วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อุปรากรอังกฤษ

 

อุปรากรอังกฤษ

แนวความคิดในเรื่องอุปรากรของอิตาลีนั้น ได้มีการนำมาต่อเติมจนกลายเป็นละครสวมหน้ากากเช่นที่แสดงกันในฝรั่งเศส และยังได้รับการเสริมต่อจนกลายเป็นบัลเลต์ เพอเซล (Purcell) โทมัส อาร์น (Thomas Arne) และคนอื่นๆเป็นผู้ริเริ่มศักราชอันสวยสดของอุปรากรในอังกฤษ ฮันเดล (Handel) ก็มีส่วนช่วยสร้างลักษณะเด่นๆ หลายประการให้แก่อุปรากรอังกฤษ แต่ปัจจุบันอุปรากรของเฮนเดลไม่สู้จะมีผู้นิยมนัก เพราะต่างรู้สึกกันว่าจะต่างรสในทางนาฏศิลป์ไป อย่างไรก็ดีโดยทั่วๆไปแล้ว อังกฤษไม่ค่อยจะมีส่วนช่วยเติมต่ออะไรที่มีคุณค่าให้แก่อุปรากรนัก นอกจากในด้านเนื้อเรื่องวรรณกรรม และด้านเวที

ความแตกต่างอย่างสำคัญในเรื่องอุปรากรที่อังกฤษมอบให้แก่โลกคือ อุปรากรที่เรียกว่า Ballad-opera เช่นในเรื่อง The Bohemian Girl ของ แบลฟ์ (Balfe) และเรื่อง Maritana ของวิลเลียม วินเซนท์ วอลเลซ (William Vincent Wallace) ทั้งสองเรื่องนี้ผู้สร้างเป็นชาวไอริช นอกจากนี้ก็ยังมีอุปรากรแบบเบาๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นในอังกฤษและได้รับความสำเร็จพอสมควร เช่นเรื่อง “The Beggars” ในช่วงเวลาหลังๆนี้ อังกฤษได้สร้างอุปรากรแบบใหม่อีกแบบหนึ่งขึ้น คือ หัสอุปรากรแบบเหน็บแนม ซึ่งเริ่มด้วยงานของ กิ บอร์ต และซุลลีแวน (Gillbert and Sullivan) ในเรื่อง “H.M.S. Pinafore” “The Mikado” และ “Patience” แต่ก็ไม่มีผู้สืบต่อ ความเคลื่อนไหวของอุปรากรแบบนี้จึงแขวนค้างอยู่ในความนิยมยกย่องเพียงแค่นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น