วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิถีพลโลก เสียงดนตรีไทย

-->
                                    ดนตรีไทย   โดย รศ.ดร.มานพ วิสุทธิแพทย์
            ระบบเสียงของเครื่องดนตรีไทย ระยะห่างของเสียงแต่ละเสียงจะเลียงกันตามลำดับ โดยมีระยะห่างเท่าๆกันใน 1 ช่วงคู่ 8 จะมีทั้งหมด 7 เสียง
            รศ.ดร.มานพ      วิสุทธิแพทย์       ได้กล่าวว่า         บันไดเสียงในระบบดนตรีไทยเป็นแบบPentatonic scale คือ บันไดเสียง 5 เสียง โดยเสียงทั้ง 5 เสียงจะประกอบไปด้วย 3 เสียงเรียงติดต่อกัน แล้วข้าม 1 เสียง และมีอีก 2 เสียงเรียงติดต่อกันอีก เป็นระบบแบบนี้เสียงต่ำสุดของกลุ่มโน้ต 3 ตัวติดกันเป็นขั้นที่ 1 ของบันไดเสียง และเสียงอื่นๆก็เรียงขึ้นไปตามดำดับ
            การกำหนดโน๊ตบนเครื่องดนตรีไทยนั้น จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักการของดนตรีไทยในเรื่อง ทาง ซึ้งก็หมายถึงระดับเสียงของบันไดเสียง
            การกำหนด ทาง บนเครื่องดนตรีไทยนั้น ใช้การกำหนดตามระดับเสียงของเครื่องดนตรีเป็นหลัก เครื่องดนตรีที่ใช้กำหนดระดับเสียง คือ เครื่องเป่า ที่ใช้บรรเลงในวง โดยกำหนดระดับเสียงที่เครื่องเป่าบรรเลงได้สะดวก
ทางที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยมีทั้งหมด 7 ทาง ดังนี้
1.ทางเพียงออล่าง            เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้ตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ลูกที่ 3 และ 10 (โดยนับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง)    เสียงที่ 1  ขอทางนี่ตรงกับเสียงต่ำสุดของซอด้วง ทางนี้จึงเป็นทางที่ซอด้วงบรรเลงได้สะดวกที่สุด   และขลุ่ยเพียงออก็บรรเลงในทางนี้ได้สะดวกเช่นกัน            ดังนั้นทางในดนตรีไทยจึงคำนึงถึงความสะดวกในการบรรเลงตามธรรมชาติเป็นหลัก            2.ทางใน            เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้ ตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ลูกที่ 4 และ 11ทางนี้เป็นทางที่ปี่ในบรรเลงที่สะดวกที่สุด วงปี่พาทย์ไม้แข็งซึ่งมีปี่ในเป็นเครื่องเป่าประจำวงมักจะบรรเลงในทางนี้            3.ทางกลาง        สูงกว่า 1 เสียง เสียงที่ 1 ของบันใดเสียงในทางนี้ตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ลุกที่ 5 และ 12
ทางนี้เป็นทางที่ปี่กลางบรรเลงได้สะดวกที่สุด          ปี่ในและปี่กลางเป็นเครื่องเป่าในตะกุลเดียวกัน มีระบบนิ้วหรือการการไล่เสียงที่เหมือนกัน  ต่างกันที่ปี่กลางมีขนาดเล็กกว่าและทีเสียงสูกกว่า
          4. ทางเพียงออบน  เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ลูกที่ 6 แล         ทางนี้ทั้งขลุ่ยเพียงออและซออู้บรรเลงได้สะดวกที่สุด  จะเห็นว่าเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออและซออู้ที่เทียบเสียงแล้วตรงกับเสียงที่ 1 ของทางนี้
5. ทางนอก  เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้ตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่  ลูกที่ 7 และ 14 ทางนี้เป็นทางที่ปี่นอกบรรเลงได้สะดวกที่สุด  ปี่นอกมีระบบนิ้วเช่นเดียวกับปี่ในและ ปี่กลาง แต่ปี่นอกมีระดับเสียงสูงกว่าปี่กลาง 
  6. ทางกลางแหบ  เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้ตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ลูกที่ 1 , 8 และ 15 ทางกลางแหบนี้ปี่กลางก็บรรเลงได้สะดว
