วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เพลงร้องยุคบาโรค

 

เพลงร้องยุคบาโรค 

              ยุคบาโรค(Baroque period) คือยุคดนตรีระหว่าง ค.ศ. 1600 1750 ซึ่งประเทศอิตาลี(Italy) มีความโดดเด่นทานด้านดนตรี ประเทศอิตาลีเป็นผู้นำด้านดนตรีในยุโรป (Europe) มาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ถึงกลางศตวรรคที่ 18 กรุงเวนิส (Venice) เป็นผู้นำด้านดนตรีในศตวรรษที่ 17 และกรุงเนเปิล (Naples) เป็นผู้นำด้านดนตรีในศตวรรษที่ 18 กรุงโรม (Rome) เป็นผู้นำด้านดนตรีในโบสถ์ (sacred music) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และเป็นศูนย์กลางของอุปรากร (opera) และบทคีตาดุริยางค์ (cantata) ซึ่งเป็นบทเพลงขนาดย่อมที่สำคัญที่สุดในยุคบาโรค ในขญะที่กรุงฟลอเรนซ์ (Florence) มีความเพื่องฟูด้านดนตรีตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 17

     ประเทศในยุโรปที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ดนตรีซึ่งรวมถึงเพลงร้องด้วยนั้นมีอีกหลายประเทศ คือ ในปี ค.ศ. 1630 เริ่มมีการประพันธ์เพลงร้องในประเทศฝรั่งเศส (France) ด้วยอิทธิพลทางดนตรีจากอิตาลี ในประเทศเยอรมนี (Germany) ที่การดนตรีซบเซาไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องมาจากสงครามมาเป็นระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1618 1678 ก็ได้มีการฟื้นฟูการดนตรีขึ้น และโดยเฉพาะในสมัยของคีตกวีที่มีบทบาทมาก คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach; 1685 - 1750) ส่วนในประเทศอังกฤษ (England) มีการฟื้นฟูการดนตรีในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ด้วยอิทธิพลทางดนตรีจากประเทศอิตาลีเช่นกัน

             ประเทศอิตาลีมีความเป็นเยี่ยมทางด้านดนตรีสูงสุดในยุคบาโรค อิทธิพลทางดนตรีของประเทศอิตาลี มีผลต่อการดนตรีในหลายๆประเทศในยุโรปอย่างทั่วถึง คีตกวีชาวฝรั่งเศสชื่อ ของ แบบติสท์ ลุลลี (Jean-Baptiste Lully) ซึ่งเป็นผู้นำการประพันธ์เพลงฝรั่งเศสก็เป็นชาวอิตาลีโดยกำเนิด ในขณะที่ผลงานของบาคซึ่งเป็นคีตกวีชาวเยอรมันก็ได้รับอิทธิพลขงอิตาลีมาไม่น้อย ส่วนผลงานของจอร์จ ฟริเดริค แฮนเดล (George Frideric Handel; 1685 - 1759) สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของอิตาลีเท่าๆกันกับเยอรมนี

คีตกวีเพลงร้องยุคบาโรค

1.       จูลิโอ คัชชินี (Giulio Caccini; 1545 -1618)

คัชชินีเป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ (tenor) เป็นนักแต่งเพลง ครูสอนร้องเพลง และนัดนตรีประจำราชสำนักในเมืองฟลอเรนซ์

นอกเหนือจากการเป็นนักร้องแล้ว คัชชินีเป็นนักดนตรีลูท (lute) เป็นเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ (guitar) ที่เรียกว่า คิตาร์รา (chitarra) เล่นวิโอล (viol) และฮาร์ป (harp)

                นอกเหนือจากการเป็นนักร้อง คัชชินีเป็นนักดนตรีลูทเล่นด้วนดนตรีคล้ายกีตาร์ที่เรียกว่า คิตาร์ราเล่นวิโอลและฮาร์ป

              ภรรยาและลูกของคัชชินีเป็นนักร้องระดับอาชีพ ลูกสาวชื่อฟรานเชสกา คัชชินี เป็นนักแต่งเพลงและเป็นคีตกวีหญิงคนแรกที่ประพันธ์อุปรากร

               คัชชินีเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มคาเมราตาซึ่งเป็นสำนักที่นักดนตรีชาวอิตาลีกลุ่มหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาพบกันเพื่อสนทนากันในด้านศิลปะทั้งการฟื้นฟูกรีกโบราณไปจนถึงความก้าวหน้าของศิลปะในอนาคต กลุ่มนี้มีบทบาทในการริเริ่มอุปรากรด้วย ผลงานของคัชชินีประกอบด้วยอุปรากรเรื่อง Euridice ซึ่งเป็นอุปรากรเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์ที่เมืองฟลอเรนทีน

