วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วงดนตรีสากลในกรมศิลปากร


เมื่อวงดนตรีฝรั่งหลวงได้ย้ายจากพระราชสำนักรัชกาลที่ ๗ มาสู่กรมศิลปากรแล้วได้มีการแสดงละครเรื่อง อุเทน กับการแสดงคอนเสอร์ตที่โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน เนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๙ ในงานนี้กรมศิลปากรได้เชิญคณะทูตานุฑูตและชาวต่างประเทศมาชมการแสดงอย่างพรักพร้อมกัน.

พ.ศ. ๒๔๗๗                              วงดนตรีสากลในสมัยกรมศิลปากร

                                    ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้ว กิจการของวงดนตรีสากลก็ถูกย้ายเข้ามาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร ระดับความเจริญของวงดนตรีซึ่งเคยมีขีดสูงสุดในรัชกาลที่ ๗ นั้นก็กลับลดลงสู้ต่ำ กิจการของวงดนตรีสากลได้ถูกกระทบกระเทือนอย่างหนักที่สุดอีกวาระหนึ่ง
                                    กรมศิลปากรได้ร้องขอให้ดนตรีฝรั่งหลวงย้ายจากสำนักพระราชวังมาอยู่ในความควบคุมของกรมนี้ต่อไปและก็ได้มีชื่อเรียกว่า วงดนตรีสากลกรมศิลปากร แทนชื่อวงดนตรีฝรั่งหลวง ข้าพเจ้าถูกเชิญตัวให้เข้าพบกับท่านผู้บริหารงานของกรมศิลปากรในสมัยนั้น ในขั้นแรกที่ได้รับทราบก็คือ มติของคณะรัฐมนตรีที่ประสงค์จะตัดงบประมาณของวงดนตรีนี้ลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งโดยมีการให้เลือกให้ตัดทอนได้ ๒ ประการคือ (๑) จะปลดนักดนตรีให้มีจำนวนเหลืออยู่เพียงครึ่งหนึ่ง หรือ (๒) ถ้าต้องการจะให้นักดนตรีมีจำนวนอยู่เต็มก็ต้องลดเงินเดือนพวกเขาให้น้อยลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ข้าพเจ้ารับทราบมติของคณะรัฐมนตรีด้วยความตกใจยิ่ง และรู้สึกเดือดดาลขึ้นมาบ้างในมติที่ทำได้คำนึงอะไรหมดนอกจากจะตัดเพื่อทุ่นเงิน ข้าพเจ้าได้กล่าวชี้แจงให้ฟังว่าดนตรีสากลวงนี้พระมหามงกุฎเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติยศของประเทศชาติสืบไป เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์แล้วสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงรับไว้ในพระบรมราชาอุปถัมภ์ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นสมดังพระราชประสงค์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ดนตรีวงนี้เป็นวงเดียวเท่านั้นที่นำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ประเทศชาติมากที่สุด ชาวต่างประเทศที่มาพบเห็นจะมาฟังก็พากันยกย่องด้วยความจริงใจว่าดีเด่นอยู่ในภาคตะวันออกไกล บัดนี้มติของคณะรัฐมนตรีต้องการตัดค่าใช้จ่ายของวงดนตรีลงเสียก็เท่ากับตัดรากฐานของวงให้ยุบสลายลง เพียงขณะนี้บรรดานักดนตรีก็ได้รับพระราชทานเงินเดือนเพียงเล็กน้อย ( ราว๒๐ ถึง๕๐บาท ) หากจะถูกลดอัตราให้ต่ำลงอีกความอัตคัตขัดสนทางด้านการครองชีพก็ย่อมเกิดขึ้นในครัวเรือนของเขา การปฏิบัติราชการมาด้วยความพากเพียรน่าที่จะได้รับความกรุณาเป็นรางวัลตอบแทนน้ำใจแต่เมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีจะตัดเงินเดือนเขาให้น้อยลงอีกก็ดูกระไรอยู่ อีกประการหนึ่งถ้าจะปลดนักดนตรีให้มีจำนวนน้อยลง ผลร้ายนอกจากจะบังเกิดแก่ผู้รับเคราะห์จากการว่างงานแล้ว ดนตรีวงนี้ก็จะไม่เป็นวงดนตรีที่สมบูรณ์สมลักษณะของวงดุริยางค์ (Orchestra) อีกด้วย ในที่สุดข้าพเจ้าจึงชี้แจงว่าหนทางที่ดียิ่งก็คือข้าพเจ้าเองกล้าพอที่จะพ้นจากตำแหน่งไปเสียคนเดียวดีกว่าเพื่อลดเงินก้อนหนึ่งของข้าพเจ้าลงไปแทนที่จะลดเงินเดือนของนักดนตรีออกคนละครึ่งและทั้งยังสนองมติของคณะรัฐมนตรีให้สมปราถนาอีกด้วย ท่านผู้บริหารงานแห่งกรมศิลปากรได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าพิจารณาหาทางที่เหมาะสมกว่าที่ได้กล่าวแล้ว ข้าพเจ้าถูกนัดให้มาทำการตกลงกันใหม่ภายในหนึ่งสัปดาห์
                                        
