วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การฟื้นฟูและการพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

 


การฟื้นฟูและการพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล

The Revival and Development of Lao Classical Music Through the Play of String Orchestra

ยงยุทธ เอี่ยมสอาด*

Yongyuth Eiamsa-ard

รุจี ศรีสมบัติ     Rujee Srisombat**

มานพ วิสุทธิ์แพทย์ Manop Wisuttipat*** 


Received : March 13, 2020

Revised : February 18, 2021

Accepted : -

บทคัดย่อ

ดนตรีลาวเดิมเป็นดนตรีในราชสำนักลาวในอดีต ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิดการปกครองประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย วงดนตรีลาวเดิมประกอบด้วยวงดนตรี 2 ประเภท ได้แก่ วงปี่พาทย์ วงมโหรี

ผู้วิจัยได้ดำเนินการนำทำนองเพลงลาวเดิม จากจำนวน 2 เพลง ได้แก่เพลงโอ้ลาว และเพลงปลาทอง ที่ในสภาพปัจจุบันไม่มีการบรรเลงกันแล้ว นำกลับมาฟื้นฟู และพัฒนา ทำนองเพลงลาวเดิม มีการประชุมสัมมนาโดยครูเพลงปัจจุบัน ได้แก่ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา, อาจารย์คำแสน พิลาวง, อาจารย์บัณฑิต สะนะสิด,          อาจารย์แสงทอง บุดชาดี และอาจารย์ ดร.สมจิต ไสยสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จนสามารถแปรทำนองเป็นทางเพลงในเครื่องมือระนาดเอก โดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์อาวุโสโรงเรียนดนตรีศิลปะแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งถือได้ว่าเป็นครูเพลงและนักวิชาการการศึกษาคนสำคัญในปัจจุบัน  อีกทั้งผลจากการแปรทำนองแล้ว ได้นำทางเพลงครูบุญเที่ยงมาบรรเลงเป็นวงดนตรีมโหรี ผู้วิจัยได้พัฒนาต่อยอดโดยการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการบรรเลงโดยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ตามหลักทฤษฎีดนตรีสากล  การเรียบเรียงการประสานเสียง และทฤษฎีทางมานุษยดุริยางควิทยา

 

คำสำคัญ : การฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม / การบรรเลงของวงเครื่องสายสากล 


          *นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์

                        มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

          *Doctor of Fine and Applied Art in Ethnomusicology, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot  University.

          **ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

          **Asst. Dr. Thai and Asian Music, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot  University

          ***รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

          ***Assoc. Dr. Thai and Asian Music, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot  University

 

ABSTRACT

Lao classical music was originally the music in the royal court of Laos in the past. Nowadays, there has been a change according to the concept of governing of the democratic republic. The Lao classical ensemble consists of 2 types of music bands: piphat and mahori.

The researcher has brought the melody of the 2 Lao classical songs namely Oh Lao and Pla Thong currently no longer played back to restore and develop the original Lao melody. There was also a symposium among the current music teachers, ajarn Bunthieng Sisakda, Ajarn Khamsaen Pilavong, ajarn Bandit Sanasit, ajarn Saengthong Butchadi and Dr. Somchit Saiyasuwan (National Artist) to knowledge sharing until being able to transform the melody into music in the xylophone instrument. This was created by ajarn Bunthieng Sisakda, a senior teacher who is considered both the important music teacher and academic scholar at The National Music School of Laos.  Also, the adapted melody, based on ajarn Boonthieng’s work, was played in the orchestra. The researcher has developed the new arrangement for string orchestra performance according to the international music theory, harmonization and the theory of anthropology.