              ผลงานชิ้นสำคัญของคัชชินี คือหนังสือรวบรวมโน้ตเพลงชื่อ La nuove musiche เป็นหนังสือเพลงที่เป็นผลงานเขียนเพลงของคัชชินีที่มีชื่อเสียงมากเล่มหนึ่ง เพลงในหนังสือประกอบด้วยเพลงร้องเดี่ยวแมดริกัล เพลงร้องแบบบทต่อบท เพลงร้องโมโนดี อาเรีย และแอร์ โดยใช้แนวเบสต่อเนื่อง บรรเลงประกอบ ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1602 คัชชินีเน้นการใช้โน้ตประดับในเพลงร้อง เพลงร้องโมโนดีของคัชชินีเป็นต้นแบบที่ดีของคีตกวีหลายคนในยุคบาโรค

             นอกเหนือจากการประพันธ์เพลงร้องโมโนดีแล้ว การขับร้องเจรจาเป็นเทคนิคการขับร้องที่คัชชินีร่วมคิดค้นขึ้นและการเป็นเอกลักษณ์สำคัญของเพลงในยุคบาโรค รวมถึงการด้นสดเพื่อประดับทำนองให้ไพเราะสวยงาม และแสดงความสามารถของการเป็นนักร้องที่มีฝีมือยอดเยี่ยม

บทประพันธ์

Amarillr, mia bella

             ประพันธ์เมื่อปี ค.ศ. 1601 เพลงนี้เป็นตัวอย่างเพลงที่ดีของเพลงโมโนดีในยุคแรกๆเป็นแมดริกัลเป็นบทเพลงในรูปแบบสังคีตลักษณ์บทเดียวมีประโยคเพลงที่ยาวไม่เท่ากันมีการใช้โน้ตประดับ ทำนองเพลงแสดงอารมณ์อ่อนไหว การให้ทำนองเพลงระหว่างที่เนื้อร้องเป็นการเรียกชื่อหญิงคนรักนั้นใช้โน้ตประดับมาช่วยในการสร้างอารมณ์เพลง ดนตรีประกอบของเพลงนี้เป็นแบบไม่มีช่วงบรรเลงนำ ไม่มีช่วงบรรเลงคั่น และไม่มีช่วงบรรเลงส่งท้าย ดนตรีประกอบเป็นการดำเนินของคอร์ดที่เรียบง่าย เนื้อร้องเป็นภาษาอิตาลี กล่าวถึงคนรักที่ชื่อ Amarilli เพลงนี้มีเป็นที่นิยมนำมาขับร้อง และใช้เป็นบทเรียนการขับร้องเบื้องต้นที่ดีเพลงหนึ่ง

Tu ch’hai le penne, amore

            เป็นเพลงในรูปแบบคีตลักษณ์บทต่อบทที่มีเนื้อร้อง 2 ท่อน แต่ใช่ทำนองเพลงเดิมไม่มีการแปรทำนอง เพลงนี้ใช้ในการดำเนินทำนองที่เรียนง่าย เหมาะสำหรับใช้สอนผู้เริ่มเรียนขับร้องที่ต้องการฝึกการเชื่อมเสียง เนื่องจากเป็นบทเพลงที่ไม่ใช้ทำนองหวือหวา เนื้อร้องเป็นภาษาอิตาลีกล่าวถึงความรักที่มีปีกสามารถบินไปยังหัวใจของคนรักได้ ให้หัวใจไปหาหัวใจของคนรักว่าอยู่ที่ใด เพลงอยู่ในจังหวะ ¾ มีดนตรีบรรเลงประกอบเป็นลักษณะอาร์เปโจเกือบตลอดเพลง

         เพลงของคัชชินีที่ควรศึกษาเพิ่มเติม คือ Amor,ch’attendiBelle rose purpurine  ◘Occhhi’mmortale   O,che felice giorno    Aur’morosa   Ohime,se tant’ amato   Al fonte.al prato   Sfogava con le stele   Udite,ammanti

     2. คลาวดิโอ มอนเตแวร์ดี (Claudio Monteverdi; 1567 - 1643)

             มอนเตแวร์ดีประพันธ์เพลงและอุปรากร ทำนองเพลงของมอนเตแวร์ดีเป็นทำนองเพลงที่หรูหรางดงาม เน้นความหวือหวาของอารมณ์เพลง เน้นการแสดงสีสันของอารมณ์ในขณะที่ความสำคัญของเนื้อร้องยังอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มอนเตแวร์ดีใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการมาผสมผสานกับเทคนิคใหม่ นำแมดริกัลป์มาดัดแปลงให้เป็นเพลงในรูปแบบละครมอนเแวร์ดีแต่งอุปรากรเรื่อง Orfeo เป็นเรื่องแรก และ Arianna เป็นเรื่องที่สอง

