วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค(ปิติ วาทยะกร)เพลงไทยและศิลปะของชาติในอนาคต


เพลงไทยและศิลปะของชาติในอนาคต

พ.ศ.๒๔๘๗                               ความปรารถนาของข้าพเจ้า เท่าที่ดิ้นรนต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆตลอด
พ.ศ.๒๔๘๘       มาจนถึงบัดนี้นั้น ก็เพื่อชาติและศิลปะอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า ฉะนั้น การกระทำ
พ.ศ.๒๔๘๙       ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้เป็นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันจึงมิได้มีทางนอกเหนือไปเป็นอย่างอื่นแต่ประการใด ข้าพเจ้าได้พยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ตลอดมาจนนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว ทั้งนี้ก็โดยประสงค์เพื่อที่จะให้ศิลปะของชาติ ได้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเท่าเทียมกับอาระประเทศอื่นเขา แต่ผลจากการกระทำเหล่านี้แม้จะสำเร็จลงไปก็มิได้มีเวลายาวนาน ทุกครั้งทุกสมัยมักจะปรากฏผ๔คอยทำลายล้างอยู่
                                                  สุดท้ายของการบันทึกนี้ ข้าพเจ้าหมดหวังอย่างใดๆทั้งสิ้น มีความห่วงใยเหลืออีกเพียงสิ่งเดียวก็คือ ดนตรีไทย-ศิลปะประจำชาติที่มียั่งยืนมาแต่โบราณกาล แต่ในอนาคตนั้นดนตรีไทยอันเป็นศิลปะประจำชาติจะเป็นไปสถานใด เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องวิตกอยู่มาก
                                                  สมัยหนึ่ง ได้มีการบันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากลขึ้น ข้าพเจ้าควบคุมการบันทึกด้วยความพากเพียร แม้จะเกิดอุปสรรคนานาประการก็หาได้ย่อท้อไม่ เมื่อเวลาล่วงไป บทเพลงไทยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นไว้มาก ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินงานการบันทึกโดยตรงก็รู้สึกยินดีที่จะเห็นศิลปประจำชาติไทยได้เป็นหลักฐานปึกแผ่นมั่นคงไปถึงชั้นลูกหลานอนุชนรุ่นหลังเหล่านี้ก็จะได้มีไว้เป็นพยานอวดแก่ชาวต่างประเทศได้ว่า ประเทศไทยก็หาได้เป็นประเทศที่ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม ไร้อารยะธรรม หรือปราศจากศิลปกรรมเช่นที่เขาคิดไม่ ด้วยความปรารถนาดีอย่างแท้จริงของข้าพเจ้านี้ แม้ในการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ข้าพเจ้าก็ไม่ลืมเอาเพลงไทยติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการว่าจ้างให้โรงพิมพ์ในต่างประเทศถ่ายทอดโน้ตบันทึกในต้นฉะบับเป็นตัวพิมพ์เสีย ซึ่งทั้งนี้ย่อมจะเป็นหลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้นอีก ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ข้าพเจ้าได้พบกับเจ้าของและผู้จัดการบริษัทการพิมพ์บทเพลงที่มีชื่อเสียงของโลกบริษัทหนึ่งคือ Boosey & Hawkes เพื่อตกลงจ้างพิมพ์บทเพลงไทยชุดเรื่อง “ทำขวัญ” ขึ้นประมาณ ๑๗๕ หน้า และในฐานที่เจ้าของเป็นผู้ชอบพอกับข้าพเจ้าอยู่มาก เขาจึงตอบรับด้วยความยินดีโดยยอมรับพิมพ์ให้ในอัตราค่าจ้างที่ต่ำที่สุดเพียง ๑๕๐ ปอนด์ ต่อบทเพลงทั้งเรื่องถึง ๕๐๐ ชุด ซึ่งในอัตราแลกเปลี่ยนเงินเวลานั้นก็ประมาณ ๑,๖๐๐ บาท นอกจากนั้นบริษัทยังจะมอบแม่พิมพ์ให้ไว้กับเราอีกด้วย ซึ่งการมอบแม่พิมพ์นี้เป็นสิทธิพิเศษ สำหรับเราเท่านั้นที่ได้รับ ข้าพเจ้าส่งข่างอันน่ายินดีนี้มายังกรมศิลปากรโดยหวังที่จะได้รับเงิน
พ.ศ.๒๔๘๐        อนุเคราะห์เพื่อศิลปะประจำชาติ แต่แล้วกรมศิลปากรผู้มีหน้าที่โดยตรงกับการรักษาศิลปะก็หาได้กระตือรือร้นไม่ แม้ข้าพเจ้าได้พยายามแผ้วถางทางเพื่อกิจการนี้ทุกอย่างแล้วก็ตาม ท่านผู้บริหารงานแห่งกรมศิลปากรก็กลับตอบปฏิเสธไป บทเพลงไทยที่หวังจะได้เข้าสู่แท่นพิมพ์เพื่อเป็นตัวอย่าง และหลักฐานอันถาวรก็จำต้องกลับมาสู่ประเทศในลักษณะตัวเขียนอีกตามเคย
                                                         บัดนี้ กรมศิลปากรก็ยังได้เก็บบทเพลงไทยไว้ด้วยลักษณะที่เป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น ข้าพเจ้าจึงวิตกถึงความเสื่อมโทรมของแผ่นกระดาษบางๆ กับลายเส้นดินสอที่จะต้องลบเลือนไปตามอายุขัย บทเพลงไทยที่ครั้งหนึ่งได้ถูกเอาใจใส่ป้องกันไม่ให้สูญหายไปจนถึงกับบันทึกไว้เป็นโน้ตสากลเพื่อความถาวรในอนาคตนั้น แต่บัดนี้ก็มาอาจแน่นอนใจว่า จะยั่งยืนตลอดไปหรือไม่ เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีการสถาปนาให้บทเพลงเหล่านี้เป็นตัวพิมพ์และเผยแพร่ออกไป.
                                                     (ทราบต่อมาว่าในปี พ.ศ.๒๔๙๖ กรมศิลปากรได้พิมพ์เพลงในเรื่องโหมโรงเย็น พร้อมสรรพมีฉบับรวมเครื่อง (Score) และฉบับประจำเครื่องต่างๆของวงปี่พาทย์ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็ได้พิมพ์เพลงในเรื่อง “ทำขวัญ” แต่เพียงฉบับรวมเครื่อง (Score) อย่างเดียวเท่านั้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น