 7. ทางชวา เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ลูกที่ 2, 9 และ 16 ทางนี้สะดวกในการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวา  ซึ่งซออู้ต้องเทียบสายเปล่าสายทุ้มให้ตรงกับเสียงที่ 1 ของทางนี้ และสายเปล่าสายทุ้มของซอด้วงตรงกับสายเปล่าสายเอกของซออู้
                       ทางทั้ง 7 นี้จะมีคู่ทางที่มีความสัมพันธ์กันเรื่องระดับเสียง  คือ
-       ทางเพียงออล่างกับทางเพียงออบน
-       ทางในกับทางนอก
-       ทางกลางกับทางกลางแหบ
       โดยในแต่ละคู่ความห่างของระดับเสียงจะห่างกัน  เป็นระยะคู่ 4 นอกจากทางตามการ
สะดวกในการบรรเลงแล้ว  ยังมีทางตามลักษณะวงที่ใช่ในการบรรเลงอีก  และการกำหนดเส๊ยงโด
บนเครืองดนตรนั้นก็ยึดตามความสัมพันธ์ของทางดังกล่าวไปแล้ว     ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นดังนี้
           1.วงเครื่องสายและวงมโหรี    เป็นวงดนตรีที่จัดอยู่ในทางเดียวกัน     เครืองดนตรีที่
จะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการบรรเลง  คือขลุ่ยเพียงออ  ซอด้วงและซออู้  โดยวประเภทนี้จะ
สะดวกในการบรรเลงทางเพียงออทั้ง2ทางคือ ทางเพียงออนและทงเพียงออล่างโดยมีทาง
เพียงออบนเป็นหรัก  ดังนั้น  โด  ซึ่งเป็นเสียง Tonic  ของทางเครื่องสายและทางมโหรีจึงตรงควร
ตรงกับเสียงที่1 ของทางเพียงออบนซึงเมือนเทียบกับฆ้องวงใหญ่ตรงกับลูกฆ้องลูกที่6และ13
  2.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครืองคู่    มีทั้งปี่ในและปี่นอกบรรเลงร่วมในวง  แสดงวงปี่ในและปี่
นอกก็บรรเลงได้สะดวกในทางปี่ใน  และในทางเดียวกันปี่ในก็บรรเลงสะดวกในทางของปี่นอก
แม้ปัจจุบันวงปี่พาทย์เครืองคุ่จะนิยมมีแต่ปี่ในอยางเดียว  แต่ในบางทบเพลงอยู่ในทางปี่ใน  คือ ทาง
ในบางบทเพลงอยู่ในทางของปี่นอก  คือ  ทางนอกดังที่กล่าวแล้วว่า  ทางในกับทางนอกเป็นคู่ที่สัมพันธ์กัน  โดยยึดทำนองนอกเป็นทางหลักกับฆ้องวงใหญ่แล้วตรงกับลูกฆ้องลูกที่ 7 และ 14
3. วงเครื่องสายปี่ชวา  วงนี้ไม่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีผสมอยู่  และทางของวงนี้ก็ไม่มีคู่สัมพันธ์  ดังนั้น โด ของทางเครื่องสายปี่ชวาเมื่ออเทียบกับฆ้องวงใหญ่แล้ว  ตรงกับลูกฆ้องที่ 2 , 9 , และ 16
         4. วงปี่พาทย์ ใช้ปี่กลาง เสียงโด จะตรงกับทางกลางแหบ  เพราะทางกลางแหบเป็นทางหลักและทางกลางเป็นทางคู่กัน
 ดังนั้นเสียงโด  เมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแล้วจึงมี 2 โด คือ โด  ของวงมโหรี หรือ โด  ของขลุ่ย  และโด ของปี่พาทย์ไม้แข็ง หรือ โดของปี่
ดนตรีไทยเรามีทางหรือบันไดเสียงทั้งหมด 2 ทาง คือ ทางตามลักษณะวง และ ยังมีทางอีกประเภทหนึ่ง คือทางตามลักษณะเพลง
             ทางตามลักษณะบทเพลง  คือ  บันไดเสียงของบทเพลงนั้นๆบันไดเสียงของบทเพลงก็เป็นบันไดเสียง 5 เสียง  แต่ทางตามลักษณะบทเพลงมิได้คำนึงถึงความสะดวกในการบรรเลง  แต่คำนึงถึงว่า  บทเพลงนั้นๆ  ควรบรรเลงในบรรไดเสียงใดแล้วมีความไพเราะ  ความเหมาะสมกับประเภทของบทเพลง
1. เพลงสำเนียงเขมร  เช่น เขมรพวง  เขมรไทรโยค  เสียงขั้นที่ 1 ของบันไดเสียงตรงกับเสียงฟา  ดังนั้นบันไดเสียงของเพลงสำเนียงเขมรจึงเป็น  ฟ ซ ล    ด ร
2. เพลงสำเนียงลาว  เช่น  เพลงลาวดวงเดือน  ลาวดำเนินทราย  ทางหรือบันไดเสียงของเพลงตรงกับทางตามลักษณะวง  ดังนั้น  บันไดเสียงของเพลงลาวจึงเป็น  ด ร ม    ซ ล
