วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ทฤษฎีเพื่อฝึกปฏิบัติการสอน2 (ครูผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น) ED291

 

ทฤษฏีเพื่อฝึกปฎิบัติการสอน 2(ครูผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น) ED291

 


ทฤษฎีพหุปัญญา 

 

          เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนสายรุ้งที่หลากสี บุคคลจึงมีหลากหลาย   รสนิยม มีความแตกต่างของบุคลิกภาพ ครู พ่อแม่และผู้ปกครองต้องสำเหนียกตระหนักและมองเห็นคุณค่าของความแตกต่างเพื่อการค้นหาให้พบว่า เด็กมีลักษณะการเรียนรู้หรือความสามารถที่จะเรียนรู้ในทางใด เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพและได้ใช้ความสามารถได้สูงสุด

          ดรโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์  (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ดังนี้

          “ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม

          ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา

1.       มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน

2.       จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน

3.       คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้าน

     บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง

4.       ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

5.       ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง

6.       ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง

ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น  8 ด้าน ได้แก่

1.       ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)

3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)

4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)

5.       ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

6.       ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

7.       ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

8.       ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)

บุคคลมีลักษณะการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เป็นการบรรยายลักษณะของบุคคลที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) 

-          มีนิสัยรักการอ่าน ติดหนังสือ ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ดี

-          มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน พูด หรือเขียน  

-          จำชื่อสถานที่ เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี

-          เจ้าบทเจ้ากลอน มีอารมณ์ขัน ตลก ชอบเล่นปริศนา คำทาย

-          ชอบพูดเล่นคำ สำนวน คำผวน คำพ้อง

-          ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำมาเขียนเรื่องราว

-          จัดกิจกรรมให้ได้พูด ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

-          ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น

-          จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่นักเรียนสนใจ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา เป็นต้น

2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)

-          ชอบทดลองแก้ปัญหา สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ เป็นต้น

-          ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล

-          ชอบทำตามสั่ง ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน

-          สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และวิทยาการต่าง ๆ

-          ชอบค้นหาเหตุผลมาหักล้างหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่น

-          เชื่อถือเฉพาะแต่สิ่งที่อธิบายได้ มีเหตุผลเพียงพอ

-          ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          ให้มีโอกาสได้ทดลอง หรือทำอะไรด้วยตนเอง

-          ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์ งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์

-          ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ

-          ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง

-          ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ

-          ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น

3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)

-          ชอบวาดเขียน มีความสามารถทางศิลป

-          ชอบฝันกลางวัน ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด จินตนาการ

-          ชอบวาดภาพ ขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน

-          ชอบอ่านแผนที่ แผนภูมิต่าง ๆ

-          ชอบบันทึกเรื่องราวไว้ในภาพถ่ายหรือภาพวาด

-          ชอบเล่นเกมต่อภาพ (Jigsaw Puzzles) เกมจับผิดภาพ หรือเกมที่เกี่ยวกับภาพ

-          ชอบเรียนวิชาศิลปศึกษา เรขาคณิต พีชคณิต

-          ชอบวาดภาพในลักษณะมุมมองที่แตกต่างออกไปจากธรรมดา

-          ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          ให้ทำงานศิลป งานประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ

-          พาไปชมนิทรรศการศิลป พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

-          ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ

-          จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพให้พร้อม จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้านศิลป

-          ฝึกให้เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา

-          เรียนได้ดีหากได้ใช้จินตนาการ หรือความคิดที่อิสระ ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ การดู การรับรู้ทางตา

-          ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้จินตนาการ

-          ให้เล่นเกมเกี่ยวกับภาพ เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้ดู ให้วาด ให้ระบายสี ให้คิดจินตนาการ

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์ ฯลฯ

4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)

-          ชอบการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง ชอบสัมผัสผู้อื่นเมื่อพูดคุยด้วย

-          เป็นนักกีฬา กระตือรือร้น ชอบเต้นรำ เล่นละคร หรือบทบาทสมมุติ

-          ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าจะให้คนอื่นทำให้ตน

-          ขอบทำมือประกอบท่าทางขณะพูดคุย

-          ชอบพูดคุยเสียงดัง เอะอะตึงตัง ชอบเล่นหกคะเมนตีลังกากับเพื่อน

-          ชอบเล่นเครื่องเล่นที่โลดโผน หวาดเสียว เช่น ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน รถไฟเหาะตีลังกา ฯลฯ

-          ชอบเรียนวิชาพลศึกษา งานประดิษฐ์ ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง

-          ชอบลงมือกระทำจริงมากกว่าการอ่านคู่มือแนะนำหรือดูวิดีโอแนะนำ

-          ชอบคิดหรือใช้ความคิดขณะออกกำลังกาย เดิน วิ่ง

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง

-          สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย

-          จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง

-          ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย

-          ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักแสดง นักกีฬา นาฏกร นักฟ้อนรำ นักประดิษฐ์ นักปั้น ช่างซ่อมรถยนต์ ศัลยแพทย์ เป็นต้น

 


 

5.       ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

-          ชอบร้องรำทำเพลง เล่นดนตรี

-          ชอบเสียงต่าง ๆ ชอบธรรมชาติ

-          แยกแยะเสียงต่าง ๆ ได้ดี รู้จักท่วงทำนอง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้ดี

