วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Classic Period 1725 - 1820

ยุคคลาสสิค Classic (1725-1820) การดนตรีในยุคคลาสสิค ถ้าเราย้อนไปพิจารณาสังคมในยุคบาโร้คก็จะเห็นได้ว่าความเป็นอัจฉริยะของนักวิทยาศาสตร์อย่างกาลิเลโอและเซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้เปลี่ยนแนวคิดและมุมมองของประชาชนในยุคนั้นไปอย่างสิ้นเชิง เพราะได้พากันหันมามองโลกในแง่ของเหตุผลและความจริงมากขึ้น จนกลายเป็นกลุ่มพลังเงียบที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมในยุคถัดมา ความเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มต้นในราวกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อความเชื่อในกลุ่มอำนาจการปกครองและศรัทธาในศาสนาเสื่อมถอยลงเพราะมีเหตุมาจากการเสนอแนวคิดเชิงปรัชญาของนักปรัชญาคนสำคัญๆ เช่น Voltaire (1694-1778) และ Deris Diderot (1713-1784) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์อย่างสำคัญจนมีการขนานนามยุคนี้ว่า “ยุคแห่งการรู้แจ้ง” (Enlightenment age) ประชาชนในยุคนี้มีศรัทธาในความก้าวหน้าและความมีเหตุผลมากกว่าการปฏิบัติตามระเบียบประเพณีที่เคยชินมาต่าก่อน เริ่มมีการต่อต้านอำนาจของบุคคลชั้นสูงและบรรดาเจ้านครต่างๆ ซึ่งเริ่มจะไม่แน่ใจในพลังอำนาจที่ตนเคยมีอยู่ แนวคิดของกลุ่มแห่งความรู้แจ้งเห็นจริงแสดงให้เห็นหลายประการ เช่น จักรพรรดิ Joseph II แห่ง Austria ที่ทรงสละราชบัลลังก์ในระหว่างปี 1780-1790 และยกเลิกระบบเจ้าขุนมูลนาย ปิดวัดและสำนักชีตลอดจนยกเลิกตำแหน่งขุนนางและบรรดาผู้ลากมากดีต่างๆจนหมดสิ้น โดยเฉพาะผุ้ที่ทำการต่างๆ อย่างผิดกฎหมายดดยใช้อำนาจในทางมิชอบได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านพิธีกรรมทางศาสนาและประกาศิตต่างๆ เช่น การฝังศพแบบง่ายๆ ภายหลังกฎระเบียบนี้มีการปรับปรุงใหม่ทำให้เกิดมีพิธีฝังศพอย่างหรูหราเป็นระเบียบปฏิบัติมาจนปัจจุบันนี้ โดยเริ่มแรกเกิดขึ้นที่กรุงเวียนนาก่อนในปี 17991 แต่ถึงกระนั้นศพของ Mozart มหาคีตกวีแห่งยุค Classic ก็ยังถูกฝังอย่างไร้ศักดิ์ศรีและไร้ร่องรอยอยู่ดี ในปี 1791 เกิดมีการต่อสู้ในสังคมและระหว่างประเทศอย่างขนานใหญ่ ในช่วง 70 ปี คือระหว่างปี 1750-1820 โดยมีสงครามอยู่ 7 ปี ได้แก่ การปฏิวัติในฝรั่งเศส สงครามกลางเมืองในอเมริกาและสงครามนโปเลียนทำให้ศูนย์กลางแห่งอำนาจเปลี่ยนจากบุคคลชั้นสูงและศาสนาจักรลงมาตกอยู่ในมือชนชั้นกลาง โดยนัยยะนี้เองที่ทำให้นโปเลียน โบนาปาร์ค กลายมาเป็นจักรพรรดิ์แห่งประเทศฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยความฉลาดสามารถด้วยตัวของเขาเอง แต่เป็นเพราะการเกิดมาในชาติตระกูลผู้ครองนครและวิธีการสืบสันตตวงศ์ ในยุคนี้มีคำขวัญต่างๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น คำว่า “อิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (Liberty, quality และ Fraternity) คำขวัญเหล่านี้ต้ดปากและติดใจผู้คนอยู่เสมอ ความคิด ความเชื่อต่างๆ มีการตรวจสอบและนำมาคิดใหม่มากมาย รวมทั้งในเรื่องที่ว่า “พระเจ้ามีอยู่จริงหรือ” ด้วย ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบของศิลปะ จากรูปแบบที่แข็งแกร่ง หนักแน่น มั่นคงตามแบบฉบับของสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมแบบบาโร้คมาเป็นความอ่อนโยนและละมุนละมัยแบบ Rococo ที่ใช้สีอ่อน เส้นคดโค้ง และการประดับตกแต่งรายละเอียดอย่างสวยงาม