วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์ วงเครื่องสายฝรั่งหลวงของพระมงกุฏเกล้าฯ


๓๕ ปีของชีวิตในการดนตรี (พ.ศ. ๒๔๖๐ ๒๔๙๕)
วงเครื่องสายฝรั่งหลวงของพระมงกุฏเกล้าฯ
ประวัติวงดุริยางค์ของกรมศิลปากร

กำเนิด
พ.ศ. ๒๔๕๕   ราว พ.ศ. ๒๔๕๕ (ค.ศ. ๑๙๑๒) สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงสถาปนาวงดนตรีขึ้นวงหนึ่งในพระราชสำนักของพระองค์ เรียกว่า วงเครื่องสายฝรั่งหลวง สังกัดกรมมหรศพ ในการต่อมาได้เริ่มฝึกการปฏิบัติเครื่องดนตรีโดยอาศัยนักดนตรีของวงปี่พาทย์หลวง ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของกรมมหรศพ ในการที่อาศัยนักดนตรีของวงปี่พาทย์มาทำการฝึกหัดเครื่องดนตรีฝรั่งนี้ ทางการได้ใช้นักดนตรีที่มีความชำนาญในทางดนตรีไทยอยู่แล้ว ให้มาฏิบัติทางดนตรีฝรั่งโดยมุ่งหวังจะให้ได้ผลรวดเร็วขึ้นเพราะอาจเข้าใจไปว่าเป็นการดนตรีเหมือนกัน แต่ก็เป็นความเข้าใจที่จะสำเร็จไดยากดังจะเห๊นได้ในการต่อมาเมื่อดนตรีวงนี้ได้ตกมาอยู่ในความอำนวยการของข้าพเจ้า
การประสาสน์วิชาความรู้ให้แก่นักดนตรีในครั้งแรกนี้ ทราบมาว่ากรมมหรศพได้ว่าจ้างชาวต่างประเทศผู้หนึ่งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มาเป็นครู ท่านผู้นี้มีชื่อหรือเชื้อชาติอะไรหรือมีความรู้ในวิชาการดนตรีเพียงไรข้าพเจ้าไม้ทราบ เพราะเวลานั้นข้าพเจ้ายังรับราชกาลอยู่ในกรมรถไฟหลวง ข้าพเจ้าทราบแต่เพียงว่าวิธีการสอนของเขานั้นต้องอาศัยล่ามเป็นผู้อธิบายความประสงค์อยู่เสมอ เพราะท่านผู้นี้พูดภาษาไทยไม่ได้และนักดนตรีก็พูดภาษาฝรั่งไมได้ช่นกัน การสอนจึงดำเนินไปด้วยความขลุกขลักตลอดเวลา ต่อมาครูผู้นี้พ.ศ. ๒๔๕๖ได้ลาออกไปในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๓) กองแตรวงกองทัพบกได้ว่าจ้างชาวอิตาเลียนผู้หนึ่งเข้ามารับราชการเป็นอาจารย์แตรวงแทนบิดาของข้าพเจ้าซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙) อาจารย์ผู้นี้ข้าพเจ้ารู้จักดีและคุ้นเคยกันมาก แม้ในเวลานั้นข้าพเจ้ายังรับราชการอยู่ในกรมรถไฟก็ตาม ท่านผู้นี้มีนิสัยอ่อนโยน,อารีอารอบดี, มีวิชาความรู้สูง มีความชำนาญและความสามารถยิ่งในการปรับปรุงบทเพลงให้วงแตร เพราะเมื่อได้เข้ามารับหน้าที่ได้ไม่กี่ปีก็สามารถนำแตรวงของกองทัพบกออกแสดง Concert ด้วยบทเพลงในขั้นวิจิตรศิลปภายในบริเวณกระทรวงกลาโหมหลายครั้ง เป็นที่พอใจของผู้ฟังซึ่งส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศ ส่วนวงเครื่องสายฝรั่งหลวงของกรมมหรศพนั้นเล่า ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้เลย
ทางกรมมหรศพจึงได้ขอร้องให้อาจารย์ผู้นี้มาช่วยดำเนินการสอนและให้สั่งซื้อเครื่องดนตรีมาครบชุดเป็นวงดุริยางค์แบบมัธย (Medium Orchestra) ในเมื่อเครื่องดนตรีเหล่านี้ได้รับมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ผู้นี้ได้เริ่มทำการสอน แต่ก็ยังอาศัยนักดสตรีของวงปี่พาทย์เช่นเดิม ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าทางการมิได้ดำริห์จะผลิตเด็กให้เป็นนักดนตรีใหม่ ถึงอย่างไรก็ตามอาจารย์ผู้นี้ได้ปรับปรุงกิจกรรมต่างๆด้วยความมานะและความพากเพียรอย่างยิ่งตลอดมา และได้เรียบเรียงบทเพลงขึ้นให้เป็นพิเศษเพื่อให้นักดนตรีออกทำการบรรเลงเพลงเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆได้บ้างพอสมควร อาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องนี้เป็นชาวอิตาเลียน มาครั้งแรกก็พูดภาษาไทยไม่ได้ ส่วนนักดนตรีที่อยู่ในการควบคุมของท่านก็พูดภาษาต่างประเทศไม่ได้ การสอนจึงดำเนินไปตามวิธีที่ต้องอาศัยล่ามคอยแปลความประสงค์ของผู้ประสาสน์วิชาอยู่เป็นเนืองนิจซึ่งทำให้ท่านผู้รับการสอนหนักใจอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าหากได้ล่ามที่ไร้ความรู้ในทางวิชาการดนตรี ก็เห็นจะหมดหวังที่จะทำการสอนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแต่เคราะห์ดีที่ล่ามผู้นี้แม้จะเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยสามารถผูดภาษาฝรั่งเศสได้และมีความรู้ในทางวิชาการดนตรีอยู่บ้าง เพราะเคยเป็นนักเรียนมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
พ.ศ. ๒๔๕๗   ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔) สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ปะทุขึ้นในภาคพื้นยุโรป อาจารย์ซึ่งเป็นชาวอิตาเลียนถูกเรียกระดม จำต้องสละหน้าที่กลับไปรับใช้ประเทศชาติของตน ต่อมาวงดนตรีของวงมหรศพก็เกิด
พ.ศ. ๒๔๕๘      กระส่ำกระสายขึ้นเพราะขาดครูคงเหลืออยู่แต่ล่ามซึ่งต้องรับมอบหมายหน้าที่แทน ท่านผู้นี้แม้รับราชการทหารอยู่ก็ตามได้พยายามประคับประคองวงดนตรีของกรมมหรศพเรื่อยๆ แต่ก็มิได้กระทำให้ดนตรีวงนี้ดีขึ้นเลย เพราะต้องขวักไขว่งานทั้ง ๒ ทาง ดนตรีวงนี้จึงค่อยๆทรุดโทรมลงไปเป็นลำดับ ถึงกลับตามที่ข้าพเจ้าได้ทราบมาในภายหลังว่าทางกรมมหรศพได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระกรุณาธิคุณให้ทรงพระบรมราชานุญาติเลิกล้มดนตรีวงนี้เสียและส่งเครื่องดนตรีต่างๆที่มีอยู่ไปให้แก่กองทัพบกใช้ราชการต่อไป แต่พระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ ได้รับสั่งว่า ยังทรงเสียดายในการยุบวงดนตรีวงนี้อยู่ เพราะได้ลงทุนในการสร้าง
พ.ศ. ๒๔๖๐   ถ้าหากหาครูในประเทศมาได้ก็ยังพอมีหวังกอบกู้ให้เจริญขึ้นมาได้โดยทรงพระราชดำริห์กล่าวขวัญถึงข้าพเจ้าว่า หากได้บุตรชายของครูแตรฝรั่งคนเก่าของกองทัพบก ซึ่งรับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวงมาก็อาจแก้ไขดนตรีวงนี้ให้ดีขึ้นได้ เพราะครูแตรวงผู้นี้ท่นทรงรู้จักดีในขณะที่พระองค์ทรงดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกเมื่อครั้งทรงเป็นพระยุพราชเจ้าในรัชกาลที่ ๕ การที่ได้ทรงพระราชดำริห์ดช่นนี้ ข้าพเจ้ารับทราบเรื่องราวนี้ก็โยที่ผู้ได้รับมอบหมายมาทาบทามข้าพเจ้าในเมื่อท่านผู้นี้ได้มาทาบทามข้าพเจ้าอยู่นั้นข้าพเจ้าลังเลใจอยู่ด้วยเหตุว่าได้รำลึกถึงคำกล่าวขวัญบิดาของข้าพเจ้ายึดถือและอาศัยวิชาการดนตรีซึ่งท่านได้ให้ไว้นั้นมาเป็นอาชีพเป็นอันขาด