-          ชอบผิวปาก ฮัมเพลงเบา ๆ ขณะทำงาน

-          มักจะเคาะโต๊ะ หรือขยับเท้าตามจังหวะเมื่อฟังเพลง

-          สามารถจดจำเสียงที่เคยได้ยินแม้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งได้

-          เล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชิ้น

-          มักจะได้ยินเสียงเพลงจากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุก้องอยู่ในหูตลอดเวลา

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          ให้เล่นเครื่องดนตรี ร้องเพลง ฟังเพลงสม่ำเสมอ

-          หาโอกาสดูการแสดงดนตรี หรือฟังดนตรีเป็นประจำ

-          บันทึกเสียงดนตรีที่นักเรียนแสดงไว้ฟังเพื่อปรับปรุงหรือชื่นชมผลงาน

-          ให้ร้องรำทำเพลงร่วมกับเพื่อนหรือคุณครูเสมอ ๆ

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่ปฏิบัติการร้องเพลง การเคาะจังหวะ การฟังเพลง การเล่นดนตรี การวิเคราะห์ดนตรี วิจารณ์ดนตรี เป็นต้น

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง

นักวิจารณ์ดนตรี เป็นต้น

6.       ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

-          ชอบมีเพื่อน ชอบพบปะผู้คนร่วมสังสรรค์กับผู้อื่น

-          ชอบเป็นผู้นำ หรือมีส่วนร่วมในกลุ่ม

-          ชอบแสดงออกให้ผู้อื่นทำตาม ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานหรือประสานงานกับผู้อื่นได้ดี

-          ชอบพูดชักจูงให้ผู้อื่นทำมากกว่าจะลงมือทำด้วยตนเอง

-          เข้าใจผู้อื่นได้ดี สามารถอ่านกิริยาท่าทางของผู้อื่นได้

-          มักจะมีเพื่อนสนิทหลายคน

-          ชอบสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นมากกว่าจะอยู่คนเดียวที่บ้านในวันหยุด

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม ทำงานร่วมกัน

-          ส่งเสริมให้อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน

-          สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-          ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์ บทบาทสมมุติ การเรียนรู้สู่ชุมชน เป็นต้น

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบริหาร ผู้จัดการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ ครู - อาจารย์ เป็นต้น

7.       ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

-          ชอบอยู่ตามลำพังคนเดียวเงียบ ๆ คิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง

-          ติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ มีแรงจูงใจสูง

-          มีอิสระในความคิด รู้ตัวว่าทำอะไร และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ

-          ชอบใช้เวลาว่างในวันหยุดอยู่คนเดียวมากกว่าที่จะออกไปในที่มีคนมาก ๆ

-          เข้าใจตนเอง หมกมุ่นอยู่กับความรู้สึก ความคิดและการแสดงออกของตัวเอง

-          ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าที่จะคอยให้คนอื่นช่วยเหลือ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง

-          สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง นับถือตัวเอง (self esteem)

-          สนับสนุนให้ทำงานเขียน บันทึกประจำวัน หรือทำหนังสือ จุลสาร

-          สนับสนุนให้ทำโครงงาน การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว

-          ให้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน

-          ให้อยู่กับกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง

-          ยุทธศาสตร์การสอนควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ การวางแผนชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล (Individual Study)

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา นักจิตวิทยา  ครู – อาจารย์ เป็นต้น

8.       ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)

-          ชอบสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์

-          สนใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว

-          สนใจความเป็นไปในสังคมรอบตัว ชอบศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ การดำรงชีวิต จิตวิทยา

-          คิดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม

-          เข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างดี รู้จักชื่อต้นไม้ ดอกไม้หลายชนิด

-          ไวต่อความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ

-          สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี

-          มีความรู้เรื่องดวงดาว จักรวาล สนใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ

-          ฝึกปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์

-          ศึกษาสังเกต บันทึกความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ลม ฟ้า อากาศ

-          จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ค่ายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์ นักสำรวจ นักอนุรักษ์ธรรมชาติ นักสิ่งแวดล้อม ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เกษตรกร เป็นต้น

 

          การพัฒนาปัญญาหลายด้านเพื่อการเรียนรู้ มีความสำคัญสำหรับนักเรียน หากมีความเชื่อในเรื่องของ ทฤษฎีพหุปัญญา ศักยภาพของมนุษย์ และการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแล้ว ครูผู้สอนควรตระหนักถึงการพัฒนาคนของชาติให้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และสังคม เพื่อที่จะได้เป็นพื้นฐานในการสร้างครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

          ครูผู้สอนสามารถสำรวจความสามารถทางสติปัญญาหรืออาจจะเรียกว่าความเก่งตามทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนเพื่อสนับสนุนข้อมูลการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านอื่น ๆ ในระเบียนสะสมของคุณครู และเพื่อค้นหาจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุงในตัวของนักเรียนและนำข้อมูลไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาไปได้เต็มตามศักยภาพอันพึงมีของแต่ละคน 

เอกสารอ้างอิง

Accelerated Learning Network. 2001. Test yourself- How are you smart?.

URL: http://www.accelerated-learning.net/learning_test.html.

