแห่งจังหวัดหนองคาย(สมัยนั้น)ก็กล่าวถึงค่าใช้จ่ายสำหรับดนตรีวงนี้ เมื่อได้ทราบจากเจ้าหน้าที่แล้วก็ลุกขึ้นให้ความเห็นสำหรับตัวขึ้นว่าการใช้จ่ายเงินของชาติจำนวนมากมายเช่นนี้ให้หมดเปลืองไปเพื่อบำเรอคนคนเดียวนั้นไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งหากจะนำเงินนี้ไปซื้อยาบำบัดโรคหรือซื้อเรือลอยลำแจกยาในลำน้ำโขงให้แก่ชาวบ้านแล้วยังดีเสียกว่า ข้าพเจ้านึกเสียใจอยู่มากเมื่อได้รับคำเสนอจากกรรมการผู้นี้ในฐานะที่ท่านเป็นผู้แทนราษฎรเฉพาะจังหวัดเดียว โดยมิได้คำนึงถึงราษฎรจังหวัดอื่นๆทั้งประเทศไม่คำนึงถึงนายแพทย์ที่ต้องวินิจฉัยชนิดของยาให้เหมาะแก่โรคซึ่งยาอาจเป็นผลร้ายถ้าแจกจ่ายผิดๆถูกๆไม่คำนึงถึงเกียรติยศของชาติที่ดนตรีวงนี้ได้เคยสร้างให้มาแต่ไหนแต่ไร ข้าพเจ้ารู้สึกว่าหากท่านผู้แทนหนองคายจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศแล้วาบงทีพระที่นั้งอนันตสมาคมคงจะถูกโยกย้ายไปตั้งอยู่ในจังหวัดริมแม่น้ำโขงของท่านละกระมังท่านกรรมการอีกผู้หนึ่งคือผู้แทนจังหวัดมหาสารคามเสนอความคิดเห็นว่าควรมีไว้รับแขกเมืองบ้างและเพื่อเปิดโอกาสแสดงให้ประชาชนเข้าฟังบ้างตามสมควรเป็นครั้งคราวในโอกาสต่อๆไปที่จะจัดให้มีขึ้น แต่จำนวนนักดนตรีนั้นจำต้องตัดลงเสีย ข้าพเจ้าผิดหวังที่ได้มาพบกรรมการผู้มาประชุมเรื่องการดนตรีแต่ไม่รู้จักดนตรีเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้น จึงได้ชี้แจงให้ทราบถึงวิธีการจัดตั้งวงดนตรีประจำชาติตามลักษณะของ Orchestra ว่าชนิดของเสียงของเครื่องทั้งวงจำต้องให้มีดุลภาพกัน วงดนตรีต้องประกอบด้วยเครื่องสาย (String Instruments) เครื่องลม (Wind Instruments) เครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) และเครื่องตี (Percussion Instruments) เสียงของเครื่องสายจะต้องมีกำลังต้านทานเสียงของเครื่องลม,เครื่องทองเหลืองและเครื่องตีได้และจำนวนเครื่องดนตรีก็จะต้องให้เป็นไปตามหลักวิชาการดนตรีได้กำหนดไว้ หากวงดนตรีถูกลดจำนวนลงเสียเสียงบรรเลงก็ไม่เข้าสู่สมดุลภาพ ทำให้ระคายโสตประสาท ข้าพเจ้าถูกที่ประชุมให้แสดงข้อเท็จจริงจากเรื่องที่ได้กล่าว โดยกำหนดให้มีการบรรเลงขึ้นและต่อมากรรมการทั้งหมดก็ได้ร่วมประชุมกันอีกวาระหนึ่งต่อหน้าวงดนตรีที่ข้าพเจ้าได้จัดขึ้นที่สวนนิสกวัน ข้าพเจ้าได้ควบคุมวงดนตรีเต็มอัตราจำนวนบรรเลงให้ฟัง และแล้วก็พิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยการลดจำนวนเครื่องสายลงเป็นขั้นๆจากจำนวนเดิมให้น้อยลง   น้อยลง จนเหลือซอไวโอลินเพียง ๒-๓คันในโอกาสสุดท้าย ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสทราบว่าบรรดาท่านกรรมการผู้มาฟังดนตรีนั้นแต่ละคนจะรู้ในการฟังดนตรีเช่นอารยะชนทั้งหลายหรือไม่อย่างไร จะใช้หูหรือตาสำหรับดนตรีข้าพเจ้าก็ไม่อาจทราบ หลังจากการบรรเลงในวันนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รอฟังผลชี้ขาดต่อมาด้วยความกระวนกระวายและรู้สึกห่วงใยเป็นอันมาก ต่อมาอีกไม่นานข้าพเจ้าก็ได้รับทราบคำสั่งจากท่านประธานกรรมการภายในห้องของท่านเองที่กระทรวงมหาดไทย  (ตามตำแหน่งที่ปรึกษาราชการที่ท่านดำรงค์อยู่ในขณะนั้น) พร้อมด้วยเลขานุการ ท่านประธานในฐานันดรศักดิ์หม่อมเจ้าได้ทรงแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่าดนตรีจะต้องถูกโยกย้ายมาอยู่ที่กรมศิลปากร แต่ส่วนการจัดตั้งวงนั้น ท่านนายกรัฐมนตรีได้ตกลงให้ถือหลักการตั้งวงตามที่ข้าพเจ้าได้เสนอไปทุกอย่าง คือวงดนตรีประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ ๗๕คน กับมีการเพาะนักเรียนฝึกหัดประจำวงปีหนึ่งๆ ๒๐คน วงดนตรีสากลนี้จึงหลุดพ้นจากอุปสรรคร้ายมาได้ชั้นหนึ่ง แต่ต่อมาก็ถูกจำกัดอีกไม่ให้มีนักดนตรีฝึกหัดเพราะงบประมาณไม่เพียงพอ ข้าพเจ้าต้องตกเป็นหน้าที่ชี้แจงอีกว่า ถ้าไม่มีนักดนตรีฝึกหัด หากวงดนตรีใหญ่ขาดจำนวนไป จะเป็นด้วยถูกปลดหรือตายหรือออกไปด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม วงดนตรีก็หมดทางที่จะหานักดนตรีที่อื่นมาจุนเจือได้  และการที่วงดนตรีต้องขาดจำนวนลงย่อมจะเป็นผลเสียหาย ด้วยเหตุนี้จึงได้รับนักเรียนฝึกหัดได้ ลดจากจำนวนเดิมเป็นเพียง ๔-๕คน เมื่อจำนวนนักดนตรีประจำวงได้ถูกปลด,ทุพพลภาพ หรือตายไปก็ไม่มีทางจุนเจือจำนวนให้คงที่ได้ กิจการของวงดนตรีสากลจึงบังเกิดความขลุกขลักอีกเรื่อยมา

