วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อุปรากร อิตาลี่

 

อุปรากรอิตาลี

อิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดดั้งเดิมของศิลปะแห่งอุปรากร และเป็นผู้ครองวิญญาณของนักประพันธ์เพลงอุปรากรอยู่นานปี เมื่อประเทศอื่นๆสร้างสรรค์งานอุปรากรตามแนวทางแปลกๆ ใหม่ๆ ออกไป อิตาลีก็ยังคงถนอมรักษารูปแบบในทางดนตรีอันเป็นอิสระของตนไว้ อุปรากรอิตาเลียนค่อยๆ พัฒนาไปในรูปแบบที่ให้ความสนใจแก่ทำนองเพลงและการขับร้องจนถึงระดับสูงสุด เห็ได้จากงานชิ้นเอกๆ ของรอสซินี เบลลีนี และดอนีเซตตี การหนุนเน้นแต่ในเรื่องเสียงขับร้องจนสุนทรียภาพด้านอื่นๆด้อยความสำคัญลงนี้ ทำให้รูปแบบอุปรากรของอิตาเลียนเสื่อมทรามลงบ้าง เพราะขาดดุลยภาพในทางศิลป์ แม้แต่โครงเรื่องก็มีความสำคัญอันดับรองจึงทำให้สูญเสียรสชาติในทางนาฏศิลป์ ทั้งนี้ยกเว้นในบางเรื่อง เช่นวิลเลียมเทล ของรอสชินี ตรงกันข้ามกับผู้ประพันธ์ในหลายประเทศ ได้พยายามนำศิลปะทุกด้านมาผสมผสานกันในอุปรากรผู้ตระหนักในความจริงคนแรกคือ แวร์ดี (Verdi) ผู้ซึ่งสร้างงานในสมัยแรกๆตามแบบของรอสชินีและเบลลีนี แต่แวร์ดีเป็นศิลปินยิ่งใหญ่ ที่ไม่ยอมยึกติดกับรูปแบบเก่าๆ ในที่สุกเขาก็ได้พัฒนาแนวของเขาเองขึ้นต่างไปจากอุปรากรแบบฉบับอิตาเลียนอย่างแท้จริงที่ยึดถืออุดมการณ์ในเรื่องทำนองเพลงเป็นใหญ่ แวร์ดีให้ความสนใจในทางนาฏบทมากขึ้น พยายามสอดแทรกอารมณ์ลงไปอย่างเต็มภูมิ รวมทั้งปรับปรุงวงดนตรีให้กลมกลืนกันไปด้วย ดังจะเห็นได้จากงานของเขาในเรื่อง ริโกเลตโต (Rigoletto)

ทราเวียตา (Traviata) “ไอดา (Aida) และที่สุดในเรื่อง โอเทลโล (Otello) และ ฟอลสตาฟ (Falstaff) เขาได้นอุปรากรอิตาเลียนขึ้นมาสู่ระดับมาตรฐานอันสูงส่งอีกครั้งหนึ่ง ผู้ที่สืบต่องานของเขา เช่น จอร์ดานี (Giordani) ปอนชีเอลลี (Ponchielli) ปุชชินี (Puccini) มาสกานญี (Mascagni) และ ลีออนคาวัลโล  (Leoncavallo) ก็ยังคงรักษาแนวทางความสำเร็จของแวร์ดีไว้ นักประพันธ์เพลงอุปรากรเหล่านี้มิใช่แต่จะรักษาอุดมการณ์ในทางทำนองเพลงแบบอิตาเลียนไว้เท่านั้น หากยังนำเอาทรัพยากรใหม่ๆมาใช้ในการสร้างอุปรากรของเขาด้วย โครงเรื่องนี้ก็โน้มเอียงไปในทางที่เป็นชีวิตจริงมากขึ้นและมักจะเป็นเรื่องแบบนาฏกรรมสะเทือนอารมณ์ (Melodrama)

 พัฒนาการของอุปรากรในอิตาลี

ฟลอเรนซ์เป็นศูนย์กลางของอุปรากรอยู่ไม่นานก็เริ้มซบเซา หลังจากผลงานเรื่อง Orfeo ของ เคลาดิโอ มอนเตแวร์ดี (Clandio Monteverdi) คีตกวีผู้เด่นที่สุดในช่วงนี้

            อีกประมาณ 2 ทศวรรษต่อมา จึงมีอุปรากรใหม่ออกมาแสดงในกรุงโรม ในปี 1630 และโรมเริ่มเป็นศูนย์กลางของอุปรากรอิตาลีบ้าง

            อุปรากรของโรมไม่นิยมนำนิยายกรีกมาเป็น libretto แต่นิยมเรื่องราวทางศาสนา Chorus มีบทบาทมากขึ้น และความแตกต่างระหว่าง Aria กับ Recitative ชัดเจนขึ้น

            ผลงานเด่นของอุปรากรโรมมัน ได้แก่เรื่อง Saint Alexis โดยสเตฟาโนลันดิ (Stefano Landi) กับเรื่อง Orfeo ซึ่งแต่งใหม่โดยลุยจิ รอสซี (Luigi Rossi)