Multiple Intelligences, 2000. URL: http://www.springfield.k12.il.us/schools/ Graham/MI/ index.html.

 

ทฤษฎีสัจจนิยม (Realism)

สัจนิยมมีความเชื่อว่าผัสสะหรือประสบการณ์มีส่วนเข้าถึงความจริงได้เช่นกัน สิ่งที่เรารู้โดยตรงจากประการณ์นั้นไม่ขึ้นอยู่กับจิตของผู้รับรู้ กล่าวคือ จิตของผู้รับรู้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของความจริงสิ่งที่ปรากฏต่อประสาทสัมผัสของเราอย่างไร ความจริงก็เป็นอย่างนั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างสภาพที่ปรากฎกับสภาพที่เป็นจริงอาจจะมีบางอย่างที่ประสาทสัมผัสของเรารับไม่ได้ เพราะประสาทสัมผัสของเรามีขอบเขตจำกัดในการรับรู้ บางครั้งมนุษย์ต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัสเพื่อให้รู้ความจริงได้มากขึ้น เช่น แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น

สัจนิยมเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญแก่ความมีอยู่ของวัตถุว่าเป็นจริง สัจนิยมแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ

1.      สัจนิยมแบบผิวเผิน (Native Realism) สัจนิยมแบบผิวเผินยังเชื่อว่าความจริงเป็นเอกทัศในตัวมันเอง ไม่ขึ้นกับการรับรู้ของจิตหรือผู้รู้ ไม่ว่าจะมีใครไปรับรู้มันหรือไม่ มันก็คงมีอยู่ตามปกติของมัน และมันก็ปรากฎต่อประสาทของเราตามที่มันเป็น ความรู้เกิดจากการที่จิตของเราถ่ายแบบหรือลอกแบบสิ่งภายนอกพร้อมทั้งคุณภาพทุกอย่างของมัน ความเป็นจริงของแต่ละสิ่งเป็นอย่างไรจิตของเราสามารถถ่ายแบบได้หมดไม่ว่าจะเป็นขนาด สี รูปร่าง เสียง อุณหภูมิ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคุณภาพ (quality) ที่มีอยู่จริงของวัตถุภายนอก มิใช่เป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น

2.      สัจนิยมแบบตัวแทน (Representative Realism) สัจนิยมแบบตัวแทนเชื่อว่าเราไม่สามารถเข้าถึงความจริงโดยตรง แต่เข้าถึงด้วยข้อมูลอันเป็นตัวแทนของความจริง นักปรัชญาสัจนิยมแบบตัวแทนนี้คือ ล็อค ล็อคได้กล่าวว่า การรับรู้ (Perception) โลกภายนอกโดยผ่านทางมโนคติ (idea) มโนคติคือตัวแทนของวัตถุซึ่งไม่ได้มีอยู่จริงในจิตมนุษย์ แต่เป็นภาพถ่ายของโลกภายนอก แต่เรารับรู้โลกภายนอกโดยตรงไม่ได้ สิ่งที่เรารู้ได้คือ มโนคติที่มาของมโนคติมี 2 ทาง คือ ประสาทสัมผัส (sensation) คือ การรับรู้ข้อมูลจากภายนอก เช่น นัยต์ตาเห็นดอกกุหลาบ (ข้อมูลภายนอก) มโนคติของดอกกุหลาบเกิดขึ้นในจิต สิ่งที่รับรู้จึงไม่ใช่ดอกกุหลาบแต่เป็นมโนคติของดอกกุหลาบ (มโนคติได้จากประสาทสัมผัสชัดเจนกว่ามโนคติได้จากการไตร่ตรอง) การไตร่ตรอง (reflection) เป็นการทำงานของจิต เช่น มโนคติที่เกิดจากการรับรู้ (เห็น) ดอกกุหลาบย่อมชัดเจนกว่าการนึกถึงดอกกุหลาบ การไตร่ตรองเป็นข้อมูลภายในซึ่งจะเกิดไม่ได้หากไม่ผ่านประสาทสัมผัสมาก่อนเช่น ถ้าไม่เคยเห็นดอกกุหลาบมาก่อนก็จะไม่สามารถนึกถึงดอกกุหลาบได้

3.      สัจนิยมใหม่ (Neo-Realism) สัจนิยมใหม่เชื่อว่าทั้งประสบการณ์ และเหตุผลต่างก็มีส่วนในการเข้าถึงความจริงเหมือนกัน ดังนั้น มาตรการตัดสินความจริงควรเกิดจากการประนีประนอมความรู้ทุกอย่างของมนุษย์ นักปรัชญาสัจนิยมใหม่ ได้แก่ จอร์จ เอดเวิด มัวร์ (George Edward Moore) ได้กล่าวว่ามนุษย์เราสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยตรงเรารับรู้อย่างไรความจริงก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ปรากฏ เช่น เรารับรู้ว่าดอกกุหลายสีแดง ในความเป็นจริงดอกกุหลาบก็มีสีแดงแบบเดียวกับที่เรารับรู้

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำของสกินเนอร์ (OPERANT CONDITIONING THEORY)

                Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือInstrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning)

ประวัติ บี.เอฟ.สกินเนอร์   -เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1940 ที่ มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

