วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทะยากร)


ประวัติการศึกษาวิชาการดนตรี
            ในระยะเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนอัสสัมชัญด้งได้กล่าวแล้วนั้นทางบ้านข้าพเจ้าก็ได้เริ่มทำการศึกษาวิชาการดนตรีจากบิดาของข้าพเจ้า ทั้งนี้พร้อมทั้งพี่ชายอีก ๒ คน ซึ่งบัดนี้ได้ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว การศึกษาวิชาการดนตรีข้าพเจ้าได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๖  (ค.ศ. ๑๘๙๒) เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๐ ปี ในขั้นแรกได้ฝึกหัดการปฏิบัติซอ Violin ขนาด ๓/๔ (ส่วนพี่ชายทั้ง ๒ นั้นได้ฝึกหัดมาก่อนหน้าข้าพเจ้าประมาณ ๓ ปี) ช้าพเจ้าได้ฝึกหัดซอ Violin นี้มาได้ประมาณ ๓ ปี ครั้นเมื่อมีอายุมากขึ้นนิ้วก้านยาวขึ้นข้าพเจ้าก็เริ่มฝึกหัดและยึดซอ Cello เป็นเครื่องดนตรีประจำกายต่อไป
            การฝึกฝนเครื่องดนตรีนี้ข้าพเจ้าต้องฝึกฝนอย่างเคร่งเครียดที่สุด คือทุกๆวันภายหลังที่กลับมาจากโรงเรียนแล้วต้องฝึกหัดตั้งแต่ ๑๗.๐๐ ๑๘.๐๐ น. หรือ ถึง ๑๙.๐๐ น. ส่วนวันพฤหัสและวันหยุดซึ่งเป็นวันหยุดเรียนก็ต้องฝึกตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ ๑๖.๐๐ น.ส่วนกาบ้านที่ทางโรงเรียนให้มานั้น ข้าพเจ้าต้องเลื่อนเวลาไปทำในระหว่างเวลา ๒๐.๐๐ ๒๑.๐๐ น. หรือถ้าทำไม่เสร็จก็ต้องไปทำต่อในเวลาเช้า วันรุ่งขึ้นก่อนไปโรงเรียนซึ่งมีกำหนดเข้าในเวลา ๑๙.๐๐ น. วันหยุดทำกานฝึกหัดไม่ใคร่มีเลย นอกจากการเจ็บป่วยหรือเทศกาลตรุษฝรั่ง (Christmas) และวันขึ้นปีใหม่สองสามวันเท่านั้น
            เวลาล่วงไปในการฝึกฝนด้วยความเคร่งเครีดนี้ ภายหลังเมื่อข้าพเจ้าเติบโตขึ้นก็มีความสามารถในการปฏิบัติซอ Cello ได้ดีพอใช้และได้เข้าร่วมการบรรเลง Chamber Music กับพี่ชายทั้งสองของข้าพเจ้าเป็นวง Trio (Violin I, Violin II& Cello) โดยใช้บทเพลงซึ่งบิดาจัดซื้อมาเ)นจำนวนมากจากทุกๆแห่งที่มีเพลงประเภทนี้จำหน่าย จนแทบจะกล่าวได้ว่า เพลงประเภมนี้เกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกแห่งการดนตรี เช่น ของ Wanhal, Mazas} de Beriot, Dancla, Viotti, Mozart, Beethoven, Schubert, Bruni,Corelli
ก็มีไว้พรักพร้อม  ส่วนบทเพลง  Classic  เบ็ดเตล็ดที่เรียบเรียงขึ้นเป็น  Transcription
สำหรับใช้กับวงดนตรีประเภทนี้ก็มีไว่ไม่น้อยเหมือนกัน  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบิดาข้าพเจ้ามุ่งหมายที่จะให้เราทั้งสามคนมีจิตใจรักและนิยมบทเพลงในชั้น  Classic  ทั้งสิ้น  ต่อมาเมื่อข้าพเจ้ามีอายุได้ประมาณ   ๑๗  ปี  ได้รับการฝึกหัด  Piano  อีกอย่างหนึ่งด้วย