                                          วงดนตรีสากลแห่งกรมศิลปากรได้รับอันตรายถึงขั้นสุดท้ายคือความ
พ.ศ.๒๔๗๙        หายนะ ท่านผู้บริหารงานกรมศิลปากร (สมัยนั้น) ตัดจำนวนดนตรีกระจัดกระจายออกไป ส่วนหนึ่ง (๑๘ คน) ถูกส่งไปเป็นนักดนตรีประจำละครกรมศิลปากรที่
พ.ศ.๒๔๘๐        นิยมกันในสมัยนั้นอีกส่วนหนึ่ง (๘ คน) ถูกย้ายไปประจำกรมโฆษณาการเมื่อคราวที่กรมนี้ได้ตั้งวงดนตรีแจ๊ส Jazz Band ขึ้น กิจการทั้งนี้เพื่อตัดทอนเงินงบประมาณของวงดนตรีสากลเอาไปบำรุงในทางอื่นตามที่มั่นหมายในขั้นแรกนักดนตรีมีจำนวนน้อยลงไปด้วยการปลดบ้าง, ลาออกบ้าง, ตายบ้าง, และโยกย้ายไปประจำทางอื่นดังกล่าวแล้วบ้าง ในที่สุดวงดนตรีสากลที่เคยเชิดชูเกียรติยศของประเทศลอดมาก็เริ่มทรุดโทรมลงสู่ความหายนะอย่างรวดเร็ว
                                         สมบัติของวงดนตรีที่มีอยู่ ส่วนมากเกือบทั้งหมดได้ติดมาเมื่อย้ายจากราชสำนักสู่กรมศิลปากร สิ่งของเหล่านี้มีเครื่องดนตรีต่างๆ อย่างมากมาย, บทเพลงนับจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าบท เครื่องอุปกรณ์ เช่น ตู้ , โต๊ะ, เก้าอี้ ทุกอย่างเป็นสิ่งของทรัพย์สินส่วนพระองค์ทั้งสิ้น ในระหว่างที่วงดนตรีสากลมาอยู่สังกัดของกรมศิลปากร ก็ไม่ได้รับสิ่งของเพิ่มเติมอะไรมากมาย นอกจากเครื่องดนตรี ๔-๕ ชิ้นราคาไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และบทเพลงกับแบบฝึกหัดอีกเล็กๆ น้อยๆ กับมีเครื่องอะไหล่เช่น สายซอ, ลิ้นปี่ ซึ่งเป็นการจำเป็นจริงๆ ที่ต้องใช้หาไม่แล้ววงดนตรีก็จะไม่มีเสียงขึ้นมาได้
พ.ศ.๒๔๘๑                     ด้วยสาเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าวงดนตรีสากลนี้มาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร
พ.ศ.๒๔๘๒          โดยอาศัยทุนเดิมจากพระราชสำนักเป็นส่วนมากที่สุด วงดนตรีไม่ได้รับความ
พ.ศ.๒๔๘๓           อุปการะจากกรมเท่าที่ควรจะเป็นไปเลยนับตั้งแต่สมัยแรกเริ่มมา ดังนั้นวงดนตรีของ
พ.ศ.๒๔๘๔           กรมศิลปากร จึงปรากฏความทรุดโทรมให้เห็นอยู่ดังเช่นทุกวันนี้
พ.ศ.๒๔๘๕
พ.ศ.๒๔๘๖

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทยะกร)การปรับปรุงวงดนตรีทัพเรือและกำเนิดเพลงชาติ


