วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การสะท้อนผลการเรียนรู้การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

 

การสัมมนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติการสอน ED291



1.      การสะท้อนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

1.1  สภาพการณ์ การสอนในสถานการณ์ covid-19 เป็นการสอนรูปแบบออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ ของโรงเรียน บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์ นักเรียนส่วนใหญ่จะปิดกล้อง ปิดไมล์ โครโฟน นักเรียนเข้าระบบการเรียนในโปรแกรม Microsoft-team มีการจัดการเรียนเสมือนมาโรงเรียนจริง เริ่มช่วงเวลาเช้า ก่อนเข้าชั้นเรียนรายวิชา มีการเช็คชื่อเข้าแถวตอนเช้าก่อนเข้าชั้นเรียน มีการโฮมรูมโดยอาจารย์ประจำชั้น และเริ่มเข้ารายวิชาเรียนตามปกติเหมือนกันทุกวัน ทุกรายวิชา บรรยากาศภาพรวมนักเรียนจะมีการโต้ตอบ ตอบคำถามหรือสนทนาในชั้นเรียนน้อยกว่าปกติ บางครั้งอาจกล่าวได้ว่ามีการตอบคำถามน้อย บางครั้งทำให้ไม่มั่นใจถึงเนื้อหาความรู้ที่อธิบายว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรียนน่าจะเป็นเรื่องที่ควรเน้นและหาวิธีตามความเหมาะสม



1.2  ความรู้สึก และความคิดเห็นบรรยากาศภาพรวมนักเรียนจะมีการโต้ตอบ ตอบคำถามหรือสนทนาในชั้นเรียนน้อยกว่าปกติ บางครั้งอาจกล่าวได้ว่ามีการตอบคำถามน้อย บางครั้งทำให้ไม่มั่นใจถึงเนื้อหาความรู้ที่อธิบายว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรียนน่าจะเป็นเรื่องที่ควรเน้นและหาวิธีตามความเหมาะสม

1.3  การวิเคราะห์เหตุการณ์ การสอนในสถานการณ์ covid-19 เป็นการสอนรูปแบบออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ ของโรงเรียน การเรียนการสอนสภาพทั่วไปถือได้ว่านักเรียนมีความพร้อมในเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียน เครื่องมือสื่อสารสำหรับการเรียนถือได้ว่าประสบความสำเร็จ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียน ระหว่างการดำเนินการสอนต้องมีการตั้งเป้าหมาย เพื่อนักเรียนสามารถตอบคำถาม การวัดประเมินผล เป็นไปตามสภาพจริง สังเกตได้จาการตอบคำถาม และการทำใบงาน กิจกรรมเกมระหว่างเรียน งานที่ได้รับมอบหมาย มีการออกแบบการสอนใหม่ๆ ให้เข้ากับการเรียนแบบออนไลน์ การอธิบายเพิ่มเติมให้เกิดความชัดเจน และการสื่อสาร  การมีวินัยในชั้นเรียน สภาพแวดล้อมการเรียนเป็นไปตามภาวะการณ์แบบออนไลน์

1.4  การวางแผนการปฏิบัติงาน การสอนในสถานการณ์ covid-19 เป็นการสอนรูปแบบออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ ของโรงเรียน ต้องสามารถปรับปรุงวิธีการสอน กิจกรรมระหว่างการสอน ซึ่งบางครั้งการเรียนแบบออนไลน์ และการอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเลานานๆ มีการทำกิจกรรมเพื่อสร้างความผ่อนคลาย เช่น การเปิดเพลงขั้นช่งระหว่างรอยต่อของชั่วโมงการเรียน เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าระบบ ในวิชาเรียนคาบต่อไป  การสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดความสนใจต่อการเรียน รูปแบบการสอน การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบต้องมีการอภิปรายร่วมกันมากขึ้น มีวิธีการสอนแบบอัดเป็นคลิป วี ดี โอ สำเร็จรูป สามารถเปิดรีรีนได้หลายรอบ การสอนแบบติวเตอร์ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการเรียนการสอน การเรียนรู้ยอมรับความเป็นคุณครู

