การปรับปรุงวงดนตรีทัพเรือและการกำเนิดของเพลงชาติ
พ.ศ.
๒๔๗๐ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๐
ท่านผู้บังคับการสถานีทหารเรือผู้หนึ่ง ได้มาพบกับข้าพเจ้า ณ ที่ทำการ ของข้าพเจ้าที่สวนมิสกวัน
เพื่อขอร้องให้ข้าพเจ้าไปช่วยเหลือในการปรับปรุงวงดนตรีของกองทัพเรือ
ซึ่งมีวงโย(แตรวง) และวงดุริยางค์ (Orchrstra)
ข้าพเจ้าก็ยินดีอนุโลมตามคำขอร้องนั้น ด้วยรับรองว่าจะไปปรับปรุงให้อาทิตย์ละ ๒
ครั้งในตอนบ่าย ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานเป็นประจำเรื่อยๆ
มาจนถึงสมัยที่ข้าพเจ้าต้องออกไปดูกิจการดนตรียังต่างประเทศ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐)
ต่อมาที่ได้กลับมาแล้วข้าพเจ้ากำด้อบรมต่อไปอีกจนกระทั้งถึง พ.ศ. ๒๔๘๓
พ.ศ.
๒๔๘๓ (สมัยสงครามอินโดจีน)
ต่อจากนั้นมาข้าพเจ้าได้ถูกสั่งย้ายจากกรมศิลปากรไปยังกองทัพอากาศเพื่อจัดตั้งวงดุริยางค์อีกวงหนึ่ง
เพราะทางกองทัพอากาศำด้เปิดที่ทำการกองภาพยนตร์เสียงขึ้นหน่วยหนึ่งที่ทุงมหาเมฆ
จังหวัดพระนคร เรียกชื่อว่าหน่วยกองภาพยนตร์กองทัพอากาศ
และโดยเหตุที่ระยะทางจากตำบลนี้ถึงกองดุริยางค์ทหารเรื่อซึงตั้งอยู่ที่ฝั่งธนบุรีต้องเสียเวลาในการเดินทางมากมาย
ต่อมาข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องยุติการอบรมที่กองดุริยางค์ทหารเรือเสีย
พ.ศ.
๒๔๗๔ ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากำลังไปให้การที่วงดนตรีทหารเรือปลาย
พ.ศ. ๒๔๗๕
ข้าพเจ้าได้พบปะกับเพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่งท่านผู้นี้ข้าพเจ้าคุ้นเคยรักใคร่และรู้จักสนิทสนมมาก่อนแล้ว
เพื่อนของข้าพเจ้าผู้นี้เป็นผู้ที่รักวิชาการดนตรีอยู่บ้างและชอบร้องเพลง
ท่านได้ถือโอกาศมาพบข้าพเจ้าที่กองดุริยางค์ทหารเรืออยู่เนืองๆ
และเฉพาะมาเวลาเดียววันเดียวกับที่ข้าพเจ้าไปให้การอบรม ณ ที่นั้นเสมอ
แรกเริ่มเดิมทีข้าพเจ้าก็มิได้ทราบความประสงค์อันแท้จริงของท่านในการที่พยายามมาพบข้าพเจ้าบ่อยๆ
อยู่มาวันหนึ่งท่านได้กระซิบร้องขอให้ข้าพเจ้าประพันธ์เพลงให้บทหนึ่งดดยขอให้ทำนองเป็นเพลงที่มีความรู้สึกคล้ายคลึงกับเพลงชาติฝรั่งเศสที่ชื่อ
“La
Marseillaise” ข้าพเจ้าตอบไปว่าไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
เพราะเพลงชาติที่มีชื่อว่าสรรเสริญพระบารมีของเราก็มีอยู่แล้ว
แต่ท่านกลับอบว่าชาติต่างๆ เขาก็มีเพลงประจำชาตอยู่หลายๆ บท เช่น เพลงธง,
เพลงราชนาวี, เพลงทหารบก และอื่นๆ อีกมากมาย ใคร่อยากจะให้เรามีเพลงปลุกใจเพิ่มเติมขึ้นไว้อีกบ้างเพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงของพระมหากษัตริย์
