วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คีตกวีในยุคบาโร้ค

คีตกวีสมัยบาโร้ค คีตกวีคนสำคัญสมัยบาโร้คมีเป็นจำนวนมากไม่อาจนำมากล่าวได้หมด แต่คนสำคัญๆที่ควรกล่าวมี 3 คน คือ Antonio Vivaldi, Johann Sebatian Bach และ George Frederic Handel โยฮัน เซบาสเตียน บาค Johann Sebastian Bach (1685-1750) Bach ถือเป็นหลักชัยของยุคบาโร้ค ผลงานชิ้นสำคัญของบาคหลายชิ้นถือเป็นผลงานสูงสุดของยุคบาโร้ค ตัวบาคเองมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1685-1750 (2228-2293) พูดง่ายๆว่าท่านสิ้นชีวิตก่อนที่ไทยจะเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าครั้งที่ 2 ในราว 17 ปี หรือกล่าวได้ว่าท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายของไทยเรานี่เอง บาคเป็นลูกหม้อนักดนตรีโดยแท้ นับตั้งแต่คุณปู่ทวด และคุณพ่อต่างก็เป็นนักออร์แกนประจำโบสถ์ หรือไม่ก็เป็ฯนักดนตรีท้องถิ่นของประเทศเยอรมันมาก่อนทุกคน จริงๆแล้วสมาชิกในตระกูล Bach เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นจำนวนมากมายจนกระทั่งคำว่า Bach ใช้ในความหมายโดยรวมว่า “นักดนตรีประจำเมือง” ไปเลยทีเดียว ดังนั้น ในการพบปะสมาชิกครอบครัวปีละครั้งจะมีสมาชิกชาวบาคคืนสู่เหย้าคราวละกว่าร้อยคน ซึ่งนอกจากจะพบปะกันแล้ว ยังมีการเล่นดนตรีด้วยกันอีกด้วย Johann Sebastian Bach หรือ JS. Bach ก็ดำเนินรอยตามบรรพบุรุษคือมีลูกถึง 20 คน 9 คน เล่นดนตรีได้ดีและอีก 4 คน ได้เป็นคีตกวีที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา Bach เกิดที่เมือง Eisenach (ไอซ์แนค) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาเล่าเรียนดนตรีจาก Bach ผู้พ่อซึ่งเป็นนักดนตรีในเมืองนั้น และจากลูกพี่ลูกน้องที่เป็นนักออร์แกนในโบสถ์ซึ่งทั้ง 2 ท่านนี้ได้เสียชีวิตลงเมื่อบาคอายุเพียง 9 ขวบ เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับพี่คนโตซึ่งเป็นนักออร์แกนนเมืองใกล้เคียง ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่จนอายุ 15 ปี จึงได้อำลาบ้านพี่ชายที่มีผู้คนมากหน้าหลายตาไปดำเนินชีวิตตาลำพังในเมืองใกล้เคียง โดยหารายได้จากการร้องเพลงในกลุ่มนักร้องประสานเสียง (Choir) และเล่นออร์แกนหรือไวโอลินตามโบสถ์ซึ่งทำให้ JS.Bach มีรายได้มากพอที่จะส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือในโรงเรียนได้ด้วย ในช่วงนี้เองที่ความหลงใหลในดนตรีได้ปรากฎชัดในตัวบาค เขาจะสามารถเดินทางด้วยเท้าเป็นระยะทางถึง 20-30 ไมล์ (40-50 