วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกควมทรงจำพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)75ปีวงเครื่องสายฝรั่งหลวงฯ รัชกาลที่ 6


๓๕ ปีของชีวิตในการดนตรี (พ.ศ. ๒๔๖๐ ๒๔๙๕)
วงเครื่องสายฝรั่งหลวงของพระมงกุฏเกล้าฯ
ประวัติวงดุริยางค์ของกรมศิลปากร

กำเนิด
พ.ศ. ๒๔๕๕   ราว พ.ศ. ๒๔๕๕ (ค.ศ. ๑๙๑๒) สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงสถาปนาวงดนตรีขึ้นวงหนึ่งในพระราชสำนักของพระองค์ เรียกว่า วงเครื่องสายฝรั่งหลวง สังกัดกรมมหรศพ ในการต่อมาได้เริ่มฝึกการปฏิบัติเครื่องดนตรีโดยอาศัยนักดนตรีของวงปี่พาทย์หลวง ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของกรมมหรศพ ในการที่อาศัยนักดนตรีของวงปี่พาทย์มาทำการฝึกหัดเครื่องดนตรีฝรั่งนี้ ทางการได้ใช้นักดนตรีที่มีความชำนาญในทางดนตรีไทยอยู่แล้ว ให้มาฏิบัติทางดนตรีฝรั่งโดยมุ่งหวังจะให้ได้ผลรวดเร็วขึ้นเพราะอาจเข้าใจไปว่าเป็นการดนตรีเหมือนกัน แต่ก็เป็นความเข้าใจที่จะสำเร็จไดยากดังจะเห๊นได้ในการต่อมาเมื่อดนตรีวงนี้ได้ตกมาอยู่ในความอำนวยการของข้าพเจ้า
การประสาสน์วิชาความรู้ให้แก่นักดนตรีในครั้งแรกนี้ ทราบมาว่ากรมมหรศพได้ว่าจ้างชาวต่างประเทศผู้หนึ่งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มาเป็นครู ท่านผู้นี้มีชื่อหรือเชื้อชาติอะไรหรือมีความรู้ในวิชาการดนตรีเพียงไรข้าพเจ้าไม้ทราบ เพราะเวลานั้นข้าพเจ้ายังรับราชกาลอยู่ในกรมรถไฟหลวง ข้าพเจ้าทราบแต่เพียงว่าวิธีการสอนของเขานั้นต้องอาศัยล่ามเป็นผู้อธิบายความประสงค์อยู่เสมอ เพราะท่านผู้นี้พูดภาษาไทยไม่ได้และนักดนตรีก็พูดภาษาฝรั่งไมได้ช่นกัน การสอนจึงดำเนินไปด้วยความขลุกขลักตลอดเวลา ต่อมาครูผู้นี้พ.ศ. ๒๔๕๖ได้ลาออกไปในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๓) กองแตรวงกองทัพบกได้ว่าจ้างชาวอิตาเลียนผู้หนึ่งเข้ามารับราชการเป็นอาจารย์แตรวงแทนบิดาของข้าพเจ้าซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙) อาจารย์ผู้นี้ข้าพเจ้ารู้จักดีและคุ้นเคยกันมาก แม้ในเวลานั้นข้าพเจ้ายังรับราชการอยู่ในกรมรถไฟก็ตาม ท่านผู้นี้มีนิสัยอ่อนโยน,อารีอารอบดี, มีวิชาความรู้สูง มีความชำนาญและความสามารถยิ่งในการปรับปรุงบทเพลงให้วงแตร เพราะเมื่อได้เข้ามารับหน้าที่ได้ไม่กี่ปีก็สามารถนำแตรวงของกองทัพบกออกแสดง Concert ด้วยบทเพลงในขั้นวิจิตรศิลปภายในบริเวณกระทรวงกลาโหมหลายครั้ง เป็นที่พอใจของผู้ฟังซึ่งส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศ ส่วนวงเครื่องสายฝรั่งหลวงของกรมมหรศพนั้นเล่า ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้เลย