แต่เพลงสำหรับประชาชนนั้นเรายังหามีไม่ ข้าพเจ้าจึงตอบปฏิเสธไปว่า
ช้าพเจ้าจะรับทำเช่นนี้ไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นคำสั่งของราชการ
ขอใหท่านเลิกความคิดนี้เสียเถิด แต่ท่านก็ตอบว่าฝากไว้เป็นแนวความคิดไปพลางก่อน
ในวันข้างหน้าจะมาวิสาสะกับข้าพเจ้าในเรื่องนั้อีก
เมื่อท่านผู้นี้ได้จากข้าพเจ้าไปแล้ว
ข้าพเจ้าก็ปรึกษาหารือกับนายทหารเรืออีกท่านหนึ่งที่มีหน้าที่อยู่ในกองแตรวง
เมื่อท่านผู้นี้ได้ทราบเรื่องก็เตือนข้าพเจ้าทันทีว่า
ให้ข้าพเจ้าระวังเพื่อนผู้นั้นให้จงหนัก เพราะเขาลือกันว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์
ข้าพเจ้าตกใจเป็นที่สุดและพลันก็เข้าใจถึงความประสงค์ของท่านที่ต้องการเพลงชาติใหม่
เพราะในเวลานั้นข้าพเจ้าได้ยินข่าวอกุศลมาบ้างแล้วว่าจะเกิดการปฏิวัติในไม่ช้า
ข้าพจได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่ไว้แล้วที่จะหลีกทางให้พ้นจากเรื่องการเมืองไปเสียโดยปลีกตัวมิยอมเข้าคลุกคลีในเรื่องเพลงนี้อีกต่อไป
ซึ่งในกาละต่อมาแม้เพื่อนของข้าพเจ้าจะได้มาติดต่อกับข้าพเจ้าในเรื่องนี้อีกหลายครั้ง
ข้าพเจ้าก็จะเรื่อยๆ ประวิงเวลาอยู่มาจนถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
เพลงชาติที่เพื่อนของข้าพเจ้าต้องการนั้นก็ยังมิได้อุบัติขึ้น
พ.ศ.
๒๔๗๕ ต่อมาอีกประมาน ๕
วันภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อการปฏิวัติได้สงบลงบ้างแล้ว
การก็ปรากฏว่าเพื่อนของข้าพเจ้าผู้นี้เป็นผู้ร่วมก่อการด้วยคนหนึ่ง
และท่านก็ได้มาปรากฏตัวต่อหน้าข้าพเจ้าอีกที่สวนมิสกวัน
ท่านได้แสดงความเสียใจที่มิได้มีเพลงชาติสำหรับขับร้องในวันปฏิวัติตามที่ท่านมุ่งหมายไว้
แล้วก็ขอร้องให้ข้าพเจ้ารีบจัดการประพันธ์ให้โดยด่วน
อ้างว่าเป็นความประสงค์ของคณะผู้ก่อการ ในระหว่างเวลาที่สภาพทางการเมืองกำลังอยู่ในช่วงหังเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ก็ยากที่ข้าพเจ้าจะปฏิเสธอีกต่อไป
จึงได้ขอร้องว่าหากข้าพเจ้าทำให้แล้วก็ขอให้ปกปิดนามของข้าพเจ้าให้มิดชิดด้วยและขอเวลา
๗ วัน
เพื่อนของข้าพเจ้าก็รับคำแล้วก็ลาจากไปโดยต้องเข้าประชุมในการร่างรัฐธรรมนูญที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
ในระหว่างเวลา ๗ วันนี้
ข้าพเจ้าต้องรู้สึกกระวนกระวายใจเป็นอย่างยิ่งซึงข้าพเจ้าไม่เคยประสพมาในชีวิตเลย
ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจอย่างไรถูก เพลงก็คิดไม่ออกเพราะสมองหงุดหงิด เมื่อครบกำหนด ๗
วันในตอนเช้า (ซึ่งข้าพเจ้าจำได้แน่นอนว่าเป็นวันจันทร์)
ข้าพเจ้าก็เตรียมตัวมาปฏิบัติราชการตามเคยที่สวนมิสกวัน
ขึ้นรถรางประจำทางจากถนนสุริยวงศ์มาเปลี่ยนรถที่สี่แยก เอส.เอ.บี.
และในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเดินทางอยู่ในรถรางสายนี้ ทำนองเพลงก็บังเอิญปรากฏขึ้นมาในสมองของข้าพเจ้าอย่างครบถ้วน
ข้าพเจ้าลงจากรถรางตรงไปยังที่ทำการที่สวนมิสกวันก็เริ่มจดบันทึกทำนองเพลงที่จำได้ลงบนแผ่นกระดาษโน๊ตทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ลืม
ข้าพเจ้าตรงไปที่ Prino ทดลองการประสานเสียงก็พอดีดพื่อนของข้าพเจ้าก็เดิมเข้ามาตามกำหนด
ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้ดีด Prino
ให้ฟังแล้วท่านก็พอใจเป็นอย่างยิ่ง เลยร้องขอให้ข้าพเจ้าแยกแนวและปรับเพลงนี้ให้เข้าวงดุรยางค์ทหารเรือให้ทันการบรรเลงประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
คือวันพฤหัสบดีต่อมา
เพราะในเวลาที่มีการร่างรัฐธรรมนูญนั้นทางการจัดให้มีการบรรเลงดนตรีเป็นประจำทุกๆ
วันพฤหัสฯ ตอนบ่าย เพ่อการรื่นเริงของสมาชิกสภาเพลงที่ข้าพเจ้าประพันธ์นี้ก้จะได้ถือโอกาศออกบรรเลงเพื่อทดลองความเห็นของสมาชิกทั่วๆ
ไปด้วย ข้าพเจ้ารับรองว่าจะจัดให้เป็นที่เรียบร้อย
พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับเพื่อนของข้าพเจ้าอีกเป็นครั้งสุดท้ายว่าให้สงวนนามของข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้ประพันธ์ไว้อย่างเด็ดขาด
ท่านก็รับปากไว้อย่างแม่นมั่น
ครั้นต่อมาในวันศุกร์รุ่งขึ้นตอนเช้าข้าพเจ้าจับหนังสือพิมพ์ศรีกรุงซึ่งเคยรับเป็นประจำก็ได้ประสพกับข่าวที่ทำให้ต้องอกสั่นขวัญหาย
ข่าวนั้นแจ้งว่าเมื่อวานนี้ได้มีการทดลองฟังการบรรเลงทำนองเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่
ยกย่องว่าเป็นบทเพลงที่ไพเราะ คึกคักน่าฟังทั้งกระทัดรัดกินเวลาบรรเลงเพียง ๔๕
วินาทีเหมาะสมที่จะยึดถือเอาเป็นเพลงชาติได้
ตอนท้ายได้นำเอานามของข้าพเจ้าลงตีพิมพ์ไว้ว่าเป็นผู้ที่ประพันธ์เพลงบทนี้จึงไม่ต้องสงสับว่าข้าพเจ้าจะไม้ตระหนกตกใจมากยิ่งเพียงใด
ทั้งรู้สึกเดือดดาลต่อสหายที่รักของข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งเพราะได้กำชับไว้แล้วว่าให้ปกปิดนามของข้าพเจ้าไว้แต่นี่กลับมาเปิดโปงเสียเช่นนี้ก็ดูกระไรอยู่
ข้าพเจ้ารู้สึกหวาดในภัยที่จะคืบคลานมาสู่ตัวและครอบครัวของข้าพเจ้าเป็นที่สุดและแน่นอนทีเดียวในเช้าวันศุกร์นั้นเอง
ข้าพเจ้ามาปฏิบัติราชการตามเคยที่โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน ก็พอดีเวลา ๑๙.๐๐
น.เศษได้รับโทรศัพท์จากกระทรวงวังว่าให้ข้าพเจ้าไปพบกับเสนาบดีเวลา ๑๐.๐๐ น.