ทั้งนี้ก็เพราะด้วยเหตุว่าได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ที่ได้มาเยี่ยมเยียนบิดาของข้าพเจ้าในระหว่างเวลาที่ท่านกำลังป่วยหนักและได้เคยทาบทามอยู่เนืองๆ ร้องขอให้บิดาของข้าพเจ้ายิยอมอนุญาติให้ข้าพเจ้าได้ลาออกจากราชการกรมรถไฟหลวงมารับหน้าที่แทนบิดาข้าพเจ้าในหน้าที่ครูแตรวงกองทัพบก แต่บิดาของข้าเจ้าได้ตอบปฎิเสธเขาไปทุกครั้ง อันที่จริงในเรื่องของนักดนตรีและครูดนตรีในประเทศเรานี้ บิดาข้าพเจ้าได้ปรารถกับข้าพเจ้าอยู่เสมอๆว่า  “…คนไทยเราไม่ใคร่สนใจในศิลปการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่นๆ สนุกๆ ไปชั่วคราวเท่านั้นแล้วก็ทอดทิ้งไป... ข้าพเจ้าจึงเกรงไปว่าหากข้าพเจ้ารับหน้าที่นี้แล้ว ข้ะเจ้าไม้อาจประจำอยู่ได้นานไม่เหมือนการทำราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวงที่แน่นอนกว่า แต่ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้รับคำชี้แจ้งจากผู้มาทาบทามนั้นว่าเป็นพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้ข้าพเจ้าย้ายมา ข้ะเจ้าไม่มีหนทางจะปฎิเสธได้จึงจำใจต้องลาออกจากราชการกรมรถไฟหลวงเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ มารับราชการทางกรมมหรศพตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน คือในวันรุ่งขึ้น
                                 ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ได้สิ้นสุดลงแล้วอาจารย์ดนตรีชางอิตาเลียนของกองแตรวงกองทัพบกกลับเข้ามารับราชการตามเดิม ในคราวที่กลับมาครั้งนี้ ราว พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๐) ท่านได้เริ่มทำการปรับปรุงวงดุริยางค์ขึ้นวงหนึ่งที่กรมทหารม้า รัยกว่า วงดุริยางค์ทหารม้ารวม ท่านได้พยายามฝึกสอนนักดนตรีอย่างขมักเขม้นถึงกับได้นำวงดุริยางค์นี้ออกประกอบการแสดง Opera ที่สวนมิสกวัน, Opera ที่แสดงนี้คือเรื่อง “Cavalleria Rusticana” ของ Mascagni ซึ่งเปิดการแสดงขึ้นโดยอาศัยตัวละครแต่ชาวต่างประเทศที่สมัครเล่นเข้ามาร่วมการแสดง นับว่าเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทยที่มีการแสดง Opera ขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับวงดนตรีที่ใชประกอบการแสดงนั้นอาจารย์ชาวอิตาเลียนนี้ได้ใช้วงดุริยางค์ทการม้ารวมมาสมทบกันกับนักดนตรีของวงดนตรีฝรั่งหลวงกรมมหรสพ ซึ่งยังแสดงผลให้เห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ มา เมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาศเข้าควบคุมวงดนตรีฝรั่งหลวงเพียง ๓ หรือ ๓ ปีเท่านั้นก็สามารถผลิตนักดนตรีขึ้นมาได้ทันความต้องการของอาจารย์ผู้นี้ การฝึกซ้อม Opera เรื่องที่ได้กล่าวนั้นใช้เวลาทำการฝึกซ้อมประมาณเวลา ๑ ปี
พ.ศ. ๒๔๖๑   ส่วนบทเพลงที่ใช้ประกอบด้วย Opera นั้น อาจารย์ผู้นี้ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นพิเศษเพื่อให้ปฏิบัติได้ง่ายๆเหมาะสมแก่นักดนตรีที่ยังมีฝีมืออ่อนอยู่
พ.ศ. ๒๔๖๓   และตัวละครที่มิได้เป็นตัวละครอาชีพ ต่อมาอีกไม่นานอาจารย์ผู้นี้ได้ถึง
แก่กรรมไนกรุงเทพฯ


วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมดนตรีกลุ่มสาระดนตรี สาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)ปีการศึกษา 2560


กิจกรรมดนตรีกลุ่มสาระดนตรี สาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)ปีการศึกษา 2560
1.    
                                                                    การประกวดวงดนตรีบทเพลงรักแห่งแผ่นดิน 


                                     


1.      สัมมนาวิชาการ โดย Gmm Vocal Music School “สอนน้องร้องค้นหาตัวตน”



                 


    สัมมนาทางวิชาการ Piano Master Class โดยโครงการร่วมมือกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  โดยศิลปินนานาชาติ ระดับโลก

                 

      งานแสดงโขน และดนตรีเฉลิมพระเกียรติ โครงการร่วมมือกับสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ
แสดง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย



                               



    คณาจารย์จากประเทศภูฐาน ศึกษาดูงานกลุ่มสาระดนตรี

             

            

การสอบการแสดง Recital เป็นการสอบรายวิชาทักษะดนตรี 
          เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปีการศึกษา

           



      วันวิชาการและสายสัมพันธ์ ประจำปีการศึกษา ฐานกิจกรรมดนตรีเซียนโอเกะ

          


   โครงการร่วมมือการจัดการแข่งขัน CGO Guitar Compection 2018 
            และการแสดง Japan Youth Guitar Ensemble in Thailand


         

คณาจารย์ประจำกลุ่มสาระดนตรี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
        ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ประจำปีการศึกษา 2560

         



บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยากร)