 

Keywords : Restoration and Development of Lao Classical Melody /

                The Performance of International String Orchestra

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ดนตรีลาวเดิม  ดนตรีในราชสำนักของลาวในอดีต ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม ดนตรีลาวเดิมมีการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิดระบอบการปกครอง ประชานชนมุ่งเน้นเรื่องวิถีความอยู่รอดการดำรงชีวิตประจำวัน ทำนองเพลงดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน ยังใช้ระบบการถ่ายทอดบทเพลงทางดนตรีแบบมุขปาฐะ คือการต่อเพลงจากครูเพลงปากต่อปาก ซึ่งปัจจุบันครูเพลงในราชสำนักยุคสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) แทบจะเสียชีวิตเกือบหมดแล้ว ทำให้ทำนองเพลงดนตรีลาวจำนวนไม่น้อยขาดการถ่ายทอด ต่อเพลง จนเกิดการขาดหายและไม่มีการบรรเลงในบทเพลงนั้นๆได้อีกในปัจจุบัน  เป็นเหตุผลให้ทำนองดนตรีลาวเดิมควรมีการฟื้นฟูเพื่อเก็บเป็นมรดก รักษาสืบเนื่องพัฒนากันต่อไป ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาดังต่อไปนี้ เพื่อรวบรวมทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม ที่จะขาดหายนำมาศึกษา แปรทำนองเพลงในเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ ระนาดเอก ฆ้องวง ซออี้     จนสามารถบรรเลงเป็นวงมโหรี และวงเครื่องสายสากล (String Orchestra)

บทเพลงในการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ผู้วิจัยได้เลือกบทเพลงโอ้ลาว และปลาทองในการดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้ทำนองหลักจากหนังสือคู่มือลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  และแปรทำนองเป็นทางระนาดเอก ก่อนที่จะขยายการแปรทำนองเพื่อเป็นการบรรเลงรวมเป็นวงดนตรีลาวเดิม ประเภทวงมโหรี ทั้งนีสำหรับการแปรทำนองเป็นทางระนาดเอกผู้วิจัยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว โดยมีอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา และอาจารย์คำแสน พิลาวง ช่วยกันประชุมปรึกษาหารือ และประดิษฐ์ทำนองเพลงออกมาเป็นทางระนาดเอก

วิธีการตีระนาดเอก จากการแปรทำนองเพลง โอ้ลาว  ทางของอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา เป็นการตีระนาดเอกจะเป็นการตีฉาก คือเป็นการตีเก็บ การตีไม้ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบระนาด 2 ลูกพร้อมกัน โดยตีลงบนลูกระนาดซึ่งมีเสียงโน้ตตัวเดียวกันแต่อยู่ห่างกันคนระละดับเสียง เช่นเสียง ซอล(ต่ำ) กับเสียง ซอล (สูง) และจากตำแหน่งของคู่เสียงดังกล่าวอยู่ห่างกันเป็นแปดลูกจึงเรียกวิธีตีแบบนี้ว่า “ตีคู่แปด” 

หลังจากการจัดการสัมมนากลุ่มย่อยทำนองเพลงลาวเดิม เพื่อการบรรเลงเป็นวงมโหรี ได้แก่ เครื่องดนตรี  ระนาดเอก แคน ซออี้ จเข้ ขิม โดยการควบคุมการสัมมนาและฝึกซ้อมโดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์   คำแสน พิลาวง และอาจารย์บัณฑิต สะนะสิด จนสามารถประดิษฐ์กลอนเพลงเป็นทำนองหลัก และสามารถบันทึกเป็นโน้ตสากล ในโปรแกรมโน้ตเพลง Sebelius 7.5  

แนวคิดและการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  โดยบทเพลงโอ้ลาว ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย  จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ ระหว่างเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) ทฤษฎีดนตรีสากล  การเรียบเรียงการประสานเสียง และทฤษฎีทางมานุษยดุริยางควิทยา

การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง จังหวะ และเสียงประสาน

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อฟื้นฟูทำนองและบทเพลงดนตรีลาวเดิม

2. เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล

 

วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาการฟื้นฟูและการพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงดนตรีเครื่องสายสากล ซึ่งเป็นทำนองเพลง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาซึ่งจะได้นำเสนอตามลำดับดังนี้

ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อฟื้นฟู และพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ที่โรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติลาว นครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โรงเรียนดนตรีศิลปะแห่งชาติลาว ประกอบไปด้วย 5 สาขาวิชา ได้แก่ ฟ้อนพื้นเมืองลาวเดิม ฟ้อนพื้นฐานชนชาติ ชนเผ่า ดนตรีพื้นเมืองลาวเดิม ดนตรีสากล (ดนตรีคลาสสิก) และทฤษฎีซ่อนแพรการฟื้นฟู และการพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล โดยได้รับการร่วมมือ และสนับสนุนจากอาจารย์โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยครูเพลงสาขาดนตรีพื้นเมือง และดนตรีสากล (ดนตรีคลาสสิก) ได้แก่ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์บัณฑิต สะนะสิต อาจารย์คำแสน พิลาวง อาจารย์แสงทอง บุดชาดี และอาจารย์ ดร.สมจิต ไสยสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ)

ในการสืบค้น ค้นหาชื่อบทเพลง และทำนองเพลงลาวเดิมสภาพปัจจุบัน โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ       นครหลวงเวียงจันทร์ มีการสืบทอดบทเพลงจากประมวลรายวิชาการสอน สาขาวิชาดนตรีพื้นเมือง นักเรียนเครื่องปี่พาทย์ ทั้ง 7 ชั้นปี มีการต่อเพลงในหลักสูตรทั้งหมด 63 เพลง แต่ไม่มีเพลงทั้ง 7 เพลง ในการสืบทอดของโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ซึ่งตรงกับข้อมูลการการสัมภาษณ์ครูเพลง ได้แก่ อาจารย์บัณฑิต สะนะสิต อาจารย์เดช เหมือนสนิท และอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา ของรายชื่อบทเพลงหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ. 1974 จากทำนองบทเพลงทั้งหมด 64 เพลง ครูเพลงทั้ง 3 ท่าน  ว่ามีทำนองเพลงลาวเดิม จำนวน 7 เพลง ได้แก่ เพลงสี่บท เพลงหกบท เพลงแปดบท เพลงปลาทอง เพลงสร้อยมะยุรา เพลงโอ้ลาว และเพลงสุทากันแสง ที่ให้ความเห็นตรงกันว่าไม่มีการบรรเลงแล้วในสภาพการบรรเลงวงดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน อีกทั้งไม่มีบทเพลงเหล่านี้ในหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ของนักเรียนดนตรีสาขาวิชาดนตรีพื้นเมืองของทั้ง  7 ชั้นปี ที่เป็นโรงเรียนที่มีหน้าที่ในการสืบทอดและถ่ายทอด มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เป็นโรงเรียนที่จะผลิตศิลปิน นักวิชาการทางศิลปะ ดนตรีสายวิชาชีพในการสืบค้น ค้นหาชื่อบทเพลง และทำนองเพลงลาวเดิมสภาพปัจจุบัน ผู้วิจัยได้จัดการประชุมสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) โดยมีอาจารย์ผู้สอนสาขาดนตรีพื้นเมือง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของสาขาวิชาดนตรีพื้นเมือง ผลจากการสัมมนากลุ่มย่อยคณาจารย์ผู้มีความรู้ทางดนตรีทั้งหมด มีความคิดเป็นไปในแนวทางเดียวกันและลงความเห็นชอบได้คัดเลือก บทเพลง โอ้ลาว และบทเพลงปลาทอง เพื่อการฟื้นฟู ทำนอง และบทเพลงดนตรีลาวเดิม

การฟื้นฟูทำนองเพลงลาวเดิมโดยการการแปรทำนอง เพื่อการบรรเลงเป็นวงดนตรี ได้แก่ ระนาดเอก  บทเพลงในการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ข้าพเจ้าได้เลือกบทเพลงโอ้ลาว และปลาทองในการดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้ทำนองหลักจากหนังสือคู่มือลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  และแปรทำนองเป็นทางระนาดเอก ก่อนที่จะขยายการแปรทำนองเพื่อเป็นการบรรเลงรวมเป็นวงดนตรีลาวเดิม ประเภทวงมโหรี ทั้งนีสำหรับการแปรทำนองเป็นทางระนาดเอก ผู้วิจัยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว โดยมีอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา และอาจารย์คำแสน พิลาวง ช่วยกันประชุมปรึกษาหารือ และประดิษฐ์ทำนองเพลงออกมาเป็นทางระนาดเอก ดังต่อไปนี้