3. เพลงมอญ  เช่น  เพลงราตรีประดับดาว  เพลงสุดสงวน  เป็นเพลงในบันไดเสียง  ท ด ร     ฟ ซ  และมีการเปลี่ยจากบันไดเสียงจาก              ฟ ซ  เป็น    ฟ ซ ล       ด ร    ทั้งนี้บันไดเสียง  ท ด ร       ฟ ซ  เป็นบันไดเสียงหลัก
4. เพลงหน้าพาทย์  ส่วนใหญ่อยู่ในบันไดเสียง  ซ ล ท      ร ม
           จากการเปรียบเทียบบันไดเสียงตามลักษณะเพลงในดนตรีไทยกับบันไดเสียงในดนตรีสากลนั้น  ทำให้พบว่ามีความน่าจะเป็นของโหมดเกิดขึ้นในดนตรีไทย  ซึ่งก็ยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นโหมดหรือไม่  ซึ่งทางผู้จัดทำรายงานจะขอเสนอแนวคิดไว้ดังนี้
           บันไดสเยงของเพลงไทย  เป็นแบบ Pentatonic  Scale  คือ  มี 5 เสียงในบันไดเสียงแต่ไม่ได้หมายความว่า ในการบรรเลงจะใช้แค่โน้ต 5 ตัวโน้ตในการบรรเลง หรือ เครื่องดนตรีไทยมีแค่ 5 เสียงเท่านั้น  อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า ดนตรีไทยมีโน้ตทั้งหมด  7 เสียง และระยะห่างของแต่ละเสียงมีระยะห่าง 1 เสียงเต็มเท่ากัน
            ถ้าเราบรรเลงเพลงแขกบรเทศ  สองชั้น  ก็จะพบว่าเพลงนี้อยู่ในบันไดเสียง โด คือ ด ร ม   ซ ล  ตามโน้ตดังนี้
ท่อน 1
_ _ _
_ ล ล ล
_ _ _
_ ล ล ล
_ ซ ซ ซ
_ _
_ _ _
_ _
_ล ซ ม
ซ ม ร ด
ด ด _
ร ร _
_ _
_ _
ม ม  _
ร ร _

          เราจะพบว่าโน้ตตัวแรกของเพลงคือ  ซอล  และ จบลงด้วยโน้ตคือ โด  ก็เป็นการจบเพลงแบบสมบูรณ์ตามหลักทฤษฎีดนตรี  คืจบแบบเพอร์เฟค จบลงด้วยโน้ตโทนิค  ( Tonic )
          แต่ในบางเพลงที่พบ  โน้ตตัวแรกเป็นโน้ตเดียวกันกับโน้ตจบ  แต่เพลงนั้นไม่ได้อยู่ในบันไดเสียงนั้น เช่น เพลงแขกต่อยหม้อ  อยู่ในบันไดเสียง โด คือ ด ร ม    ซ ล    แต่โน้ตตัวแรกของเพลงคือ เร  และจบด้วย เร ดังนี้
สามชั้นท่อน 1
_ _ _
_ _ _
_ _ _
_ _ _
_ _
_ ฟ ม ร
ด ร ม ฟ
_ _
_ _ __
_ _ __
_ ด ร ม 
_ _
_ร ร ร
_ม ฟ ซ
ล ซ ฟ ซ
ล ท ซ ล
_ _ __
_ _ _
_ _ _
_ _ _
_ _ __
ซ ฟ ม ร
ม ร ด ร
ม ฟ ซ ล
_ _ __
ร ด ล ซ
_ _ __
ด ล ซ ฟ
_ _ __
ซ ฟ ม ร
ด ร ม ฟ
_ _

          ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามหลักทฤษฎีทางสากลว่า โหมดต่างๆขึ้นอยู่กับฟินาลิสหรือโน้ตจบ ( Finalis ) และช่วงเสียง ฟินาลิสเป็นระดับเสียงหลักแลโน้ตตัวสุดท้ายของการจบทำนอง  เทียบได้กับโน้ตโทนิก ( Tonic ) ส่วนช่วงเสียงก็คือระยะห่างจากตัวโน้ตหนึ่งไล่ขึ้นไปตามลำดับอีก 7 ตัวเป็นระยะ 1 ช่วงคู่แปด
         และเมื่อดูตัวอย่างจากโหมดต่างๆในดนตรีสากลนั้น  จะเห็นได้ว่าใน 1 โหมดนั้น มีทั้งบันไดเสียงเมเจอร์ ( Major Scale ) และบันไดเสียงไมเนอร์ ( Minor Scale ) อยู่รวมกัน
ถ้าเรามองผิวเผินก็จะไม่พบว่าดนตรีไทยอาจจะมีโหมดได้เช่นเดียวกันกับดนตรีสากลโดยเฉพาะเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เนื่องจากเราไม่สามารถเห็นถึงความแตกต่างในระดับเสียงของเพลงที่เราบรรเลงอยู่  เพราะเครื่องดนตรีประเภทตีจะถูกกำหนดเสียง หรือ เทียบเสียงไว้ตายตัวอยู่แล้ว
          ฉะนั้นหากต้องการหาความแตกต่างที่ชัดเจนว่าดนตรีไทยมีโหมดหรือไม่  สามารถสังเกตได้จากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก  โดยเฉพาะประเภทสี  คือพวกซอต่างๆนั่นเอง สังเกตได้ง่ายๆว่าเมื่อเวลานักดนตรีสีซอเพลงแขกต่อยหม้อ  ก็จะมีโน้ต ฟา  หรือ ที ออกเป็นครึ่งเสียงเพื่อให้เป็นไปตามสำเนียงของเพลง ซึ่งอาจจะเป็นได้ว่าดนตรีไทยนั้นมีโหมด แต่แฝงอยู่เพลงที่มีสำเนียงภาษาต่างๆนั่นเอง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น