                                         วงดนตรีสากลกำลังจะถูกทำลายลงอีก คำบอกเล่าของบิดาข้าพเจ้าเมื่อ 25 ปีก่อนกำลังจะปรากฏผลจริงขึ้น ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงถ้อยคำของท่านบิดาที่ห้ามมิให้ยึดถือการดนตรีเป็นอาชีพเพราะจะบังเกิดความเดือดร้อนลำบากนานาประการนั้น บัดนี้กำลังเป็นจิงขึ้นแล้ว คุณความดีที่พวกเรานักดนตรีได้สร้างขึ้นด้วยความพากเพียรและยากแค้นทุกๆสมัยไม่เคยรอดพ้นจากความเดือดเนื้อร้อนใจไปได้เลย บำเหน็จรางวัลในฝีมือทางด้านศิลปของเรานั้นได้รับผลตอบแทนคือการถูกรื้อถอนที่พักอาศัย,ถูกโยกย้ายสถานที่,ถูกปลด,ถูกลดเงินเดือน และอื่นๆอีกหลายต่อหลายอย่าง นี้คือผลตอบแทนอย่างยุติธรรมที่พวกเราได้รับ? เราไม่มีโอกาสได้รับความปราถนาดีอันใดจากบรรดารัฐมนตรีที่ลงมตินี้หากจะประสงค์อย่างเดียวเท่านั้น คือการตัด ตัด ตัดให้ลดน้อยลงอย่างที่สุดไม่มีใครทราบฐานะของการดนตรีได้ดีนอกจากข้าพเจ้า วงดนตรีที่มีจำนวนสมลักษณะของ Orchestra ถ้าถูกตัดลงก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าพเจ้าจำต้องร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมให้แก่ศิลปะของชาติอีกวาระหนึ่ง ในคราวนี้ขอความเห็นอกเห็นใจจากเจ้านายชั้นู้ใหญ่ในฐานันดรศักดิ์พระองค์หนึ่งในฐานะที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของท่านเจ้าคุณพหลฯนายกรัฐมนตรี แล้วในที่สุดกรรมการพิจารณาค่าใช้จ่ายสำหรับวงดนตรีสากลของเราก็ถูกจัดตั้งขึ้น คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยเจ้านายอีกคนหนึ่งทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยเลขานุการ,กรรมการ,ซึ้งเป็นผู้แทนราษฎรจากจังหวัดต่างๆ เช่นจังหวัดหนองคายและมหาสารคามเป็นต้น ซึ่งโดยเฉพาะผู้แทน ๒ ท่าน ๒ จังหวัดนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการประชุมครั้งนั้นจะกล่าวต่อไป
                                         ในการประชุม ข้าพเจ้ามิได้เป็นกรรมการ แต่ได้ถูกเชิญตัวไปเข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะเป็นผู้ทรงคุณวุติ เมื่อประธานได้เริ่มเปิดการประชุมด้วยการกล่าวบอกจุดหมายของการประชุมแล้วท่านผู้แทนราฎรแห่งจังหวัดหนองคาย(สมัยนั้น)ก็กล่าวถึงค่าใช้จ่ายสำหรับดนตรีวงนี้ เมื่อได้ทราบจากเจ้าหน้าที่แล้วก็ลุกขึ้นให้ความเห็นสำหรับตัวขึ้นว่าการใช้จ่ายเงินของชาติจำนวนมากมายเช่นนี้ให้หมดเปลืองไปเพื่อบำเรอคนคนเดียวนั้นไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งหากจะนำเงินนี้ไปซื้อยาบำบัดโรคหรือซื้อเรือลอยลำแจกยาในลำน้ำโขงให้แก่ชาวบ้านแล้วยังดีเสียกว่า ข้าพเจ้านึกเสียใจอยู่มากเมื่อได้รับคำเสนอจากกรรมการผู้นี้ในฐานะที่ท่านเป็นผู้แทนราษฎรเฉพาะจังหวัดเดียว โดยมิได้คำนึงถึงราษฎรจังหวัดอื่นๆทั้งประเทศไม่คำนึงถึงนายแพทย์ที่ต้องวินิจฉัยชนิดของยาให้เหมาะแก่โรคซึ่งยาอาจเป็นผลร้ายถ้าแจกจ่ายผิดๆถูกๆไม่คำนึงถึงเกียรติยศของชาติที่ดนตรีวงนี้ได้เคยสร้างให้มาแต่ไหนแต่ไร ข้าพเจ้ารู้สึกว่าหากท่านผู้แทนหนองคายจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศแล้วาบงทีพระที่นั้งอนันตสมาคมคงจะถูกโยกย้ายไปตั้งอยู่ในจังหวัดริมแม่น้ำโขงของท่านละกระมังท่านกรรมการอีกผู้หนึ่งคือผู้แทนจังหวัดมหาสารคามเสนอความคิดเห็นว่าควรมีไว้รับแขกเมืองบ้างและเพื่อเปิดโอกาสแสดงให้ประชาชนเข้าฟังบ้างตามสมควรเป็นครั้งคราวในโอกาสต่อๆไปที่จะจัดให้มีขึ้น