โดยมีศิลปินคนสำคัญในสาขาต่างๆเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ในตอนปลายศตวรรษก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอีกโดยที่มีความเห็นกันว่าศิลปแบบ Rococo นั้นถึงแม้จะสวยงามอ่อนช้อยแต่ก็ย่อหย่อนในทางคุณธรรม จึงกลายมาเป็นศิลปะแบบ Neoclassic ที่เป็นความมีสติปัญญา ความสงบ เรียบง่าย และสมถะ แบบกรีกและโรมันโบราณ โดยแสดงออกถึงเส้นอันหนักแน่น โครงสร้างที่ชัดเจนและเนื้อหาที่แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมมากยิ่งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของดนตรีจากแบบบาโร้คมาแบบคลาสสิค หาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสิ้นสุดยุคบาโร้ค ซึ่งกำหนดโดยความตายของ J.S. Bach ก็หาไม่ แต่ที่จริงแล้วดนตรีได้เริ่มมีเค้าการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยที่ทั้งบาคและแฮนเดลยังมีชีวิตอยู่ด้วยซ้ำไป โดยมีลักษณะดนตรีที่เรียกว่า Preclassic ในระหว่างปี ค.ศ. 1730-1770 ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้คู่ขนานไปกับแนวคิดและความเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรมและเป็นไปในระยะเดียวกันกับที่ทั้งบาคและแฮนเดลกำลังสร้างสรรค์งานชิ้นเอกของตนนั่นเอง บุคคลสำคัญที่บุกเบิกงานดนตรีในลักษณะใหม่ๆ แบบนี้ ก็ไม่ใช่อื่นไกลเลย ที่แท้ก็คือบุคคลในตระกูล Bach นั่นเอง ได้แก่ Carl Phillip Euranuel Bach (1714-1788) และ Johann Christian Bach (1735-1782) ในราวกลางศตวรรษที่ 18 คีตกวีให้ความสำคัญในการสร้างดนตรีแบบเรียบง่ายและชัดเจน โดยยกเลิกลักษณะที่มีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากตามแบบบาโร้คตอนปลายโดยสิ้นเชิง รูปแบบของดนตรีหลายทำนองแบบ Polyphony ถูกแทนที่ด้วยท่วงทำนองเบาๆ สบาย และการประสานเสียงแบบง่ายๆ C.E. Bach กล่าวถึงดนตรีแบบบาโร้คว่า “แห้งแล้งและแสดงออกถึงผลงานของความเป็นผู้คงแก่เรียนมากเกินไป” คีตกวีในยุคนี้จึงสร้างความรื่นเริงบันเทิงใจให้แก่ผู้ฟังด้วยบทเพลงที่แสดงถึง “ความขัดแย้งทางอารมณ์และเนื้อหาของบทเพลง” บทเพลงที่ฟังสบายๆและให้อารมณ์นี้รู้จักในลักษณะที่เรียกว่า “Gallant Style” (หนุ่มหล่อนักรัก) ความจริงแล้วคำว่า “Classic” ค่อนข้างสร้างความสับสนให้แก่คนทั่วๆไป และมีหลายความหมาย เช่น อาจจะหมายถึงศิลปกรรมแบบกรีก-โรมันโบราณก็ได้ หมายถึงศิลปกรรมของชาติใดๆ ที่มีการวิวัฒนาการไปจนถึงจุดสูงสุดที่ถือเป็นแบบฉบับก็ได้ และในทางดนตรีอาจจะหมายถึงบทเพลงแบบฉบับที่ใช้ Jass หรือ Rock ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามในทางประวัติดนตรีตะวันตกเป็นการแย้มยิ้มคำว่า Classic นี้มาจากผลงานทางศิลปะยุคปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งนิยมทำเลียนแบบกรีก-โรมันโบราณ แม้ว่าในทางดนตรีจะแสดงออกถึงความเป็น “ของเก่า” น้อยเต็มทนเลยทีเดียวก็ตาม ดังนั้นศัพท์คำว่า “classic” ก็ดีหรือ “Neo classical” ก็ดี จึงมีความหมายแต่เพียงบทเพลงที่แสดงถึงความเรียบง่ายได้ดุลยภาพและความชัดเจนของโครงสร้างเท่านั้นเอง คุณลักษณะแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจนในบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1770-1820 ซึ่งมีคีตกวีคนสำคัญๆ หลายคนในยุคนี้แต่งเพลงที่มีลักษณะดังกล่าวโดยเฉพาอย่างยิ่งก็คือ Joseph Haydn (1732-1809) Wolfgang Amadeus Mozard (1756-1791) และท้ายที่สุดคือ คีตกวีร่วมสมัยระหว่าง Classic กับ Romantic ท่าน Ludwig Van Beethoven (1770-1827) ซึ่งเราได้ศึกษาและฟังบทเพลงของท่านเหล่านี้ต่อไปภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น