กม.) เพียงเพื่อจะไปฟังนักออร์แกนที่มีชื่อเสียงบรรเลงดนตรีดีๆที่หาฟังได้ยาก เมื่ออายุได้ 18 ปี JS. Bach เป็นนักดนตรีประจำโบสถ์ใน Arnstald (เอ็นสตัค) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับสถานที่เกิดของเขาเอง โดยทำหน้าที่เป็นนักออร์แกน บาคมีปัญหากับผู้บริหารที่นี้เพราะพวกคนีอำนาจพวกนั้นคิดว่าดนตรีของบาคยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป แล้วยังถามซอกแซกถึงเรื่องที่เขาพบปะกับ “สุภาพสตรี” แปลกหน้าในโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งอีกด้วย บาคแก้ปัญหาทั้งสองนี้ด้วยการย้ายไปเป็นนักดนตรีในตำแหน่งที่สูงขึ้นที่ Muhl hause (มึลเฮาเซ่น) และแต่งงานกับสุภาพสตรีแปลกหน้านั้นเสียเลยรู้แล้วรู้รอดไป ซึ่งแท้จริงแล้วเธอก็คือลูกพี่ลูกน้องของบาคนั่นเอง เธอชื่อ บาบาร่า (Babara) การเล่นดนตรี ณ ที่ใหม่นี้ทำให้ฝีมือของบาคขึ้นไปสู่ระดับชั้นครู โดยมีเทคนิคการบรรเลงแบบใหม่ๆแปลกๆ เช่น การใช้เท้าเล่นออร์แกนโดยเหยียบที่กระเดื่อง ซึ่งดีเสียกว่านักดนตรีที่มีชื่อเสียงขณะนั้นเล่นด้วยมือเสียอีก หลังจากที่ได้ประสบการณ์จากการเล่นออร์แกนในโบสถ์สองแห่งที่กล่าวมาแล้ว บาคก็ได้งานดีกว่าเดิมโดยการไปเป็นนักดนตรีในราชสำนักแห่งเมือง Weimar ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็น Concert Master ให้แต่วงออเคสตร้าราชสำนักนี้ ภายหลังเขาก็ลาออกเพราะไม่ได้รับความยุติธรรมในการเลื่อนตำแหน่งและ Duke of Weimer ที่ไม่ชอบความ “หัวดื้อหัวรั้น” ของบาคจึงได้จับเขาขังคุกเสียหนึ่งเดือนเต็มๆ แต่บาคก็หาได้กลัวหัวหดต่อการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมนั้นไม่ เพราะตลอดชีวิตของเขา บาคได้เรียกร้องและต่อสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรมของเขาตลอดมา ตำแหน่งอันสำคัญยิ่งของบาคก็คือ เขาได้เป็นผู้อำนวยการเพลง (Conductor) หรือวาทยกรให้กับวงออร์เคสตร้าประจำของเจ้าชายแห่ง Cothen ซึ่งมีเงินเดือนพอกันกับทหารตำแหน่งนายพลเลยทีเดียว และที่สำคัญก็คือเป็นครั้งแรกที่งานของบาคตรงนี้ไม่เกี่ยวกับโบสถ์และดนตรีเกี่ยวกับศาสนาแต่อย่างใด นอกจากบทเพลงประเภท psalm ธรรมดาที่ใช้ในพิธีกรรมบ้างเท่านั้น เพราะเหตุว่า เจ้าชายอยู่ในนิกายใหม่หรือ Calvinistic ตลอดระยะเวลา 6 ปีในตำแหน่งอันทรงเกียรติแห่งนี้ บาคทำหน้าที่ควบคุมวงออร์เคสตรี่มีสมาชิกในวง 18 คน และได้แต่งเพลงไว้มาก รวมทั้งบทเพลงสำคัญอย่าง Brandenburg concerto ด้วย ในปี 1720 ภรรยาของบาคถึงแก่กรรมทิ้งลูกไว้ให้เขาเลี้ยงดู 4 คน ต่อมาเมื่อเขาอายุ 36 ปีจึงได้แต่งงานใหม่กับนักร้องอายุ 