วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปกติใหม่ กับการเรียนไวโอลิน รายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี

 

ปกติใหม่ กับการเรียนไวโอลิน รายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี ศ.21202

โดย ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

กลุ่มสาระดนตรี

บทนำ

     การจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี(ไวโอลิน) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ตามหลักสูตรสถานศึกษาแกนกลาง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนช่วงชั้นที่ 4 เป็นการเรียนการสอน วิชาเอกดุริยางคศิลป์ จุดประสงค์เพื่อรู้และเข้าใจถึงความแตกต่างทางด้านเสียง องค์ประกอบ อารมณ์ ความรู้สึกของบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ มีทักษะในการร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี ทั้งเดี่ยวและเป็นวงโดยเน้นเทคนิคการร้องบรรเลงอย่างมีคุณภาพ มีทักษะในการสร้างสรรค์บทเพลงอย่างง่าย อ่านเขียนโน้ต ในบันไดเสียงที่มีเครื่องหมาย แปลงเสียงเบื้องต้นได้ รู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบของผลงานทางดนตรี องค์ประกอบของผลงานด้านดนตรีกับศิลปะแขนงอื่น แสดงความคิดเห็นและบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลง สามารถนำเสนอบทเพลงที่ชื่นชอบได้อย่างมีเหตุผล มีทักษะในการประเมินคุณภาพของบทเพลงและการแสดงดนตรี รู้ถึงอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี

           รู้และเข้าใจรูปแบบบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภท และจำแนกรูปแบบของวงดนตรีทั้งไทยและสากล เข้าใจอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อการสร้างสรรค์ดนตรี เปรียบเทียบอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับจากดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากล ในอัตราจังหวะต่าง ๆ มีทักษะในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์ การเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1.   ความสามารถในการสื่อสาร   เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร   มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด   ความรู้ความเข้าใจ   ความรู้สึก   และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาตนเองและสังคม   รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง  ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

2.   ความสามารถในการคิด   เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์   การคิดสังเคราะห์  การคิดอย่างสร้างสรรค์   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ   และการคิดเป็นระบบ   เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่าง เหมาะสม

3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา   เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล   คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ   เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ  ในสังคม   แสวงหาความรู้   ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม

4.   ความสามารในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน   การเรียนรู้ด้วยตนเอง   การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง   การทำงาน   และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล   การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ  อย่างเหมาะสม   การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม   และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถใจการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ  และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี   เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม   ในด้านการเรียนรู้   การสื่อสาร   การทำงาน   การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์   ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน

          1. นักเรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาและจัดการอย่างเป็นระบบ  รู้วิธีการแสวงหาเพิ่มเติมจากสื่อและแหล่งการศึกษาต่างๆ

    2. นักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ  นาฏศิลป์และดนตรีอย่างอิสระ

  3. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกดังนี้ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ ชำนาญเทคโนโลยี มีความเป็นผู้นำ

          ในสถานการณ์ Covid-19 โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบปกติ เปลี่ยนมาเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยได้มีการจัดกระบวนทัศน์ และการพัฒนาการสอนวิชาปฏิบัติแบบออนไลน์ รายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี(ไวโอลิน) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ และพัฒนาคุณภาพการศึกษารองรับสถานการณ์ต่างๆได้ตามโลกาภิวัฒน์

คำสำคัญ นักเรียนเพิ่มเติมเลือก/ไวโอลิน/สอนนออนไลน์

เนื้อหา

ถอดความการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ Covid-19  โดยการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดังต่อไปนี้

ธรรมชาติรายวิชาปฏิบัติเพิ่มเติมเลือกไวโอลิน  เป็นการสอนเน้นการปฏิบัติเครื่องมือ ได้แก่ไวโอลิน โดยใช้บทเพลงเป็นหลักนำเข้าสู่ทฤษฎีดนตรี การอ่านโน้ต การเล่นประกอบจังหวะ และการเล่นบทเพลง โดยการจัดการเรียนแบบขบวนการกลุ่มการเรียน หมายถึงเรียนพร้อมๆกันครั้งละ 16 คน ซึ่งเดิมทีก็เป็นเรื่องยากเรื่องหนี่ง สำหรับการเรียนแบบกลุ่ม ในการเรียนเครื่องมือไวโอลิน เพราะข้อจำกัดหลายด้าน เช่น สมรรถนะในการเรียนของนักเรียนแต่ละคน สรีระร่างกาย กล้ามเนื้อมือซ้าย มือขวาที่ต้องมีการจัดวางเป็นรายบุคคลล



สำหรับการเรียนกานสอนรายวิชาปฏิบัติเพิ่มเติมเลือกไวโอลิน แบบออนไลน์ จากการถอดบทเรียนมีแนวคิดการถอดบทเรียนการเรียนการสอนออนไลน์มีประเด็น ดังต่อไปนี้

ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) การสื่อสารในชั้นเรียนไวโอลินต้องทำให้เกิดเส้นทางเดินทางเป็น 2 ทาง ให้ได้ หมายถึงการเป็นการสื่อของอาจารย์ส่งสาร อะไรไป ต้องมีการตอบรับจากนักเรียนตอบกลับมาให้ได้ สำหรับเรื่องการสื่อสารในชั้นเรียนไวโอลินออนไลน์ปัจจุบันสามารถสะท้อนแนวคิดข้อคิดเห็นได้

1).เรื่องวินัยในชั้นเรียน นักเรียนต้องมีสมาธิและวินัยในชั้นเรียน เด็กนักเรียนไทยต้องเรียนอย่างมีเป้าหมาย และมุ่งมั่นต่อจุดประสงค์การเรียนในรายวิชาอย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น ปรัชญาการเรียนของนักเรียนจีน จะมีปรัชญาการเรียนเพื่อการแข่งขันต่อโอกาสของตนเองสำหรับประชากรที่มีอยู่จำนวน พันล้านคน นักเรียนต้องเรียนให้เก่งเพื่อที่จะมีโอกาสก้าวหน้าในสังคม และตระกูลตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมากจะต้องปลูกฝังค่านิยมการเรียนให้ต้องมีวินัยในการเรียนแบบเด็กไทย



2). สัญญาณอินเตอร์เนต ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนออนไลน์ ผมจะโดนนักเรียนสอบทานอยู่เสมอว่า ”อาจารย์เสียงยืด อาจารย์เสียงหาย อาจารย์เสีบงไม่ดี” หมายถึงว่าระบบสัญญาณอินเตอร์เนตที่ไม่เสถียร ทำให้การรับส่งสัญาณไม่สามารถตอบสนองได้เต็มที่ ซึ่งโรงเรียนได้ลงทุนเรื่องระบบสัญาณอินเติร์เนตตลอดเวลา แต่โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ตอนนี้ประชากรในการใช้สัญญาณ ไม่น้อยกว่า 3,000 คน นับว่าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะชั้นเรียนดนตรี ที่ต้องมีความชัดของสัญญาณ เพื่อสามารถรองรับการรับฟังเสียงที่หลากหลายระดับเสียง หลากหลายโทนเสียง หลากหลายโน้ตเพลง ความคมชัดและตรงเวลาของระดับเสียงมีผลต่อความเข้าใจ ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

3). คุณภาพของเสียง ที่ได้ยินจากเครื่องรับเสียง เช่นลำโพง หูฟัง ไมโครโฟนส์ ก็จะทำให้เรื่องของคุณภาพของเสียงในการรับฟังที่ชัดเจนเสมือนอยู่ในห้องเรียนจริงประมาณนั้น เพราะว่านักเรียนแต่ละบุคคลยังใช้อุปกรณ์ และวัสดุที่ยังมีคุณภาพที่แตกต่างกันตามศักยภาพ ทำให้การรับฟังเสียงรายบุคคลในชั้นเรียน ก็จะมีความแตกต่างกันของคุณภาพเสียง

ทักษะการร่วมมือ (Collaboration) ลองมาฟังคำนิยามกันดูนะครับ คือการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ คือการทำงานร่วมกัน แบบประสานการทำงานให้สอดคล้องกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มทีมงาน เพื่อให้เป้าหมายหลักร่วมกันขององค์กรเสร็จสมบูรณ์ หัวใจของการทำงานแบบ Collaboration คือการมีสัมพันธภาพที่ดีของคนในกลุ่ม ในองค์กร ซึ่งเมื่อมีเป้าหมายหลักร่วมกันแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถดำเนินการไปสู่เป้าหมายได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำทีม เพียงแต่ แต่ละคน แต่ละทีมรับทราบ เข้าใจบทบาท มีความสัมพันธ์ที่เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน จะส่งเสริม ช่วยเหลือจนเป้าหมายหลักสำเร็จ คนทำงานจะรู้สึกว่าความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จร่วมกัน