            เมื่อข้าพเจ้าออกจากโรงเรียนแล้วและข้าพเจ้าได้มารับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวง  ข้าพเจ้ายึดมั่นในการศึกษาวิชาดนตรีที่ได้รับจากบิดาทำให้เกิดความสนใจในวิชานี้ยิ่งขึ้น  และพยายามทุก ๆ วิถีทางมี่จะเพิ่มพูลความรู้ให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยการศึกษาค้นคว้าต่อไปด้วยตนเอง  เมื่อมีโอกาสข้าพเจ้าก็เข้าสมทบกับนักดนตรีสมัครเล่นกับชาวต่างประเทศร่วมวงกันบรรเลงแพลง  String , Quastet , String  Quintet  หรือ  Piano Trio ,Piano  Quartet  หรือ  Piano  Quintet  เสมอ  ในการร่วมกันบรรเลงนี้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฎิบัติซอ  Cello  และในระยะเวลาต่อมา  ข้าพเจ้าก็ได้เข้าสมทบด้วยการปฎิบัติซอ  Viola  ด้วย  เพราะในหมู่ชาวต่างประเทศไม่ใคร่มีผู้ใดสามารถปฎิบัติซอที่กล่าวนี้ใด้
            ด้วยความสนใจอย่างแท้จริงที่ต้องการแสวงหาความรู้วิชาการดนตรีให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น  ข้าพเจ้าก็ได้แสวงหาปี่  Clarinet  และสั่งซื้อขลุ่ย  Flute  และแตร  Slide  Trombone  มาฝึกหัดอีกด้วย  และในบางโอกาสที่มีเพื่อนนักดนตรีสมัครเล่นด้วยกันจัคตั้งวงดนตรีย่อย ๆขึ้น  ข้าพเจ้าก็เข้าร่วมวงปฎิบัติซอ  Bass  อีกอย่างหนึ่ง  การค้นคว้าและการศึกษาของข้าพเจ้าดังกล่าวแล้วนี้ก็พอจะสังเกตุเห็นได้ว่า  ข้าพเจ้าพยายามหาทางเรียนรู้เครื่องดนตรีสำคัญ ๆต่าง ๆ  ที่ใช้อยู่ในวงดุริยางค์  (Orchestra)  ซึ่งในขณะนั้นข้าพเจ้ามิได้นึกฝันเลยว่าสักวันหนึ่งในอนาคตข้าพเจ้าจะต้องยึดเอาการดนตรีเป็นอาชีพในการดำรงชีวิต
            ในด้านการศึกษาทางทฤษฎีนั้น  ข้าพเจ้าก็ได้สั่งซื้อตำราวิชาการเรียนดนตรีต่าง ๆมาศึกษาเล่าเรียนโยตนเองด้วยความพยายามตลอดมา  ตำราเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตำราทางวิชาการดนตรีทั้งสิ้น  ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเพื่อเทียบเคียงกัน  เช่น  ตำราทฤษฎีดริยางค์ศาสตร์ตอนต้น  (Rudiments  of  Music)  สรุปหลักวิชาเบื้องต้น  (Elements  of   Music)  ตำราการประสานเสียง  (Harmony)  ตำราการประพันธ์เพลง  (Composition)  ตำราว่าด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดุริยางค์  (Orchstra)  ในวงโยธวาฑิต  (Military  Band)  ตำราการแยกแนวเพลง  (Orchestration)  ประวัติการดนตรี  (Musical  History  and  Biography)  หลักวิชาการประพันธ์เพลง  (Musical  Forms)  และตำราว่าด้วยการอำนวยเพลง  (Art of   Conducting)  ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าต้องมายึดเอาการดนตรีเป็นอาชีพแล้วก็ได้พยายามหาทางที่จะถ่ายเทวิชานี้ให้กับชาวไทยที่สนใจจึงได้เรียบเรียงตำราวิชาดนตรีขึ้นเป็นภาษาไทยไว้หลายอย่าง  ซึ่งล้วนเป็นตำราในทางทฤษฎีทั้งสิ้น  คือ
๑.     แบบเรียนตอนต้นของการดนตรีและการขับร้องสำหรับใช้ในโรงเรียนสามัญ
๒.     ทฤษฎีการดนตรีตอนต้น (Rudiments of Music)
๓.     แบบฝึกหัดบันทึกตัวโน๊ตเพลงประกอบกับทฤษฎีการดนตรี
๔.     คำถามในทฤษฎีการดนตรีตอนต้น
๕.     คำตอบในทฤษฎีการดนตรีตอนต้น
๖.     คู่มือสรุปทฤษฎีการดนตรีเบื้องต้น (เป็นชั้นเตรียมการศึกษาวิชาการประสานเสียง)
๗.     การประสานเสียงเบื้องต้น (Harmony) ๓ เล่มจบ
๘.     ตำราการประสานเสียง (Harmony) ๓ เล่มจบ
๙.     เฉลยปัญหาในการประสานเสียง
๑๐.ทฤษฎีการดนตรี (Theory of Music)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น