                -จบปริญญาตรี ทางวรรณคดี ในอังกฤษ  -เข้าศึกษาต่อสาขาจิตวิทยา ระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัย ฮาร์ดเวิร์ด ปี ค.ศ.1982วิชาเอกพฤติกรรมศาสตร์

                 สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov

                สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ

1.  Respondent Behavior

                คือพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล

2.   Operant Behavior

                คือพฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ

                การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย  สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ

 

สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า "พฤติกรรม" ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ

              1.  Antecedents คือ  เงื่อนไขนำหรือสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม (สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน) ทุกพฤติกรรมต้องมีเงื่อนไขนำ เช่น วันนี้ต้องเข้าเรียนบ่ายโมง พฤติกรรมเราถูกกำหนดด้วยเวลา

              2.   Behavior คือ พฤติกรรมที่แสดงออก

            3.  Consequences หรือผลกรรม เกิดขึ้นหลังการทำพฤติกรรม เป็นตัวบอกว่าเราจะทำพฤติกรรมนั้นอีกหรือไม่ ดังนั้น ไม่มีใครที่ทำอะไรแล้วไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ

                สำหรับการทดลองของสกินเนอร์ เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง กล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง

 หลักการและแนวคิดที่สำคัญของสกินเนอร์

1.  การวัดพฤติกรรมตอบสนอง

                สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response rate) นั่นเอง

2. อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง

                สกินเนอร์ เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจากการเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้น แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง (Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง (Nonreinforcer)

3. ประเภทของตัวเสริมแรง

                ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ

                3.1   ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer)

                                หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ

                3.2   ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer)

                                หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ

การลงโทษ (Punishment) 

                การลงโทษ  (Punishment) คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทางได้แก่

                1.  การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)

                2.  การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)

                การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบ และการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอแต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม

 

ข้อเสียของการลงโทษ

1. การลงโทษไม่ได้ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน แค่เก็บกดเอาไว้ แต่พฤติกรรมยังคงอยู่

2. บางครั้งทำให้พฤติกรรมที่ถูกลงโทษ เพิ่มขึ้น เช่น โดนห้ามลางาน ก็เลยมาแกล้งคนอื่นที่ทำงาน

3. บางครั้งไม่รู้ว่าทำไมถูกลงโทษ เพราะเคยทำพฤติกรรมนั้นแล้วไม่ถูกลงโทษ

4. ทำให้เกิดอารมณ์ไม่เหมาะสม และนำไปสู่การหลีกเลี่ยงและหลีกหนี

5. การลงโทษอาจนำไปสู่ความก้าวร้าว

6. การลงโทษไม่ได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม

7. การลงโทษที่รุนแรงอาจก่อให้เกิดปัญหาทางกายและใจ

การใช้การลงโทษ

                1.   Time-out   คือ การเอาตัวเสริมแรงทางบวกออกจากบุคคล แต่ถ้าพฤติกรรมเด็กหยุดต้องเอากลับเข้ามาและเสริมแรงพฤติกรรมใหม่ทันที

                2.  Response Cost หรือ การปรับสินไหม คือ การดึงสิทธิ์หรือสิ่งของออกจากตัว เช่น ปรับเงินคนที่ขับรถผิดกฎ

               3.  Verbal Reprimand หรือ การตำหนิหลัก คือ ห้ามตำหนิที่ Personality ต้องตำหนิที่ Behavior ใช้เสียงและหน้าที่เรียบๆ เชือดเฉือนหัวใจ

 4. Overcorrection คือ การแก้ไขเกินกว่าที่ทำผิด แบ่งออกเป็น

                                4.1. Restitutional Overcorrection คือ การทำสิ่งที่ผิดให้ถูก ใช้กับสิ่งที่ทำผิดแล้วยังแก้ไขได้ เช่น ทำเลอะแล้วต้องเช็ด

                                    4.2. Positive-Practice Overcorrection คือ การฝึกทำสิ่งที่ถูกต้อง ใช้กับสิ่งที่ทำผิดแล้วแก้ไขไม่ได้อีก เช่น ฝึกทิ้งขยะให้ลงถัง

                                4.3. Negative-Practice คือ การฝึกทำสิ่งที่ผิดเพื่อให้เลิกทำไปเอง เช่น ถ้าเด็กสูบบุหรี่ก็ให้สูบซิการ์

การใช้การลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ

1.  เมื่อลงโทษแล้ว พฤติกรรมต้องลด

2.  การลงโทษต้องรุนแรง แต่ต้องไม่เกินกว่าเหตุ

3.  ควรเตือน 1 ครั้ง ก่อนการลงโทษ และในการเตือนต้องพูดในสิ่งที่ทำได้จริง

4.  พฤติกรรมที่จะถูกลงโทษ ควรถูกบรรยายให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง

5.  การลงโทษต้องสม่ำเสมอ

6.  ถ้าเป็นไปได้ ควรปรับสภาพแวดล้อม เพื่อไม่ให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์กลับมา

7.  เมื่อลงโทษแล้ว ต้องมีการเสริมแรงพฤติกรรมใหม่

8.  เมื่อเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ต้องลงโทษทันที และต้องลงโทษในที่รโหฐาน

