รวบรวมข่าวสารดนตรีศึกษา ดนตรีวิทยา ดนตรีชาติพันธ์ การศึกษาทางมานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Opera Baroque 1600-1750
อุปรากร (Opera) สมัยบาโร้ค
ประดิษฐกรรมการสร้างสรรค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในยุคบาโร้คคืออุปรากร (Opera) ซึ่งหมายถึงการแสดงละครแต่เป็นการแสดงละครที่ถือเอาตัวดนตรีเป็นสำคัญ พูดง่ายๆก็คือการขับร้องประกอบด้วยวงออร์เคสตร้า โดยมีท่าทางแบบละครเข้ามาผสม อุปรากรประกอบด้วยส่วนสำคัญหลายส่วน ได้แก่ ดนตรี ศิลปการแสดง กวีนิพนธ์ การเต้น ร่ายรำ ฉาก แสง สี และเครื่องแต่งตัวละคร ซึ่งเมื่อประกอบเข้าด้วยกันอย่างดีแล้วละก็สามารถจะชักจูงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามได้เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องจริงเลยทีเดียว
การขับร้องและดนตรีซึ่งเป็นหัวใจของอุปรากรนั้น ที่สำคัญคือการขับร้องเดี่ยว ที่เรียกว่า Aria ซึ่งเป็นการร้องที่มีการเอื้อน คือเนื้อร้องเพียงคำเดียวสามารถจะเอื้อนเสียงไปได้หลายเสียงหลายตัวโน้ต และการ้องแบบ recitative ที่ร้องเนื้อร้อง 1 คำต่อโน้ต 1 ตัว เป็นแบบร้องเนื้อเต็มของไทยและยังมีการร้องหมู่ที่เรียกว่า Chorus อีกด้วย
นักร้องเสียงดีที่แสดงเป็นตัวละครสำคัญๆ นั้นจะต้องฝึกฝนการแสดง ท่าเต้น และการแสดงท่าทางต่างๆ อย่างดีเลิศด้วยเพื่อให้การแสดงสมจริงสมจัง Opera จึงเป็นมหรสพที่สำคัญเต็มไปด้วยศิลปะชั้นสูงไม่แพ้การแสดงโขนของไทยเราเลยทีเดียว
Opera ถือกำเนิดในประเทศอิตาลี ซึ่งเริ่มมาจากการสนทนาปราศัยในหมู่ของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณความรู้ทางด้านศิลปะต่างๆ ผู้ทรงคุณความรู้เหล่านี้เป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งนัดหมายพูดคุยกันเป็นประจำ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1575 โดยพบกันที่เมืองฟลอเรนซ์ กลุ่มนักวิชาการนี้เรียกกันว่า Comerata คนสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มนี้ได้แก่ คีตกวีชื่อ วินเซนโซ่ กาลิเลอี บิดาของท่านกาลิเลโอ (นักวิทยาศาสตร์) เป็นต้น ชาวคณะที่เรียกว่า Comerata นี้มีจุดประสงค์สำคัญที่จะสร้างสรรการแสดงดนตรีในรูปแบบใหม่ คล้ายๆละครแบบกรีกโบราณซึ่งเป็นละครแบบ “โศกนาฏกรรม” ซึ่งไม่มีหลักฐานและข้อมูลทางดนตรีอะไรหลงเหลือไว้ให้ศึกษาเลย เพียงแต่ได้แนวคิดมาจากวรรณคดีสมัยกรีกที่ตกทอดมาถึงเท่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าละครกรีกนั้นมีลีลาการร้องเพลงแบบกึ่งร้องกึ่งพูด ซึ่งเป็นวิธีที่กลุ่ม Camerata ต้องการจะสร้างละครที่มีการพูดเป็นทำนองเพลง ให้มีจังหวะจะโคน และเสียงสูงต่ำที่เต็มไปด้วยศิลปะและนี่ก็คือที่มาของอุปรากร
อุปรากรเรื่องแรกของโลกชื่อว่า “Euridice” ประพันธ์โดย Jacopo Peri ซึ่งต่างขึ้นแสดงเนื่องในโอกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับ Maric di Medici อุปรากรนี้จัดแสดงขึ้นในเมืองฟลอเรนซ์เมื่อปี ค.ศ. 1600 หลักจากนั้นอีก 7 ปี คีตกวีคนสำคัญชื่อ Monteverdi ก็แต่งอุปรากรที่มีชื่อเสียงคือ Orfeo จะไม่เล่าเรื่องราวโดยละเอียดของ Orfeo เพียงแต่จะบอกว่าเป็นอุปรากรที่แต่งขึ้นตามแนวของเทพนิยายกรีกเรื่อง Orpheus เดินทางไปสู่นรกเพื่อจะนำเอาวิญญาณของสาวคนรักที่ชื่อ Eurydice กลับคืนมา
นักแต่งอุปรากรคนสำคัญคนหนึ่ง ท่านคือ Claudio Monleverdi ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1507-1643 ผู้ซึ่งเกิดที่เมือง Cremona ใน Jbalu ท่านผู้นี้เป็นคีตกวีสำคัญในยุคบาโร้คตอนต้นๆ เขาทำงานอยู่ในราชสำนัก Matua อยู่ราว 21 ปี โดยเริ่มจากการเป็นนักร้องและนักไวโอลินและภายหลังจึงได้เป็นผู้อำนวยการวงดนตรีในราชสำนักนั้น และนี่เองเป็นที่ๆเขาได้สร้างอุปรากรชั้นครูชั้นแรกขึ้นมาคือเรื่อง Orfeo (Opheus, 1607) ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับหรือกว่าจะได้รับการยกย่องอีกเท่าไรนัก
ความสำเร็จของ Monteverdi เริ่มต้นเมื่อเขาได้รับเลือกให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวงดนตรีที่ St. Mark เมืองเวนิส ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับในโบสถ์ของอิตาลี ซึ่งเขาทำงานอยู่เรียกว่า 30 ปี จนกระทั่งถึงแก่กรรมลงไปในปี 1643 ในขณะที่ทำงานที่ St.Mark นี้ Monterverdi ไม่ได้แต่งเฉพาะบทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาเท่านั้น แต่ยังได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับฆราวาส เพื่อใช้บรรเลงในหมู่ขุนน้ำขุนนางและบุคคลชั้นสูงด้วย เขาได้เขียนอุปรากรให้แก่ San Cassiano แห่งเวนิส ซึ่งเป็นโรงอุปรากรสาธารณะแห่งแรกในยุโรป และเขียนอุปรากรเรื่องสุดท้าย คือ The Corondtion of Poppea (1642) เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี
Monteverdi เป็นเสมือนอนุสาวรีย์ทางประวัติการดนตรีในยุคศตวรรษที่ 15-17 งานของเขาเชื่อมโยงลักษณะของดนตรีของ 2 ศตวรรษนี้เข้าด้วยกัน และยังส่งอิทธิพลให้แก่นักดนตรีและคึตกวีในยุคนั้นอีกไม่น้อยเลย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น