วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Classic Period 02

ลักษณะสำคัญของดนตรียุคคลาสสิค 1. ให้อารมณ์ที่ขัดแย้งกันในบทเพลงหนึ่ง หรือในท่อนหนึ่งๆจะมีหลายอารมณ์ มีการเปลี่ยนอารมณ์เพลงอย่างรวดเร็วทันทีทันควัน และบ่อยๆ แสดงงความขัดแย้ง และตรงข้ามกันอย่างชัดเจน แต่ก็อยู่ในกรอบของบทเพลงที่ผู้แต่งจะกำหนดทั้ง Haydn, Mozart และ Beethoven มีความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งทางอารมณ์นี้อย่างมีเหตุผลและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ตลอดทั้งเพลง 2. จังหวะ ใช้จังหวะหลากหลาย ไม่อาจจะเดาล่วงหน้าคาดการณ์ได้เลยว่าต่อไปข้างหน้าจะมีรูปแบบอย่างไร ไม่เหมือนยุคบาโร้คที่พอฟังไปสัก 2-3 ห้องก็จะทราบได้เลยว่าตลอดทั้งเพลงจะมีจังหวะแบบไร แต่ในยุคคลาสสิคนั้นอาจจะหยุดโดยกระทันหัน หรือลักจังหวะและมีการใช้เสียงสั้นๆ ยาวๆ สลักกันไปมาบ่อยๆ รวมทั้งรูปแบบของจังหวะจะโคนด้วย 3. ผิวพรรณ (Texture) ของบทเพลงยุคนี้แตกต่างกับบทเพลงแบบหลายทำนอง (Polyphony) ของ Baroque โดยสิ้นเชิงเพราะเป็นแบบ Homophonic คือมีทำนองเดียวและใช้การประสานเสียงแบบง่ายๆเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็เอาแน่ไม่ได้เพราะบางทีขึ้นต้นทำนองเดียวและมีเสียงประสาน แต่จู่ๆก็อาจจะกลายเป็นหลายทำนอง หรือไม่ก็เป็นทำนองสั้นๆ มาต่อๆ กันก็เอาแน่ไม่ได้ ดังนั้นผิวพรรณของบทเพลงก็ผันแปรไปได้เช่นเดียวกับจังหวะ 4. ทำนองเพลง (Melody) ทำนองของบทเพลงยุคคลาสสิค ฟังคล้ายเพลงร้อง จำง่าย แม้แต่เพลงก็ถือกันว่าชั้นสูงยังนำทำนองมาจากเพลงพื้นบ้าน (Folk) หรือเพลงสมัยนิยม (Popular Music) ได้ ตัวอย่างเช่น บทคีตกวีนิพนธ์บางบทของ Mozart นำมาจากเพลงพื้นบ้านฝรั่งเศสที่ชื่อ Twinkle little star และบ่อยครั้งที่ทำนองแบบนี่ก็ยังเขียนไว้ในลักษณะเดิมของเพลง Pop ด้วยซ้ำไป โครงสร้างของทำนองเพลงมันจะเป็น 2 ส่วน หรือ 2 วลีเท่าๆกัน คือเป็นแบบ A-A ที่เริ่มต้นเหมือนวลีแรก แต่จบต่างกันคล้ายๆเพลงเด็กแบบ Many Had A Little Lamb ซึ่งตรงข้ามกับบาโร้คที่จำยากและสลับซับซ้อน 5. ความดัง-เบา (Dynamic) ในสมัยบาโร้คบทเพลงจะเล่นดังหรือเบาสลับกันเป็นช่วงยาวๆ แต่สมัยคลาสสิคคีตกวีแต่งเพลงให้มีอารมณ์หลากหลายด้วยการบรรเลงแบบค่อยๆ ดังขึ้น หรือค่อยๆ เบาลง บางทีก็ดังกระหึ่มขึ้นมาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ทำให้คนดูต้องทะลึ่งพรวดจากเก้าอี้ด้วยความประหลาดใจก็มี และเพื่อให้ได้อารมณ์ดังกล่าวมี จึงมีการใช้เปียโนเข้ามาแทนออร์แกน ฮาร์ฟซิคอร์ด และคลาวิคอร์ด ซึ่งนิยมใช้กันในยุคบาโร้ค แม้ว่าเปียโนจะมีใช้มาถึงแค่ ค.ศ. 1700 แล้วก็ตามแต่เพิ่งจะมาเป็นที่นิยมก็ในราว ค.ศ. 1770 นี่เอง แล้วก็ได้กลายเป็นเครื่องมือยอดนิยมไปในยุคนี้ 6. การเลิกใช้ Basso Continuo หรือการเล่นแนวทำนองแบบตามใจ (Improvise) ไปตามแนวของเบสที่กำหนดให้ซึ่งเป็นลักษณะของดนตรียุคบาโร้ค แต่ในยุคคลาสสิคนี้คีตกวีไม่ต้องการใช้การ improvise ของนักดนตรีเพราะมีบทเพลงไม่น้อยที่เขียนให้นักดนตรีสมัครเล่น (amateur) ที่ไม่สามารถจะเล่นทำนองขากจินตนาการของตนเองได้ แล้วตัวคีตกวีเองก็ต้องการแต่งบทเพลงที่บังคับให้นักดนตรีเล่นตามที่ตัวเองแต่งมากกว่าการเล่นบบด้น ดังนั้นลักษณะของแนวเบสที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (Basso Contimuo) จึงค่อยๆหมดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น