9. ควรอธิบายว่าทำไมพฤติกรรมนั้นถึงไม่ดี

3.3   ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer)

                เป็นสิ่งเร้าที่จะสนองความต้องการทางอินทรีย์โดยตรง ซึ่งเปรียบได้กับ UCS. ในทฤษฎีของพาฟลอฟ เช่น เมื่อเกิดความต้องการอาหาร อาหารก็จะเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิที่จะลดความหิวลง เป็นต้น  ลำดับขั้นของการลดแรงขับของตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ดังนี้

                1.  ความไม่สมดุลย์ในอินทรีย์ ก่อให้เกิดความต้องการ

                2.  ความต้องการจะทำให้เกิดพลังหรือแรงขับ (drive) ที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรม

                3.  มีพฤติกรรมเพื่อจะมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง

                4.  ถึงเป้าหมาย หรือได้รับสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ได้รับที่เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงที่จะเป็นรางวัลที่จะมีผลให้อยากทำซ้ำ และมีพฤติกรรมที่เข้มข้นในกิจกรรมซ้ำ ๆ นั้น

3.4   ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ

                โดยปกติแล้วตัวเสริมแรงประเภทนี้เป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Natural Stimulus) สิ่งเร้าที่เป็นกลางนี้ เมื่อนำเข้าคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิบ่อย ๆ เข้า สิ่งเร้าซึ่งแต่เดิมเป็นกลางก็กลายเป็นตัวเสริมแรง และจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เราเรียกตัวเสริมแรงชนิดนี้ว่า ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น การทดลองของสกินเนอร์ โดยจะปรากฎว่า เมื่อหนูกดคานจะมีแสงไฟสว่างขึ้น และมีอาหารตกลงมา แสงไฟซึ่งแต่เดิมเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมาเมื่อนำเข้าคู่กับอาหาร (ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ) บ่อย ๆ แสงไฟก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่นเดียวกับอาหาร แสงไฟจึงเป็นตัวเสริมแรงทุติยภูมิ

ลักษณะของตัวเสริมแรง

                1.  Material Reinforcers คือ ตัวเสริมแรงที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่น มือถือ ขนม

                2.  Social Reinforcers เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม

                                     2.1.  Verbal เป็นคำพูด เช่น การชม (ต้องชมพฤติกรรมที่แสดงออก ไม่ใช่บุคลิกภาพ)

                         2.2.  Nonverbal ภาษากาย เช่น กอด (การกอดเป็น The Best Social Reinforcers ซึ่งต้องใช้กับ Positive Behavior)

                                หมายเหตุ:    ถ้า Verbal ไม่สัมพันธ์กับ Nonverbal คนเราจะเชื่อ Nonverbal มากกว่า

               3.  Activity Reinforcers เป็นการใช้กิจกรรมที่ชอบทำที่สุดมาเสริมแรงกิจกรรมที่อยากทำน้อยที่สุด โดยต้องทำตาม Premack Principle คือ ให้ทำสิ่งที่อยากทำน้อยที่สุดก่อน แล้วจึงให้ทำกิจกรรมที่ชอบที่สุด เช่น เด็กที่ชอบกิน Chocolate แต่ไม่ชอบเล่น Pinball ก็ให้เล่น Pinball ก่อนแล้วจึงให้กิน Chocolate

                                หมายเหตุ: ถ้าสิ่งใดเป็นของตาย คือจะทำหรือไม่ทำก็ได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว สิ่งนั้นจะเป็นตัวเสริมแรงไม่ได้อีกต่อไป

               4. Token Economy จะเป็นตัวเสริมแรงได้เฉพาะเมื่อแลกเป็น Backup Reinforcers ได้ เช่น เงินธนบัตรก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง แต่ว่ามันใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ถ้ามันใช้ชำระหนี้ไม่ได้ก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง เงินมีอิทธิพลสูงสุด

                 5.  Positive Feedback หรือการให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก จับเฉพาะจุดบวก มองเฉพาะส่วนที่ดี เช่น บอกเด็กว่า หนูทำงานส่วนนี้ได้ดีมาก แต่ส่วนที่เหลือเอากลับไปแก้นะ

                  6. Intrinsic Reinforcers หรือตัวเสริมแรงภายใน เช่น การชื่นชมตัวเอง ไม่ต้องให้มีใครมาชม

ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมแรง

                1.  Timing การเสริมแรงต้องทำทันที เช่น แฟนตัดผมมาใหม่ต้องชมทันที ถ้าช้า จะถูกตำหนิ

                2. Magnitude & Appeal การเสริมแรงต้องตอบสนองความต้องการอย่างพอเหมาะ อย่ามากไปหรือน้อยไป

                3. Consistency การเสริมแรงต้องให้สม่ำเสมอ เพราะจะได้รู้ว่าทำแล้วต้องได้รับการเสริมแรงอย่างแน่นอน

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ  สามารถสรุปได้ดังนี้

                1.   การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลง และหายไปในที่สุด

                  2.   การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่า การเสริมแรงที่ตายตัว

                  3.  การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว

              4.  การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิวัยที่ต้องการได้

การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้

                1.  ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping Behavior) หลักสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ คือ เราสามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะเมื่อมีการตอบสนองที่ต้องการ เพื่อให้กลายเป็นนิสัยติดตัวต่อไป อาจนำไปใช้ในการปลูกฝังบุคลิกภาพของบุคคลให้มีพฤติกรรมตามแบบที่ต้องการได้