แต่จำนวนนักดนตรีนั้นจำต้องตัดลงเสีย ข้าพเจ้าผิดหวังที่ได้มาพบกรรมการผู้มาประชุมเรื่องการดนตรีแต่ไม่รู้จักดนตรีเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้น จึงได้ชี้แจงให้ทราบถึงวิธีการจัดตั้งวงดนตรีประจำชาติตามลักษณะของ Orchestra ว่าชนิดของเสียงของเครื่องทั้งวงจำต้องให้มีดุลภาพกัน วงดนตรีต้องประกอบด้วยเครื่องสาย (String Instruments) เครื่องลม (Wind Instruments) เครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) และเครื่องตี (Percussion Instruments) เสียงของเครื่องสายจะต้องมีกำลังต้านทานเสียงของเครื่องลม,เครื่องทองเหลืองและเครื่องตีได้และจำนวนเครื่องดนตรีก็จะต้องให้เป็นไปตามหลักวิชาการดนตรีได้กำหนดไว้ หากวงดนตรีถูกลดจำนวนลงเสียเสียงบรรเลงก็ไม่เข้าสู่สมดุลภาพ ทำให้ระคายโสตประสาท ข้าพเจ้าถูกที่ประชุมให้แสดงข้อเท็จจริงจากเรื่องที่ได้กล่าว โดยกำหนดให้มีการบรรเลงขึ้นและต่อมากรรมการทั้งหมดก็ได้ร่วมประชุมกันอีกวาระหนึ่งต่อหน้าวงดนตรีที่ข้าพเจ้าได้จัดขึ้นที่สวนนิสกวัน ข้าพเจ้าได้ควบคุมวงดนตรีเต็มอัตราจำนวนบรรเลงให้ฟัง และแล้วก็พิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยการลดจำนวนเครื่องสายลงเป็นขั้นๆจากจำนวนเดิมให้น้อยลง   น้อยลง จนเหลือซอไวโอลินเพียง ๒-๓คันในโอกาสสุดท้าย ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสทราบว่าบรรดาท่านกรรมการผู้มาฟังดนตรีนั้นแต่ละคนจะรู้ในการฟังดนตรีเช่นอารยะชนทั้งหลายหรือไม่อย่างไร จะใช้หูหรือตาสำหรับดนตรีข้าพเจ้าก็ไม่อาจทราบ หลังจากการบรรเลงในวันนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รอฟังผลชี้ขาดต่อมาด้วยความกระวนกระวายและรู้สึกห่วงใยเป็นอันมาก ต่อมาอีกไม่นานข้าพเจ้าก็ได้รับทราบคำสั่งจากท่านประธานกรรมการภายในห้องของท่านเองที่กระทรวงมหาดไทย  (ตามตำแหน่งที่ปรึกษาราชการที่ท่านดำรงค์อยู่ในขณะนั้น) พร้อมด้วยเลขานุการ ท่านประธานในฐานันดรศักดิ์หม่อมเจ้าได้ทรงแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่าดนตรีจะต้องถูกโยกย้ายมาอยู่ที่กรมศิลปากร แต่ส่วนการจัดตั้งวงนั้น ท่านนายกรัฐมนตรีได้ตกลงให้ถือหลักการตั้งวงตามที่ข้าพเจ้าได้เสนอไปทุกอย่าง คือวงดนตรีประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ ๗๕คน กับมีการเพาะนักเรียนฝึกหัดประจำวงปีหนึ่งๆ ๒๐คน วงดนตรีสากลนี้จึงหลุดพ้นจากอุปสรรคร้ายมาได้ชั้นหนึ่ง แต่ต่อมาก็ถูกจำกัดอีกไม่ให้มีนักดนตรีฝึกหัดเพราะงบประมาณไม่เพียงพอ ข้าพเจ้าต้องตกเป็นหน้าที่ชี้แจงอีกว่า ถ้าไม่มีนักดนตรีฝึกหัด หากวงดนตรีใหญ่ขาดจำนวนไป จะเป็นด้วยถูกปลดหรือตายหรือออกไปด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม วงดนตรีก็หมดทางที่จะหานักดนตรีที่อื่นมาจุนเจือได้  และการที่วงดนตรีต้องขาดจำนวนลงย่อมจะเป็นผลเสียหาย ด้วยเหตุนี้จึงได้รับนักเรียนฝึกหัดได้ ลดจากจำนวนเดิมเป็นเพียง ๔-๕คน เมื่อจำนวนนักดนตรีประจำวงได้ถูกปลด,ทุพพลภาพ หรือตายไปก็ไม่มีทางจุนเจือจำนวนให้คงที่ได้ กิจการของวงดนตรีสากลจึงบังเกิดความขลุกขลักอีกเรื่อยมา