ทางกรมมหรศพจึงได้ขอร้องให้อาจารย์ผู้นี้มาช่วยดำเนินการสอนและให้สั่งซื้อเครื่องดนตรีมาครบชุดเป็นวงดุริยางค์แบบมัธย (Medium Orchestra) ในเมื่อเครื่องดนตรีเหล่านี้ได้รับมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ผู้นี้ได้เริ่มทำการสอน แต่ก็ยังอาศัยนักดสตรีของวงปี่พาทย์เช่นเดิม ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าทางการมิได้ดำริห์จะผลิตเด็กให้เป็นนักดนตรีใหม่ ถึงอย่างไรก็ตามอาจารย์ผู้นี้ได้ปรับปรุงกิจกรรมต่างๆด้วยความมานะและความพากเพียรอย่างยิ่งตลอดมา และได้เรียบเรียงบทเพลงขึ้นให้เป็นพิเศษเพื่อให้นักดนตรีออกทำการบรรเลงเพลงเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆได้บ้างพอสมควร อาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องนี้เป็นชาวอิตาเลียน มาครั้งแรกก็พูดภาษาไทยไม่ได้ ส่วนนักดนตรีที่อยู่ในการควบคุมของท่านก็พูดภาษาต่างประเทศไม่ได้ การสอนจึงดำเนินไปตามวิธีที่ต้องอาศัยล่ามคอยแปลความประสงค์ของผู้ประสาสน์วิชาอยู่เป็นเนืองนิจซึ่งทำให้ท่านผู้รับการสอนหนักใจอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าหากได้ล่ามที่ไร้ความรู้ในทางวิชาการดนตรี ก็เห็นจะหมดหวังที่จะทำการสอนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแต่เคราะห์ดีที่ล่ามผู้นี้แม้จะเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยสามารถผูดภาษาฝรั่งเศสได้และมีความรู้ในทางวิชาการดนตรีอยู่บ้าง เพราะเคยเป็นนักเรียนมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
พ.ศ. ๒๔๕๗   ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔) สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ปะทุขึ้นในภาคพื้นยุโรป อาจารย์ซึ่งเป็นชาวอิตาเลียนถูกเรียกระดม จำต้องสละหน้าที่กลับไปรับใช้ประเทศชาติของตน ต่อมาวงดนตรีของวงมหรศพก็เกิด
พ.ศ. ๒๔๕๘      กระส่ำกระสายขึ้นเพราะขาดครูคงเหลืออยู่แต่ล่ามซึ่งต้องรับมอบหมายหน้าที่แทน ท่านผู้นี้แม้รับราชการทหารอยู่ก็ตามได้พยายามประคับประคองวงดนตรีของกรมมหรศพเรื่อยๆ แต่ก็มิได้กระทำให้ดนตรีวงนี้ดีขึ้นเลย เพราะต้องขวักไขว่งานทั้ง ๒ ทาง ดนตรีวงนี้จึงค่อยๆทรุดโทรมลงไปเป็นลำดับ ถึงกลับตามที่ข้าพเจ้าได้ทราบมาในภายหลังว่าทางกรมมหรศพได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระกรุณาธิคุณให้ทรงพระบรมราชานุญาติเลิกล้มดนตรีวงนี้เสียและส่งเครื่องดนตรีต่างๆที่มีอยู่ไปให้แก่กองทัพบกใช้ราชการต่อไป แต่พระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ ได้รับสั่งว่า ยังทรงเสียดายในการยุบวงดนตรีวงนี้อยู่ เพราะได้ลงทุนในการสร้าง
พ.ศ. ๒๔๖๐    ถ้าหากหาครูในประเทศมาได้ก็ยังพอมีหวังกอบกู้ให้เจริญขึ้นมาได้โดยทรงพระราชดำริห์กล่าวขวัญถึงข้าพเจ้าว่า หากได้บุตรชายของครูแตรฝรั่งคนเก่าของกองทัพบก ซึ่งรับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวงมาก็อาจแก้ไขดนตรีวงนี้ให้ดีขึ้นได้ เพราะครูแตรวงผู้นี้ท่นทรงรู้จักดีในขณะที่พระองค์ทรงดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกเมื่อครั้งทรงเป็นพระยุพราชเจ้าในรัชกาลที่ ๕ การที่ได้ทรงพระราชดำริห์ดช่นนี้ ข้าพเจ้ารับทราบเรื่องราวนี้ก็โยที่ผู้ได้รับมอบหมายมาทาบทามข้าพเจ้าในเมื่อท่านผู้นี้ได้มาทาบทามข้าพเจ้าอยู่นั้นข้าพเจ้าลังเลใจอยู่ด้วยเหตุว่าได้รำลึกถึงคำกล่าวขวัญบิดาของข้าพเจ้ายึดถือและอาศัยวิชาการดนตรีซึ่งท่านได้ให้ไว้นั้นมาเป็นอาชีพเป็นอันขาด ทั้งนี้ก็เพราะด้วยเหตุว่าได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ที่ได้มาเยี่ยมเยียนบิดาของข้าพเจ้าในระหว่างเวลาที่ท่านกำลังป่วยหนักและได้เคยทาบทามอยู่เนืองๆ ร้องขอให้บิดาของข้าพเจ้ายิยอมอนุญาติให้ข้าพเจ้าได้ลาออกจากราชการกรมรถไฟหลวงมารับหน้าที่แทนบิดาข้าพเจ้าในหน้าที่ครูแตรวงกองทัพบก แต่บิดาของข้าเจ้าได้ตอบปฎิเสธเขาไปทุกครั้ง อันที่จริงในเรื่องของนักดนตรีและครูดนตรีในประเทศเรานี้ บิดาข้าพเจ้าได้ปรารถกับข้าพเจ้าอยู่เสมอๆว่า  “…คนไทยเราไม่ใคร่สนใจในศิลปการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่นๆ สนุกๆ ไปชั่วคราวเท่านั้นแล้วก็ทอดทิ้งไป... ข้าพเจ้าจึงเกรงไปว่าหากข้าพเจ้ารับหน้าที่นี้แล้ว ข้ะเจ้าไม้อาจประจำอยู่ได้นานไม่เหมือนการทำราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวงที่แน่นอนกว่า แต่ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้รับคำชี้แจ้งจากผู้มาทาบทามนั้นว่าเป็นพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้ข้าพเจ้าย้ายมา ข้ะเจ้าไม่มีหนทางจะปฎิเสธได้จึงจำใจต้องลาออกจากราชการกรมรถไฟหลวงเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ มารับราชการทางกรมมหรศพตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน คือในวันรุ่งขึ้น
                                 ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ได้สิ้นสุดลงแล้วอาจารย์ดนตรีชางอิตาเลียนของกองแตรวงกองทัพบกกลับเข้ามารับราชการตามเดิม ในคราวที่กลับมาครั้งนี้ ราว พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๐) ท่านได้เริ่มทำการปรับปรุงวงดุริยางค์ขึ้นวงหนึ่งที่กรมทหารม้า รัยกว่า วงดุริยางค์ทหารม้ารวม ท่านได้พยายามฝึกสอนนักดนตรีอย่างขมักเขม้นถึงกับได้นำวงดุริยางค์นี้ออกประกอบการแสดง Opera ที่สวนมิสกวัน, Opera ที่แสดงนี้คือเรื่อง “Cavalleria Rusticana” ของ Mascagni ซึ่งเปิดการแสดงขึ้นโดยอาศัยตัวละครแต่ชาวต่างประเทศที่สมัครเล่นเข้ามาร่วมการแสดง นับว่าเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทยที่มีการแสดง Opera ขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับวงดนตรีที่ใชประกอบการแสดงนั้นอาจารย์ชาวอิตาเลียนนี้ได้ใช้วงดุริยางค์ทการม้ารวมมาสมทบกันกับนักดนตรีของวงดนตรีฝรั่งหลวงกรมมหรสพ ซึ่งยังแสดงผลให้เห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ มา เมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาศเข้าควบคุมวงดนตรีฝรั่งหลวงเพียง ๓ หรือ ๓ ปีเท่านั้นก็สามารถผลิตนักดนตรีขึ้นมาได้ทันความต้องการของอาจารย์ผู้นี้ การฝึกซ้อม Opera เรื่องที่ได้กล่าวนั้นใช้เวลาทำการฝึกซ้อมประมาณเวลา ๑ ปี