เป็นการด่วน ข้าพเจ้าได้ออกจากที่ทำการทันทีมุ่งไปพบกับท่านเสนาบดีตามคำสั่ง
เมื่อข้าพเจ้าได้ประสพหน้าท่านเสนาบดีเข้าแล้ว ท่านก็ตวาดว่าข้าพเจ้าได้ไปทำอะไรไว้ในเรื่องเพลงชาติ
รู้ไหมว่าเจ้าแผ่นดินเรายังอยู่
จะทำอะไรไว้ในเรื่องนี้ทำไมไม่ปรึกษาอนุญาติเสียก่อน
แล้วกำชับให้ข้าพเจ้าชี้แจงเรื่องนี้มาให้ละเอียดทั้งให้ส่งสำเนาเพลงชาตินั้นมาด้วยเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลในบ่ายวันนี้
ข้าพเจ้าตอบไปว่าเพลงนี้ข้าพเจ้าได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เพื่อนของข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัวเท่านั้น
มีแต่ทำนองล้วนๆไม่มีเนื้อร้องที่จะถือว่าเป็นเพลงชาติได้ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีความผิดอย่างไร
เพราะเพลงแบบนี้ใคนๆที่มีความรู้ในการประพันธ์เพลงก็สามารถทำได้ทั้งนั้น
แต่ก็สนองคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจึงได้กลับมายังที่ทำการด้วยอารมณ์กระวนกระวายอย่างยิ่ง
เมื่อได้กลับมาถึงที่ทำการแล้วข้าพเจ้าก็รีบโทรศัพท์ไปยังเพื่อนของข้าพเจ้าที่พระที่นั่งอนันตสมาคมให้มาพบข้าพเจ้าทันที
ในไม่ช้าท่านผู้นี้ก็มาถึง
เมื่อท่านได้รับทราบข้อความต่างๆแล้วก็กลับไปยังพระที่นั่งอนันตอีก
ภายหลังจึงทราบว่าท่านผู้นี้ได้พบกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
ท่านนายกผู้นี้ได้รีบชี้แจงไปยังเสนาบดีกระทรวงวังรับว่า
เรื่องการประพันธ์เพลงนี้เป็นความดำริห์ของท่านและสมาชิกสภาร้องขอมายังข้าพเจ้าเอง
ข้าพเจ้ามิได้ทำขึ้นแต่โดยลำพัง ทั้งเพลงนี้เพียงอยู่ในขั้นตอนทดลองเท่านั้น
ยังมิได้อุปโหลกขึ้นเป็นเพลงชาติและก็ยังมิได้ลบล้างเพลงสรรเสริญพระบารมีซึ่งเป็นเพลงพระเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะแต่อย่างไรก็ตามพอถึงเดือนตุลาคมศกนั้นเองข้าพเจ้าก็ถูกสั่งปลดออกจากราชการรับเบี้ยบำนาญฐานรับราชการมานานครบ
๓๐ ปี แม้ในเวลานั้นข้าพเจ้ามีอายุได้ ๔๙ ปีเท่านั้นเงินเดือน ๕๐๐
บาทต่อเดือนของข้าพเจ้า ก็ถูกแบ่งออกเป็นครึ่งหยึ่งเป็นบำนาญ
อีกครึ่งหนึ่งเป็นเงินเดือนโดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้
เมื่อเพลงนี้ได้แพร่หลายออกไปสู่ยังประชาชน
แล้วต่อมาทางการก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อดำเนินงานการประกวดเพลงชาติขึ้น
ซึ่งได้มีผู้เสนอเข้าแข่งขันกันเป็นอันมาก
ครั้นสุดท้ายได้ได้มีมติที่ประชุมกรรมการรับรองเพลงของข้าพเจ้าเป็นเพลงชาติสืบไป
ส่วนเนื้อร้องนั้นเป็นของขุนวิจิตร์มาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) และ มหาฉันท์ ขำวิไล ภายหลังต่อมาเมื่อประเทศสยามได้ถูกเปลี่ยนนามมาเป็นประเทศไทยแล้ว
ก็ได้มีการแก้เนื้อร้องขึ้นใหม่ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
(แต่ในความเห็นของข้าพเจ้าเนื้อใหม่นี้ไม่สู้จะสอดคล้องกับทำนองเท่าเทียมกับเนื้อร้องเดิม)
โดยเฉพาะทำนองเพลงชาติที่ข้ะเจ้าได้ประพันธ์ขึ้นนี้นั้น ข้าพเจ้าได้มอบไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
ดังได้รับการยกย่องจากรัฐบาลดังสำเนาต่อไปนี้ :-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น