อุปรากรอเมริกา
อเมริกาได้รับรูปแบบของอุปรากรมาจากทุกสำนัก
สหรัฐอเมริกาเองก็ได้ผลิตอุปรากรออกมาได้ชนิดที่ไม่แตกต่างกันไปจากแบบแผนเดิม
งานต่างๆของ วิกเตอร์ เฮอร์เบอร์ต (Vietor Herbert) แคดแมน (Cadman)
ฮอราโช ปาร์เกอร์ (Horatio Parker) และคนอื่นๆ
ก็สร้างงานขึ้นมาในแบบของเยอรมันและฝรั่งเศส
โรงอุปรากรเมโทรโปลิแตนนิวยอร์กเกือบจะเป็นสถานบันเทิงแห่งเดียวที่ยังคงยืนหยัดผลิตงานยิ่งใหญ่
ในแบบฉบับชั้นเลิศอยู่ปีแล้วปีเล่า นอกจากโรงอุปรากรในนิวออร์ลีนส์
และดูเหมือนว่าบางที
ชิคาโกอาจได้รับความสำเร็จในการดำรงรักษากิจกรรมบันเทิงแบบของตนไว้อย่างถาวร
แต่ความพยายามที่จะสร้างอุปรากรที่เป็นอิสระอย่างยืนยาวในนครเช่น
ฟิลาเดลเฟียและบอสตัน ดูจะไร้ผล ในเมืองอื่นๆ
ก็คงขึ้นอยู่กับความพากเพียรของนักแต่งอุปรากรสมัครเล่นเท่านั้นเอง
โรงอุปรากรต่างๆ ในอเมริกาส่วนใหญ่ยังต้องดิ้นรณต่อสู้เพื่อการอยู่รอดอยู่
อย่างไรก็ดีนับแต่ผลงานของยอร์ช
เกิร์ชวิน ชื่อ Porgy
and Bess กับของเวอร์จิล ทอมสัน ชื่อ Four Saints in Three
Acts ได้ปรากฏโฉม เมื่อ ค.ศ.๑๙๓๐ ก็นับได้ว่าอุปรากรอเมริกันได้ปลีกตัวออกมาเป็นอิสระคลายการพึ่งพาศิลปะแบบยุโรปลง
ต่อมาก็ได้อาศัยความสำเร็จของแซมมวล บาร์เบอร์, อารอน คอฟแลนด์, จีอัน คาร์โล
เมนอตตี, โรเจอร์ เซสชันส์ รวมทั้งนักประพันธ์เพลงชาวอเมริกันใหม่ๆ เช่น
เลียวนาร์ด เบิร์นสไตน์ ฟิลิป กลาสส์ และคนอื่นๆ จังนับได้ว่าอเมริกาทุกวันนี้มีอุปรากรมากมายในสายเลือดนักดนตรีทุกสายที่ล้วนแต่รังสรรค์ขึ้นมาโดยนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน
เพื่อให้ความพึงพอใจแก่ผู้ชมทุกกลุ่ม
ยิ่งกว่านั้นความสนใจมากขึ้นในการวางโครงเรื่องการจัดเวที และลีลา
แบบโมเดิร์นแดนซ์ กำลังทำให้รูปแบบอุปรากรอเมริกันเปลี่ยนไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น