อุปรากรฝรั่งเศส
ลุลลี (Lulli) เป็นอุปรากรชาวอิตาเลียนเข้ามาสู่ฝรั่งเศสเมื่อราว ๕๐ ปี หลังจากบาร์ดี เปรีได้ทดลองแสดงในเมืองฟลอเรนซ์แล้ว และก็สามารถเข้ากันได้อย่างดีกับศิลป์เก่าแก่ของฝรั่งเศส คือ บัลเลต์ หลักจากนั้นก็ได้พัฒนาไปตามแนวทางของอุปรากรโดยตลอด ความพยายามในการริเริ่มของลุลลีได้มีผู้รับช่วงสืบต่อจนได้รับความสำเร็จอย่างสูง จากผลงานของราโม (Rameau พ.ศ.๒๒๒๖-๒๓๐๗) ชาวเบลเยียม ต่อมาก็เกิดการปฏิรูปอีกหลายอย่างที่มีผลต่อการปรับปรุงอุปรากรในนานาประเทศโดยฝีมือของกลูก (Gluck พ.ศ.๒๒๕๗-๒๓๓๐)ซึ่งเป็นผู้เปิดการแสดงขึ้นในกรุงปารีส ฝรั่งเศสเป็นหนี้บุญคุณชาวต่างประเทศในการพัฒนาอุปรากรของตนอยู่ไม่น้อย แต่กระนั้นก็ยังได้ผลิตนักประพันธ์อุปรากรของตนเองขึ้นหลายคน ฝรั่งเศสได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อศิลปะของการเจรจา และก็ได้รักษาศิลปะแบบนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ อุปรากรสั้นที่เรียกว่า Opera-bouffe เป็นแบบอย่างอุปรากรที่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ ซึ่งโลกต้องยอมรับว่าเป็นลูกหนี้ฝรั่งเศสในเรื่องนี้ อุดมคติของฝรั่งเศสเกี่ยวกับอุปรากรนี้ได้รับการธำรงรักษาไว้ด้วยมือของนักประพันธ์อุปรากรยอดๆ หลายคน เช่น ฮาเลวี (Halevy) โอเบอร์ (Auber) โทมัส (Thomas) และสมัยต่อมาก็มี กูโนด์ (Gounod) ในเรื่อง “เฟ้าสท์” (Faust) และ บีเซท์ (Massenet) ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ช่วยพัฒนาศิลปะแบบฝรั่งเศสอยู่ไม่น้อย ในตอนคริสต์วรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 และได้ก้าวหน้าต่อไปอีก ในระยะปีหลังๆนี้ ฝรั่งเศสก็ยังยึดติดอยู่อย่างมั่งคงกับบทเจรจายิ่งกว่าการประดิษฐ์ทำนองเพลงให้แปลกใหม่ออกไป ซึ่งได้เน้นให้เห็นถึงความจริงว่าอุปรากรสมัยใหม่ของฝรั่งเศสผลิตท่วงทำนองของเพลงออกมาไม่มากพอที่คนทั่วไปจะชื่นชมได้
อุปรากรฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสมีศิลปะประจำราชสำนักที่โดดเด่นมากมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูแล้วอย่างหนึ่ง
คือระบำปลายเท้า หรือ Ballet
ซึ่งไม่มีบทเจรจาหรือขับร้อง มีแต่การเต้นรำ การแต่งกาย
การตกแต่งฉาก และดนตรี เมื่อฝรั่งเศสแต่งอุปรากรออกมาบ้าง จึงนำเอา Ballet ไปใช้ด้วย ทำให้อุปรากรฝรั่งเศสปลอดจากอิทธิพลของอุปรากรอิตาลี
ลักษณะสำคัญของอุปรากรฝรั่งเศส
มีดังนี้
1. มี ballet
2. ให้ความสำคัญต่อศิลปะการแสดงมากกว่าชาวอิตาลี
3. วงดนตรีมีบทบาทใช้งานมากกว่าอิตาลี
4. Aria สั้นลง
และมีลีลาแบบเพลงเต้นรำ
5. พิถีพิถันกับเนื้อหามาก
6. Recitative ฟังเป็นเพลงมากขึ้น
7. บทบาทของนักร้องไม่เด่นจนเกินไป
8. เพลงโหมโรงรุ่นแรกๆมี2ตอน ช้า-เร็ว
ต่อมาเพิ่มตอนที่ 3 ซึ่งช้าเหมือนตอนแรกเข้าไปอีก
ผู้มีบทบาทในการริเริ่มและพัฒนาอุปรากรของฝรั่งเศส
คือ ลุลุลี (Lully)
กับโมลิแยร์ (Moliere) โดยเรียกอุปรากรที่คิดขึ้นว่า
Opera-ballet และ Tragedielyrique
อุปรากรภาษาฝรั่งเศสเรื่องแรก
คือ เรื่อง Pastorale โดยแปร์แรง (Abbe Pierre
Perrin) กับ กัมแบรต์ (Robert Cambert) ซึ่งเป็นผลให้มีการสถาปนาสถาบันดนตรีของราชสำนักขึ้นในปารีส
เรียกว่า
หลังจากนั้นมีผลงานออกมาอีกจำนวนมาก
โดยมีลุลลีเป็นคีตกวีที่เด่นที่สุดในช่วงแรก และ Jean Philippe Rameau ในช่วงถัดมา
อุปรากรในประเทศอื่นๆ
อิทธิพลของอุปรากรอิตาลีปรากฏชัดในเยอรมันกับอังกฤษ
ซึ่งเริ่มด้วยอุปรากรอิตาลีโดยคีตกวีชาวอิตาลีก่อน
แล้วคีตกวีเจ้าของประเทศจึงแต่งเอง
คีตกวีมีชื่อรุ่นแรกๆของเยอรมัน มี
ไฮน์ริค ชุสส์ (Heinrich
Schutz) โจฮันน์ ไธล์ (Johann Theile) และเทเลมานน์
(George Philipp Telemann)
ส่วนของอังกฤษมีเพียงจอนห์น
โบลว์ (John Blow) กับเฮนรี เพอร์เซล (Heny Purcell)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น