                                          วงดนตรีสากลแห่งกรมศิลปากรได้รับอันตรายถึงขั้นสุดท้ายคือความ
พ.ศ.๒๔๗๙        หายนะ ท่านผู้บริหารงานกรมศิลปากร (สมัยนั้น) ตัดจำนวนดนตรีกระจัดกระจายออกไป ส่วนหนึ่ง (๑๘ คน) ถูกส่งไปเป็นนักดนตรีประจำละครกรมศิลปากรที่
พ.ศ.๒๔๘๐        นิยมกันในสมัยนั้นอีกส่วนหนึ่ง (๘ คน) ถูกย้ายไปประจำกรมโฆษณาการเมื่อคราวที่กรมนี้ได้ตั้งวงดนตรีแจ๊ส Jazz Band ขึ้น กิจการทั้งนี้เพื่อตัดทอนเงินงบประมาณของวงดนตรีสากลเอาไปบำรุงในทางอื่นตามที่มั่นหมายในขั้นแรกนักดนตรีมีจำนวนน้อยลงไปด้วยการปลดบ้าง, ลาออกบ้าง, ตายบ้าง, และโยกย้ายไปประจำทางอื่นดังกล่าวแล้วบ้าง ในที่สุดวงดนตรีสากลที่เคยเชิดชูเกียรติยศของประเทศลอดมาก็เริ่มทรุดโทรมลงสู่ความหายนะอย่างรวดเร็ว
                                         สมบัติของวงดนตรีที่มีอยู่ ส่วนมากเกือบทั้งหมดได้ติดมาเมื่อย้ายจากราชสำนักสู่กรมศิลปากร สิ่งของเหล่านี้มีเครื่องดนตรีต่างๆ อย่างมากมาย, บทเพลงนับจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าบท เครื่องอุปกรณ์ เช่น ตู้ , โต๊ะ, เก้าอี้ ทุกอย่างเป็นสิ่งของทรัพย์สินส่วนพระองค์ทั้งสิ้น ในระหว่างที่วงดนตรีสากลมาอยู่สังกัดของกรมศิลปากร ก็ไม่ได้รับสิ่งของเพิ่มเติมอะไรมากมาย นอกจากเครื่องดนตรี ๔-๕ ชิ้นราคาไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และบทเพลงกับแบบฝึกหัดอีกเล็กๆ น้อยๆ กับมีเครื่องอะไหล่เช่น สายซอ, ลิ้นปี่ ซึ่งเป็นการจำเป็นจริงๆ ที่ต้องใช้หาไม่แล้ววงดนตรีก็จะไม่มีเสียงขึ้นมาได้
พ.ศ.๒๔๘๑                     ด้วยสาเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าวงดนตรีสากลนี้มาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร
พ.ศ.๒๔๘๒          โดยอาศัยทุนเดิมจากพระราชสำนักเป็นส่วนมากที่สุด วงดนตรีไม่ได้รับความ
พ.ศ.๒๔๘๓           อุปการะจากกรมเท่าที่ควรจะเป็นไปเลยนับตั้งแต่สมัยแรกเริ่มมา ดังนั้นวงดนตรีของ
พ.ศ.๒๔๘๔           กรมศิลปากร จึงปรากฏความทรุดโทรมให้เห็นอยู่ดังเช่นทุกวันนี้
พ.ศ.๒๔๘๕
พ.ศ.๒๔๘๖