ประวัติการศึกษาวิชาการดนตรี
            ในระยะเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนอัสสัมชัญด้งได้กล่าวแล้วนั้นทางบ้านข้าพเจ้าก็ได้เริ่มทำการศึกษาวิชาการดนตรีจากบิดาของข้าพเจ้า ทั้งนี้พร้อมทั้งพี่ชายอีก ๒ คน ซึ่งบัดนี้ได้ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว การศึกษาวิชาการดนตรีข้าพเจ้าได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๖  (ค.ศ. ๑๘๙๒) เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๐ ปี ในขั้นแรกได้ฝึกหัดการปฏิบัติซอ Violin ขนาด ๓/๔ (ส่วนพี่ชายทั้ง ๒ นั้นได้ฝึกหัดมาก่อนหน้าข้าพเจ้าประมาณ ๓ ปี) ช้าพเจ้าได้ฝึกหัดซอ Violin นี้มาได้ประมาณ ๓ ปี ครั้นเมื่อมีอายุมากขึ้นนิ้วก้านยาวขึ้นข้าพเจ้าก็เริ่มฝึกหัดและยึดซอ Cello เป็นเครื่องดนตรีประจำกายต่อไป
            การฝึกฝนเครื่องดนตรีนี้ข้าพเจ้าต้องฝึกฝนอย่างเคร่งเครียดที่สุด คือทุกๆวันภายหลังที่กลับมาจากโรงเรียนแล้วต้องฝึกหัดตั้งแต่ ๑๗.๐๐ ๑๘.๐๐ น. หรือ ถึง ๑๙.๐๐ น. ส่วนวันพฤหัสและวันหยุดซึ่งเป็นวันหยุดเรียนก็ต้องฝึกตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ ๑๖.๐๐ น.ส่วนกาบ้านที่ทางโรงเรียนให้มานั้น ข้าพเจ้าต้องเลื่อนเวลาไปทำในระหว่างเวลา ๒๐.๐๐ ๒๑.๐๐ น. หรือถ้าทำไม่เสร็จก็ต้องไปทำต่อในเวลาเช้า วันรุ่งขึ้นก่อนไปโรงเรียนซึ่งมีกำหนดเข้าในเวลา ๑๙.๐๐ น. วันหยุดทำกานฝึกหัดไม่ใคร่มีเลย นอกจากการเจ็บป่วยหรือเทศกาลตรุษฝรั่ง (Christmas) และวันขึ้นปีใหม่สองสามวันเท่านั้น
            เวลาล่วงไปในการฝึกฝนด้วยความเคร่งเครีดนี้ ภายหลังเมื่อข้าพเจ้าเติบโตขึ้นก็มีความสามารถในการปฏิบัติซอ Cello ได้ดีพอใช้และได้เข้าร่วมการบรรเลง Chamber Music กับพี่ชายทั้งสองของข้าพเจ้าเป็นวง Trio (Violin I, Violin II& Cello) โดยใช้บทเพลงซึ่งบิดาจัดซื้อมาเ)นจำนวนมากจากทุกๆแห่งที่มีเพลงประเภทนี้จำหน่าย จนแทบจะกล่าวได้ว่า เพลงประเภมนี้เกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกแห่งการดนตรี เช่น ของ Wanhal, Mazas} de Beriot, Dancla, Viotti, Mozart, Beethoven, Schubert, Bruni,Corelli
ก็มีไว้พรักพร้อม  ส่วนบทเพลง  Classic  เบ็ดเตล็ดที่เรียบเรียงขึ้นเป็น  Transcription
สำหรับใช้กับวงดนตรีประเภทนี้ก็มีไว่ไม่น้อยเหมือนกัน  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบิดาข้าพเจ้ามุ่งหมายที่จะให้เราทั้งสามคนมีจิตใจรักและนิยมบทเพลงในชั้น  Classic  ทั้งสิ้น  ต่อมาเมื่อข้าพเจ้ามีอายุได้ประมาณ   ๑๗  ปี  ได้รับการฝึกหัด  Piano  อีกอย่างหนึ่งด้วย
