วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คีตกวี ยุคเรเนสซองส์

คีตกวี (Composers) สมัยนี้มีคีตกวีที่มีชื่อเสียงจำนวนมรก แต่ควรรู้จัก ได้แก่
กิโยม ดูฟาย (Guillaum Dufay : 1400-1474) ท่านผู้นี้เป็นครูดนตรีคนสำคัญสำนักดนตรีเบอร์กันดี (Burgundian School) ลักษณะสำคัญทางดนตรีของท่านผู้นี้ คอ การให้ความสำคัญกับทำนองเพลงในระดับเสียงสูง ทั้งในตัวทำนองเพลงเองและในกระสวนจังหวะของแต่ละวลี
จอสแกง เด เปร (Josquin des Prez : 1420-1521) เป็นนักดนตรีคนสำคัญกลุ่มเฟลมิช (Flemish School) ถือกันว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ท่านผู้นี้ทำให้บทเพลงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงลักษณะทางศิลปะของบุคคลได้อย่างชัดเจน เป็นคีตกวีที่ผลงานดนตรีได้รับการตีพิมพ์ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ อาเดรียน วิลลาร์ด (Adrian Willaert : 1490-1562) เป็นนักดนตรีกลุ่มเฟลมิช แต่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีเวียนนา (Venetian School) แต่งเพลงสำหรับศาสนาที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทมาดิกราล มีชื่อเสียงมาก 
จิโอวันนี เปอลุยจี ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi Palestrina : 1525-1594) ครูดนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเรอเนสซองส์ ชำนาญด้านดนตรีแบบโรมันคาทอลิก เป็นผู้อำนวยการวงดนตรี Cappella Givalia แห่งสำนักวาติกัน ถือว่าเป็นผู้แต่งเพลงร้องสมบูรณ์แบบตามลักษณะของ แคพเพลล่า โดยใช้เทคนิคชั้นสูงอย่างสมบูรณ์ นิยมแต่งเพลงแบบที่ใช้เสียงประสม (diatonic) และใช้ผิวพรรณทางดนตรีที่เกลี้ยงเกลา
 วิลเลียม เบอร์ด (William Byrd : 1543-1623) เป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สึดเท่าที่ประวัติศาสตร์ดนตรีของอังกฤษเคยมี เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้แต่งเพลงโพลีโฟนีชั้นยอดที่ใช้เนื้อร้องทางศาสนา เช่น แมส 3 4 และ 5 แนวทำนอง รวมทั้งเพลงที่บรรเลงด้วยออร์แกน
เวอร์จินอล (Virginal) เคลาดิโอ มองเตเวอร์ดี (Claudio Monteverdi : 1543-1567) เป็นคีตกวีคนสุดท้ายแห่งยุคเรอเนสซองส์ และเป็นคนแรกแห่งยุคบาโร้ค เป็นผู้มีลักษณะการประพันธ์เพลงเป็น 2 รูปแบบที่ต่างกัน คือ แบบเก่า (stile antico) กับ แบบใหม่ (stile medomo) แบบแรกเป็นบทเพลงร้องศาสนา เช่น คอราล (Choral) และ มาดิกราล (Madrigal) ส่วนแบบหลังเป็นลักษณะทางดนตรีที่ถือได้ว่าเป็นการปูทงไปสู่ลักษณะของบาโร้คที่แท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น