วิชาเชลโล่

 


หลักสูตรวิชาเชลโล่  ขั้นต้น

เนื้อหาการเรียนการสอน

๑.     ความรู้เบื้องต้นและ ประวัติความเป็นมาของเชลโล่ ได้แก่ ส่วนประกอบของเชลโล่  การนั่งและวิธีการวางเชลโล่ที่ถูกต้อง  การตั้งสายเชลโล่และ การดูแลรักษาเชลโล่

๒.     การอ่านโน้ตในส่วนประกอบได้แก่  โน้ตบนบรรทัดห้าเส้น  กุญแจเสียงที่ใช้ในการบันทึกโน้ต  ค่าของโน้ต  บันไดเสียง  เตรื่องหมายตั้งบันไดเสียงและเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ

๓.     สอนขั้นคู่เสียงต่างๆ

๔.     สอนวิธีการฝึกซ้อมเบื้องต้น

๕.     การดีดสายด้วยมือขวาที่จับคันชัก

๖.     การเล่นขั้นต้นด้วยการดีดได้แก่ การวางมือซ้ายในตำแหน่งที่ ๑ ( position) การวางมือขวาบนสายต่างๆและ การวางนิ้วและการเปลี่ยนนิ้ว

๗.     การจับคันชักสีเชลโล่ได้แก่ ท่าเตรียม  การวางนิ้วในตำแหน่งของคันสี  วิธีการฝึกการใช้คันสีโคน และปลาย การใช้ส่วนต่างๆของคันสี การวางคันสีในตำแหน่งต่างๆของสายต่างๆ และการลากสายเปล่า

๘.     การฝึกความสัมพันธ์มือซ้ายมือขวาในการจับคันชักได้แก่  การยกนิ้วขึ้นลงของนิ้ว1,3,4และการเล่นมือซ้ายและขวาเปลี่ยนพร้อมกัน

๙.     การเล่นScale D, G, F Major 1 Octave

๑๐.การเล่นแบบ Slue ได้แก่ แบบโน้ตสองตัวในหนึ่งโบว์                  แบบโน้ตสามตัวในหนึ่งโบว์              แบบโน้ตสี่ตัวในหนึ่งโบว์ และฝึกทักษะสเลอในแบบฝึกบันไดเสียงต่างๆและการเล่นสเลอกับเทคนิคต่างๆ

๑๑.การช้คันชักในจังหวะต่างๆ

๑๒.การใช้เทคนิคของคันชักในโทนเสียงต่างๆพร้อมเครื่องหมายความดังเบาของเสียง ( Dynamic )                      