 

 

เพลงโอ้ลาว  3  ชั้น ท่อน1  แปรทางโดย อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา

-ฟซล

-ด-ร-

-มซร

มรดล

-ซ-ล

-ซ-ม

-รดล

-ซ-ด

 

ซลดซ

ลซฟม

รดรม

รมฟซ

ลซฟม

รมฟซ

ลซฟซ

ดลลล

 

ลดลล

ลดลล

ดลดซ

-ล-ด

มดรม

ซมรด

ซลดร

ดลดซ

 

รมฟซ

ลซฟม

รดรม

รมฟซ

-มซล

-รดล

-มรด

-ซมร

·                    ย้อน

ลซลม

ซร--

ลซลม

ซร--

มรมด

รล--

มรมด

รล--

 

มซลซ

มล--

ลดรม

รล--

มซลซ

มล--

ลดดด

ซล--

 

ฟซฟร

ฟซฟร

ฟซฟร

ดรฟซ

ลซฟร

ดรฟซ

ลซฟซ

ดลลล

 

ฟซฟร

ฟซฟร

ฟซฟร

ดรฟซ

ลซฟร

ดรฟซ

ลซฟซ

ดลลล

 

ฟล--

ซล--

ดล--

ฟล--

ฟล--

ซล--

ฟซลซ

ฟร--

 

ฟล--

ซล--

ดล--

ฟล--

ฟล--

ซล--

ฟซลซ

ฟร--

 

ดรฟร

ดล--

ซลดร

มฟ--

ซลดร

มฟ--

ซฟมร

ดร--

 

ดรฟร

ดล--

ซลดร

มฟ--

ซลดร

มฟ--

ซฟมร

ดร--

 

ซฟมร

ดฟ--

ซฟมร

ดร--

ซฟมร

ดฟ--

ซฟมร

ดร--

 

ซฟมร

ดฟ--

ซฟมร

ดร--

ซฟมร

ดร--

ซฟมร

ดร--

 

ซฟมร

ดฟมร

ซฟมร

ดฟมร

--มร

มรมร

มรมร

มรมร

 

ซลซม

ซมรด

ซลทด

ทดรม

รมซล

ดลซม

ซลซม

ซมรด

ประทุน1

-ดดด

-ซ-ล

ดลซม

รมซล

ดดดด

-ซ-ล

ดลซม

รมซล

                                                                                                                            

ทางระนาดเอกเวลาบรรเลงโน้ตซอ แล้วบางลูกบางทำนองของทางซอไม่สามารถตีด้วยเครื่องดนตรีระนาดเอกได้ต้องทำการแปรทางก่อน อาจารย์บุญเที่ยงได้แก้ หรือคิดลูกมือเป็นทางระนาด เพลงโอ้ลาว จะเป็นเพลงที่มีลูกล้อลูกขัดอยู่มาก เป็นเพลงกึ่งเพลงทยอย ต้องใช้เครื่องดนตรี 2 เครื่องในการบรรเลงดนตรีเพื่อให้ได้ยินเสียงลูกล้อลูกขัด

 

ตัวอย่าง ลูกล้อ ลูกขัด

ลด--

ลร--

ลด--

ซล--

รม--

ดร--

ลด--

ซล--

 

ลด--

ลร--

ลด--

ซล--

รม--

ดร--

ลด--

ซล--

 