 

การแสดงพฤติกรรมสาธารณะ

                1.  การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)  เมื่อมีการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ตัวเสริมแรงได้เป็น 4 ประเภท คือ

                                1.1 ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ ( material reinforce )  เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้ด้วยอาหาร ของที่เล่นได้ และสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของเล่น รถยนต์

                                1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรงที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูงในการปรับพฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ คำพูด ได้แก่ คำชมเชย เช่น ดีมาก น่าสนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม จับมือ

                                1.3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม ( activity reinforce) เป็นการใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ชอบไปเสริมแรงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่ชอบ

                                1.4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce) โดยการนำเบี้ยอรรถกรไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ดาว คูปอง โบนัส เงิน คะแนน

                2.   การเสริมแรงทางลบ ( negative reinforcement ) เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คือ ทำทันทีหรือเร็วที่สุด เมื่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น ควรให้มีความรุนแรงพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรให้ผู้ถูกลงโทษรู้ว่าพฤติกรรมใดที่ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงบวก ผู้ลงโทษต้องเป็นตัวแบบที่ดีในทุกๆด้าน และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้การลงโทษ

 2.  การกำจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

                1.  ไม่สนใจ แต่ระวัง การเรียกร้องความสนใจ

                2.  เสริมแรงทุกพฤติกรรมที่ไม่ใช่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

                3.  เสริมแรงพฤติกรรมอื่นแทน

                4.  เสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่ทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิด เช่น เสริมแรงพฤติกรรมนั่ง เพื่อที่พฤติกรรมลุกจะได้ไม่เกิด (Incompatible Behavior)

 

3.  การเรียนการสอน

 1.  Observable & Measurement คือ สังเกตและวัดได้ เช่น หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถอธิบายทฤษฎีได้

 2.  Conditions คือ เงื่อนไข เช่น เมื่อกำหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่างๆได้

 3.  Criterion คือ เกณฑ์ เช่น หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถทำข้อสอบ O-NET ได้ 80%

4.  Programmed Instruction and Computer-Assisted Instruction เช่น ใช้โปรแกรมช่วยสอนสำเร็จรูป

5.  Mastery Learning คือ เรียนให้ประสบความสำเร็จไปทีละขั้น เช่น ต้องสอบบทที่ 1 ให้ผ่าน จึงจะสอนบทต่อไป

สรุปแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์  Skinner

“สกินเนอร์” ได้กล่าวไว้ว่า “ การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บุคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น ’’

ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT)

โดยจุดเด่นของการลงมือทำคือ การได้เจอกับความท้าทาย หรือ ประสบการณ์จริง

ยกตัวอย่าง การเรียนการต่อวงจรไฟฟ้า ถ้าเรียนแต่ทฤษฎี ก็อาจจะได้เห็นมุมมองไม่รอบด้าน ดังนั้นการลงมือทำก็จะช่วยให้เราได้เห็นรอบด้านมากขึ้น

ซึ่งหนึ่งในงานที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในปัจจุบัน เป็นงานของ เดวิด เอ. โคล์บ (David A. Kolb) นักทฤษฎีการศึกษา ได้ทำการพัฒนาและนำเสนอออกมาเป็น ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT)

การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) คือกระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติด้วยการนำเอา ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาบูรณาการเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ขึ้น” 

โดยมีจุดเด่นที่เพิ่มขึ้นมา คือการทบทวนประสบการณ์ หรือ นำสิ่งที่ลงมือทำมาตกผลึกความคิด เพื่อให้ได้รับรู้ถึงความรู้ใหม่ที่ได้รับ เป็นการนำไปต่อยอดความรู้เดิม หรือ สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทอื่น ๆ สำหรับตัวเอง

การที่เรามีประสบการณ์ แต่ไม่ได้ตกผลึก ก็เหมือนกับการที่เรารู้เหมือนเดิม บางทีก็ลืมได้ง่าย หรือไม่รู้ว่าควรนำไปปรับใช้ต่อได้อย่างไร เพราะขาดสูตรสรุปประสบการณ์นั้น ๆ ให้กับตัวเอง เนื่องจาก เดวิด เอ. โคล์บ เชื่อว่าในแต่ละคนมีรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ที่แตกต่างกันออกไป 

โดย เดวิด เอ. โคล์บ นำเสนอว่าการที่จะนำทฤษฎีนี้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องผ่านวงจรทั้ง 4 ขั้น (Experiential Learning Cycle : ELT Cycle) ซึ่งประกอบไปด้วย

1.      การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในประสบการณ์ หรือ สถานการณ์ใหม่ หรือ การตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Concrete Experience) 

2.      เมื่อเราได้เข้าไปรับประสบการณ์ใหม่นั้น ก็มักทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างประสบการณ์และความเข้าใจ ในขั้นนี้เป็นการลองสะท้อน ลองทบทวนให้เกิดการตกผลึกความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ โดยอาศัยวิธีการตั้งคำถาม (Reflective Observation of the New Experience)