บทประพันธ์

Lasciatemi morire, from Arianna

     ประพันธ์เมื่อปี ค.ศ. 1608 อยู่ในอุปรากรเรื่อง Arianna ซึ่งเป็นอุปรากรเรื่องที่สองของมอนเตแวร์ดีโน้ตเพลงฉบับสมบูรณ์ของอุปรากรเรื่องนี้ได้หายไป เหลือแต่เพลงของเรื่องที่หลงเหลืออยู่ โดยเพลงนี้เป็นเพลงที่มอนเตแวร์ดีกล่าวว่าเป็นเพลงที่สำคัญมาอุปรากรเรื่องนี้ เพลงนี้เป็นเพลงตัวอย่างที่ดีของเพลงโมโนดีตอนต้นศตวรรษที่ 17 ที่ยังคงไว้ซึ่งสำเนียงโบราณของกรีก แสดงอารมณ์เศร้าหมองได้เป็นอย่างดีเป็นบทเพลงในรูปแบบสังคีตลักษณ์บทเดียว  ทำนองเพลงมีลักษณะลากยาวอย่างช้าๆดนตรีประกอบใช้เสียงกระด้านเพื่อให้ขัดกันกับทำนองในแนวร้องเพื่อให้เกิดอารมณ์เพลงตึงเครียด เนื้อเพลงเป็นภาษาอิตาลีมอนเตแวร์ดีให้ความสำคัญกับเนื้อเพลงผ่านทำนองที่ขึ้นสูงและลงต่ำเพื่อให้เกิดความวิจิตรพิสดารเพลงอยู่ในจังหวะช้ามาก ดนตรีประกอบของเพลงนี้ไม่มีบทบรรเลงนำ ไม่มีบทบรรเลงคั่น และไม่มีบทเพลงบรรเลงส่งท้าย แนวเปียโนมีลักษณะเป็นคอร์ดเกือบทั้งเพลง เพลงของมอนเตแวร์ดีเป็นเอกลักษณ์พื้นฐานของเพลงอุปรากรในยุคต่อๆมาเพลงนี้ใช้เป็นเพลงฝึกหัดนักร้องได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ฝึกการคบคุมเสียงร้องได้อย่างเกิดผล

ยุคบาโรค (Baroque) คือ ยุคดนตรีระหว่าง ค.ศ. 1600 –1750 ซึ่งคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้คือ โยฮันน์ เซบาสเตียนบาค (Johann Sebastian Bach; 1685 – 1750)

เพลงร้องในยุคบาโรคประกอบด้วยเพลงร้องที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่เรียกว่า ดนตรีในโบสถ์ (Sacred music) และดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) เพลงสำหรับพิธีกรรมทางศาสนาที่มีความสำคัญที่สุดในยุคบาโรคนี้คือ คันตาตา นอกจากนั้นยังมี โอราโตริโอ โมเท็ต แมส แมดริกัล และคันโซนา ส่วนดนตรีนอกโบสถ์มีเพลงจากละครโอเปร่า ประกอบด้วยการขับร้องแบบเจรจา (recitative) เพลงร้องเดี่ยวขั้นสูง (aria) บทเพลงขับร้องประสานเสียง (chorus) และเพลงร้องเดี่ยวที่เรียก แอร์ (air) ซึ่งมีทำนองฟังสบายๆ และมีชีวิตชีวา

ดนตรีประกอบ (accompaniment) ชนิดที่นิยมแพร่หลายในยุคบาโรคเป็นการใช้ดนตรีประกอบในลักษณะแนวเลสคอนตินูโอหรือเเนวเบสต่อเนื่อง (basso continuo) คือ แนวเบสที่มีตัวเลขกำกับอยู่ตลอดที่ใต้บรรทัดห้าเส้น ตัวเลขนี้จะกำหนดเสียงประสานที่นักดนตรีต้องปฏิบัติด้วยวิธีการด้นสด (improvisation) เครื่องดนตรีที่เล่นแนวเบสต่อเนื่องคือเครื่องคีย์บอร์ดและเครื่องลม หรือเครื่องสายเสียงต่ำ

บาคเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1750 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของบาโรคด้วย

 หนังสืออ้างอิง

Grout J.D., Plaisca V.C. : A History of Western Music (1996) New York : Norton Press

อุทัย สินธุสาร (2527). อุปรากรเป็นวิจิตรศิลป์ชั้นสูงเหนือกว่านาฏศิลป์ทั้งปวง (พิมพ์ครั้งที่ 1 .). ประเทศไทย: สำนักพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.

ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ (2533). ประวัติดนตรีตะวันตกโดยสังเขป (พิมพ์ครั้งที่ 1 .). ประเทศไทย: สำนักพิมพ์Dr. Sax.

สดับพิณ รัตนเรือง (2547). คัมภีร์เพลงคลาสสิก (พิมพ์ครั้งที่ 1 .). ประเทศไทย: สำนักพิมพ์เพื่อนคู่หู.

Wright C. : listening to music (1996) Yale university Wadsworth Press.

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น