            เมื่อข้าพเจ้าออกจากโรงเรียนแล้วและข้าพเจ้าได้มารับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวง  ข้าพเจ้ายึดมั่นในการศึกษาวิชาดนตรีที่ได้รับจากบิดาทำให้เกิดความสนใจในวิชานี้ยิ่งขึ้น  และพยายามทุก ๆ วิถีทางมี่จะเพิ่มพูลความรู้ให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยการศึกษาค้นคว้าต่อไปด้วยตนเอง  เมื่อมีโอกาสข้าพเจ้าก็เข้าสมทบกับนักดนตรีสมัครเล่นกับชาวต่างประเทศร่วมวงกันบรรเลงแพลง  String , Quastet , String  Quintet  หรือ  Piano Trio ,Piano  Quartet  หรือ  Piano  Quintet  เสมอ  ในการร่วมกันบรรเลงนี้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฎิบัติซอ  Cello  และในระยะเวลาต่อมา  ข้าพเจ้าก็ได้เข้าสมทบด้วยการปฎิบัติซอ  Viola  ด้วย  เพราะในหมู่ชาวต่างประเทศไม่ใคร่มีผู้ใดสามารถปฎิบัติซอที่กล่าวนี้ใด้
            ด้วยความสนใจอย่างแท้จริงที่ต้องการแสวงหาความรู้วิชาการดนตรีให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น  ข้าพเจ้าก็ได้แสวงหาปี่  Clarinet  และสั่งซื้อขลุ่ย  Flute  และแตร  Slide  Trombone  มาฝึกหัดอีกด้วย  และในบางโอกาสที่มีเพื่อนนักดนตรีสมัครเล่นด้วยกันจัคตั้งวงดนตรีย่อย ๆขึ้น  ข้าพเจ้าก็เข้าร่วมวงปฎิบัติซอ  Bass  อีกอย่างหนึ่ง  การค้นคว้าและการศึกษาของข้าพเจ้าดังกล่าวแล้วนี้ก็พอจะสังเกตุเห็นได้ว่า  ข้าพเจ้าพยายามหาทางเรียนรู้เครื่องดนตรีสำคัญ ๆต่าง ๆ  ที่ใช้อยู่ในวงดุริยางค์  (Orchestra)  ซึ่งในขณะนั้นข้าพเจ้ามิได้นึกฝันเลยว่าสักวันหนึ่งในอนาคตข้าพเจ้าจะต้องยึดเอาการดนตรีเป็นอาชีพในการดำรงชีวิต
            ในด้านการศึกษาทางทฤษฎีนั้น  ข้าพเจ้าก็ได้สั่งซื้อตำราวิชาการเรียนดนตรีต่าง ๆมาศึกษาเล่าเรียนโยตนเองด้วยความพยายามตลอดมา  ตำราเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตำราทางวิชาการดนตรีทั้งสิ้น  ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเพื่อเทียบเคียงกัน  เช่น  ตำราทฤษฎีดริยางค์ศาสตร์ตอนต้น  (Rudiments  of  Music)  สรุปหลักวิชาเบื้องต้น  (Elements  of   Music)  ตำราการประสานเสียง  (Harmony)  ตำราการประพันธ์เพลง  (Composition)  ตำราว่าด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดุริยางค์  (Orchstra)  ในวงโยธวาฑิต  (Military  Band)  ตำราการแยกแนวเพลง  (Orchestration)  ประวัติการดนตรี  (Musical  History  and  Biography)  หลักวิชาการประพันธ์เพลง  (Musical  Forms)  และตำราว่าด้วยการอำนวยเพลง  (Art of   Conducting)  ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าต้องมายึดเอาการดนตรีเป็นอาชีพแล้วก็ได้พยายามหาทางที่จะถ่ายเทวิชานี้ให้กับชาวไทยที่สนใจจึงได้เรียบเรียงตำราวิชาดนตรีขึ้นเป็นภาษาไทยไว้หลายอย่าง  ซึ่งล้วนเป็นตำราในทางทฤษฎีทั้งสิ้น  คือ
๑.     แบบเรียนตอนต้นของการดนตรีและการขับร้องสำหรับใช้ในโรงเรียนสามัญ
๒.     ทฤษฎีการดนตรีตอนต้น (Rudiments of Music)
๓.     แบบฝึกหัดบันทึกตัวโน๊ตเพลงประกอบกับทฤษฎีการดนตรี
๔.     คำถามในทฤษฎีการดนตรีตอนต้น
๕.     คำตอบในทฤษฎีการดนตรีตอนต้น
๖.     คู่มือสรุปทฤษฎีการดนตรีเบื้องต้น (เป็นชั้นเตรียมการศึกษาวิชาการประสานเสียง)
๗.     การประสานเสียงเบื้องต้น (Harmony) ๓ เล่มจบ
๘.     ตำราการประสานเสียง (Harmony) ๓ เล่มจบ
๙.     เฉลยปัญหาในการประสานเสียง
๑๐.ทฤษฎีการดนตรี (Theory of Music)


วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์(ปิติ วาทยะกร)


บันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์
( ปิติ วาทยะกร )

ชีวประวัติของข้าพเจ้า
        บิดาของข้าพเจ้าชื่อ Jacob Feit เป็นชาวอเมริกัน เชื่อชาติเยอรมัน มารดาของข้าพเจ้าเป็นไทย
บิดาเกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๔ (ค.ศ. ๑๘๔๔) ที่เมือง Trier ( Treves ) ในประเทศเยอรมนี แต่ถายหลังสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุประมาณ ๑๙ ปีแล้วครอบครัวได้อพยบจากประเทศเยอรมนีไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ในสหรัฐอเมริกา และในคราวสงครามกลางเมืองที่สหรัฐอเมริกา
Civil War 1860 – 1864 สมัยที่ Abraham Lincoln เป็นประธานาธิบดีนั้นก็ได้เข้ารับราชการทหารฝ่ายเหนือในกองทัพสหรัฐอเมริกาผ่านศึกกลางเมืองด้วย
        ในราวปี พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. ๑๘๖๗) เมื่อสิ้นสงครามแล้วท่านได้เข้ามายังประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยวคนหนึ่งตามวิสัยชายหนุ่ม เมื่อได้มาพักในกรุงเทพฯชั่วเวลาหนึ่งแล้วท่านก็ได้รับคำเชื้อเชิญจากกงสุลอเมริกา (หมอจุนดเล S. Chandler) โดยกระแสรับสั่งให้เข้ารับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของสมเด็จพระยัณฑูรกรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ (วังหน้า) เมื่อสิ้นสมัยดังกล่าวนี้แล้วได้ถูกย้ายมาประจำเป็นครุแตรวงทหารบกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตลอดจนมาถึงวันที่ท่านถึงแก่มรรณะกรรมลง คือเมื่อวันที่  ๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙) รวมอายุได้ ๖๕ ปีเศษ ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก
        มารดาของข้าพเจ้าชื่อ ทองอยู่ วาทยะกร เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ และถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ รวมอายุได้ ๙๓ ปี (เป็นธิดานายปุ๊, นางเม้า เชื้อชาติรามัญบังคับไทย)
        ข้าพเจ้าเกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแม เวลาย่ำรุ่ง ที่บ้านญาติของมารดาตำบลบ้านทวาย ใกล้หัวถนนเวลานี้ เมื่อข้าพเจ้ามารดาได้พามารวมอยู่กับบิดาที่แพ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งเหนือปากคลองหลอด
        ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ. ๑๘๙๐) ข้าพเจ้ารับการศึกษาวิชาสามัญที่โรวเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) ในชั้นต้นเข้าเรียนภาษาฝรั่งเศสจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ (ค.ศ. ๑๘๙๘)จบหลักสูตรในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. ๑๘๙๙) ได้เข้าศึกษาภาษอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) รวมเวลาที่ข้าพเจ้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนแห่งนี้ได้ ๑๑ ปี บริบูรณ์
        ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. ๑๙๐๓) ข้าพเจ้าออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญโดยมีหนังสือรับรองของท่านอธิการบดีโรวเรยีนนี้นำฝากเพื่อเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง แผนกกองเดินรถ (Traffic Department) และต่อมาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๓) รวมเวลารับราชการในกรทนี้ได้ ๑๔ ปั กับ ๘ เดือน
        ต่อจากนั้นเป็นสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณษโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายข้าพเจ้าจากกรมรถไฟหลวงมารับราชการในกรมมหรศพ ในวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗) ประจำตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดกรม กองเครื่องสายฝรั่งหลวง มีหน้าที่ฝึกฝนอบรมนักดนตรี ทางการปฏิบัติเครื่องดนตรีสำหรับวงดนตรีฝรั่งหลวงแห่งพระราชสำนัก ต่อจากนั้นมาอีกประมาณ ๑ เดือนเศษ ข้าพเจ้าก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงเจนดุริยางค์ ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
(ค.ศ. ๑๙๑๗)
        วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๐) ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นปลักกรม กองดนตรีฝรั่งหลวงและในวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๒) ก็ได้รับพระราชทานสัญญษบัตรเป็น พระเจรดุริยางค์