การปรับปรุงวงดนตรีทัพเรือและการกำเนิดของเพลงชาติ

พ.ศ. ๒๔๗๐    ในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านผู้บังคับการสถานีทหารเรือผู้หนึ่ง ได้มาพบกับข้าพเจ้า ณ ที่ทำการ   ของข้าพเจ้าที่สวนมิสกวัน เพื่อขอร้องให้ข้าพเจ้าไปช่วยเหลือในการปรับปรุงวงดนตรีของกองทัพเรือ ซึ่งมีวงโย(แตรวง) และวงดุริยางค์ (Orchrstra) ข้าพเจ้าก็ยินดีอนุโลมตามคำขอร้องนั้น ด้วยรับรองว่าจะไปปรับปรุงให้อาทิตย์ละ ๒ ครั้งในตอนบ่าย ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานเป็นประจำเรื่อยๆ มาจนถึงสมัยที่ข้าพเจ้าต้องออกไปดูกิจการดนตรียังต่างประเทศ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐) ต่อมาที่ได้กลับมาแล้วข้าพเจ้ากำด้อบรมต่อไปอีกจนกระทั้งถึง พ.ศ. ๒๔๘๓
พ.ศ. ๒๔๘๓  (สมัยสงครามอินโดจีน) ต่อจากนั้นมาข้าพเจ้าได้ถูกสั่งย้ายจากกรมศิลปากรไปยังกองทัพอากาศเพื่อจัดตั้งวงดุริยางค์อีกวงหนึ่ง เพราะทางกองทัพอากาศำด้เปิดที่ทำการกองภาพยนตร์เสียงขึ้นหน่วยหนึ่งที่ทุงมหาเมฆ จังหวัดพระนคร เรียกชื่อว่าหน่วยกองภาพยนตร์กองทัพอากาศ และโดยเหตุที่ระยะทางจากตำบลนี้ถึงกองดุริยางค์ทหารเรื่อซึงตั้งอยู่ที่ฝั่งธนบุรีต้องเสียเวลาในการเดินทางมากมาย ต่อมาข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องยุติการอบรมที่กองดุริยางค์ทหารเรือเสีย
พ.ศ. ๒๔๗๔   ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากำลังไปให้การที่วงดนตรีทหารเรือปลาย พ.ศ. ๒๔๗๕ ข้าพเจ้าได้พบปะกับเพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่งท่านผู้นี้ข้าพเจ้าคุ้นเคยรักใคร่และรู้จักสนิทสนมมาก่อนแล้ว เพื่อนของข้าพเจ้าผู้นี้เป็นผู้ที่รักวิชาการดนตรีอยู่บ้างและชอบร้องเพลง ท่านได้ถือโอกาศมาพบข้าพเจ้าที่กองดุริยางค์ทหารเรืออยู่เนืองๆ และเฉพาะมาเวลาเดียววันเดียวกับที่ข้าพเจ้าไปให้การอบรม ณ ที่นั้นเสมอ แรกเริ่มเดิมทีข้าพเจ้าก็มิได้ทราบความประสงค์อันแท้จริงของท่านในการที่พยายามมาพบข้าพเจ้าบ่อยๆ อยู่มาวันหนึ่งท่านได้กระซิบร้องขอให้ข้าพเจ้าประพันธ์เพลงให้บทหนึ่งดดยขอให้ทำนองเป็นเพลงที่มีความรู้สึกคล้ายคลึงกับเพลงชาติฝรั่งเศสที่ชื่อ “La Marseillaise” ข้าพเจ้าตอบไปว่าไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะเพลงชาติที่มีชื่อว่าสรรเสริญพระบารมีของเราก็มีอยู่แล้ว แต่ท่านกลับอบว่าชาติต่างๆ เขาก็มีเพลงประจำชาตอยู่หลายๆ บท เช่น เพลงธง, เพลงราชนาวี, เพลงทหารบก และอื่นๆ อีกมากมาย ใคร่อยากจะให้เรามีเพลงปลุกใจเพิ่มเติมขึ้นไว้อีกบ้างเพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงของพระมหากษัตริย์ แต่เพลงสำหรับประชาชนนั้นเรายังหามีไม่ ข้าพเจ้าจึงตอบปฏิเสธไปว่า ช้าพเจ้าจะรับทำเช่นนี้ไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นคำสั่งของราชการ ขอใหท่านเลิกความคิดนี้เสียเถิด แต่ท่านก็ตอบว่าฝากไว้เป็นแนวความคิดไปพลางก่อน ในวันข้างหน้าจะมาวิสาสะกับข้าพเจ้าในเรื่องนั้อีก เมื่อท่านผู้นี้ได้จากข้าพเจ้าไปแล้ว ข้าพเจ้าก็ปรึกษาหารือกับนายทหารเรืออีกท่านหนึ่งที่มีหน้าที่อยู่ในกองแตรวง เมื่อท่านผู้นี้ได้ทราบเรื่องก็เตือนข้าพเจ้าทันทีว่า ให้ข้าพเจ้าระวังเพื่อนผู้นั้นให้จงหนัก เพราะเขาลือกันว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์ ข้าพเจ้าตกใจเป็นที่สุดและพลันก็เข้าใจถึงความประสงค์ของท่านที่ต้องการเพลงชาติใหม่ เพราะในเวลานั้นข้าพเจ้าได้ยินข่าวอกุศลมาบ้างแล้วว่าจะเกิดการปฏิวัติในไม่ช้า ข้าพจได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่ไว้แล้วที่จะหลีกทางให้พ้นจากเรื่องการเมืองไปเสียโดยปลีกตัวมิยอมเข้าคลุกคลีในเรื่องเพลงนี้อีกต่อไป ซึ่งในกาละต่อมาแม้เพื่อนของข้าพเจ้าจะได้มาติดต่อกับข้าพเจ้าในเรื่องนี้อีกหลายครั้ง ข้าพเจ้าก็จะเรื่อยๆ ประวิงเวลาอยู่มาจนถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เพลงชาติที่เพื่อนของข้าพเจ้าต้องการนั้นก็ยังมิได้อุบัติขึ้น
พ.ศ. ๒๔๗๕   ต่อมาอีกประมาน ๕ วันภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อการปฏิวัติได้สงบลงบ้างแล้ว การก็ปรากฏว่าเพื่อนของข้าพเจ้าผู้นี้เป็นผู้ร่วมก่อการด้วยคนหนึ่ง และท่านก็ได้มาปรากฏตัวต่อหน้าข้าพเจ้าอีกที่สวนมิสกวัน ท่านได้แสดงความเสียใจที่มิได้มีเพลงชาติสำหรับขับร้องในวันปฏิวัติตามที่ท่านมุ่งหมายไว้ แล้วก็ขอร้องให้ข้าพเจ้ารีบจัดการประพันธ์ให้โดยด่วน อ้างว่าเป็นความประสงค์ของคณะผู้ก่อการ ในระหว่างเวลาที่สภาพทางการเมืองกำลังอยู่ในช่วงหังเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ก็ยากที่ข้าพเจ้าจะปฏิเสธอีกต่อไป จึงได้ขอร้องว่าหากข้าพเจ้าทำให้แล้วก็ขอให้ปกปิดนามของข้าพเจ้าให้มิดชิดด้วยและขอเวลา ๗ วัน เพื่อนของข้าพเจ้าก็รับคำแล้วก็ลาจากไปโดยต้องเข้าประชุมในการร่างรัฐธรรมนูญที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ในระหว่างเวลา ๗ วันนี้ ข้าพเจ้าต้องรู้สึกกระวนกระวายใจเป็นอย่างยิ่งซึงข้าพเจ้าไม่เคยประสพมาในชีวิตเลย ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจอย่างไรถูก เพลงก็คิดไม่ออกเพราะสมองหงุดหงิด เมื่อครบกำหนด ๗ วันในตอนเช้า (ซึ่งข้าพเจ้าจำได้แน่นอนว่าเป็นวันจันทร์) ข้าพเจ้าก็เตรียมตัวมาปฏิบัติราชการตามเคยที่สวนมิสกวัน ขึ้นรถรางประจำทางจากถนนสุริยวงศ์มาเปลี่ยนรถที่สี่แยก เอส.เอ.