งานประจำปีในระหว่างฤดูร้อน
แสดงการบรรเลงแบบ
Poppula
Concert สำหรับประชาชน
ณ
สถานที่กาแฟนรสิงห์
“
กาแฟนรสิงห์ ” ( Café’ Norasingh )
เป็นสถานที่ๆตั้งอยู่มุมถนนศรีอยุธยา ซึ่งบัดนี้ถูกรื้อถอนลงหมดสิ้นแล้ว
สถานที่นี้พระมงกุฏเกล้าฯ
ได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและได้ทรวมอบกิจการของสถานที่นี้ให้เป็นหน้าที่ของกรมมหรสพ
นอกจากสถานที่ Café’ Norasingh ซึ่งเป็นสถานที่ว่างและเครื่องดื่มแล้วยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างกระโจมแตรถาวรขนาดใหญ่ขึ้นในที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย
เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ตั้งทำการบรรเลงดนตรีให้ประชาชนฟัง มีทั้งวงดุริยางค์สากลและวงดนตรีปี่พาทย์สลับรายการกันทุกๆวันอาทิตย์ตอนเย็นเริ่มแต่เวลา
๑๗.๐๐ น. ถึง ๑๙.๐๐ น.
ตามบริเวณหน้สกระโจมมีโต๊ะและเก้าอี้จัดไว้รับรองสำหรับประชาชนประมาณ ๓๐๐ ถึง ๔๐๐
คน การเข้านั่งฟังการบรรเลงนี้ไม่ต้องเสียเงินค่าผ่านประตูแต่มีกฎเกณฑ์ไว้ว่าผู้ที่เข้ามานั้นต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเท่านั้น
การบรรเลงเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมิถุนายน
เพราะหลังจากนั้นจะเข้าฤดูฝนการบรรเลงกลางแจ้งเช่นนี้ไม่สะดวกด้วยเหตุหลายประการ
วงดุริยางค์และวงปี่พาทย์ได้ทำการบรรเลงเป็นงานประจำปีจนสิ้นรัชสมัยของพระองค์
ข้าพเจ้ายังระลึกได้ว่าทุกๆคราวที่มีการบรรเลง
ลานพระบรมรูปทรงม้ามุมถนนศรีอยุธยานั้นคับคั่งไปด้วยรถยนต์ประดุจมีงานมโหฬาร
ซึ่งส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศที่พากันมาฟังเฉพาะในวันที่มีการบรรเลงดนตรีสากล
ประชาชน
พ.ศ.
๒๔๖๕ ทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
พ.ศ.
๒๔๖๖ อย่างล้นเหลือถึงกับได้โฆษณากล่าวขวัญสดุดีพระองค์ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันอยู่เนืองๆ
นอกจากงานภายในส่วนพระองค์แล้วงานสำคัญๆ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานให้วงดุริยางค์ไปบรรเลงสำหรับประชาชนก็มีงานเฉลิมพระชนม์พรรษา
งานสภากาชาด และงานฤดูหนาว เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นงานประจำปีทั้งสิ้น
งานนี้ได้จัดให้มีขึ้นที่สวนจิตต์ลดาบ้าง ที่สวนสราญรมย์บ้าง เป็นงานประจำ ๗ วัน ๗
คืน วงดุริยางค์ต้องไปปฏิบัติงานตั้งแต่ค่ำจนใกล้รุ่ง
นอกจากนี้ก็ยังมีงานตามสถานฑูตเป็นงานวันชาติของชาติต่างๆ
ที่ตั้งสถานฑูตอยู่ในกรุงเทพฯ นี้ เช่น สถานฑูตอังกฤษ, อเมริกา, อิตาลี
กับในการต้อนรับจอมพล Joffre
ก็ได้มีที่สถานฑูตฝรั่งเศส
องค์การต่างประเทศที่สำคัญๆก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เสมอ เช่น The
British Legion, Alliance ,
Frangaise, St. Andrew’s Ball กับในงานกีฬาต่างๆ เช่น
การแข่งขันชิงถ้วย Foodball การแข่งม้าที่ราชกรีฑาสโมสร
และที่ราชตฤณมัย เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ได้แพร่ออกทั่วๆไปเสมอ
กองแตรวง
(Brass
Band) กรมเสือป่าพรานหลวงและกรมม้าหลวง
พ.ศ.
๒๔๖๑ กองแตรวงกรมเสือป่าพรานหลวงและม้าหลวงได้จัดตั้งขึ้นเป็นกองแตรวง
๒ หน่วยต่างกัน
เพื่อประกอบกิจการของเสือป่าซึ่งเป้นราชการอีกส่วนหนึ่งในพระราชสำนัก
พ.ศ.
๒๔๖๓ แตรวงทั้ง ๒ หน่วยนี้
ได้จัดตั้งขึ้นตามแบบที่เรียกว่า Brass Band คือ
ประกอบด้วยเครื่องทองเหลืองล้วนๆ ใช้ในการบรรเลงสำหรับประชาชนและในการนำแถวเสือป่า
ส่วนนักดนตรีนั้นใช้ผู้ที่ประจำอยู่ในวงดนตรีฝรั่งหลวง
ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จสววคตแล้วแตรวงทั้ง ๒
หน่วยนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไปพร้อมทั้งกรมเสือป่าด้วย
จึงนับได้ว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้านี้ศิลปกรรมการดนตรีทั้งไทยและสากลได้ก้าวหน้าขึ้นสู่ความเจริญเป็นอันมากเพราะนอกจากวงดุริยางค์สากลส่วน
พ.ศ.
๒๔๖๕ – พระองค์แล้ว
แตรวงของกองทัพบกก็ดี ของกองทัพเรือก็ดี และของกรมรักษาวัง
พ.ศ.
๒๔๖๗ ก็ดี ก็ได้เจริญรอยตามขึ้นไปด้วย
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นสมัยที่ศิลปกรรมทุกๆ
สาขารุ่งเรืองอย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น