3.      แน่นอนว่าการสะท้อนมักก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ หรือ การดัดแปลงแนวคิดเชิงนามธรรมที่มีอยู่ ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองแล้ว (Abstract Conceptualization)

4.      การเรียนรู้จะไม่จบลงเพียงแค่การได้แนวคิดใหม่ ดังนั้นในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ลองใช้ความคิดกับบริบทรอบตัวของตัวเอง เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น (Active Experimentation) 

ซึ่งถ้าหากในอนาคต ผู้เรียนได้เข้าไปรับประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก ก็ให้หมุนวงจรกลับไปที่ขั้นแรก และทำต่อไปจนขั้นที่ 4 อีกครั้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง

ซึ่งในการทำงานด้านจิตวิทยาเชิงบวก ก็ได้นำ ELT Cycle ไปปรับใช้ด้วยเช่นกัน 

ยกตัวอย่าง “การทำให้เด็กได้รู้จักกับอารมณ์เชิงบวก (Positive Emotions) ซึ่งมีด้วยกัน 10 อารมณ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ สนุกสนาน รู้สึกขอบคุณซาบซึ้ง รู้สึกสงบ มีแรงบันดาลใจ มีความหวัง รัก รู้สึกเคารพ รู้สึกเพลิดเพลิน มีความตื่นเต้นสนใจ รู้สึกภาคภูมิใจ (Fredrickson, (2010,2011))”

1.      ชวนให้เด็กได้ลองเข้าไปทำความรู้จักกับอารมณ์เชิงบวก ผ่านการพาเข้าไปเจอประสบการณ์ หรือ กิจกรรม ที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์เหล่านั้น

 

การชวนดูภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจ”

2.      ชวนให้เด็กได้สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านการตั้งคำถาม

จากภาพยนตร์ที่รับชมไปเมื่อสักครู่นี้ เราประทับใจฉากไหน ตัวละครไหน หรือประโยคไหนในภาพยนตร์บ้าง แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง”

3.      เมื่อเขาเริ่มรับรู้ได้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น รับรู้ว่าอารมณ์นี้เรียกว่าอะไร ให้ลองชวนคิดต่อว่าเขาเองจะสามารถประสบกับอารมณ์แบบนี้ได้จากการเข้าไปอยู่ในประสบการณ์แบบไหนได้อีกบ้าง

หลังจากการดูภาพยนตร์แล้ว เราคิดว่า เราจะสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นกับเพื่อนในห้องได้อีกด้วยวิธีการ หรือกิจกรรมอะไรบ้าง ให้ออกแบบกิจกรรมมากลุ่มละ 1 กิจกรรม”

4.      ให้เขาได้ลองปรับใช้สิ่งที่ได้รู้จักมา กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เขาคิดมาแล้วว่าน่าจะทำให้เกิดอารมณ์แบบนี้อีกครั้ง

ให้ทุกคนได้ลองนำเสนอกิจกรรมที่คิดค้น และออกแบบมาเพื่อสร้างความรู้สึกนั้นมาพาให้เพื่อนในห้องได้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดประสบการณ์ และได้สะท้อนคิดต่อยอดต่อไป” โดยคนนำกิจกรรมจะได้เรียนรู้ สะท้อนคิดอารมณ์เชิงบวกนั้นตั้งแต่การออกแบบ และรับรู้ถึงขั้นตอนวิธีการในการสร้างอารมณ์เชิงบวกนั้นขึ้นมา เพราะเขาได้สามารถออกแบบขั้นตอนกิจกรรมสำหรับผู้อื่นได้แล้ว….”

ความรู้นั้นสามารถเปลี่ยนแปลง และถูกขยายได้ตลอด ดังนั้นแล้วการพาตัวเองเข้าไปสู่ประสบการณ์ใหม่ ๆ ก็มักจะทำให้ได้เจอความรู้ที่สดใหม่ และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”

 

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)

ปัญญานิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง ซึ้งทฤษฎีปัญญานิยมนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของ มนุษย์ด้วย

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้
1.ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer)วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์(Wolfgang Kohler)เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
2.ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
3.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
4.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful VerbalLearnning)ของ ออซูเบล (Ausubel)
5.ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์ และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง
6.ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
7.ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)

การนำทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอน
สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามความเชื่อของนักจิตวิทยาตามทฤษฎีกลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า มนุษย์มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ความสนใจและความถนัดในแต่ละคน ดังนั้นในการเรียนรู้ก็ต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสนอเนื้อหาทั้งหมดสามารถเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ควรเสนอบางส่วน ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์ การเสนอเนื้อหาของครูผู้สอน ควรมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น การเสนอความคิดรวบยอดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมายการนำทฤษฎีปัญญานิยมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การใช้เทคนิคการสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในแง่ของการเลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียน การควบคุมด้วยตนเองก่อน หลัง

 


ความหมายกลุ่มปัญญานิยม

ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง

ทฤษฎีปัญญานิยมนี้  เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของ มนุษย์ด้วย

 ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม

เวสท์และคณะ (West and Others, 1991) ได้เสนอถึงความแตกต่างระหว่างทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยมไว้ดังนี้

-          ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในเรื่องของพฤติกรรมหรือการกระทําภายนอกซึ่งสามารถสังเกตได้ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นถึงสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์

