วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โมโนโฟเบีย โรคห่างโทรศัพท์มือถือไม่ได้

ฝ่ายพัฒนานักเรียนโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นจากการที่นักเรียนถูกคุณครูเรียกเก็บโทรศัพท์มือถือที่นำมาใช้ในห้องเรียน มีนักเรียนถึงกับถีบเก้าอี้เพื่อแสดงออกในความไม่พอใจ ในการถูกเรียกเก็บโทรศัพท์มือถือที่เล่นในชั่วโมงเรียน มีนักเรียนใช้มือตนเองทุบโต๊ะอย่างแรงเพื่อแสดงอารมณ์ไม่พอใจเมื่อยึดโทรศัพท์มือถือ มีนักเรียนหญิงไม่สนใจต่อการที่จะถูกตัดคะแนนความประพฤติ อยากตัดก็ตัดไป แต่อย่าเอาโทรศัพท์มือถือไป.............อีกหลายเหตุการณ์มาก อดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า โทรศัพท์มือถือสำคัญกว่าอะไร ใดๆแล้วหรือ.......เพราะอะไรล่ะ........... โมโนโฟเบีย ลองสำรวจตัวเองกันหน่อยมันมาใกล้ตัวเราหรือยัง โรคห่างโทรศัพท์มือถือไม่ได้..... ความกลัวจากสัตว์หรือสิ่งของซึ่งคนธรรมดาทั่วไป อาจเห็นเป็นเรื่องสามัญมากๆนี้ เป็นความกลัวซึ่งเป็นโรคเล็กๆที่เรียกว่า Phobia นั่นเอง Phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวช เราถือว่าเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล เป็นความกลัวคนละแบบกับ กลัวที่แปลว่า fear ในพจนานุกรม อธิบายคำว่า โฟเบีย (Phobia) นี้ว่าหมายถึง ความกลัว โรคหวาดกลัว ความกังวลชนิดครอบงำ ซึ่งฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงหรือน่าเห็นอกเห็นใจอะไรเท่าไหร่ เพราะเราทุกคน ล้วนแล้วแต่มีความกลัวอะไรบางอย่างกันทั้งนั้น แต่ นายแพทย์ไมเคิล คาฮาน จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคโฟเบีย โรงพยาบาลฮิลล์ไซด์ นิวยอร์ค ชี้แจงไว้ว่า ผู้ที่มีอาการโฟเบียต่ออะไร จะกลัวสิ่งนั้นๆ "แบบไร้ขีดจำกัด" "อย่างไร้เหตุผล" และความกลัวที่ว่าก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากใครสักคนกลัวงู เรายังไม่สามารถด่วนสรุปได้ว่า เขาหรือเธอคนนั้นมีอาการโฟเบียงู นอกเสียจากว่า ความกลัวงูของเขาจะก่อให้เกิดผลกระทบในทางเลวร้ายต่อคุณภาพชีวิตของตัวเอง ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ผู้ที่เกิดอาการโฟเบียมีแนวโน้มที่จะทำ "ทุกวิถีทาง" เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นๆ ซึ่งก็ส่งผลร้ายต่อไปอีกขั้น เพราะความพยายามในการหลบๆ เลี่ยงๆ สัตว์ วัตถุ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นไปอีก คุณหมอไมเคิลยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งโฟเบียได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Specific Phobia และ Social Phobia แปลกันอย่างตรงตัว Specific Phobia คือ โฟเบียแบบจำเพาะ และ Social Phobia ก็คือ โฟเบียทางสังคม - Cynophobia กลัวสุนัข แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น จะพอสรุปได้ว่า โฟเบียแบบจำเพาะ หรือ Specific Phobia คือความกลัวอย่างรุนแรงต่อ วัตถุ สัตว์ หรืออะไรบางอย่างเปนการเฉพาะเจาะจง เช่น กลัวหนู กลัวงู หลัวลิฟต์ กลัวเลือด กลัวความมืด กลัวหมอฟัน หรือกลัวลูกเจี๊ยบ Acrophobia กลัวความสูง ส่วนโฟเบียทางสังคม หรือ Social Phobia คือความกลัวในสถานการณ์ เช่น กลัวเวที กลัวการปรากฏตัวในที่สาธารณะ กลัวที่จะต้องทำความรู้จักกับคนแปลกหน้า ผู้ที่เกิดความกลัวในประเภทนี้ มักจะหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เพราะกลัวว่าตนเองอาจแสดงอะไรไม่เข้าท่าให้เป็นที่ขายหน้าได้ พูดง่ายๆ ก็คือ คล้ายกับคนขี้อาย แต่เป็นการอายแบบสุดขั้ว ชนิดที่แทบจะไม่สามารถไปไหนมาไหนโดยลำพังได้ ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ไม่คิดหาทางแก้ไข ก็อาจส่งผลร้ายถึงขั้นที่ทำให้เกิดอาการเก็บกดหรือซึมเศร้า เสี่ยงต่อการเป็นโรคประสาทถาวรกู่ไม่กลับมาก ตามสถิติที่แจ้งไว้ทางหน้าข่าวสุขภาพของ www.msn.com คือ ปัจจุบันชาวอเมริกันจำนวนร้อยละ 6-12 มีอาการโฟเบียแบบแรก ส่วนโฟเบียประเภทหลัง ตัวเลขปาเข้าไปถึงกว่าร้อยละ 13 แล้ว ถามว่า โฟเบียมีสาเหตุมาจากอะไร ขอย้อนกลับไปอ้างถึงคำพูดของคุณหมอไมเคิล คาฮาน นั่นคือ ไม่มีใครให้คำตอบได้แน่ชัด แม้ในบางรายของโฟเบียแบบจำเพาะ จะพอรู้คร่าวๆ ถึงต้นสายปลายเหตุได้อยู่บ้าง เช่น คนที่กลัวหมา นั่นก็อาจเป็นเพราะเคยถูกหมากัดตอนเด็กๆ หรือกลัวน้ำ เพราะเคยจมน้ำมาก่อน แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ว่าอาการโฟเบียเกิดจากอะไรแน่ อยากให้ลองสำรวจตัวเองกันดูว่าเราห่างจาโทรศัพท์มือถือไม่ได้หรือป่าว เราใกล้โมโนโฟเบียแล้วหรือยัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น