ประเภทผลงานสร้างสรรค์ทางด้าน ดุริยางคศิลป์
ชื่อผลงานสร้างสรรค์
(ภาษาไทย): บทประพันธ์ทำนองเพลงลาวเดิม
บทเพลงโอ้ลาว โดยการบรรเลงของวง String Orchestra
ชื่อผลงานสร้างสรรค์ (ภาษาอังกฤษ): Composition of Laos Classical Music, Oh Lao, Through The Play of String Orchestra
ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
สังกัดหน่วยงาน นิสิตดุษฎีบัณฑิต สาขามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แสดง Bangplee String Ensemble
1. ผศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์ Violin 1st
2. นายกังวาฬ
พุทธิวนิช Violin 1st
3. นายวรเชษฐ์ วรพุทธินันท์
Flute
4. Mr.Yuri Alexou Violin 2nd
5. น.ส.สุธาสินี
อัมพะวะสิริ Violin 2nd
6. นายสุพิชชา
ณ ระนอง Violin 2nd
7. ด.ช.อนันต์
คำคงสัตย์ Violin 2nd
8. นายอภิชาต ดวงเป้า Viola
9. ดร.นวเทพ
นพสุวรรณ Viola
10. นายสุริพล
เข็มจินดา Cello
11. นายยงยุทธ
เอี่ยมสอาด Cello
12. นายวิศรุต
สุวรรณศรี กลองแขก
13. นายปริทัศน์
เรืองยิ้ม กลองแขก
14. น.ส.ปณิดา
สอนสุภาพ ฉิ่ง
1. ที่มาและความสำคัญ
ดนตรีลาวเดิม
ดนตรีในราชสำนักของลาวในอดีต ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม ดนตรีลาวเดิมมีการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิดระบอบการปกครอง
ประชานชนมุ่งเน้นเรื่องวิถีความอยู่รอดการดำรงชีวิตประจำวัน ทำนองเพลงดนตรีลาวเดิมในปัจจุบัน
ยังใช้ระบบการถ่ายทอดบทเพลงทางดนตรีแบบ
มุขปาฐะ คือการต่อเพลงจากครูเพลงปากต่อปาก ซึ่งปัจจุบันครูเพลงในราชสำนักยุคสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) แทบจะเสียชีวิตเกือบหมดแล้ว
ทำให้ทำนองเพลงดนตรีลาวจำนวนไม่น้อยขาดการถ่ายทอด ต่อเพลง
จนเกิดการขาดหายและไม่มีการบรรเลงในบทเพลงนั้นๆได้อีกในปัจจุบัน เป็นเหตุผลให้ทำนองดนตรีลาวเดิมควรมีการฟื้นฟูเพื่อเก็บเป็นมรดก
รักษาสืบเนื่องพัฒนากันต่อไป บทเพลงในการฟื้นฟูและพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม ข้าพเจ้าได้เลือกบทเพลงโอ้ลาว
ในการดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้ทำนองหลักจากหนังสือคู่มือลาวเดิม สำลับมโหรี
ของรังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974
และแปรทำนองเป็นทางระนาดเอก
ทั้งนีสำหรับการแปรทำนองเป็นทางระนาดเอกข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ
สปป.ลาว โดยมีอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดาประดิษฐ์ทำนองเพลงออกมาเป็นทางระนาดเอก
แนวคิดและการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม
โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม
จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา ค.ศ.1974 โดยบทเพลงโอ้ลาว
ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น
2 ชั้น และชั้นเดียว ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย
จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ ระหว่างเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง
ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท
(Counterpoint) การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint)
คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน
แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง
(Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก
เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง
จังหวะ และเสียงประสาน
2.
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฟื้นฟูทำนองและบทเพลงดนตรีลาวเดิม
2. เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ทำนองดนตรีลาวเดิม
โดยการบรรเลงของวงเครื่องสายสากล
3.
ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน
3.1
เดินทางเก็บข้อมูลภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา
ค้นหาบทเพลงทำนองเพลงลาวเดิมที่ไม่มีการบรรเลงแล้ว
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียงจันทร์ หลวงพระบาง และจำปาสัก
3.2
จากการค้นหาพบรายชื่อบทเพลงที่ไม่มีการบรรเลงแล้วในประเทศ
สปป.ลาว ได้แก่บทเพลงโอ้ลาว เป็นการลงความเห็นจากครูเพลงผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
อาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา อาจารย์บัณฑิต สะนะสิต
อาจารย์เดช เหมือนสนิท อาจารย์ดนตรีอาวุโส จากประเทศ สปป.ลาว
3.3 นำบทเพลงโอล้าว มาแปรทางทำนอง เป็นทางระนาดเอก โดยอาจารย์บุญเที่ยง สีสักดา นำทำนองทางแปร บทเพลงโอ้ลาว มาเรียบเรียงเสียงประสาน เพื่อการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล(String Orchestra) โดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง จังหวะ และเสียงประสาน
การเรียบเรียงเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม
โดยการบรรเลงด้วยวงดนตรีเครื่องสายสากล (String Orchestra)
แนวคิดและการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการพัฒนาดนตรีลาวเดิม
โดยการบรรเลงด้วยวงเครื่องสายสากล (String Orchestra) ผู้วิจัยได้เลือกที่จะพัฒนาทำนองเพลงลาวเดิม
จากบทเพลงต้นฉบับหนังสือคู่มือเพลงลาวเดิม สำลับมโหรี ของ รังสี สุตทัมมา
ค.ศ.1974 โดยบทเพลงโอ้ลาว
ลักษณะเพลงเป็นเพลงเถา จะมีอัตราจังหวะที่ทอนลงมา จาก 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว
ลักษณะการดำเนินทำนองคล้ายวิธีการของบทเพลงทยอย จะมีลูกล้อ ลูกขัด ไล่ล้อสับกันโต้ตอบ
ระหว่าเครื่องดนตรีหลัก และเครื่องดนตรีรอง
ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการเรียบเรียงเสียงประสานโดยใช้เทคนิคการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท
(Counterpoint)
การประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) คือการนำแนวทำนองตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไปไล่ล้อกัน
แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระในแนวนอน (Melody)
แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงประสานตามแบบแผนที่เหมาะสมในแนวตั้ง (Harmony) เป็นเทคนิคการแต่งเพลงที่เฟื่องฟูที่สุดในยุคบาโรก
เป็นการเขียนทำนองสอดประสานให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมในแง่ของทำนอง
จังหวะ และเสียงประสาน
จากภาพจะเห็นได้ว่า แนวทำนองที่1
ดำเนินตามแนวนอนอย่างอิสระมาก่อน จำนวน 6 ห้องเพลงแล้วถึงจะมีแนวทำนองที่ 2
ได้แก่เครื่องดนตรี วิโอล่า ไล่ล้อตามมาในห้องเพลงที่ 7 เป็นต้นไป
เพื่อให้เกิดการไล่ล้อกันระหว่างทำนองเพลง
และการประสานเสียงกันในทำนองเพลงด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นในห้องเพลงที่ 12
ก็มีแนวไวโอลิน 2 บรรเลงตามมาอีกในห้องเพลงที่ 12 ซึ่งเป็นการไล่ล้อกันของแนวที่ 3
และมีการประสานเสียงในแนวตั้ง (Harmony) ด้วยเช่นกัน
แล้วในที่สุดทำนองที่ 4 โดยเครื่องดนตรี
เชลโล่และดับเบิ้ลเบส ก็สอดประสานเข้าในห้องเพลง 15 ซึ่งเป็นการไล่ล้อทำนองเพลงครบทั้ง
4 แนวดนตรี ไวโอลิน 1, ไวโอลิน 2, วิโอล่า และเชลโล่ ดับเบิ้ลเบส
ตามแนวหลักการประสานเสียงแบบการประพันธ์แบบเคาน์เทอร์พอยน์ท (Counterpoint) เป็นการสอดประสานทำนองและประสานเสียงทั้งในนอน (Melody) และแนวตั้ง (Harmony) ในเวลาไล่เรียงกัน
การเรียบเรียงเสียงประสานยังคงลักษณะเด่นทางดนตรีคือการบรรเลงทำนองแบบลูกล้อ
ลูกขัด โดยเริ่มจากแนว ไวโอลิน 1 ที่จะบรรเลงเพลงลูกล้อ และตามด้วยแนว ไวโอลิน 2 ก็บรรเลงลูกขัดตามมา
และแนว วิโอล่า ก็บรรเลงลูกล้อขึ้นอีกครั้ง เพื่อที่จะให้ แนวไวโอลิน 1 เป็นลูกขัด
โดยแนวเครื่องดนตรีทั้ง 4 กลุ่มเครื่องดนตรีสามารถบรรเลงวรรคเพลง ประโยคเพลง
จังหวะ การนำ การตาม การถาม การตอบ ของทำนองเนื้อเพลง เพราะลูกล้อ ลูกขัด
เป็นเพลงที่ต้องบรรเลงเป็นพวกหน้า พวกหลัง
กลุ่มหรือเครื่องดนตรีที่บรรเลงเป็นพวกหน้า เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีหน้าที่บรรเลงนำ
ตามอัตลักษณ์ดั้งเดิมของแบบเพลงต้นฉบับ
ซึ่งการบรรเลงแบบลูกล้อ ลูกขัด
นั้นก็เป็นเทคนิคการบรรเลงคล้ายคลึง ของดนตรีคลาสสิกที่เรียกว่า ราวน์ (Round) ก็คือเพลงทำนองวน เพลงที่ประกอบด้วยทำนองอย่างน้อย 2 แนว
ไล่เลียนทำนองเดียวกัน แต่ต่างเวลาหรือจังหวะ และเล่นไล่กันไปมาได้อย่างต่อเนื่อง
หรือวนทำนองเดิมกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีก
ลักษณะการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อการบรรเลง
โดยวงเครื่องสายสากล ยังคงลักษณะความเป็นบทเพลงประเภทเพลงเถา
หมายถึงบทเพลงเดียวกันแต่มีอัตราจังหวะและความยาวของทำนองลดหลั่นกันลงมา
ได้แก่อัตราจังหวะสาม ชั้น สองชั้น และชั้นเดียว
และการแปรทำนองหลักจากเนื้อฆ้องเดียวกัน
ในที่นี้ก็คือทำนองหลักจากโน้ตหลักทางเพลงของรังสี สุตทัมมา
ผู้วิจัยยังคงลักษณะการทอนอัตราจังหวะแบบดั้งเดิมเพลงเถา ดังนี้ ห้องเพลงที่ 1 -
300 เป็นทำนองเพลงสามชั้น
ทำนองในห้องเพลงที่
301-350 เป็นทำนองเพลงสองชั้น โดยเรียกว่าท่อน B
และทอนลงมาเหลือบทเพลงชั้นเดียว ในห้องเพลงที่ 351-375 โดยเรียกว่า
ท่อน C โดยคงความเป็นลักษณะเพลงเถาแบบดั้งเดิมคือการทอนอัตราจังหวะ
และความยาวของทำนองลดหลั่นกันลง จนจบการดำเนินทำนองหลัก
ทำนองตามไปมาจนจบเพลงโอ้ลาว
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
1.
ได้ฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิม
2.
ได้บันทึกทำนองเพลงที่ฟื้นฟูและพัฒนาทำนองดนตรีลาวเดิมเป็นมาตราฐานโดยการบันทึกเป็นโน้ตสากล
3. ได้แสดงเพื่อเผยแพร่ทำนองดนตรีลาวเดิม
วงดนตรีเครื่องสายสากล(String Orchestra)
5. รายการอ้างอิง
เกริกฤทธิ์
เชื้อมงคล.(2558).ลาวจากกรุงศรีสัตนาคนหตสู่ สปป.ลาว.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพ.สำนักพิม์เพชรประกาย.
เจริญชัย
ชนไพโรจน์.(2555).แคนของกลุ่มชาติพันธ์ใต้ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง: แหล่งกำเนิด การแพร่กระจาย.(พิมพ์ครั้งที่1).ขอนแก่น.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิราภรณ์ วิญญรัตน์.(2556).ประวัติศาสตร์ลาว.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ.มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี.(2551).ดนตรีลาวเดิม.(พิมพ์ครั้งที่
1).ขอนแก่น.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.(2557).งานเขียนทางประวัติศาสตร์ประเภทชีวประวัติในลาวช่วง
ค.ศ.1975-2010:สถานภาพความรู้.(พิมพ์ครั้งที่1).ขอนแก่น.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุนมี เทบสีเมือง.(2553-2556).ความเป็นมาของชนชาติลาว.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
บุญเที่ยง สีสักดา,ครูโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ
สปป.ลาว. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.
บัณฑิต สะนะสิด,ครูโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ
สปป.ลาว. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.
ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2545). ปทานุกรมดนตรีสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์The Knowledge Center.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์.(2556).สังคีตสมัย.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานพ วิสุทธิแพทย์.(2533).ดนตรีไทยวิเคราะห์.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์.
วันทอน เพ็ดมุงคุน. ครูเพลงสี่แยกคอกวัว
หลวงพระบาง. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560.
ศรัณย์ นักรบ.(2557).ดนตรีชาติพันธ์วิทยา.(พิมพ์ครั้งที่
1).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต.(2553).แนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์
บูร์ดิเยอกับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา.(พิมพ์ครั้งแรก).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.
สุภางค์
จันทวานิช.(2557).ทฤษฎีสังคมวิทยา.(พิมพ์ครั้งที่
6).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สีหบัณฑ์ กิติรัตน์.(2550).การรื้อฟื้นวัฒนธรรมชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิม์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมรา พงศาพิชญ์.(2549).ความหลากหลายทางวัฒนธรรม.(พิมพ์ครั้งที่
5).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาณัติ อนันตภาค.(2558).ประวัติศาสตร์ลาว.(พิมพ์ครั้งที่1).ยิบซี
กรุ๊ป.
อนินทร์
พุฒิโชติ.(2557).จากวีรชนปฏิวัติสู่การเชิดชูวีรกษัตริย์:ศึกษากรณีการเชิดชูเจ้าฟ้างุ้มของรัฐบาลสังคมนิยมลาวในช่วงหลังทศวรรษ
1990.(พิมพ์ครั้งที่1).ขอนแก่น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
หมายเหตุ
- Font TH
Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 ความยาวไม่เกิน 3 หน้า
- เอกสารส่งเป็นไฟส์ Word ผ่านช่องทาง E-mail
: husofolk@vru.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น