21 ปี ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันซึ่งก็อยู่ดีมีสุข ไม่แพ้การแต่งงานครั้งแรก เจ้าชายแห่ง Cothen คบกับบาคในฐานะเพื่อนเนื่องจากพระองค์ท่านก็ทรงเป็นนักดนตรีสมัครเล่นด้วย แต่ความสัมพันธ์นั้นก็ต้องเปลี่ยนไป รวมทั้งความรักดนตรีของพระองค์ด้วย เมื่อได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงที่ไม่ชอบดนตรี บาคก็เลยดิ้นรนที่จะหางานใหม่ต่อไป เขาได้งานในปี 1723 โดยเป็นผู้อำนวยการวงดนตรีแห่งโบสถ์ เซนต์ โธมัน ที่เมือง Leipzig ซึ่งรับผิดชอบงานในโบสถ์ที่เป็นหลักทั้งสิ้น 4 แห่ง ซึ่งที่นี่เองที่บาคทำงานอยู่ตลอดเวลา 27 ปี จนถึงวาระสุดท้ายของชีวินและแม้ว่าจะเป็นโบสถ์สำคัญแห่งหนี่งของเยอรมันก็ตาม แต่ทว่าความมีหน้ามีตาและเงินเดือนที่บาคได้รับนั้นน้อยกว่าเมื่อทำงานที่ราชสำนัก Cothen เสียอีก แต่บาคก็ยอมเพราะเมืองใหญ่อย่าง Leipzig นั้นมีประชากรถึง 30,000 คน และเป็นโอกาสที่ลูกๆจะได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยและอบรมบ่มนิสัยในคริสเตียนลัทธิ Lutheran เพระบาคเองก็เป็นพ่อที่เคร่งครัดในศาสนาไม่น้อยเลย เขามักจะเขียนอักษรย่อทั้งตอนต้นบทและจบเพลงของเขา ด้วยการสรรเสริญพระเจ้าอยู่เสมอ เช่น “ด้วยความเชื่อของจีซัส” และ “พระเจ้าผู้ทรงกรุณา”ในตอนจบเป็นต้น ผลงานของ Bach ที่ถือเป็นหลักของการดนตรียุคต่อๆมานั้น มีหลายบท เช่น Toccata & Fugue และ Brandenburg และนอกจากบทเพลงสวดประเภท Mass แล้ว ก็ยังมีบทเพลงประเภท Suite แจจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าเพลงตับก็ได้ คีตกวีคนสำคัญๆ ของโลกหลายคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่น่ารื่นรมย์ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักประสบปัญหาในชีวิตเสมอ บาคก็เป็นคนหนึ่งที่สร้างผลงานอมตะไว้ให้แก่ชาวโลก แต่บั้นปลายชีวิตนั้นไม่น่ารื่นรมย์สักเท่าไร และต้องอยู่ในโลกแห่งความมืดด้วยดวงตาที่มือสนิท ที่เมืองไลฟ์ซิก บาคทำงานดนตรีอย่างขมักเขม้นทั้งฝึกซ้อมทั้งควบคุมวงดนตรีในฐานะวาทยากร และแน่นอนที่สุดคือ แต่งเพลง ซึ่งมีทั้งบทเพลงร้องประสานเสียง เพลงเดี่ยว และบทเพลงสำหรับวงออร์เคสตร้าที่จะต้องบรรเลงทุกๆวันอาทิตย์และวันสำคัญทางศาสนา นอกจากนั้นยังรับผิดชอบในการสอนลูกศิษย์ถึง 55 คนในโรงเรียน St. Thomas ซึ่งหลังจากทำงานที่เมืองไลฟ์ซิกได้หลายปี บาคก็ได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการวงดนตรี Colloquium Museum ด้วย โดยมีการบรรเลงดนตรีทุกๆคืนวันศุกร์ ณ โรงน้ำชาแห่งหนึ่ง นอกจากนั้นก็ยังเล่นและสอนออร์แกน