๑๓.การเล่นข้ามสาย ( Crossing the string ) ข้ามสายแบบ Arpeggi

๑๔.การเล่นข้ามสายแบบยืดนิ้วออก Extend Position ได้แก่ ขยายนิ้วแบบถอยหลัง  ขยายนิ้วแบบไปข้างหน้า ทางเลือกในการยืดนิ้วในบันไดเสียง A, Bb Major 1 Octave  D Major, Minor 2 Octave C, G Melodic Minor และการฝึกทักษะมือซ้ายแบบต่างๆ

๑๕.การฝึก Intonation and Sight Reading

๑๖.การเล่นเสียงคู่ Double Stops

๑๗.การเล่นเทคนิค  Staccato

๑๘.การสอนบทเพลงขั้นต้นจากหนังสือ Suzuki เล่ม 1 – 3

หลักสูตรวิชาเชลโล่  ขั้นกลาง

เนื้อหาการเรียนการสอน

๑.     ความรู้เกี่ยวกับเชลโล่ทั่วไปได้แก่ การตั้งสาย  การวางเชลโล่ที่ถูก  ท่านั่งและผู้ประพันธ์เพลงสำหรับเชลโล่

๒.     การเล่นในตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๔  ( 4th Position ) การเปลี่ยนตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๑ ไปหาตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๔  และการเล่น Harmonic กลางสาย

๓.     การเล่นแบบ Vibrato

๔.     การฝึกทักษะการเปลี่ยนตำแหน่ง ( Shift )

๕.     การเล่นแบบสเลอ ( Slur Staccato ) อย่างซับซ้อน

๖.     การเล่นในตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๒  และตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๓ ( 2nd, 3rd Position) การข้ามสาย  การเปลี่ยนตำแหน่งทันที ( Shifting ) การเล่นHalf Position

๗.     การเล่นบันไดเสียง Scale A, Ab, E,Eb Major 2 Octave And C, F,G,Bb,A,Ab Minor Hamonic And Minor Melodic 2 Octave

๘.     การเล่นเทคนิค Spiccato การควบคุมแบบช้าและ การเล่นแบบขั้นคู่ ( Spiccato Interval)

๙.     การเล่น Chords

๑๐.การเล่นเทคนิดโดยใช้คันชักแบบต่างๆ ( Arco )

๑๑.การเล่น Tremolo

๑๒.การเล่นเพลงในบทเรียนชั้นกลาง  Suzuki book 4 – 6 and Cello Solos 

หลักสูตรวิชาเชลโล่ ชั้นสูง

เนื้อหาการเรียนการสอน

๑.     ภาคทฤษฏีทั่วไปได้แก่ ศิลปินผู้เล่นเชลโล่ที่โดดเด่น  การดูแลรักษาเครื่องและ การตั้งสาย

๒.     การเล่นในตำแหน่งการวางนิ้วที่ 5,6.7 ( 5th ,6th ,7th Position ) การวางมือและการ Shiftting ในตำแหน่งการวางนิ้วที่ 5,6,7

๓.     การพรมนิ้ว ( Trill ) การใช้น้ำหนักแขน มือ นิ้ว  การวางนิ้วแบบ Trill แบบฝึกหัดในการฝึกทักษะการพรมนิ้ว  การเล่น Trill แบบ Double Stop การเล่นในเครื่องหมาย Turn และ Mordent

๔.     การใช้ Thumb Position การวางนิ้ว Posture  การ Shiftting ใน Thumb Position การใช้นิ้วโป้งและการเปลี่ยน

๕.     การใช้จังหวะในลักษณะโน้ตแบบต่างๆให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนคันชัก

๖.     การเล่น Harmonic และ แบบOctave

๗.     การฝึกทักษะ Scale และ Arpeggios 3 – 4 Octave  ฝึกบันไดเสียง Major, Minor, Chromatic  การฝึกบันไดเสียงแบบ  Scale in Broken Third การฝึกทักษะ Interval 3, 6

๘.     การฝึกทักษะโดยใช้แบบฝึกหัดและบทเพลงดังต่อไปนี้

-         Popper

-          Dotzauer

-          Grutmacher

-          Kreutzer

๙.     บทเพลงขั้นสูงดังต่อไปนี้

-         Suzuki Book 7, 8

-         Six Suites ( Bach )

-         Concerto No. 4 ( Georg Gotlemann )