-          ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งชี้ความสําคัญขององค์ประกอบย่อย ๆ แต่ละส่วนจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งและจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือวัตถุประสงค์รวมในที่สุดในทางกลับกันนั้น ทฤษฎีปัญญานิยมพยายามชี้ในภาพรวมเป็นหลัก จากภาพรวมหรือวัตถุประสงค์รวมไปสู่ส่วนประกอบและตามด้วยการมองจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือวัตถุประสงค์รวมอีกครั้งหนึ่ง

-          ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถจับต้องได้ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งไม่สามารถจับต้องได้

-          ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ของมนุษย์ในลักษณะของ

สิ่งที่มีอยู่แล้วและรอให้มนุษย์ค้นพบและเรียกกลับมาใช้ใหม่ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ในลักษณะของสิ่งที่มนุษย์จําเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นและหากต้องนําความรู้กลับมาใช้อีกก็จําเป็นจะต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่

-          ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเปรียบเทียบกับ จิตใจมนุษย์เป็นเสมือนโรงงานประกอบชิ้น

ส่วนต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงความเชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการประกอบขึ้นของมนุษย์นั่นเอง ไม่มีความสลับซับซ้อน ชิ้นส่วนในการประกอบเป็นอย่างไรผลผลิตที่ได้ก็จะเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมเปรียบเทียบจิตใจเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ซี่งหมายถึงความเชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการประมวลผลภายในซึ่งมีการทํางานที่สลับซับซ้อนและยากแก่การทําความเข้าใจ

-          ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในผลลัพธ์ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นในกระบวนการ


ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้

1.      ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ทคอฟฟ์กา (Kurt Koffka)

2.      ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)

3.      ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)

4.      ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของ ออซูเบล (Ausubel)

5.      ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์ และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง

6.      ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)

7.      ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony) 

ทฤษฎี การเรียนรู้ต่างๆ ในกลุ่มปัญญานิยม ที่กล่าวมานั้นมีรายละเอียดของทฤษฎีและการประยุกต์นำทฤษฎีเหล่านั้นมาใช้ใน การจัดการเรียนการสอน ดังนี้

ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt Theory)

กลุ่ม เกสตัลท์นี้เริ่มก่อตั้งในประเทศเยอรมันนี ราวปี ค.ศ. 1912 ในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมกำลังแพร่หลาย ได้รับความนิยมอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำของกลุ่มคือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์,   วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์, เคิร์ท  คอฟฟ์กา, และ เคิร์ท เลวิน ซึ่งต่อมาภายหลัง เลอวิน ได้นำเอาทฤษฎีของกลุ่มเกสตัลท์นี้มาปรับปรุงดัดแปลงเป็นทฤษฎีใหม่ คือทฤษฎีสนาม

เกสตัลท์เป็นคำศัพท์ในภาษาเยอรมัน มีความหมายว่า แบบแผน หรือ รูปร่าง (form or pattern) ซึ่งต่อมาในความหมายของทฤษฎีนี้ หมายถึง ส่วนรวม หรือ ส่วนประกอบทั้งหมด สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะความคิดหลักของกลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีย่อมเกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่างๆ มารวมกัน ให้เกิดการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนและจึงแยกวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วต่อไป  ถ้ามนุษย์หรือสัตว์มองภาพพจน์ของสิ่งเร้าไม่เห็นโดยส่วนรวมแล้ว จะไม่เข้าใจหรือเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

กฎการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ สรุปได้ดังนี้

1.      การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์

2.      บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

3.      การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ

3.1) การรับรู้ (perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้า สู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบ สนองออกไปตามที่สมอง / จิต ตีความหมาย

3.2) การหยั่งเห็น (Insight) เป็น การค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น

1.      กฎการจัดระเบียบการรับรู้ของเกสตัลท์มีดังนี้

4.1 กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์ เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้เพราะการใช้ ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน

4.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน

4.3 กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน

4.4 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น

4.5 กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุผลเดียวกัน

4.6 บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นใน ลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะเปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น

4.7 การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจากการจัดกลุ่มลักษณะสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตาเช่น เส้นตรงในภาพ ก. ดูสั้นกว่าเส้นตรงในภพ ข. ทั้งๆ ที่ยาวเท่ากัน

เส้น ก.

เส้น ข.

1.      การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insight) โค ห์เลอร์ ได้สังเกตการเรียนรู้ของลิงในการทดลอง ลิงพยายามที่จะเอากล้วยที่ซึ่งแขวนอยู่สูงเกินกว่าจะเอื้อมถึง ในที่สุดลิงก็เกิดความคิดที่จะเอาไม่ไปสอยกล้วยที่แขวนเอามากินได้ สรุปได้ว่าลิงมีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น การหยั่งเห็นเป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลัน ทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยง ประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขึ้นได้มากเช่นกัน

หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดจากกลุ่มเกสตัลท์

1.      กระบวน การคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้

2.      การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

3.      การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น

4.      การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

5.      การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ดีคือ การจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน

6.      ในการสอนครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอการสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ครูสามารถเสนอ เนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์

7.      การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี และรวดเร็ว

8.      การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น