ตลอดจนตัดสิน แก้ไข ปรับปรุงผลงานประพันธ์ของผู้อื่นที่ส่งเข้ามาด้วยจนเป็นเรื่องที่หลายๆคนเองก็หาคำตอบไม่ได้ว่า บาคสามารถจะทำงานศิลปะแบบนี้ได้อย่างไร ในเมื่อรอบๆตัวเขามีแต่กลุ่มเด็กๆ ญาติพี่น้อง และลูกศิษย์ลูกหาโดยอาศัยอยู่ในห้องพักที่อยู่ติดกับห้องเรียนเลยทีเดียว ในปี 1740 เศษสายตาของบาคเริ่มพร่ามัว แต่เขาก็ยังแต่งเพลงควบคุมวงดนตรีและดำเนินการสอนไปด้วยกัน จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1750 ซึ่งเป็นปีสุดท้านของชีวิต บาคก็จบชีวิตลงในโลกของควงามมืดด้วยสายตาที่บอดสนิท แม้จะเป็นที่รู้จักกันดีในฝีมือของบาค แต่ก็เฉพาะคนเยอรมันเท่านั้น แต่พวกนั้นมักจะคิดว่างานของบาคยุ่งยาก สลับซับซ้อน และหนักเกินไปสำหรับสังคมและพวกเขา หลังความตายของบาคบทเพลงของเขาก็ถูกลืมไปสนิท และไม่มีการพิมพ์ผลงานของเขาเลยเป็นเวลากว่า 70 ปี นอกจากลูกศิษย์ของบาคที่ยังคงแสดงผลงานของครูอยู่บ้าง เนื่องจากทราบดีว่าเป็นผลงานจากคีตกวีผู้อัจริยะ จนกระทั่ง Felix Mendel John ได้นำผลงานชื่อ St. Matthew Passion ของบาคออกแสดงในปี 1829 จึงเป็นเหตุให้มีการรื้อฟื้นผลงานของบาคออกมาศึกษาและแสดงกันอย่างแพร่หลายอีกครั้งหนึ่ง และเป็นที่ทราบกันดีถึงผลงานอันอมตะและความเป็นอัจฉริยะของบาคจนทุกวันนี้ ดังได้กล่าวในตอนต้นว่า ผลงานของบาคอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก เป็นรูปแบบของคีตนิพนธ์สมัยบาโร้คและเป็นแบบกันต่อๆมา คือเพลงแบบ “เพลงตับ” (Suite) ซึ่งประกอบด้วยเพลงสั้นๆหลายเพลงบรรเลงติดต่อกัน Suite ในยุค Baroque เป็นวิวัฒนาการของ Suite สมัยเรอเนสซองส์ ซึ่งเป็นเพลงเต้นรำในราชสำนัก แต่บทเพลงยุคบาโร้คนี้ควรจะมีความคล้ายคลึงกับเพลงเต้นรำ แต่ก็มีจุดประสงค์เพื่อการฟังเสียมากกว่าและสามารถบรรเลงได้ทั้งด้วยเครื่องดนตรีเพียงชั้นเดียว วงคัภดุริยางค์และวงออร์เคสตร้าขนาดเล็ก บทเพลงประเภทนี้จะบรรเลงในบันไดเสียงเดียวกันทุกท่อน แต่ว่าแต่ละท่อนอาจจะแตกต่างกันในแง่ของจังหวะ อารมณ์และคุณลักษณะอย่างอื่น และมีที่มาจากบทเพลงประจำชาติต่างๆกัน อย่างเช่นจังหวะปานกลางที่เรียกว่า Allemande (ของเยอรมัน) ซึ่งจะตามด้วยท่อนเร็วแบบ Courante และปานกลางที่เรียกว่า Gavolt (ของฝรั่งเศส) หรือท่อนช้าที่เรียกว่า Sarabande (จากสเปน) และท่อนเร็วแบบ Gigue (ของอังกฤษและไอร์แลนด์) เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้นิยมบรรเลงกันในช่วงอาหารเย็นในห้องโถง และกลางแจ้งเมื่อมีงานรื่นเริง งานฉลองต่างๆ ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น