บี. และในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเดินทางอยู่ในรถรางสายนี้ ทำนองเพลงก็บังเอิญปรากฏขึ้นมาในสมองของข้าพเจ้าอย่างครบถ้วน ข้าพเจ้าลงจากรถรางตรงไปยังที่ทำการที่สวนมิสกวันก็เริ่มจดบันทึกทำนองเพลงที่จำได้ลงบนแผ่นกระดาษโน๊ตทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ลืม ข้าพเจ้าตรงไปที่ Prino ทดลองการประสานเสียงก็พอดีดพื่อนของข้าพเจ้าก็เดิมเข้ามาตามกำหนด ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้ดีด Prino ให้ฟังแล้วท่านก็พอใจเป็นอย่างยิ่ง เลยร้องขอให้ข้าพเจ้าแยกแนวและปรับเพลงนี้ให้เข้าวงดุรยางค์ทหารเรือให้ทันการบรรเลงประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม คือวันพฤหัสบดีต่อมา เพราะในเวลาที่มีการร่างรัฐธรรมนูญนั้นทางการจัดให้มีการบรรเลงดนตรีเป็นประจำทุกๆ วันพฤหัสฯ ตอนบ่าย เพ่อการรื่นเริงของสมาชิกสภาเพลงที่ข้าพเจ้าประพันธ์นี้ก้จะได้ถือโอกาศออกบรรเลงเพื่อทดลองความเห็นของสมาชิกทั่วๆ ไปด้วย ข้าพเจ้ารับรองว่าจะจัดให้เป็นที่เรียบร้อย พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับเพื่อนของข้าพเจ้าอีกเป็นครั้งสุดท้ายว่าให้สงวนนามของข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้ประพันธ์ไว้อย่างเด็ดขาด ท่านก็รับปากไว้อย่างแม่นมั่น ครั้นต่อมาในวันศุกร์รุ่งขึ้นตอนเช้าข้าพเจ้าจับหนังสือพิมพ์ศรีกรุงซึ่งเคยรับเป็นประจำก็ได้ประสพกับข่าวที่ทำให้ต้องอกสั่นขวัญหาย ข่าวนั้นแจ้งว่าเมื่อวานนี้ได้มีการทดลองฟังการบรรเลงทำนองเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ ยกย่องว่าเป็นบทเพลงที่ไพเราะ คึกคักน่าฟังทั้งกระทัดรัดกินเวลาบรรเลงเพียง ๔๕ วินาทีเหมาะสมที่จะยึดถือเอาเป็นเพลงชาติได้ ตอนท้ายได้นำเอานามของข้าพเจ้าลงตีพิมพ์ไว้ว่าเป็นผู้ที่ประพันธ์เพลงบทนี้จึงไม่ต้องสงสับว่าข้าพเจ้าจะไม้ตระหนกตกใจมากยิ่งเพียงใด ทั้งรู้สึกเดือดดาลต่อสหายที่รักของข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งเพราะได้กำชับไว้แล้วว่าให้ปกปิดนามของข้าพเจ้าไว้แต่นี่กลับมาเปิดโปงเสียเช่นนี้ก็ดูกระไรอยู่ ข้าพเจ้ารู้สึกหวาดในภัยที่จะคืบคลานมาสู่ตัวและครอบครัวของข้าพเจ้าเป็นที่สุดและแน่นอนทีเดียวในเช้าวันศุกร์นั้นเอง ข้าพเจ้ามาปฏิบัติราชการตามเคยที่โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน ก็พอดีเวลา ๑๙.๐๐ น.เศษได้รับโทรศัพท์จากกระทรวงวังว่าให้ข้าพเจ้าไปพบกับเสนาบดีเวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นการด่วน ข้าพเจ้าได้ออกจากที่ทำการทันทีมุ่งไปพบกับท่านเสนาบดีตามคำสั่ง เมื่อข้าพเจ้าได้ประสพหน้าท่านเสนาบดีเข้าแล้ว ท่านก็ตวาดว่าข้าพเจ้าได้ไปทำอะไรไว้ในเรื่องเพลงชาติ รู้ไหมว่าเจ้าแผ่นดินเรายังอยู่ จะทำอะไรไว้ในเรื่องนี้ทำไมไม่ปรึกษาอนุญาติเสียก่อน แล้วกำชับให้ข้าพเจ้าชี้แจงเรื่องนี้มาให้ละเอียดทั้งให้ส่งสำเนาเพลงชาตินั้นมาด้วยเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลในบ่ายวันนี้ ข้าพเจ้าตอบไปว่าเพลงนี้ข้าพเจ้าได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เพื่อนของข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัวเท่านั้น มีแต่ทำนองล้วนๆไม่มีเนื้อร้องที่จะถือว่าเป็นเพลงชาติได้ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีความผิดอย่างไร เพราะเพลงแบบนี้ใคนๆที่มีความรู้ในการประพันธ์เพลงก็สามารถทำได้ทั้งนั้น แต่ก็สนองคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจึงได้กลับมายังที่ทำการด้วยอารมณ์กระวนกระวายอย่างยิ่ง เมื่อได้กลับมาถึงที่ทำการแล้วข้าพเจ้าก็รีบโทรศัพท์ไปยังเพื่อนของข้าพเจ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคมให้มาพบข้าพเจ้าทันที ในไม่ช้าท่านผู้นี้ก็มาถึง เมื่อท่านได้รับทราบข้อความต่างๆแล้วก็กลับไปยังพระที่นั่งอนันตอีก ภายหลังจึงทราบว่าท่านผู้นี้ได้พบกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ท่านนายกผู้นี้ได้รีบชี้แจงไปยังเสนาบดีกระทรวงวังรับว่า เรื่องการประพันธ์เพลงนี้เป็นความดำริห์ของท่านและสมาชิกสภาร้องขอมายังข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้ามิได้ทำขึ้นแต่โดยลำพัง ทั้งเพลงนี้เพียงอยู่ในขั้นตอนทดลองเท่านั้น ยังมิได้อุปโหลกขึ้นเป็นเพลงชาติและก็ยังมิได้ลบล้างเพลงสรรเสริญพระบารมีซึ่งเป็นเพลงพระเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะแต่อย่างไรก็ตามพอถึงเดือนตุลาคมศกนั้นเองข้าพเจ้าก็ถูกสั่งปลดออกจากราชการรับเบี้ยบำนาญฐานรับราชการมานานครบ ๓๐ ปี แม้ในเวลานั้นข้าพเจ้ามีอายุได้ ๔๙ ปีเท่านั้นเงินเดือน ๕๐๐ บาทต่อเดือนของข้าพเจ้า ก็ถูกแบ่งออกเป็นครึ่งหยึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งหนึ่งเป็นเงินเดือนโดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้
                                    เมื่อเพลงนี้ได้แพร่หลายออกไปสู่ยังประชาชน แล้วต่อมาทางการก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อดำเนินงานการประกวดเพลงชาติขึ้น ซึ่งได้มีผู้เสนอเข้าแข่งขันกันเป็นอันมาก ครั้นสุดท้ายได้ได้มีมติที่ประชุมกรรมการรับรองเพลงของข้าพเจ้าเป็นเพลงชาติสืบไป ส่วนเนื้อร้องนั้นเป็นของขุนวิจิตร์มาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) และ มหาฉันท์ ขำวิไล  ภายหลังต่อมาเมื่อประเทศสยามได้ถูกเปลี่ยนนามมาเป็นประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการแก้เนื้อร้องขึ้นใหม่ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ (แต่ในความเห็นของข้าพเจ้าเนื้อใหม่นี้ไม่สู้จะสอดคล้องกับทำนองเท่าเทียมกับเนื้อร้องเดิม) โดยเฉพาะทำนองเพลงชาติที่ข้ะเจ้าได้ประพันธ์ขึ้นนี้นั้น ข้าพเจ้าได้มอบไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป ดังได้รับการยกย่องจากรัฐบาลดังสำเนาต่อไปนี้ :-


บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทยะกร)วงกรมศิลปรากร(ต่อ)


สมรรถภาพของวงดนตรีที่ได้สร้างขึ้นไว้นั้น ยังส่งผลให้ประเทศชาติของเราได้รับเกียรติยศอย่างสูงเด่นน่าภาคภูมิใจยิ่ง ถึงกับถูกยกย่องจากชาวต่างประเทศที่เป็นนักติชมการบรรเลง
    (Critic) ว่าเป็นวงดนตรีที่ดีที่สุดในภาคตะวันออก
                         
            ประมาณ 2 ปี ก่อนหน้าที่จะได้เริ่มการแสดง Symphony Concert นี้วงดนตรีต้องไปทำ   การบรรเลงที่พระที่นั้งอัมพรเป็นงานประจำสัปดาห์ จุดประสงค์ของพระองค์ท่านก็เพื่อกวดขันสมรรถภาพของนักดนตรีไทยให้มีฝีมือและความเชี่ยวชาญยิ่งๆขึ้น เพื่อมิให้ละอายแก่ชาวต่างประเทศที่จะมาฟังการแสดงในลำดับต่อไป ในรัชสมัยของพระองค์วงดนตรีเคยถูกส่งไปบรรเลงตามสถานฑูตต่างๆอันเป็นงานนอกสถานที่ดังเคยปฏิบัติมาในรัชสมัยของพระมงกุฏเกล้าฯและทุกๆคราวงานเฉลิมพระชนม์พรรษาและงานสำคัญอื่นๆก็ได้มีการแสดง Popular Concert เป็นพิเศษและให้ประชาชนได้ฟัง เช่นการแสดง Symphony Concert คราวต้อนรับชาวต่างประเทศที่เข้ามาประชุมการแพทย์ในประเทศไทยที่เกี่ยวด้วยโรคตะวันออก (Tropical Diseases) การแสดง Symphony Concert นี้มายุติลงภายหลังที่มีการ    เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)  

พ.ศ. 2473 ในรัชกาลพระปกเกล้าฯ เพลงไทยก็มีโอกาสไหวตัวในทางดีขึ้น ด้วยการวางหลักการบันทึกเป็นโน๊ต สากลเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและเพื่อป้องกันการศูนย์หายหรือเลอะเลือน แต่ไหนแต่ไรมาเพลงไทยของเราเคยจารึกจดจำอยู่ในสมองของอาจารย์ดนตรีไทยทั้งหลาย เมื่อต่างคนต่างมรณะกรรมไป เพลงไทยก็ตายตามตัวไปด้วยที่มีเหลืออยู่ก็ค่อยๆลดจำนวนน้อยลงเป็นลำดับ ทั้งยังขาดตกบกพร่องผิดเพี้ยนกันไปหาความแน่นอนไม่ได้และโดยเหตุนี้ เพื่อจัดให้เพลงไทยได้รูปเป็นมาตรฐานถาวรมิห้สาปสูญไปเสียงานบันทึกเพลงไทยเป็นโน๊ตสากลจึงได้ถูกริเริ่มขึ้นในความอำนวยการของ สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ฯ การจดบันทึกเพลงไทยนี้ได้ดำเนินไปที่วังวรดิสถนนหลานหลวงด้วยความละเอียดถี่ถ้วนอย่างยิ่ง กรรมการฝ่ายดนตรีไทยก็ได้เลือกเฟ้นเอาแต่ผู้ทรงคุณวุฒิจริงๆ ส่วนฝ่ายทางการจดบันทึกนั้นตกเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานะของหัวหน้าเป็นผู้วางหลักการบันทึก พร้อมด้วยนักดนตรีในวงดนตรีฝรั่งหลวงเป็นผู้ช่วยเหลืออีกหลายคน จากนั้นแล้วเพลงไทยก็ถูกบันทึกขึ้นเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่สำหรับดุริยางค์ศิลปประจำชาติของเราโดยป้องกันการศูนย์หายไปได้ขั้นหนึ่งแล้ว แต่อีกขั้นหนึ่งที่ยังวิตกอยู่คือ เพลงไทยทั้งหลายนั้นถูกจดไว้ด้วยตัวดินสอดำและด้วยกระดาษบางๆ        (โดยจุดประสงค์ที่จะให้เป็นต้นฉบับเพื่อทำการพิมต่อไปในภายหลัง) อาจจะลบเลือนหรือขาดวิ่นเพราะมดปลวกกัดกินก็ได้ บัดนี้เพลงไทยทั้งหมดถูกรวบรวมไว้ในกรมศิลปากร ข้าพเจ้าจึงวิตกว่าบทเพลงไทยเหล่านี้ที่ครั้งหนึ่งได้อุตสาห์ทำขึ้นด้วยความลำบากยากเข็ญอาจจะกลับล้มละลายหายศูนย์ตามลักษณะเดิมอีกก็เป็นได้ ศิลปะชิ้นเอกของไทยหากไทยไม่ช่วยกันรักษา เมื่อเสื่อมสลายลงไปแล้วก็จะโทษใครเล่า จะให้ดนตรีสากลเข้ามาแทรกอยู่ในประเทศของเราเพียงอย่างเดียวและละเลยของดีของเราเสียแล้วนั้นหรือ ต่อไปอนุชนรุ่นหลังของเราจะมีศิลปะไทยชิ้นไหนไว้อวดอารยะธรรมของประเทศให้ประจักษ์แก่ตาโลกเล่า.



                อันดนตรี, มีคุณ, อยู่ทุกอย่างไป                    ย่อมใช้ได้, ดังจินดา, ค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์, ครุฑา, เทวราช                                              จัตะบาท, กลางป่า, พนาสิน
แม้ปี่เรา, เป่าไป, ให้ได้ยิน                                              ก็สุดสิ้น, ส่งเมโท, ที่โกรธา
ให้ใจอ่อน, นอนหลับ, หมดสติ                                     อันลัทธิ, ดนตรี, ดีหนักหนา
ซึ่งสงสัย, ไม่สิ้น, ในวิญญาณ                                        จงนิทรา, เถิดจะเป่า, ให้เจ้าฟัง

                                                                                   คัดจากพระอภัยมณี (สุนทรภู่)





วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทยะกร) ในรัชสมัยของสมเด็จพระปกเกล้าฯ(ต่อ)


สมรรถภาพของวงดนตรีที่ได้สร้างขึ้นไว้นั้น ยังส่งผลให้ประเทศชาติของเราได้รับเกียรติยศอย่างสูงเด่นน่าภาคภูมิใจยิ่ง ถึงกับถูกยกย่องจากชาวต่างประเทศที่เป็นนักติชมการบรรเลง
    (Critic) ว่าเป็นวงดนตรีที่ดีที่สุดในภาคตะวันออก
                         
            ประมาณ 2 ปี ก่อนหน้าที่จะได้เริ่มการแสดง Symphony Concert นี้วงดนตรีต้องไปทำ   การบรรเลงที่พระที่นั้งอัมพรเป็นงานประจำสัปดาห์ จุดประสงค์ของพระองค์ท่านก็เพื่อกวดขันสมรรถภาพของนักดนตรีไทยให้มีฝีมือและความเชี่ยวชาญยิ่งๆขึ้น เพื่อมิให้ละอายแก่ชาวต่างประเทศที่จะมาฟังการแสดงในลำดับต่อไป ในรัชสมัยของพระองค์วงดนตรีเคยถูกส่งไปบรรเลงตามสถานฑูตต่างๆอันเป็นงานนอกสถานที่ดังเคยปฏิบัติมาในรัชสมัยของพระมงกุฏเกล้าฯและทุกๆคราวงานเฉลิมพระชนม์พรรษาและงานสำคัญอื่นๆก็ได้มีการแสดง Popular Concert เป็นพิเศษและให้ประชาชนได้ฟัง เช่นการแสดง Symphony Concert คราวต้อนรับชาวต่างประเทศที่เข้ามาประชุมการแพทย์ในประเทศไทยที่เกี่ยวด้วยโรคตะวันออก (Tropical Diseases) การแสดง Symphony Concert นี้มายุติลงภายหลังที่มีการ    เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)  