            ก่อนถึงกลางศตวรรษที่ 17 ไม่นานนัก เวนิศ กลายเป็นผู้นำบ้าง และครองตำแหน่งนี้จนถึงสิ้นศตวรรษ ที่เวนิศนี้เอง โรงอุปรากรสำหรับสาธารณชนแห่งแรกได้เปิดขึ้นในปี ค.ศ. 1637 ชื่อ เตอาโตร ซาน คาสิยาโน” (Teatro San Cassiano)

            อุปรากรเวนิศ (Venetian Opera) ให้ความสำคัญแก่ aria มากกว่าการแสดง ทำให้เกิดการขับร้องแบบ Bel canto (beautiful singing) ขึ้นนอกจากนี้มีการตกแต่งเวทีหรูหราขึ้น เนื้อเรื่องเริ่มซับซอนกว่าเดิม แต่บทบาทของวงดนตรีและ Chorus ถูกลดลง (เพราะไปเน้นที่ aria แทน)

            ผลงานสำคัญของเวนิศได้แก่ II Pomo d’Oro โดย มาร์ค อันโตนิโย เซสติ (Marc Antonio Cesti) กับผลงานสุดท้าย 2 เรื่อง ของ Monteverdi ซึ่งย้ายมาอยู่ที่นี่ คือเรื่อง Theof Ulysses กับ The Incoronation of the Popea

            ตอนปลายศตวรรษ โจวานนี เลเกรนซี (Giovanni Legrenzi) โดดเด่นมากในวงการอุปรากรของเวนิศ

            พอล่วงเข้าครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17 อุปรากรของคีตกวีเมืองเนเปิลส์ (Naples) เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น และแผ่ไปทั่วยุโรปในศตวรรษที่ 18 ด้วย

            ลักษณะสำคัญของอุปรากรเนเปิลส์ (Neapolitan Opera) มีดังนี้

                        1. Aria ส่วนมาก มีลีลา 6/8 ช้าและมักใช้บันไดเสียงไมเนอร์

                        2. Chorus เกือบไม่มีบทบาท

                        3. วงดนตรีมีหน้าที่เหลือเพียงบรรเลงคลอเท่านั้น

                        4. Recitative มีทั้งที่ไม่ใช้ดนตรีประกอบกับใช้ดนตรีประกอบ

                        6. นักร้องชายนิยมใช้วัยรุ่นที่ถูกตอนก่อนเสียงแตกพาน ( เรียกว่าพวกCastrati) ทำให้สามารถร้องเสียงโซปราโนได้ พวก Castrati นี้เป็นดาราที่ได้รับความนิยมสูงสุด

                        7. เพลงโหมโรงมีลีลา เร็ว-ช้า-เร็ว เรียกว่า Sinfonia (อันเป็นต้นกำเนิดของ Symphony ในยุคหลัง)

            คีตกวีที่เด่นที่สุดของเนเปิลส์ คือ อะเลสซันโดร สการ์ลาตติ (Alessandro Scarlatti) ซึ่งแต่งอุปรากรประมาณ 114 บท นอกเหนือจากงานแบบอื่นๆแล้ว

 เพลงร้องยุคบาโรคในอิตาลี

              ชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมของชาวอิตาลีนั้นผูกกันกับเพลงร้องเป็นอย่างมาก อุปรากรได้ถือกำเนิดในอิตาลีเป็นประเทศแรกเช่นกัน ชาวอตาลีลุ่มหลงในเสียงเพลงและการขับร้องที่ไพเราะ แม้ในเมืองเล็กๆก็มีโรงละคระสำหรับแสดงอุปรากร และมีการเปิดเพลงจากอุปรากรในสถานีวิทยุและโทรทัศน์เพลงร้องเดี่ยวในยุคนี้จะได้รับความสนใจจากผู้ชมน้อยกว่าการแสดงอุปรากรซึ่งเป็นของใหม่และมีความตระการตา เพลงร้องหรือ art song จะเริ่มมีความสำคัญประมาณ ค.ศ. 1725

              เพลงร้องของอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 จะเน้นที่การอวดเสียงร้อง การแสดงความเก่งทางการขับร้องด้วยเสียงที่มีความก้องกังวาน (sonority) และอวดการใช้เทคนิคการขับร้องขั้นสูง ดังนั้นเพลงในยุคนี้จะมุ่งไปที่การแสดงความเก่งในด้านเทคนิคการขับร้อง โดยไม่เน้นการประสานสัมพันธ์ระหว่างทำนองเพลงกันเนื้อร้อง ส่วนแนวดนตรีประกอบจะดำเนินไปอย่างปกติ ไม่มีบทบาทพิเศษ

               เพลงอิตาลีในยุคบาโรคนี้สามารถใช้เป็นบทเรียนสำหรับฝึกนักร้องที่เพิ่งหัดเรียนได้เป็นอย่างดีรวมทั้งใช้เป็นเพลงเริ่มต้นการแสดง(performance) โดยมีการนำแนวดนตรีประกอบมาเขียนให้เปียโนบรรเลงแทนแนวเบสต่อเนื่อง

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น