-         Beethoven Sonata for Piano and Cello

-         Cello Music ( French Composers )

บทเพลงในการเรียนการสอนวิชาเชลโล่

Suzuki Book 1

1.      Twinkle, Twinkle Little Star Variations, Shinichi Suzuki

2.      French Folk Song, Folk Song

3.      Lightly Row, Folk Song

4.      Song of the Wind, Folk Song

5.      Go Tell Aunt Rhody, Folk Song

6.      O Come, Little Children,  Folk Song

7.      May Song, Folk Song

8.      Allegro, Shinichi Suzuki

9.      Perpetual Motion, Shinichi Suzuki

10.   Long, Long Ago, T. H. Bayly

11.  Andantino, Shinichi Suzuki

12.   Rigadoon, H. Purcell

13.   Etude, Shinichi Suzuki

14.   Minuet in C Major, J. S. Bach

15.   May Time,W. A. Mozart   

16.  Minuet No. 2, J. H. Bach

Suzuki Book 2 

1.      Long, Long Ago, T.H. Bayly

2.      May Time, W. A. Mozart

3.      Minuet No. 1, J. S. Bach

4.      Minuet No. 3, J. S. Bach

5.      Chorus from “ Judas Maccabaeus”, G. F. Handel

6.      Hunters’Chorus, C.M. von Weber

7.      Musette from English Suite No. 3, J. S. Bach

8.      March in G, J. S. Bach

9.      Theme from “Witches Dance”,N. Paganini

Tonalization – The Moon Over The Ruined Castle,R. Taki

10.  The Two Grenadiers, R. Schumann

11.   Gavotte, F.J. Gossec

12.  Bourree, G. F. Handel 

Suzuki Book 3

1.      Berceuse, F. Schubert

2.      Third Position Tonalization – Moon Over The Ruined Castle, R. Taki

3.      Gavotte, J.B. Lully

4.      Minuet, L. Boccherini

5.      Fourt Position Tonalization – Moon Over The Ruined Castle, R. Taki

6.      Scherzo, C. Webster

7.      Minuet in G, L. van Beethoven

8.      Gavotte in C Minor, J. S. Bach

9.      Minuet No. 3, J. S. Bach

10.   Humoresque, A. Dvorak

11.   La Cinquantaine, G. Marie

12.   Allegro Moderato, J. S. Bach

Suzuki Book 4

1.      Concerto No. 5, 1st Movement, F. Seitz

2.      Sonata in C Major, J. B. Breval

           Allegro

           Rondo grazioso

3.      Chanson Triste, P. Tchaikovsky

4.      Suite No. 1 for Unaccompanied Violoncello, J. S. Bach

           Minuet 1

           Minuet 2

Suzuki Book 5

1.      Sonata No. 5, A. Vivaldi

           Largo

           Allegro ma non troppo

           Largo doloroso

           Allegro con spirito

2.      Danse Rustique, W. H. Squire

3.      Concerto No. 4 , 3 Movement, G. Goltermann

4.      Arioso, J. S. Bach

5.      Gique from Suite No. 1 for Unaccompanied Violoncello, J. S. Bach

Suzuki Book 6

1.      Etude, Dotzauer

2.      French Folk Song

3.      Concerto No. 2 in D Major, Rondo, J. B. Breval

4.      Concerto in G Minor for Two Violoncellos, 1st Movement, A. Vivaldi

5.      The Swan, C. Sant – Saens

6.      Moment Musical, F. Schubert

Suzuki Book 7

1.      Two Movements from the Sonata in G Minor, H. Eccles

2.      Grave, A. Corelli

3.      Bourrees 1 and 2 from the Third Suite for Unaccompanied Violoncello, J. H. Bach

4.      Gavotte in D Major, D. Pomer

5.      Sarabande From the First Suite for Unaccompanied Violoncello, J. S. Bach

6.      Courante From the First Suite for Unaccompanied Violoncello, J. S. Bach

7.      Allegro Appassionato, C. Saint - Saens

8.      Chorle, J.S. Bach

Suzuki Book 8

1.      Sonata in G Major, G.B. Sammartini

           Allegro non troppo

           Grave con espressione

           Vivace

2.      Suite No. 1 in G Major for Unaccompanied Violoncello, J. S. Bach

3.      Elegie, Op. 24, G. Faure

            Molto Adagio

ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล(เชลโล่)