การบันทึกทำนองเพลงดนตรีลาวเดิมที่ฟื้นฟู เป็นโน้ตดนตรีสากล

หลังจากการจัดการสัมมนากลุ่มย่อยเพื่อฟื้นฟูทำนองเพลงลาวเดิม เพื่อการบรรเลงเป็นวงมโหรี ได้แก่ เครื่องดนตรี ระนาดเอก แคน ซออี้ จเข้ ขิม โดยการควบคุมการสัมมนาและฝึกซ้อมโดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา  อาจารย์คำแสน พิลาวง และอาจารย์บัณฑิต สะนะสิด จนสามารถประดิษฐ์กลอนเพลงเป็นทำนองหลัก และสามารถบันทึกเป็นโน้ตสากล ในโปรแกรมโน้ตเพลง Sebelius 7.5 ได้ดังต่อไปนี้

การบันทึกโน้ตสากล บทเพลงโอ้ลาว ทางทำนองหลัก โดย อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา



 

สรุปผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้เรียบเรียงเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงดนตรีเครื่องสายสากล (String Orchestra)   แนวคิดและการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  โดยบทเพลงโอ้ลาว ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ ระหว่าเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint)

การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง จังหวะ และเสียงประสาน



จากภาพจะเห็นได้ว่า แนวทำนองที่1 ดำเนินตามแนวนอนอย่างอิสระมาก่อน จำนวน 6 ห้องเพลงแล้วถึงจะมีแนวทำนองที่ 2 ได้แก่เครื่องดนตรี วิโอล่า ไล่ล้อตามมาในห้องเพลงที่ 7 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดการไล่ล้อกันระหว่างทำนองเพลง และการประสานเสียงกันในทำนองเพลงด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นในห้องเพลงที่ 12 ก็มีแนวไวโอลิน 2 บรรเลงตามมาอีกในห้องเพลงที่ 12 ซึ่งเป็นการไล่ล้อกันของแนวที่ 3 และมีการประสานเสียงในแนวตั้ง (Harmony) ด้วยเช่นกัน




แล้วในที่สุดทำนองที่ 4 โดยเครื่องดนตรี เชลโล่และดับเบิ้ลเบส ก็สอดประสานเข้าในห้องเพลง 15 ซึ่งเป็นการไล่ล้อทำนองเพลงครบทั้ง 4 แนวดนตรี ไวโอลิน 1, ไวโอลิน 2, วิโอล่า และเชลโล่ ดับเบิ้ลเบส ตามแนวหลักการประสานเสียงแบบการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) เป็นการสอดประสานทำนองและประสานเสียงทั้งในนอน (Melody) และแนวตั้ง (Harmony)  ในเวลาไล่เรียงกัน

การเรียบเรียงเสียงประสานยังคงลักษณะเด่นทางดนตรีคือการบรรเลงทำนองแบบลูกล้อ ลูกขัด โดยเริ่มจากแนว ไวโอลิน 1 ที่จะบรรเลงเพลงลูกล้อ  และตามด้วยแนว ไวโอลิน 2 ก็บรรเลงลูกขัดตามมา และแนว วิโอล่า ก็บรรเลงลูกล้อขึ้นอีกครั้ง เพื่อที่จะให้ แนวไวโอลิน 1 เป็นลูกขัด โดยแนวเครื่องดนตรีทั้ง 4 กลุ่มเครื่องดนตรีสามารถบรรเลงวรรคเพลง ประโยคเพลง จังหวะ การนำ การตาม การถาม การตอบ ของทำนองเนื้อเพลง เพราะลูกล้อ ลูกขัด เป็นเพลงที่ต้องบรรเลงเป็นพวกหน้า พวกหลัง กลุ่มหรือเครื่องดนตรีที่บรรเลงเป็นพวกหน้า เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีหน้าที่บรรเลงนำ ตามอัตลักษณ์ดั้งเดิมของแบบเพลงต้นฉบับ



ซึ่งการบรรเลงแบบลูกล้อ ลูกขัด นั้นก็เป็นเทคนิคการบรรเลงคล้ายคลึง ของดนตรีคลาสสิกที่เรียกว่า ราวน์ (Round) ก็คือเพลงทำนองวน เพลงที่ประกอบด้วยทำนองอย่างน้อย 2 แนว ไล่เลียนทำนองเดียวกัน แต่ต่างเวลาหรือจังหวะ และเล่นไล่กันไปมาได้อย่างต่อเนื่อง หรือวนทำนองเดิมกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีก



ลักษณะการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการบรรเลง โดยวงเครื่องสายสากล ยังคงลักษณะความเป็นบทเพลงประเภทเพลงเถา หมายถึงบทเพลงเดียวกันแต่มีอัตราจังหวะและความยาวของทำนองลดหลั่นกันลงมา ได้แก่อัตราจังหวะสาม ชั้น สองชั้น และชั้นเดียว และการแปรทำนองหลักจากเนื้อฆ้องเดียวกัน ในที่นี้ก็คือทำนองหลักจากโน้ตหลักทางเพลงของรังสี สุตทัมมา ผู้วิจัยยังคงลักษณะการทอนอัตราจังหวะแบบดั้งเดิมเพลงเถา ดังนี้ ห้องเพลงที่ 1 - 300 เป็นทำนองเพลงสามชั้น




ทำนองในห้องเพลงที่ 301-350 เป็นทำนองเพลงสองชั้น โดยเรียกว่าท่อน B และทอนลงมาเหลือบทเพลงชั้นเดียว ในห้องเพลงที่ 351-375 โดยเรียกว่า ท่อน C โดยคงความเป็นลักษณะเพลงเถาแบบดั้งเดิมคือการทอนอัตราจังหวะ และความยาวของทำนองลดหลั่นกันลง จนจบการดำเนินทำนองหลัก ทำนองตามไปมาจนจบเพลงโอ้ลาว



การพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองเพลงลาวเดิม บทเพลงปลาทอง

การเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974 โดยบทเพลง ปลาทอง            ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองเป็นการบรรเลงเพื่ออวดทางดนตรีกัน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) โดยการแบ่งท่อนบรรเลงทำนองหลัก และจับคู่แนวเพลงดนตรีเพื่อประสานเสียงระหว่างแนวดนตรี ทำนองหลัก เครื่องดนตรีสลับกันบรรเลงเพื่อการดำเนินทำนอง


 



เพลงปลาทองห้องเพลงที่ 1-9 เริ่มต้นดำเนินทำนองหลักโดยเครื่องดนตรีวิโอล่า ห้องเพลงที่ 1-5 แล้วต่อมาแนวไวโอลิน 1 ในห้องเพลงที่ 6-7 ก็ผลัดมาทำหน้าที่ในการดำเนินทำนองเพลงหลัก และในห้องเพลงที่   8-10 แนวไวโอลิน 2 ก็สลับหน้าที่มาดำเนินทำนองหลักต่อจากแนวไวโอลิน 1



ห้องเพลงที่ 29-32 แนวไวโอลิน 1 และแนวเชลโล่ จับคู่กันเพื่อดำเนินทำนองหลัก โดยแนวไวโอลิน 2 มาสอดรับเพื่อดำเนินทำนองหลักแทนในห้องเพลงที่ 31 แนววิโอล่า และแนวดับเบิ้ลเบส ดำเนินทำนองเป็นโครงจังหวะ และคอร์ดประสานเสียง



ห้องเพลงที่ 35-44 แนวไวโอลิน 1 และแนววิโอล่า จับคู่กันเพื่อการไล่ล้อตามแนวหลักการประสานเสียงแบบการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) เป็นการสอดประสานทำนองและประสานเสียงทั้งในนอน (Melody) และแนวตั้ง (Harmony)  ในเวลาไล่เรียงกัน เช่น ห้องเพลงที่ 37 แนวไวโอลิน 2 จับคู่กับแนว    เชลโล่ เพื่อดำเนินทำนองไล่ล้อ กับแนวไวโอลิน ที่จับคู่กับแนววิโอล่า ในการดำเนินทำนองห้องเพลงที่ 38 และสลับไล่ล้อกันกันมา ถึงห้องเพลงที่ 44 แนวดับเบิ้ลเบส ดำเนินทำนองเป็นโครงจังหวะ