พ.ศ. 2473 ในรัชกาลพระปกเกล้าฯ เพลงไทยก็มีโอกาสไหวตัวในทางดีขึ้น ด้วยการวางหลักการบันทึกเป็นโน๊ต สากลเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและเพื่อป้องกันการศูนย์หายหรือเลอะเลือน แต่ไหนแต่ไรมาเพลงไทยของเราเคยจารึกจดจำอยู่ในสมองของอาจารย์ดนตรีไทยทั้งหลาย เมื่อต่างคนต่างมรณะกรรมไป เพลงไทยก็ตายตามตัวไปด้วยที่มีเหลืออยู่ก็ค่อยๆลดจำนวนน้อยลงเป็นลำดับ ทั้งยังขาดตกบกพร่องผิดเพี้ยนกันไปหาความแน่นอนไม่ได้และโดยเหตุนี้ เพื่อจัดให้เพลงไทยได้รูปเป็นมาตรฐานถาวรมิห้สาปสูญไปเสียงานบันทึกเพลงไทยเป็นโน๊ตสากลจึงได้ถูกริเริ่มขึ้นในความอำนวยการของ สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ฯ การจดบันทึกเพลงไทยนี้ได้ดำเนินไปที่วังวรดิสถนนหลานหลวงด้วยความละเอียดถี่ถ้วนอย่างยิ่ง กรรมการฝ่ายดนตรีไทยก็ได้เลือกเฟ้นเอาแต่ผู้ทรงคุณวุฒิจริงๆ ส่วนฝ่ายทางการจดบันทึกนั้นตกเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานะของหัวหน้าเป็นผู้วางหลักการบันทึก พร้อมด้วยนักดนตรีในวงดนตรีฝรั่งหลวงเป็นผู้ช่วยเหลืออีกหลายคน จากนั้นแล้วเพลงไทยก็ถูกบันทึกขึ้นเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่สำหรับดุริยางค์ศิลปประจำชาติของเราโดยป้องกันการศูนย์หายไปได้ขั้นหนึ่งแล้ว แต่อีกขั้นหนึ่งที่ยังวิตกอยู่คือ เพลงไทยทั้งหลายนั้นถูกจดไว้ด้วยตัวดินสอดำและด้วยกระดาษบางๆ        (โดยจุดประสงค์ที่จะให้เป็นต้นฉบับเพื่อทำการพิมต่อไปในภายหลัง) อาจจะลบเลือนหรือขาดวิ่นเพราะมดปลวกกัดกินก็ได้ บัดนี้เพลงไทยทั้งหมดถูกรวบรวมไว้ในกรมศิลปากร ข้าพเจ้าจึงวิตกว่าบทเพลงไทยเหล่านี้ที่ครั้งหนึ่งได้อุตสาห์ทำขึ้นด้วยความลำบากยากเข็ญอาจจะกลับล้มละลายหายศูนย์ตามลักษณะเดิมอีกก็เป็นได้ ศิลปะชิ้นเอกของไทยหากไทยไม่ช่วยกันรักษา เมื่อเสื่อมสลายลงไปแล้วก็จะโทษใครเล่า จะให้ดนตรีสากลเข้ามาแทรกอยู่ในประเทศของเราเพียงอย่างเดียวและละเลยของดีของเราเสียแล้วนั้นหรือ ต่อไปอนุชนรุ่นหลังของเราจะมีศิลปะไทยชิ้นไหนไว้อวดอารยะธรรมของประเทศให้ประจักษ์แก่ตาโลกเล่า.



                อันดนตรี, มีคุณ, อยู่ทุกอย่างไป                    ย่อมใช้ได้, ดังจินดา, ค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์, ครุฑา, เทวราช                                              จัตะบาท, กลางป่า, พนาสิน
แม้ปี่เรา, เป่าไป, ให้ได้ยิน                                              ก็สุดสิ้น, ส่งเมโท, ที่โกรธา
ให้ใจอ่อน, นอนหลับ, หมดสติ                                     อันลัทธิ, ดนตรี, ดีหนักหนา
ซึ่งสงสัย, ไม่สิ้น, ในวิญญาณ                                        จงนิทรา, เถิดจะเป่า, ให้เจ้าฟัง

                                                                                   คัดจากพระอภัยมณี (สุนทรภู่)





วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทยะกร) ในรัชสมัยของสมเด็จพระปกเกล้าฯ