แต่สำหรับการถอดบทเรียนการเรียนการสอนไวโอลินออนไลน์ ของนักเรียนปัจจุบันนักเรียนยังมีการซ่อนใบหน้าไว้ในมุมแคบ นักเรียนยังไม่อยากเปิดกล้อง เปิดเสียง และยังมีบางส่วนที่เข้ามาในสันญาณระบบ Ms-Team และปิดกล้อง ปิดเสียงไว้ เพราะฉนั้นทักษะการร่วมมือต่อการเรียนยังต้องอาศัยควบคู่ไปกับการมีวินัยในการเรียนด้วยกัน แต่สำหรับนักเรียนที่มีวินัยต่อการเรียนแล้วช่างเกิดผลลัพท์ที่คาดไม่ถึงหลายประการ เช่น การวางแผนการสอนแบบ Onsite นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน วางแผนการสอนไว้สับดาห์ละ 1 เพลง แต่การจัดการเรียนการสอนจริงนักเรียนไม่เคยที่จะเล่นกันได้จบเพลงกันเท่าที่ควร คุณครูก็จะใช้วิธีการวัดแบบจุดประสงค์การเรียนรู้กันไปพอประเมินได้ แต่สำหรับการเรียนออนไลน์ สำหรับการออกแบบการสอนสัปดาห์ละ 1 เพลง นักเรียนจะใช้ทักษะการร่วมมือเพื่อให้ตนเองสามารถเล่นได้จบเพลงใน 1 สัปดาห์ให้ได้จบเพลง

 



 

โมเดลการสอนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกไวโอลิน  2 คาบเรียน ต่อสัปดาห์ เวลาการสอน 100 นาที  มีโมเดลการสอน  4 ลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

1).ขั้นเตรียมความพร้อม สายใครสายมันหมุนกันคนละที  (10 นาที) เป็นขั้นตอนที่เหมือนจะง่าย แต่จริงแล้วไม่ง่ายเลยครับ และให้เวลาไว้เพียง 10 นาที เช็คชื่อนักเรียนเข้าชั้นเรียน ตั้งเสียงเครื่องดนตรีไวโอลิน เครื่องดนตรีไวโอลิน มี 4 สาย ในการตั้งเสียงไวโอลินมีความจำเป็นต้องตั้งเสียงทุกครั้งเพราะว่าเครื่องดนตรีไวโอลิน ระบบการเกิดเสียงเกิดจากการหมุนของลูกบิดไม้ ทำให้โอกาสการเกิดเสียงไม่ตรงมีอยู่มาก การต้องตั้งเสียง 4 สาย กับเครื่องไวโอลิน 16 ตัว ต้องใช้ทักษะการร่วมมือและทักษะการสื่อสาร จนแทบหมดเสียงแล้วครับใน 10 นาทีแรก

2).ขั้นอธิบายเนื้อหา บทเพลงแสนดี 100 นาที 1 เพลง (30 นาที) เป็นขั้นตอนอธิบายบทเพลงที่จะใช้ในรายคาบเรียน มีการบรรเลงตัวอย่างบทเพลงในเริ่มต้น อธิบายโน้ตเพลงที่มีในบทเพลง การอ่านโน้ตให้เข้ากับอัตราจังหวะ การตีความโน้ตเพลงเพื่อให้เห็นตำแหน่งการวางนิ้ว (Fingering Chart) และการบรรเลงบทเพลง ขั้นนี้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการตอบข้อสงสัยของนักเรียนที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินไป เพราะนักเรียนจำนวนมาก ระบบการสื่อสารต่อการยุติข้อซักถาม ต้องไม่คิดมากพยายามอธิบายเนื้อหาทั้งหมดของเพลงให้ทันเวลา

3). ขั้นฝึกปฏิบัติ ตัวใครตัวมันทั้งฉันและเธอ (30 นาที) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนต้องใช้ความสามารถ และการรวมรวมความเข้าใจทั้งหมดของการอธิบายความ เพื่อฝึกปฏิบัติบทเพลงให้สำเร็จผล แต่ก็จะมีปัญหาสืบเนื่อง เช่น เครื่องดนตรีสายไม่ตรงระหว่างการเรียนในชั่วโมงเรียนเกิดขึ้นบ่อย การอ่านโน้ตเพื่อบรรเลงบทเพลง ปัญหาสรีระกล้ามเนื้อ และนิ้วมือซ้ายตึง หรือการจัดการทางเทคนิคดนตรี ความตรงของเสียง (Intronation) ความตรงของจังหวะ (Rhythm) การบรรเลงต่อบทเพลงอย่างต่อเนื่อง

4). ผลงานรายคาบเรียน พึ่งรู้ว่าตัวเก่ง จบเอง 1 เพลง (30 นาที) การเรียนการสอนออนไลน์มีข้อตกลงประการหนึ่งจากฝ่ายวิชาการ คือการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ต้องประเมินให้เห็นใน Assignment  และเป็นการสอดคล้องต่อโมเดลการสอน เพื่อบรรลุจุดประสงค์ช่วงชั้น การนำเสนอผลงานบทเพลรายคาบเรียน ซึ่งทำให้นักเรียนไม่สามารถเป็นวิญญาณในการส่งสัญาณเข้ามาเรียนในระบบได้เท่านั้น นักเรียนจะต้องช้ทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีส่วนร่วม ประกอบร่างให้เป็นทักษะทางดนตรี รายคาบให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์



 

บรรณานุกรม

ยงยุทธ เอี่ยมสอาด,(2559) การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น