บุคลิกภาพความเป็นครู บุคลิกลักษณะการวางตนของครูที่ดี ED291
บทบาทหน้าที่ของครูในศตวรรษที่ 21
1. เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
2. ครูเป็นผู้แนะแนวทาง
(guide/coach)
3. ครูเป็นผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา (co-learner/co-investigator)
บทบาทหน้าที่ของครู
บทบาทของครูยุคใหม่ คือการทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนให้พัฒนาตนเองให้ได้เต็ม
ศักยภาพ
และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะเทคโนโลยีในทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและ
ล้ำสมัย ผู้คนในยุคใหม่จึงต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา
ดังนั้นครูต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและคอย แนะนําแนวทางการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็กอย่างเข้าใจ
และพร้อมที่จะทุ่มเทวิชาความรู้ด้วยวิธีการ สมัยใหม่ตามธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ความสามารถของครูยุคใหม่อาจจะไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แต่สิ่งที่ครูสามารถที่จะบอกนักเรียนได้ว่าข้อมูลใดสามารถ
นําไปปรับใช้กับชีวิตจริง แต่สิ่งที่สําคัญ
ที่จะหาไม่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่คือ ศีลธรรม คุณธรรม
ที่ครูสอนถ่ายทอดให้เด็กซึ่งเป็นส่วนสําคัญอันจะถูก
พัฒนาไปพร้อมกับสติปัญญาเพื่อให้ความรู้แก่อนาคตของชาติอย่างถูกต้องสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป
ครูมุ่งมั่น ในศตวรรษที่ 21 ที่ผมนำมาแบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ
1. ครูเป็นโค้ช
2. เน้นตั้งคำถาม-ถามตอบ
3. ไม่ต้องอายที่จะบอว่า “ไม่รู้”
4. สร้างแรงบรรดานใจให้ นักเรียน
5. ให้ feedback กับนักเรียน
6. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้แก่
* ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
* การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
* การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ
และเทคโนโลยี
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย
โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
* ความรู้ด้านสารสนเทศ
* ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
* ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
* ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
* การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
* ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
* การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต
(Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
* ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
(Responsibility)
อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/varticle/60454
ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง
(profession)
ที่ ได้รับการยอมรับมาช้านานกว่าร้อยปีอย่างเป็นทางการ
โดยเฉพาะประเทศไทย ความเป็นวิชาชีพของอาชีพครู มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ประการคือ
- วิชาชีพที่ให้การบริหารแก่สังคมในลักษณะที่มีความจำเป็นและเจาะจง
(social service)
- สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริหาร
(intellectual method)
- สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้
กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (long period training )
- สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ
ตามมาตรฐานของวิชาชีพ (Professional autonomy)
- วิชาชีพครูจะต้องมีจรรยาบรรณ (professional ethics) และ
- วิชาชีพครูจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์
จรรโลงความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ (professional institute)
เนื่องจากความเป็นมืออาชีพ (professional) จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ
3 ประการคือ
- บุคคลนั้นต้องยึดถืออาชีพนั้น
ๆ ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของตน
-
บุคคลนั้นจะต้องมีความรู้ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
และมีทักษะที่เหมาะสมต่อวิชาชีพนั้น ๆ
- บุคคลนั้นจะต้องมีจิตวิญญาณต่ออาชีพ
กล้ารับผิดชอบ กล้าเผชิญต่อผลการกระทำอันเนื่องมาจากภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
ความเป็นมืออาชีพของครู
จึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความ
สัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุก คน
ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์
ทำให้มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ
ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ.
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย
เป็น สิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ
มีความต้องการ “ครูมืออาชีพ” มิใช่เพียงแต่มี
“อาชีพครู” เกิดขึ้นเท่านั้น
ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว “ครูมืออาชีพ” จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
1. ครูต้องมี ฉันทะ
ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2. ครูต้องมีความเมตตา
ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
3. ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร
พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน
สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ “คุณภาพการสอน” ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนครูมืออาชีพ
จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์
และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน
สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ
ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ
บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน
และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
5. มีความรู้ที่ทันสมัย
และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน
คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล
โรงเรียนและชุมชน
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง
เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้
ครูสอนดีต้องมีหลักในการสอน
การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ
ๆ 20 ประการ ดังนี้
1. ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง
2. วางแผนการสอนอย่างดี
3. มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์
4. สอนจากง่ายไปหายาก
5. วิธีสอนหลากหลายชนิด
6. สอนให้คิดมากกว่าจำ
7. สอนให้ทำมากกว่าท่อง
8.
แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
9. ต้องชำนาญการจูงใจ
10.
อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11. ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน
12. ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
13. เฝ้าตามติดพฤติกรรม
14. อย่าทำตัวเป็นทรราช
15. สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว
16. ประพฤติตัวตามที่สอน
17. อย่าตัดรอนกำลังใจ
18. ให้เทคนิคการประเมิน
19. ผู้เรียนเพลินมีความสุข
20. ครูสนุกกับการเรียน
(รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์, 2544)
สรุปว่า “การสอน” เป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน
และเยาวชนของชาติ การ
ประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชน ของชาติ
ดังคำกล่าวที่ว่า “คุณภาพของเด็ก” สะท้อน
“คุณภาพของครู” ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ
ต้องเน้นคุณลักษณะ พื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร
ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของ
ครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ
จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี
เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป
ขอให้ครูมืออาชีพทุกท่านจงรวมพลัง สร้างสรรค์ พัฒนาอาชีพครู
เพื่อมุ่งสู่ ความเป็นครูมืออาชีพ ด้วยความมุ่งมั่นต่อไป
ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจแด่ทุกท่านเสมอและตลอดไป
ตัวบ่งชี้..ครูของครู
ครูเอกชนมีมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ที่น่าศึกษา
ดังนี้
มาตรฐานที่๗
ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
1.
ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. ครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
3.
ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา
4.
ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
5.
ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
6. ครูให้คำแนะนำ
คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค
7. ครูมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ
และใช้ผลในการปรับการสอน
8.
ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสถานศึกษา
9.
ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลาเต็มความสามารถ
จรรยาบรรณในวิชาชีพครู ความหมาย จรรยาบรรณในวิชาชีพหมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ
จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้
ความสำคัญ
จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่
อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ
และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า
“จรรยาบรรณ” ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ” ที่สำคัญคือ
เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ
มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ
และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี
“จรรยาบรรณในวิชาชีพ”
เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป
คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม ดังนี้
จรรยาบรรณต่ออาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ
ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ
1. ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู
ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า
มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ
และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ
ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
2. ธำรงและปกป้องวิชาชีพ
สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา
ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ
มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิชาชีพ
3. พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ
หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย
สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้
เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์
ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น
โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ
มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น
4. สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิก
และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง
ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่
ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล
5. ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ
สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา
แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร
หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว
ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพต่อไปได้บทบาทของการธำดงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อมจะลดลงด้วย
ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ จรรยาบรรณต่อผู้เรียน
ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน 9 ประการ คือ
1. ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ
บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข เรียนด้วยความเข้าใจ
และเกิดความมานะพยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้น
ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาวิชาการทั้งทางศาสตร์ที่จะสอน
ศาสตร์ที่จะถ่ายทอดหรือวิธีการสอน ครูต้องพยายามที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ
มาลองทดลองสอน
2. รักและเข้าใจศิษย์
ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไวต่อความรู้สึก (sensitve)
และอารมณ์ไม่มั่นคง ครูจึงควรให้อภัย เข้าใจ
และหาวิธีการให้ศิษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะสามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน
และการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง
3.
ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองหรือการเรียนรู้จากการช่วยเหลือกันในกลุ่มอาจจะทำให้ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่าง
ๆ ด้วยตนเองมากขึ้นมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว
ครูจึงจำเป็นต้องชี้ช่องทางให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4. ยุติธรรม
อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์
ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นคนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง
ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนน
และพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนน และการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการรอกคะแนน
เพราะถ้าผิดพลาดแล้วบางครั้งก็จะทำให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดี ๆ
กลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป
5. ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน
ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง
เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป
ครูจึงจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า
ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม
6. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ
ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครูไป
เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู
ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา
การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น
7. ให้เกียรติผู้เรียน การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น
พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน
การเคารพผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ
และการเรียนรู้ที่ดี เมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี
ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป
8. อบรมบ่มนิสัย ม.ล. ปิ่น มาลากุล
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาทหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก
โดยท่านเชื่อว่า “การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้นเพียงแค่วันละนาทีก็ดีถม”
ดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้
ครูควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี
9.
ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วยประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์
และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลำลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
นอกจากจรรยาบรรณต่อศิษย์แล้ว ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ด้วยคือ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ครูจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อให้มีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้
1. ประพฤติชอบ
ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง
2. รับผิดชอบ
ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง มีความผิดพลาดน้อย
3. มีเหตุผล ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ
ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล หาข้อดีข้อเสียของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ
เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี
4.
ใฝ่รู้ การติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้
อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข
ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ศิษย์ได้
5. รอบคอบ ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรอบคอบ
ละเอียดและประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ การทำกิจกรรม เช่น
ควบคุมบัญชีการเงินต้องรอบคอบ ต้องเห็นตัวเลขชัดเจนไม่ตกหล่น
ทำให้เกิดการผิดพลาดที่เป็นผลร้ายทั้งของตนเองและผู้อื่น
6. ฝึกจิต การพัฒนาจิต
ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจิตของตนให้สูงส่ง
สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ไม่ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรบานและคิดเป็นบวก
มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย
7. สนใจศิษย์ การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน
เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า
เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียน
การแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สรุปได้ว่า จรรยาบรรณ
คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู
อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร
โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน
และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น