1.5  การสรุปผล เพื่อการประยุกต์ใช้ การสอนในสถานการณ์ covid-19 เป็นการสอนรูปแบบออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ ของโรงเรียน การสังเกตการสอนรายวิชาศิลปะพื้นฐาน(ดนตรี) โดยอาจารย์ประจำ ได้ข้อสรุปการจัดการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้ การจัดคาบเรียนออกเป็น 2 ภาค ภาคทฤษฎี เพื่การยรรยายเนื้อหาความรู้ทางวัฒนธรรมและความซาบซึ้งเกี่ยวกับดนตรีต่างๆ ภาคที่ 2 เป็นการเรียนการปฏิบัติเครื่องดนตรี นักเรียนมีความพึงพอใจ เพราะมีช่วงที่สามารถทำกิจกรรมการเรียนแบบอิสระในคาบเรียนได้  การตรวจการบ้านงานดนตรี ใช้วิธีและเครื่องมือการตรวจแบบเกณฑ์การประเมิน (Rubit score) การยืดหยุ่นต่อการส่งงาน ตามเงื่อนไขของการไม่รบกวนเวลาในคาบเรียนวิชาอื่นๆ มีการเปิดเพลง เพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนเปลี่ยนคาบเรียนสามารถสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายได้ดีพอสมควร



2.      การเชื่อมโยงผลการเรียนกับทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

2.1  ทฤษฎีการเรียนรู้/ทฤษฎีการศึกษาที่เกี่ยวข้อง  ทฤษฎีที่ใช้ในการเชื่อมโยงการรู้ดังต่อไปนี้ ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีสัจจนิยม/ปรัชญา ทฤษฎีสกินเนอร์ ผู้ให้ความรู้สู่วางแผนปฏิบัติตามเงื่อนไข ทฤษฎีจิตสังคม ของอดิสัน เพื่อเป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพ ทฤษฎีเกรชฟียา เป็นการส่งเสริมประสบการณ์หลากหลาย และทฤษฎีปัญญานิยม

2.2  หลักการ/แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียน  การดูแลเอาใจใส่นักเรียนให้เกิดความเท่าเทียมกัน แบบเป็นมิตร การจัดการเรียนการสอนมีการสร้างข้อตกลง มีกฏเกณฑ์ สร้างสภาพแวดล้อมการเรียน มีความเรียบร้อย และบุคลิกภาพที่ดี  กรณีนักเรียนไม่เข้าห้องเรียน การสร้างโจทย์ คำถามที่เป็นพื้นฐาน การออกแบบเพื่อการจัดโต๊ะเดี่ยว หรือโต๊ะคู่  แสงสว่าง การสร้างคำถามระหว่างการเรียนการสอน การคุมชั้นเรียน เทคนิคการหยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่นการเดินเข้าไปใกล้ๆนักเรียนเพื่อเป็นการเตือน หรือแสดงการรับรู้ถึงพฤติกรรมที่กำลังแสดงออก การจัดการเรียนการสอนต้องไม่ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความอาย

2.3  สิ่งที่ได้จากการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ขออขอบคุณเพื่อนนิสิตที่ร่วมฝึกประสบการณ์ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น การสอน2 ทุกท่าน ขอบพระคุณอาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์ประจำชั้นประจำกลุ่ม E อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด และอาจารย์กิตติศักดิ์ ประเสริฐกุล เพื่อเป็นก้าวแรกของการฝึกหัดครู เพื่อก้าวสู่การเรียนรู้การเป็นคุณครูมืออาชีพ ในดำดับต่อๆไป กราบขอบพระคุณ

 


ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติการสอน ED291

น.ส. แก้วมณี ศรีอ่อน

นายชาญศิริ นามพูน

น.ส.ชุตินันท์ ทับโพธิ์

น.ส.ฐิตาพร ยลอนันต์

น.ส.ณัฎฐริณี ช่วยคง

ดำเนินการสัมมนาโดย อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น