วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

the anjein ensemble (chamber music)

The Anjein Ensemble
วงดนตรีขนาดเล็ก (Chamber Music)

            วงดนตรีขนาดเล็กของพม่าประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลักในวงคือ ซองเกาะ ปัตตาหล้า มีเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบพิณพม่านั้นสามารถเล่นได้มากกว่า 2 สายโน้ตในเวลาเดียวกัน เหมือนกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ ของพม่า ระบบเสียงของเครื่องดนตรีและแนวทางการดำเนินทำนองของดนตรีพม่าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดนตรีพม่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตน
            เครื่องดนตรีในวงประกอบด้วย
1.         ซองเกาะ
2.         ปัตตาหล้า
3.         มี่ ก๊วง
4.         กาโจ (ไวโอลินพม่า คล้ายซอสามสายของไทย)
5.         นจิน
6.         อังกาลัย
(เครื่องดนตรีลำดับที่ 5 และ 6 ได้สูญหายไปแล้วในระหว่างยุคสมัยอาณานิคมอังกฤษ)

ปัตตาหล่า Patala
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองมีโครงสร้างคล้ายระนาดเอกของไทย แต่ขนาดใหญ่กว่าบางรางมีทรงที่โค้งมาก และโขนสองข้างอยู่ในระดับสูง รางนิยมใช้ไม้สัก ส่วนลูกระนาดเป็นไม้ไผ่มี 24 ลูก หนาประมาณ 0.5 ซม. เรียงจากเสียงต่ำไปเสียงสูง  จากซ้ายไปขวาลูกระนาดยาวตั้งแต่ 48-22 ซม. ลูกยาวกว่าเสียงจะต่ำกว่าระนาดอาจตกแต่งประดับประดาให้หรูหราด้วยการแกะสลัก ปิดทอง ฝังเพชรพลอย
ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ไทยเที่ยวพม่า” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าเกี่ยวกับระนาดปัตตาล่าที่ทรงเล่นดังนี้ “ระนาดที่เรียกว่าปัตตาล่าเสียงก็คล้ายคลึงกับของเรา ไม้ตีสั้น ๆ รูปร่างคล้ายไม้ฆ้อง แต่เล็กกว่า วิธีตีก็ไม่เหมือนเราตีระนาด คล้าย ๆ กับตีระนาดทุ้ม เวลาจะตีระนาดพม่าต้องนั่งม้านั่งตี เพราะรางสูง นั่งกับพื้นตีไม่ถึง ผืนระนาดบางกว่าระนาดเราโดยทั่วไป ที่ต่างกับของเราอีกอย่างคือ ของเขาไม่ต้องถ่วง เหลาระนาดเป็นเสียงที่ใช้ได้เลย เสียงก็เหมือนกับระนาดไทย”






ดนตรีอาเซี่ยน ประเทศสหภาพพม่า

สหภาพพม่า (Union of Myanmar)


Pyi-daung-zu Myan-ma
Naing-ngan-daw
ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ

ธงชาติสหภาพพม่า
            พื้นธงชาติสีแดง พื้นทีสี่เหลี่ยมมุมบนซ้ายสีน้ำเงิน ด้านในมีรูปรวงข้าวและเฟืองเล็ก ๆ
รายล้อมด้วยดวงดาวสีขาวแบบเดียวกัน14 ดวง
ความหมาย
รวงข้าว เปรียบเสมือน ชาวไร่ชาวนา
ฟันเฟือง คือกลุ่มคนใช้แรงงาน มาจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นทั้งกลุ่มชาวไร่ชาวนาและกลุ่มแรงงาน
ดวงดาว 14 ดวง เป็นสัญลักษณ์แทนความเท่าเทียมกันในสถานภาพแห่งรัฐทั้ง 14 รัฐ เพื่อการจัดตั้งเป็นสหภาพพม่า
สีขาว คือ สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์
สีแดง คือ สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญและความซื่อตรงของผู้คน
สีน้ำเงิน คือ สัญลักษณ์ของสันติภาพและความเสถียรภาพของประเทศ
            ประเทศสหภาพพม่าได้รับการเรียกขนานนามว่า “The Golden Land ” หรือ “ดินแดนแห่งทองคำ”
เพราะว่าสามารถพบทองอยู่ทุกหนทุกแห่งในประเทศสหภาพพม่า เช่น เจดีย์  วัดวาอาราม ข้าวของเครื่องใช้ของเจ้านายชั้นสูง เป็นต้น

สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ตั้งอยู่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านทิศเหนือติดทิเบตและแคว้นยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านทิศใต้ติดประเทศไทย และด้านทิศตะวันตกติดอินเดีย บังคลาเทศ ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล ด้านทิศตะวันออกติดแคว้นยูนานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ลาว และประเทศไทย เมืองหลวงชื่อ เนปีดอ (Naypyidaw) ประกอบไปด้วยประชากร 135 เชื้อชาติ เป็นเชื้อชาติพม่าร้อยละ 69 ที่เหลือร้อยละ 31 ได้แก่ ฉาน กระเหรี่ยง คะฉิ่น ชิน และยะไข่ ภาษาที่ใช้ร้อยละ 85 ใช้ภาษาพม่า นอกนั้นร้อยละ 15 พูดภาษา กระเหรี่ยง มอญ จีนกลาง ภาษาราชการคือภาษาพม่า และอังกฤษ ประชากรร้อยละ 89.5 นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 4 ฮินดูร้อยละ 4 และคริสเตียนร้อยละ 2 ใช้สกุลเงิน จ๊าด (Kyat) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ป่าไม้ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สัตว์น้ำ อัญมณี สินแร่

ระบบการปกครองเป็นแบบ เผด็จการทหารโดยมีสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council : SPDC) เป็นองค์กรปกครองสูงสุด แบ่งเขตการปกครองภูมิภาคออกเป็น 7 ภาค

1.เมืองสำคัญ

เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า: ) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ย่างกุ้ง
ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มทางตอนใต้ของแนวเขา Pegu Yoma    ที่อยู่ระหว่างภาคอิระวดีและปากแม่น้ำซิตแตง (Sittang) เป็นเมืองมีขนาดใหญ่ที่สุดในพม่า มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายพม่า และมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่จำนวนมาก ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชาวอินเดียอาศัยอยู่ แต่ส่วนมากได้ย้ายออกไปตั้งแต่รัฐบาลของนายพลเนวินเข้าปกครองประเทศใน ปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962)
สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเมืองย่างกุ้งนั้น ผลผลิตหลักได้แก่อาหาร ไม้ และโลหะ เวชภัณฑ์  สิ่งตีพิมพ์ มีอุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือ มีโรงกลั่นน้ำมัน มีมหาวิทยาลัยทางด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสอนศิลปะ ดนตรี และการแสดง มีพิพิธภัณฑ์ศิลปะและโบราณคดี มีเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์ World peace pagoda เพื่อระลึกถึงการครบรอบการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า 2500 ปี