ห้องเพลงที่ 96-104 แนวไวโอลิน 1 ดำเนินทำนองหลักขึ้นมาก่อน หลังจากนั้น แนวเชลโล่ แนววิโอล่า แนวไวโอลิน 2 ดำเนินทำนองหลัก โดยต่อรับประโยคเพลงกันแบบสั้นๆ สลับกันทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลักของเพลง แนวดับเบิ้ลเบส ดำเนินทำนองเป็นโครงจังหวะ

บทเพลงชั้นเดียว ห้องเพลงที่ 105-124 โดยทอนอัตราจังหวะลงมาในโน้ตตัวดำมีค่าความเร็วที่  55 เพื่อให้เป็นอัตราจังหวะเพลงชั้นเดียว คงความเป็นลักษณะเพลงเถาแบบดั้งเดิมคือการทอนอัตราจังหวะ และความยาวของทำนองลดหลั่นกันลง และจบเพลงโดยการลงลูกหมด

 

 



ห้องเพลงที่ 125-137 ดำเนินทำนองลูกหมด บทเพลงท่อนสุดท้ายเป็นท่อนเพลงสั้นๆมีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะหน้าทับสองไม้ชั้นเดียว หรือครึ่งชั้น เป็นท่อนเพื่อบรรเลงต่อท้ายเพลงต่างๆ เพื่อแสดงว่า จบเพลงปลาทอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างคุณภาพของเครื่องมือ ดังนี้

แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางกา           

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาค้นคว้าเรื่อง การฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงดนตรีลาวเดิม   ผู้วิจัยได้เริ่มเก็บข้อมูลจากเอกสารตำรา  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจริง  จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาเรียบเรียงเป็นรายงานการวิจัยในรูปแบบของการบรรยายเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทาง และขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ ขั้นค้นคว้ารวบรวมข้อมูล  ขั้นศึกษาข้อมูล  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นนำเสนอข้อมูล สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

การจัดกระทำกับข้อมูล  ข้อมูลจากเอกสาร และตำราวิชาการ ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

 

อภิปรายผลการวิจัย

จากการลงพื้นที่ภาคสนาม ณ นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์ครูเพลงดนตรีลาวเดิม ในสภาพปัจจุบันของการบรรเลงทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการอ้างอิงรายชื่อบทเพลงจากหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี  สุตทัมมา ค.ศ.1974 โดยสัมภาษณ์ครูเพลงดนตรีลาวเดิม ได้แก่ อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ เครื่องดนตรีถนัดระนาดเอก   อาจารยบัณฑิต สะนะสิด อาจารย์โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ เครื่องดนตรีถนัดขิม และอาจารย์เดช เหมือนสนิท อาจารย์สอนโรงเรียนเอกชน และเป็นช่างทำผืนระนาด เครื่องดนตรีถนัดระนาดเอก จากการสัมภาษณ์ในสภาพการบรรเลงดนตรีทำนองดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน โดยอ้างอิงหนังสือคู่มือเพลงดนตรีลาวเดิม จากทำนองบทเพลงทั้งหมด 64 เพลง ครูเพลงทั้ง 3 ท่าน ว่ามีทำนองเพลงลาวเดิม จำนวน 7 เพลง ที่ให้ความเห็นตรงกันว่าไม่มีการบรรเลงแล้วในสภาพการบรรเลงวงดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน อีกทั้งไม่มีครูเพลงท่านใดที่จะต่อเพลงลาวเดิม ทั้ง 7 เพลงให้กับลูกศิษย์กันอีกแล้ว

บทเพลงในการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ข้าพเจ้าได้เลือกบทเพลงโอ้ลาว และปลาทองในการดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้ทำนองหลักจากหนังสือคู่มือลาวเดิม สำลับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  และแปรทำนองเป็นทางระนาดเอก ก่อนที่จะขยายการแปรทำนองเพื่อเป็นการบรรเลงรวมเป็นวงดนตรีลาวเดิม ประเภทวงมโหรี ทั้งนีสำหรับการแปรทำนองเป็นทางระนาดเอกข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว โดยมีอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา และอาจารย์คำแสน พิลาวง ช่วยกันประชุมปรึกษาหารือ และประดิษฐ์ทำนองเพลงออกมาเป็นทางระนาดเอก  และพัฒนาต่อยอดจากการฝึกซ้อมเพื่อการบรรเลงเป็นวงดนตรีมโหรีลาวเดิมได้