 


ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล ( เชลโล่ )

วัตถุประสงค์

๑.     เพื่อทดสอบความสามารถปฏิบัติดนตรี  ทฤษฏีดนตรี

รายชื่อเพลงสอบ

กลุ่ม A     ( 20 คะแนน )

1. J.S Bach    Suite no.2 in D minor 4th movt:Sarabande from six solo cello suites

2. J.S. Bach    Gique from Suite No.1 for Unaccompanied Violoncello

3. Dotzauer    Etude

 

กลุ่ม B     ( 30 คะแนน )

1. Beethoven     Sonata no. 2 in G minor op.5 no.2,2nd movt:Allegro molto piu tosto presto ( from Sonatas for Cello@Piano )

2. Klengel    Concerto in C op. 7,1th movt:Allegro

3. Vivaldi     Concerto in. D Major RV 404,1th movt:Allegro

4. Vivaldi     Concerto in G Minor for Two Violoncello,1st movt:

 

กลุ่ม C     ( 30 คะแนน )

1. Elgar      Cello concerto in E minor, 3rd movt:

2. Beethoven     Sonata no. 4in C op.102 no. 1st movt:Adante-Allegro vivace ( from sonatas for cello@piano )

3. Lalo       Concerto in D minor, 2nd movt: lntermezzo

4. J.B. Breval    Concerto no.2 in D Major,Rondo

5. H. Eccles       Two Movments from the Sonata in G Minor

เทคนิดที่ต้องทดสอบ

๑.     ความรู้เกี่ยวกับเชลโล่ทั่วไปได้แก่ การตั้งสาย  การวางเชลโล่ที่ถูก  ท่านั่งและผู้ประพันธ์เพลงสำหรับเชลโล่

๒.     การเล่นในตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๔  ( 4th Position ) การเปลี่ยนตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๑ ไปหาตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๔  และการเล่น Harmonic กลางสาย

๓.     การเล่นแบบ Vibrato

๔.     การฝึกทักษะการเปลี่ยนตำแหน่ง ( Shift )

๕.     การเล่นแบบสเลอ ( Slur Staccato ) อย่างซับซ้อน

๖.     การเล่นในตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๒  และตำแหน่งการวางนิ้วที่ ๓ ( 2nd, 3rd Position) การข้ามสาย  การเปลี่ยนตำแหน่งทันที ( Shifting ) การเล่นHalf Position

๗.     การเล่นบันไดเสียง Scale A, Ab, E,Eb Major 2 Octave And C, F,G,Bb,A,Ab Minor Hamonic And Minor Melodic 2 Octave

๘.     การเล่นเทคนิค Spiccato การควบคุมแบบช้าและ การเล่นแบบขั้นคู่ ( Spiccato Interval)

๙.     การเล่น Chords

๑๐.การเล่นเทคนิดโดยใช้คันชักแบบต่างๆ ( Arco )

๑๑.การเล่น Tremolo

๑๒.การเล่นในตำแหน่งการวางนิ้วที่ 5,6.7 ( 5th ,6th ,7th Position ) การวางมือและการ Shiftting ในตำแหน่งการวางนิ้วที่ 5,6,7

๑๓.การพรมนิ้ว ( Trill ) การใช้น้ำหนักแขน มือ นิ้ว  การวางนิ้วแบบ Trill แบบฝึกหัดในการฝึกทักษะการพรมนิ้ว  การเล่น Trill แบบ Double Stop การเล่นในเครื่องหมาย Turn และ Mordent

๑๔.การใช้ Thumb Position การวางนิ้ว Posture  การ Shiftting ใน Thumb Position การใช้นิ้วโป้งและการเปลี่ยน

๑๕.การใช้จังหวะในลักษณะโน้ตแบบต่างๆให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนคันชัก

๑๖.การเล่น Harmonic และ แบบOctave

๑๗.การฝึกทักษะ Scale และ Arpeggios 3 – 4 Octave  ฝึกบันไดเสียง Major, Minor, Chromatic  การฝึกบันไดเสียงแบบ  Scale in Broken Third การฝึกทักษะ Interval 3, 6