พ.ศ. ๒๔๖๑    ส่วนบทเพลงที่ใช้ประกอบด้วย Opera นั้น อาจารย์ผู้นี้ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นพิเศษเพื่อให้ปฏิบัติได้ง่ายๆเหมาะสมแก่นักดนตรีที่ยังมีฝีมืออ่อนอยู่
พ.ศ. ๒๔๖๓   และตัวละครที่มิได้เป็นตัวละครอาชีพ ต่อมาอีกไม่นานอาจารย์ผู้นี้ได้ถึง
แก่กรรมไนกรุงเทพฯ

ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
(ย้อนกลับปี        ภายหลังที่สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเสวยราชสมบัติใน
พ.ศ. ๒๔๖๐)      ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ค.ศ. ๑๙๑๐) แล้วข้าพเจ้าได้รับพระราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากกรมรถไฟหลวงมารับราชการในกรมมหรศพในวันที่ ๑ กันยายน ในขั้นแรกเริ่มนี้ข้าพเจ้ามีหน้าที่แต่ในการอบรมสั่งสอนแต่ด้านเดียวไม่เกี่ยวกัยการปกครองเพราะมีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ควบคุมอยู่แล้ว (เจ้าหน้าที่ผู้นี้เป็นผู้ที่ได้มาทาบทามข้าพเจ้าในการย้ายมาจากกรรถไฟหลวง)
เมื่อได้มาพบกับวงดนตรีนี้แล้วข้าพเจ้าเริ่มทำการทดลองคุณวุติของนักดนตรีที่ประจำอยู่ในวงก็ทราบได้ทันทีว่านักดนตรีเหล่านี้มีความสามารถน้อยเต็มทีและส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ถ้าขืนฝืนให้ปฏิบัติเช่านั้นต่อไปก็จะไมได้ผลเลยเพราะนิ้วก้านและข้อมือแข็งทื่อไม่คล่องแคล่ว โสตประสาทการฟังระดับเสียงดนตรีฝรั่ง เป็นต้น ในจำพวกเครื่อสี (Strings) ก็ผิกเพี้ยนไปทางระดับเสียงของดนตรีไทยหมดเพราะเคยชินในทางหนึ่งไปแล้วยากที่จะแก้ไขให้เข้ามาอีกทางหนึ่งได้ มิหนำซ้ำนักดนตรีเหล่านั้ยังต้องฝักใฝ่ในหน้าที่ทางวงปี่พาทย์อีกด้วย เป็นการหมดหวังที่จะโน้มน้างการใช้โสตประส่ทมาทางดนตรีฝรั่งได้ ในเมื่อเป็นเช่นนี้ข้าพเจ้าจึงได้ปรึกษาหารือกับผู้ปกครองและได้ตกลงกันทำหนังสือร้องเรียนไปยังผู้บังคับบุญชาการกรมมหรศพขออนุณาตผลิตนักเรียนจำนวนหนึ่งขึ้นมาใหม่โดยรับแต่ผู้ที่มีอายุระหว่าง ๑๒ ถึง ๑๔ ปีให้เข้ามารับการฝึกฝนแต่ในด้านดนตรีฝรั่งอย่างเดียว ซึ่งภายในระยะเวลาเพียง ๒ หรือ ๓ ปีเท่านั้นก็สามารถระบายนักดนตรีของวงปี่พาทย์ให้ไปปฏิบัติทางดนตรีไทยตามเดิมได้และบรรจุนักดนตรีรุ่ใหม่เข้าประจำวงดุริยางค์สากลแทนต่อไป ซึ่งในการต่อมาอีก ๕ พรือ ๖ ปี ก็สามารถออกทำการบรรเลงเพลงขนากเบา Light Music ในการแสดง Popular Concert ได้ทั้งยังมีโอกาศเข้าสมทบกับวงดุริยางค์ของกรมทหารม้ารวมออกทำการบรรเลง
พ.ศ.๒๔๖๑        ประกอบการแสดง Opera “Cavalleria Rusyicana” ของ Mascagni ดังกล่าว
- ๒๔๖๓           ดังกล่าวแล้วได้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น