หลังจากการจัดการสัมมนากลุ่มย่อยเพื่อฟื้นฟูทำนองเพลงลาวเดิม เพื่อการบรรเลงเป็นวงมโหรี ได้แก่ เครื่องดนตรี ระนาดเอก แคน ซออี้ จเข้ ขิม โดยการควบคุมการสัมมนาและฝึกซ้อมโดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา  อาจารย์คำแสน พิลาวง และอาจารย์บัณฑิต  สะนะสิด  จนสามารถประดิษฐ์กลอนเพลงเป็นทำนองหลัก  และสามารถบันทึกเป็นโน้ตสากล ในโปรแกรมโน้ตเพลง Sebelius 7.5  

การเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974  โดยบทเพลงโอ้ลาว ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ ระหว่างเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint)

การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง จังหวะ และเสียงประสาน

จัดการแสดงดนตรีเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม โดยการบรรเลงของวงดนตรีลาวเดิม และวงดนตรีเครื่องสายสากล (String Orchestra) ณ หอประชุมใหญ่โรงเรียน โรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นครหลวงเวียงจันทร์

           



 

ได้มีการเผยแพร่บทเพลงทำนองดนตรีลาวเดิม บทเพลงโอ้ลาว สำหรับวงดนตรีเครื่องสายสากล (String Orchrstra) ในงานเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมระดับชาติ “มหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมสมัย” ครั้งที่ 2 ( The 2nd  National Creative Work Prresentation of Fine Arts VRU Contemporary Folk Festival 2020) วันที่ 26 -27 พฤศจิกายน 2563 ณ ลานวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ผ่านการประเมินจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานสร้างสรรค์ทางด้านดุริยาคศิลป์

ได้มีการเผยแพร่บทเพลงทำนองดนตรีลาวเดิม บทเพลงปลาทอง สำหรับวงดนตรีเครื่องสายสากล(String Orchrstra) ในงานเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมระดับนานาชาติ  ครั้งที่ 1  ( The International Symposium on Creative  Fine Art)  วันที่ 16 ธันวาคม  2563 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 100 ปี ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยา ผ่านการประเมินจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานสร้างสรรค์ทางด้านดุริยางคศิลป์

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. จัดการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม จากหนังสือเพลงลาวเดิม สำรับมโหรี ของรังสี สุตทัมมา ที่เหลืออีก 5 เพลง

2. จัดการพัฒนาโครงการการแสดงร่วมกันระหว่างวงดนตรีมโหรีลาวเดิม ร่วมกับวงเครื่องสายสากล(String Orchestra) ในบทเพลงลาวเดิมทั้ง 7 เพลง ของหนังสือเพลงลาวเดิม สำรับมโหรี ของรังสี สุดทัมมา

References

Bunthieng Sisakda. (2018, July 15). Teacher at the National Music of Laos. Interview.

Bandid Sanasit. (2018, July 15). Teacher at the National Music of Laos. Interview.

Natchar Socatiyanurak. (2007). Four-part writing. Bangkok : Chulalongkorn University.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2546). การแต่งทำนองสอดประสาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2548). การเขียนเสียงประสานสี่แนว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเที่ยง สีสักดา. (2561, กรกฎาคม 15). ครูโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว. สัมภาษณ์.

บัณฑิต สะนะสิด. (2561, กรกฎาคม 15). ครูโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว. สัมภาษณ์.

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

วันทอน เพ็ดมุงคุน. (2560,เมษายน 7). ครูเพลงสี่แยกคอกวัว หลวงพระบาง. สัมภาษณ์.

ศรัณย์ นักรบ. (2557). ดนตรีชาติพันธ์วิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.