ในรัชสมัยของสมเด็จพระปกเกล้าฯ
พ.ศ. ๒๔๖๘       ต้นรัชสมัยของสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้บังเกิดความเศร้าสลดใจแกบรรดา
พศกนิกรไทยทั้งมวลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่บรรดาข้าราชการในพระราชสำนักของพระองค์ ด้วยการสววณคตของสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
            สืบเนื่องจากการสววณคตนั้นแล้ว ประเทศไทยก้อตกอยู่ในรัชสมัยของพระปกเกล้าฯ ในระหว่างเวลานั้น วงดนตรีสากลซึ่งเดิมเรียกว่าวงดนตรีฝรั่งหลวงต้องชงักงานการบรรเลงไปชั่วคราวแต่ต่อมาภายหลังก็ได้ทีการบรรเลงเป็นปกติอีก โดยสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระกรุณาธิคุณเป็นองค์อุปภัมภ์
            กิจการของวงดนตรีในตอนต้นๆ ของรัชสมัยนี้ได้บังเกิดการระส่ำระส่ายขึ้น สืบเนื่องมาจากสาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงในวงราชการของพระราชสำนัก การเปลี่ยนแปลงได้มากระทบกระเทือนไปถึงหน่วยราชการทั่วๆไปรวมทั้งวงดนตรีนี้ด้วยอนาคตของวงดนตรีฝรั่งหลวงนี้ได้นำข่าวต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นข่าวอกุศลทั้งสิ้น โดยกล่าวกันว่าจะต้องถูกยุบเลิกล้มไป และข่าวต่อมาว่าจะอยู่ได้แต่ต้องลดจำนวนนักดนตรีลงเป็นวงดนตรีย่อยๆ ข่าวอกุศลต่างๆ เหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าวิตกและกังวลใจเป็นอันมาก ทั้งรู้สึกเศร้าสลดใจเมื่อรำถึงคำขวัญของบิดาข้าพเจ้าที่ได้กล่าวไว้ในระหว่างที่ท่านป่วยหนักนั้น ใกล้จะเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว ข้าพเจ้าจึงคอยสดับตรับฟังเหตุการณ์คลี่คลายอย่างใกล้ชิดด้วยความห่วงใยยิ่ง
            ครั้นต่อมาการเปลี่ยนแปลงในวงราชการพระราชสำนักได้ปรากฏขึ้นมาจริงดังคาดหมายไว้ ยังส่งผลให้กระทบกระเทือนมาสู่กรมมหรศพเป็นขั้นแรก
กรมมหรศพนี้ต้องถูกยุบเลิกล้มไปพร้อมกับกรมเสือป่าพรานหลวงและม้าหลวงกรมที่เหลืออยู่ถูกลดฐานะลงเป็นกองเป็นหน่วยย่อยๆ ไปหมด  ศิลปินในกรมโขนและ
ปี่พาทย์ถูกปลดไปเป็นส่วนมากมีจำนวนเหลือเพียงปฏิบัติราชการได้บ้างเล็กๆ
พ.ศ. ๒๔๖๙       น้อยๆ เท่านั้น สำหรับวงดนตรีฝรั่งหลวงถูกย้ายจากสโมสรเสือป่าไปอยู่ในบ้านหลังหนึ่งในกรมอัศวราช (ราชตฤณมัยเดี๋ยวนี้) เพื่อรอคอยชะตากรรมของวง
                                    ต่อมาวันหนึ่งข้าพเจ้าถูกเชิญตัวไปพบกับท่านผู้บัญชาการพระราชสำนักเพื่อปรึกษากิจการของวงดนตรีฝรั่งหลวงนี้ ความประสงค์ของท่านผู้บัญชาการนั้นไม่แต่จะลดจำนานนักดนตรีให้น้อยลงกว่าเดิมอย่างเดียวเท่านั้น ซ้ำยังต้องการให้รักดนตรีเหล่านี้สามารถปฏิบัติหน้าที่อื่นๆไปได้ด้วย คือ  ต้องเป็นนักดนตรี, บรรเลงในวงดนตรีฝรั่งและวงดนตรีปี่พาทย์, ต้องเต้นโขน, ต้องรับการฝึกหัดเดินโต๊ะ เพื่อทำหน้าที่นี้ต่อเมื่อมีราชการในการเลี้ยงใหญ่ ท่านผู้บัญชาการนี้ต้องการให้ศิลปินคนหนึ่งๆ ปฏิบัติงานได้หลายๆอย่างเช่นนี้โดยมิได้คำนึงถึงผลของงานที่จะต้องเสียไปเพราะประสงค์แต่ให้ทุ่นงบประมาณเท่านั้น ข้าพเจ้าถูกรับหน้าที่พิจารณาโครงการเปลี่ยนแปลงนี้และให้เสนอความเห็นขึ้นไปในเร็ววัน
                                    วงดนตรีฝรั่งหลวงเคยดำเนินราชการไปด้วยดีตลอดมาแต่บัดนี้กำลังจะประสพกับความวิบัติ คุณความดีของศิลปินที่เขาได้ปฏิบัติราชการมาด้วยความสุจริตและพากเพียรกำลังจะได้รับผลร้ายตอบแทน ข้าพเจ้านำข่าวเปลี่ยนแปลงปรึกษาหารือในหมู่ศิลปินของข้าพเจ้าด้วยกันทุกคนต่างลงความเห็นว่า การดำเนินงานในแบบใหม่นี้คือความหายนะของพวกเขา ไม่มีใครจะสามารถปฏิบัติงานหลายอย่างให้ได้ผลดีในเวลาเดียวกันได้ ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นหัวหน้าวงได้พิจารณาโดยยรอบคอบแล้วเห็นว่าไม่มีทางใดเหลืออยู่นอกจากจะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยผ่านทางราชองครักษ์ซึ่งเมื่อทรงได้รับทราบแล้วก็ตกพระทัยและกล่าวว่า นี่อะไรกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีจุดจำนงจะบำรุงดนตรีวงนี้ให้เจริญยิ่งขึ้นและเรื่องเปลี่ยนแปลงของวงดนตรีเช่นนี้ก็ไม่เคยทราบถึงพระกรรณเลย ในที่สุดคำกราบบังคมทูลของข้าพเจ้าก็ถูกนำขึ้นถวาย ผลคั่นสุดท้าย คือ ข้าพเจ้าได้รับพระราชเสาวณีย์ให้ปฏิบัติไปเช่นเดิมทุกประการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปินด้านนี้ เมื่อเหตุร้ายกลายเป็นดีจึงไม่ต้องสงสัยว่าข้าพเจ้าจะมิได้รับความเครียดแค้นจากท่านผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้า เพราะท่านเคยกล่าวแก่ข้าพเจ้าด้วยความคิดแคบๆ ว่า นี่มันเมืองไทย จะเอาดนตรีฝรั่งมาไว้ทำไมกัน จึงขอให้ท่านผู้อ่านได้ใคร่ครวญดูเถิดว่า การดิ้นรนของข้าพเจ้านำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าให้แก่วงดนตรีวงนี้ในเมื่อต้องมาถูกต่อต้านกับอุดมคติของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งแต่จะทำลายเช่นนี้ถ้าหากขาดองค์อุปถัมภ์เสียแล้ววงดนตรีของศิลปากรในปัจจุบันนี้จะต้องได้ถูกยุบเลิกไปนานแล้ว
                                    วงดนตรีฝรั่งหลวงจึงได้รับพระบรมราชูอุปถัมภ์จากรัชชกาลที่ ๗ ให้ดำรงค์ไปอย่างเดิม แต่นักดนตรียังต้องถูกกระทบกระเทือนทางด้านการครองชีพอยู่โดยไม่มีที่พักอาศัยเพราะสโมสรเสือป่าถูกรื้อพร้อมกับห้องพักอาศัยของนักดนตรี, อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเคยได้รับพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๖ ถูกตัดลงจนหมดสิ้น
พ.ศ. ๒๔๗๐       เงินเดือนที่เคยได้รับพระราชทานเพียงเล็กน้อยก็ถูกจำกัดให้มีระดับคงที่ นักดนตรีได้รับความลำบากในเรื่องเงินที่ต้องใช้จ่ายเป็นค่าเช่าที่พัก, ค่าอาหาร, ค่าเครื่องนุ่งห่มจนได้รับความยาแค้นลำเค็ญ เพราะหมดหนทางที่จะปลีกตัวไปสู่แหล่งอื่นๆ แต่ถึงกระนั้นก็ดีน้ำใจที่รักวิชาศิลปก็ยังฝังแน่นอยู่เช่นเดิม ข้าพเจ้าได้ควบคุมให้เขาปฏิบัติงานและฝึกฝนฝีมือต่อไปอย่างขมักเขม้นและ ๓ ปีให้หลัง วงดนตรีนี้ก็สามารถบรรเลงเพลงขนาดสูงๆ เช่น Symphonic Suite, Symphonic Poem ได้ดี สมรรถภาพของนักดนตรีในวงทำให้สบพระราชหฤทัยเป็นอันมาก บรรดานักดนตรีได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นบ้างเพื่อสนองความดีของเขาตามสมควร ส่วนข้าพเจ้าก็ได้รับ
พ.ศ. ๒๔๗๑       พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาจากพระองค์เป็นบำเหน็จความชอบ จากนั้นแล้งก็ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดการแสดง Symphoy Concert สำหรับประชาชนขึ้น
ณ โรงโขนหลวงสวนมิกวันและต่อมาที่ศาลาสหทัย เงินที่เก็บได้จาการแสดงนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่องค์การสาธารณะกุศลโดยไม่หักค่าใช้จ่ายเลย คือ องค์การสภากาชาดไทย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลจีน
พ.ศ. ๒๔๗๒      โรงพยาบาลศรราช, โรงพยาบาล Mc.Cormick เชียงใหม่ เป็นต้น ผลของการปฏิบัติการบรรเลงดนตรีปรากฎคำชมเชยจากชาวต่างประเทศมากมายในหน้าหนังสือพิมพ์ Bangkok Times, Siam Observer และ Bangkok Daily Mail ดังจะได้คัดมาเสนอเป็นบางรายดังต่อไปนี้


วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Popula Concert สำหรับประชาชน ณ สถานที่กาแฟนรสิงห์


งานประจำปีในระหว่างฤดูร้อน
แสดงการบรรเลงแบบ Poppula Concert สำหรับประชาชน
ณ สถานที่กาแฟนรสิงห์
                        กาแฟนรสิงห์ ( Café’ Norasingh ) เป็นสถานที่ๆตั้งอยู่มุมถนนศรีอยุธยา ซึ่งบัดนี้ถูกรื้อถอนลงหมดสิ้นแล้ว สถานที่นี้พระมงกุฏเกล้าฯ ได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและได้ทรวมอบกิจการของสถานที่นี้ให้เป็นหน้าที่ของกรมมหรสพ นอกจากสถานที่ Café’ Norasingh ซึ่งเป็นสถานที่ว่างและเครื่องดื่มแล้วยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกระโจมแตรถาวรขนาดใหญ่ขึ้นในที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ตั้งทำการบรรเลงดนตรีให้ประชาชนฟัง มีทั้งวงดุริยางค์สากลและวงดนตรีปี่พาทย์สลับรายการกันทุกๆวันอาทิตย์ตอนเย็นเริ่มแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. ถึง ๑๙.๐๐ น. ตามบริเวณหน้สกระโจมมีโต๊ะและเก้าอี้จัดไว้รับรองสำหรับประชาชนประมาณ ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ คน การเข้านั่งฟังการบรรเลงนี้ไม่ต้องเสียเงินค่าผ่านประตูแต่มีกฎเกณฑ์ไว้ว่าผู้ที่เข้ามานั้นต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเท่านั้น การบรรเลงเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมิถุนายน เพราะหลังจากนั้นจะเข้าฤดูฝนการบรรเลงกลางแจ้งเช่นนี้ไม่สะดวกด้วยเหตุหลายประการ วงดุริยางค์และวงปี่พาทย์ได้ทำการบรรเลงเป็นงานประจำปีจนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ข้าพเจ้ายังระลึกได้ว่าทุกๆคราวที่มีการบรรเลง ลานพระบรมรูปทรงม้ามุมถนนศรีอยุธยานั้นคับคั่งไปด้วยรถยนต์ประดุจมีงานมโหฬาร ซึ่งส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศที่พากันมาฟังเฉพาะในวันที่มีการบรรเลงดนตรีสากล ประชาชน
พ.ศ. ๒๔๖๕       ทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
พ.ศ. ๒๔๖๖       อย่างล้นเหลือถึงกับได้โฆษณากล่าวขวัญสดุดีพระองค์ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันอยู่เนืองๆ นอกจากงานภายในส่วนพระองค์แล้วงานสำคัญๆ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้วงดุริยางค์ไปบรรเลงสำหรับประชาชนก็มีงานเฉลิมพระชนม์พรรษา งานสภากาชาด และงานฤดูหนาว เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นงานประจำปีทั้งสิ้น งานนี้ได้จัดให้มีขึ้นที่สวนจิตต์ลดาบ้าง ที่สวนสราญรมย์บ้าง เป็นงานประจำ ๗ วัน ๗ คืน วงดุริยางค์ต้องไปปฏิบัติงานตั้งแต่ค่ำจนใกล้รุ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีงานตามสถานฑูตเป็นงานวันชาติของชาติต่างๆ ที่ตั้งสถานฑูตอยู่ในกรุงเทพฯ นี้ เช่น สถานฑูตอังกฤษ, อเมริกา, อิตาลี กับในการต้อนรับจอมพล Joffre ก็ได้มีที่สถานฑูตฝรั่งเศส องค์การต่างประเทศที่สำคัญๆก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เสมอ เช่น The British Legion, Alliance, Frangaise, St. Andrew’s Ball กับในงานกีฬาต่างๆ เช่น การแข่งขันชิงถ้วย Foodball การแข่งม้าที่ราชกรีฑาสโมสร และที่ราชตฤณมัย เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ได้แพร่ออกทั่วๆไปเสมอ


กองแตรวง (Brass Band) กรมเสือป่าพรานหลวงและกรมม้าหลวง
พ.ศ. ๒๔๖๑       กองแตรวงกรมเสือป่าพรานหลวงและม้าหลวงได้จัดตั้งขึ้นเป็นกองแตรวง ๒ หน่วยต่างกัน เพื่อประกอบกิจการของเสือป่าซึ่งเป้นราชการอีกส่วนหนึ่งในพระราชสำนัก
พ.ศ. ๒๔๖๓       แตรวงทั้ง ๒ หน่วยนี้ ได้จัดตั้งขึ้นตามแบบที่เรียกว่า Brass Band คือ ประกอบด้วยเครื่องทองเหลืองล้วนๆ ใช้ในการบรรเลงสำหรับประชาชนและในการนำแถวเสือป่า ส่วนนักดนตรีนั้นใช้ผู้ที่ประจำอยู่ในวงดนตรีฝรั่งหลวง ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จสววคตแล้วแตรวงทั้ง ๒ หน่วยนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไปพร้อมทั้งกรมเสือป่าด้วย จึงนับได้ว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้านี้ศิลปกรรมการดนตรีทั้งไทยและสากลได้ก้าวหน้าขึ้นสู่ความเจริญเป็นอันมากเพราะนอกจากวงดุริยางค์สากลส่วน
พ.ศ. ๒๔๖๕     พระองค์แล้ว แตรวงของกองทัพบกก็ดี ของกองทัพเรือก็ดี และของกรมรักษาวัง
พ.ศ. ๒๔๖๗       ก็ดี ก็ได้เจริญรอยตามขึ้นไปด้วย ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นสมัยที่ศิลปกรรมทุกๆ สาขารุ่งเรืองอย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง