ศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์
ขันธศิริ
THE ANALYSIS
STUDIED VIOLIN SOLO OF LAO
– PAN SONG BY
PROF.DR. KOVITH KANTASIRI
ยงยุทธ เอี่ยมสอาด1,ดร.ชนิดา ตังเดชะหิรัญ2
Yongyuth Eiamsa - ard1, Dr. JanidaTangdajahiran
2
1สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1Ethnomusicology,
Srinakharinwirot University.
2คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2Faculty
of Fine Arts, Srinakharinwirot University.
บทคัดย่อ
รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์ ขันธศิริ
เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2484 เกิดที่กรุงเทพมหานครย่านฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายสมบุญ ขันธศิริ
มารดาชื่อนางสมจิตต์ ขันธศิริ มีน้องสาวหนึ่งคน คือ รองศาสตราจารย์อรวรรณ บรรจงศิลป์
มีบุตร 1 คน
คือนายปิยะวิทย์ ขันธศิริ คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวอยุธยา
ท่านเติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ชอบดนตรีไทยมาก
โดยเฉพาะคุณพ่อมีความสามารถเล่นซออู้และไวโอลิน และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกของท่าน ต่อมาท่านเรียนดนตรีกับนายจำนง ราชกิจ
และคุณหลวงไพเราะเสียงซอ
ได้เรียนเพลงไทยประเภทเพลงเดี่ยว
เช่น เพลงนกขมิ้น เพลงสารถี
เพลงพญาโศก เพลงแขกมอญและเพลงสุดสงวน
เป็นต้น
การศึกษาดนตรีสากลท่านสอบได้ประกาศนียบัตรทางการเล่นไวโอลินเกรด
8 จาก Royal School
of Music, UK จบปริญญาตรี K.C.M.
Royal Conservatory of Music , Natherlandจบปริญญาโท M.A.
in
Misicology-Ethnomusicology
Kent State University , Ohio USA. และจบการศึกษาปริญญาเอกทางดนตรีเปรียบเทียบ
(Music Comparative) Sussex
College of Technology , UK.
การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ จากแนวคิดที่ว่า คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก ส่วนคนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย
ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน
เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก
แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง เอกลักษณ์ของเสียงและ เทคนิคไวโอลินมาใช้อย่างเหมาะสม เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย
เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่
โดยไม่ทำลายให้เสียหาย
สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลิน
การวิเคราะห์บทเพลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพน
ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์
ขันธศิริ ได้ทำการวิเคราะห์ในท่อนเดี่ยว
โดยนำทำนองเพลงลาวแพนทางของครูดนตรีไทยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ในแนวคิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก มาบรรเลงตามขนบแบบไทย นำสีสัน สำเนียง เอกลักษณ์ของเสียง
และเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
มีการนำเทคนิคมือขวา การเล่นโน้ตหลายๆตัว (Loure Bowing )
การขยายส่วน ( Augmentation ) เทคนิคการขยายส่วนจังหวะให้มีความยาวเป็น 2
เท่าหรือยาวกว่านั้น
มีการนำเทคนิคการพรมนิ้ว ( The Trill ) การเล่นโน้ต 2
ตัวสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว
เทคนิคโน้ตประดับ ( Turn )กลุ่มโน้ต 4 – 5 ตัวที่เป็นโน้ตประดับของโน้ตหลัก
มีลักษณะการขึ้นลงที่มีแบบแผน เทคนิคการไล่เลียน ( Imitation
)การเลียนการไล่เลียนกันของทำนองระหว่าง 2 แนว ขึ้นไป ประโยคถาม ( Antecedent )
ทำนองถาม ประโยคที่ตามด้วยประโยคตอบ มีการนำเทคนิคการครั่นโน้ตสะบัด โน้ตประดับชนิดหนึ่ง เป็นโน้ตตัวเล็กที่อยู่หน้าโน้ตหลัก
เล่นผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่นับจังหวะการประพันธ์ห้วงลำดับทำนอง ( Sequence )ทำนองที่มีลักษณะขึ้นลงเหมือนกันเป็นระยะขั้นคู่เท่ากัน การเล่นซ้ำ ( Repetition )เทคนิคสำคัญของการแต่งเพลงที่นำทำนองมาเล่นซ้ำทันทีในระดับเสียงและ
ลักษณะจังหวะเหมือนกัน
คำสำคัญ :
ไวโอลิน
Keyword : Violin
Abstract
A study of violin solo of Lao-Pan song by
Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri consists of the following study research
proposes:
1. To research biography and works of Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
2. To research a unique style of violin solo of Lao-Pan song by
Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
The research by collecting academic documents concerning interviews by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri can be summarized as follows: Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri was born on 10th November, 1941 at Thonburi, Bangkok, a son of Mr. SomboonKanthasiri and Mrs. SomjitKanthasiri (Sukhantarak). He has a sister Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp and a son, Mr. PiyavithKanthasiri. His father and mother were born in Ayudhaya.
His family, especially his father, Mr. SomboonKanthasiri has a great affection for Thai classical music. He can play Thai fiddle and violin. He is the first teacher of Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri. After that he and his sister (Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp) studied Thai classical music with Mr. JamnongRatchakij (JarunBoonyarattanapan), Thai classical music teacher who was deputy of His Majesty’s Principle Private Secretary at that time and studied with KhunluangPairoaSiangsor. He studied solo Thai classical songs, such as NokKmin Song, Saratee Song, Phraya Sok Song, Kaek Mon Song and SudSagnuan Song. He got grade 8 violin certificate from Royal School of Music, UK and bachelor degree from K.C.M. Royal Conservatory of Music , Natherland M.A. in Misicology-Ethnomusicology Kent State University , Ohio USA. and Ph.D. (Music Comparative) Sussex College of Technology , UK
Generally violin players always perform only classical music whereas Thai fiddle player always perform only Thai classical music. Therefore the solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri is originated from the idea to combine Thai classical music and classical music harmoniously without ignoring Thai style. Violin’s tones, accents and technics are applied in combination properly to be an innovation without losing a unique of Thai style. It can be regarded as a unique Thai classical music performed by violin.
A study research of violin solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasirianalyzes only one part of Lao-Pan Tang song of Mr. Jaroen, Thai classical music teacher at Baan Somdej Chao Phraya Teacher’s University. The research is in the concept of harmonious combination of Thai classical music and classical music performed in Thai style with tones, accents, unique tunes and advanced technics to be applied properly.
There are several technics applied to performance, such as right hand technics of Loure Bowing (to play several notes), Augmentation (to double time values of notes twice or more), left hand technics of Trill (a musical ornament consisting of the rapid alternation of 2 notes), Turn (an ornament consisting of 4-5 notes as an ornament notes to principal note with principled ascending and descending, Imitation (a restatement in close succession of a musical idea in different voice parts), Antecedent (a phrase as a question with a weak cadence followed by a consequent phrase as an answer). To research technics of Stretch, Accompanying, Insert of Thai classical music. Technics of double stop, left hand pizzicato, vibration, grace note (an ornament note printed in small type to indicate that its time value is not counted in the general rhythm)Sequence (in musical composition, a sequence is a phrase repeated at a higher or lower interval), Harmonic Sequence (a repetition is of a series of chords), Repetition (As a device of composition, repetition is one of the fundamental principles of musical structure, providing unity where sequences are repeated in balance with the initial statements
1. To research biography and works of Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
2. To research a unique style of violin solo of Lao-Pan song by
Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri
The research by collecting academic documents concerning interviews by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri can be summarized as follows: Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri was born on 10th November, 1941 at Thonburi, Bangkok, a son of Mr. SomboonKanthasiri and Mrs. SomjitKanthasiri (Sukhantarak). He has a sister Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp and a son, Mr. PiyavithKanthasiri. His father and mother were born in Ayudhaya.
His family, especially his father, Mr. SomboonKanthasiri has a great affection for Thai classical music. He can play Thai fiddle and violin. He is the first teacher of Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri. After that he and his sister (Assoc. Prof. OrawanBanjongsilp) studied Thai classical music with Mr. JamnongRatchakij (JarunBoonyarattanapan), Thai classical music teacher who was deputy of His Majesty’s Principle Private Secretary at that time and studied with KhunluangPairoaSiangsor. He studied solo Thai classical songs, such as NokKmin Song, Saratee Song, Phraya Sok Song, Kaek Mon Song and SudSagnuan Song. He got grade 8 violin certificate from Royal School of Music, UK and bachelor degree from K.C.M. Royal Conservatory of Music , Natherland M.A. in Misicology-Ethnomusicology Kent State University , Ohio USA. and Ph.D. (Music Comparative) Sussex College of Technology , UK
Generally violin players always perform only classical music whereas Thai fiddle player always perform only Thai classical music. Therefore the solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasiri is originated from the idea to combine Thai classical music and classical music harmoniously without ignoring Thai style. Violin’s tones, accents and technics are applied in combination properly to be an innovation without losing a unique of Thai style. It can be regarded as a unique Thai classical music performed by violin.
A study research of violin solo of Lao-Pan song by Assoc. Prof. Dr. KovithKanthasirianalyzes only one part of Lao-Pan Tang song of Mr. Jaroen, Thai classical music teacher at Baan Somdej Chao Phraya Teacher’s University. The research is in the concept of harmonious combination of Thai classical music and classical music performed in Thai style with tones, accents, unique tunes and advanced technics to be applied properly.
There are several technics applied to performance, such as right hand technics of Loure Bowing (to play several notes), Augmentation (to double time values of notes twice or more), left hand technics of Trill (a musical ornament consisting of the rapid alternation of 2 notes), Turn (an ornament consisting of 4-5 notes as an ornament notes to principal note with principled ascending and descending, Imitation (a restatement in close succession of a musical idea in different voice parts), Antecedent (a phrase as a question with a weak cadence followed by a consequent phrase as an answer). To research technics of Stretch, Accompanying, Insert of Thai classical music. Technics of double stop, left hand pizzicato, vibration, grace note (an ornament note printed in small type to indicate that its time value is not counted in the general rhythm)Sequence (in musical composition, a sequence is a phrase repeated at a higher or lower interval), Harmonic Sequence (a repetition is of a series of chords), Repetition (As a device of composition, repetition is one of the fundamental principles of musical structure, providing unity where sequences are repeated in balance with the initial statements
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาประวัติของรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ มีประเด็นสำคัญดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์
ขันธศิริ เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานครย่านฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายสมบุญ ขันธศิริ
มารดาชื่อนางสมจิตต์ ขันธศิริ(สุคันธลักษณ์) มีน้องสาวหนึ่งคน คือ รองศาสตราจารย์อรวรรณ บรรจงศิลป์
มีบุตร 1
คน คือนายปิยะวิทย์ ขันธศิริ
คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวอยุธยา
ท่านเติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ชอบดนตรีไทยมาก ได้เรียนดนตรีกับครูดนตรีไทย คือ
นายจำนง ราชกิจ (จรัญ บุญรัตนพันธ์)
และคุณหลวงไพเราะเสียงซอ ซึ่งท่าน
รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ ได้เรียนเพลงไทยประเภทเพลงเดี่ยว เช่น เพลงนกขมิ้น เพลงสารถี เพลงพญาโศก เพลงแขกมอญและเพลงสุดสงวน เป็นต้น
ชีวิตการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในด้านงานการสอนและ การแสดงดนตรี
การแสดงผลงานทางดนตรี ด้านงานสอนเคยเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตจุฬา
ฯ วิชาคณิตศาสตร์ ดนตรีไทย และดนตรีสากล
อาจารย์พิเศษ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ใหญ่
และผู้จัดการโรงเรียนดนตรีสยามกลการกรุงเทพ ก่อตั้งหลักสูตรให้คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุน
Fulbright Scholar
ทำการสอนมหาวิทยาลัย
ณ สหรัฐอเมริกา อาจารย์พิเศษวิชาดนตรีวิจักษ์มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และหัวหน้าสาขาดนตรีศึกษาหัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์
บรรณาธิการสารานุกรมดนตรีไทย
ราชบัณฑิตยสถาน
ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ
เป็นอาจารย์พิเศษในระดับบัณฑิตศึกษา
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และท่านยังเป็นกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางด้านการสอนพิเศษ ท่านยังสอนที่ไวโอลินที่โรงเรียนประถมสาธิตจุฬา
ฯ และสอนนักเรียนส่วนตัวด้วย
การแสดงผลงานทางดนตรีงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล ณ โรงละครแห่งชาติ ได้เดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสบยามราชกุมารีที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามราชการี
ได้เดี่ยวซอด้วงในบทเพลงกราวใน
ได้รับเลือกเป็นนักไวโอลินคนไทยที่ได้เล่นกับวงสตัสการ์ด ซิมโฟนี (Stuttgart Symphony)จากประเทศเยอรมันแสดงในกรุงเทพฯ
ได้รับเชิญจากทางราชการเป็นวิทยากรนักแสดงและตัวแทนประเทศไทยเพื่อบรรยาย
สาธิตและเปรียบเทียบดนตรีไทยและตะวันตก ณ ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรป
และสหรัฐอเมริกา
เป็นหัวหน้าวงแฟนตาเซียไลท์ ออเครสตร้า (Fantasia Light Orchestra)และ จามจุรีแชมเบอร์ (Chamber Music)
ได้รับเชิญจากสถานทูตไทยประจำประเทศเยอรมันให้ไปแสดงดนตรีไทยและสากลในงานเฉลิมพระเกียรติวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเข้าประชุมแลกเปลี่ยนด้านดนตรีและนักดนตรีกับผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยในกรุงบอนน์ และมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ได้รับเชิญเป็นวิทยาการของงาน “Art of
All” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ เป็นประธาน
และได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวงดนตรี กรุงเทพมหานคร ฟิลฮาโมนิก ออร์เคสตรา (Bangkok
Philharmonic Orchestra)
ผลงานทางด้านดนตรีไทย เมื่อตอนเด็กได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1
ในการประกวดรายการแมวมอง (เด็กพรสวรรค์) ณ สถานีวิทยุ
ททท.การดนตรีในการเดี่ยวซอด้วงได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวดร้องเพลงไทยงานศิลปหัตถกรรม ได้รับรางวัลที่ 1 ในการเล่นซอด้วง และการนำวงของวงดนตรีสวนสุนันทา เป็นผู้เผยแพร่ดนตรีไทยในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยซอด้วงในบทเพลงกราวในและ
การแสดงเดี่ยวไวโอลินในบทเพลงลาวแพนจนสามารถก่อตั้งวงดนตรีไทยในต่างแดนได้ เคยบรรเลงดนตรีไทยต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานโดยนายจำนงราชกิจเป็นคนนำพาเข้าเฝ้าเพื่อแสดง แสดงเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามราชกุมารี
ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ผลงานทางด้านดนตรีสากล ได้รับทุนเรียนไวโอลิน ณ Royal School of Music กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ได้รับทุนปริญญาโทโดยทุน Fulbright และปริญญาเอก ณ Kent
State University ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัย Kent State ในฐานะ Graduate ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีตะวันตก นักไวโอลิน
และผู้สอนไวโอลินในดนตรีเยาวชนอาเซียน เชิญโดยคณะกรรมการดนตรีและผู้บริหารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
รวมทั้งกรรมการวงดนตรีเยาวชนแห่งชาติ
ประธานฝ่ายควบคุมการแสดงในการจัดงานมหกรรมดนตรีนานาชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ร. 9) ประธานการแสดงดนตรี และผู้ร่วมในการทำวิจัย และการตั้งศูนย์ดนตรีเอเซียนแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ผู้ร่วมก่อตั้ง
ผู้แสดงและกรรมการบริหารวงบางกอก ซิมโฟนี
ออร์เคสตร้า( BangkokSymphony Orchestra) ผู้ร่วมก่อตั้งวงซิมโฟนี ออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( CU
Orchestra )
กรรมการพิจารณาหลักสูตรทางดนตรีของมหาวิทยาลัยเอกชน
ทบวงมหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน
กรรมการพิจารณาผลงานข้าราชการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของกระทรวงศึกษาธิการ
ด้านศิลปิน ดนตรี ละคร ศิลปะ ในฐานะกรรมการประจำของกรมข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ในปัจจุบัน
กรรมการพิจารณาผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของอาจารย์ด้านดนตรีของกรมอาชีวะในปัจจุบัน กรรมการสถาบันไทยศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน
กรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
ได้รับการคัดเลือกจากภาควิชาดุริยางคศิลป์ เพื่อเสนอเป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก ได้รับการคัดเลือกจากภาควิชาดุริยางคศิลป์
เพื่อเสนอเป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับตำแหน่งครูในดวงใจแห่งสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทย
ได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งสาขาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
2. ผลการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
ผลการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน
ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริการเดี่ยวเครื่องดนตรีสากลด้วยทำนองเพลงไทยเดิม
เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง มีเครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง กลองแขก
บรรเลงไปด้วยกัน การบรรเลงเดี่ยวตลอดทั้งเพลง
เพลงลาวแพนเป็นเพลงที่นักดนตรีนิยมนำมาบรรเลงเป็นเพลงเดี่ยวอวดฝีมือกันมากเพลงหนึ่ง ประวัติเดิมนั้นเล่ากันว่า เพลงนี้มีต้นเค้ามาจากเพลงที่นิยมร้องเล่นกันในหมู่เชลยชาวลาวที่ไทยกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทร์ในสมัยตอนต้นๆของยุครัตนโกสินทร์ ท่วงทำนองเพลงนี้มีทั้งความอ่อนหวานรำพึงรำพันและโศกเศร้าระคนกัน จะเห็นได้จากเนื้อร้องเดิมที่บรรยายถึงความยากลำบากทุกข์ระทมใจที่ต้องจากบ้านเมืองมาอยู่ในต่างแดน ต่อมานักดนตรีไทยเห็นว่าเพลงนี้มีท่วงทำนองแปลกไพเราะน่าฟังจึงนำมาปรุงแต่งเสียใหม่ให้เข้ากับอรรถรสของบทเพลงไทยที่มีสำเนียงลาว และเนื่องจากเค้าโครงของเพลงนี้มีลักษณะพิเศษที่เปิดโอกาสให้ปรุงแต่งท่วงทำนองที่แปรเปลี่ยนไปได้มากมายหลากหลายรูปแบบ จึงมีการคิดประดิษฐ์ทางเพลงที่แตกต่างกันออกไปหลายแนวทางด้วยกัน
การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ จากแนวคิดที่ว่า คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก ส่วนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย
ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน
เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก
แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง
ซุ่มเสียงแล้วเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ทำลายให้เสียหาย
สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลิน
การวิเคราะห์บทเพลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพน โดยรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
A.
ท่อนเดี่ยว
นำทำนองเพลงลาวแพนทางของครูเจริญ
ครูดนตรีไทยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ในแนวคิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก มาบรรเลงตามขนบแบบไทย นำสีสัน สำเนียงเสียง และเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
ผลของการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือขวา
มีการนำเทคนิคมือขวาการเล่นโน้ตโยงเสียง (Loure Bowing) เทคนิคนี้โน้ตหลายๆตัวจะถูกแบ่งจากการโยงเสียง (Slur)
โดยการหยุดเพียงเล็กน้อยในระหว่างที่ใช้คันชักหรือการเน้นโน้ตแต่ละตัวโดยไม่ต้องเปลี่ยนทิศทางของคันชัก
และจะใช้ในเพลงที่เป็น Cantabile (อ่อนหวานเหมือนเสียงร้องเพลง)การขยายส่วน
(Augmentation) เทคนิคการขยายส่วนจังหวะให้มีความยาวเป็น 2
เท่าหรือยาวกว่านั้น
โดยรักษาระดับเสียงเดิมไว้ นิยมใช้ในการสอดทำนองเพลง
ผลของการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือซ้าย
มีการนำเทคนิคการพรมนิ้ว (The Trill) การเล่นโน้ต 2
ตัวสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว โน้ตประดับ (Turn)กลุ่มโน้ต 4
– 5 ตัวที่เป็นโน้ตประดับของโน้ตหลัก มีลักษณะการขึ้นลงที่มีแบบแผน
การไล่เลียน(Imitation)การไล่เลียนกันของทำนองระหว่าง 2
แนว ขึ้นไป
เกิดจากทำนองเดียวกันที่เริ่มไม่พร้อม ประโยคถาม (Antecedent) ทำนองถาม
ประโยคที่ตามด้วยประโยคตอบ
ผลของการศึกษาลูกเอื้อน ลูกคลอ
ลูกสะบัดในดนตรีไทย
เทคนิคการกดนิ้วควบสองสาย เทคนิคการดีดสายไวโอลินด้วยนิ้วมือซ้าย มีการนำเทคนิคการครั่น เป็นวิธีที่ทำให้เสียงสะดุดสะเทือน เพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน การทำให้เสียงสะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้ ใช้เฉพาะกับการขับร้อง
หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่
ขลุ่ยและเครื่องดนตรีประเภทสี เช่นซอต่างๆเท่านั้น การขับร้องครั่นด้วยคอ
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าครั่นด้วยลมจากลำคอและเครื่องดนตรีประเภทสีครั่นด้วยคันสี
(หรือคันชัก)โน้ตสะบัด (Grace note) ห้วงลำดับทำนอง(Sequence)ห้วงลำดับเสียงประสาน(Hamonic
Sequence)การซ้ำ (Repetition)การนำทำนองมาเล่นซ้ำทันทีในระดับเสียงและ ลักษณะจังหวะเหมือนกัน
บทนำ
มนุษย์มีความเหมือนและความแตกต่าง
การแสดงออกทางดนตรีช่วยสะท้อนโลกทัศน์ระบบความคิดมนุษย์ ดังนั้น
ในการแสดงออกทางดนตรีที่หลากหลาย เนื่องจากดนตรีจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักทั้งตนเอง
และรู้จักว่าผู้อื่นนั้นมีความเหมือนและมีความแตกต่างกับตนเองอย่างไร การเรียนดนตรีในวัฒนธรรมของตนเอง
มีความจำเป็นที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ประสบการณ์สุนทรียะที่คนในวัฒนธรรมของตนนั้นได้แสดงออกมา
แต่เราก็มีความจำเป็นที่ให้ผู้เรียนได้เรียนประสบการณ์สุนทรียะของวัฒนธรรมอื่นๆ
ที่แตกต่างจากผู้เรียนด้วย
เพื่อผู้เรียนได้เข้าใจว่าโลกใบนี้ประกอบด้วยคนที่แตกต่างในเรื่องวัฒนธรรม
มีอะไรที่มนุษย์ในโลกใบนี้แสดงออกมาเหมือนกันทั้งโลก และมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน
และการแสดงออกในเรื่องดนตรี หรือประสบการณ์ในเรื่องสุนทรียะ
มีอะไรที่มนุษย์ทั้งโลกนี้แสดงออกได้เหมือนกันหมดและมีอะไรที่แตกต่างกัน
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องสอนดนตรีทั้งในวัฒนธรรมของตนเองและที่มีความแตกต่างเพื่อการเรียนรู้
วัฒนธรรมทางดนตรีไทย การถ่ายทอดวิชาความรู้
ขนบธรรมเนียมวิธีต่อการปฏิบัติทางดนตรีมีแบบแผนบ้านครู บ้านนักดนตรี
ทางเพลงของแต่ละสำนักเพลง
การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
แก่นรากทางวัฒนธรรมที่ยังเข้มแข็งอยู่มาก
แต่ด้วยวัฒนธรรมทางดนตรีที่เป็นแบบนี้ก็ทำให้ของเก่าๆ ของดีๆที่มีอยู่อาจถูกลืมเลือนหรือสูญหายไปก็มาก บุคคลที่จะเข้าสู่ เข้าถึง
ทางวัฒนธรรมก็จะถูกขีดจำกัดในวงที่แคบลงเฉพาะกลุ่มคนมากขึ้นทุกขณะ
จนถึงเวลาหรือยังที่นักการศึกษา
ครูทางดนตรี
ที่จะเริ่มทบทวนหรือหาข้อสรุปว่าจะมีวิธีการดำเนินการอย่างต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมดนตรีที่จะเป็นวิถีของโลกในอนาคต เยาวชนรุ่นใหม่ๆ
ที่ถูกกระแสกลืนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย
ในวัฒนธรรมทางดนตรีไทยที่ถือได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่เข็มแข็ง เป็นวัฒนธรรม เป็นภาษาเฉพาะกลุ่มชน
จนทำให้ผู้ได้เรียนดนตรีไทยถูกขีดจำกัดอยู่ในกลุ่มคนไทย หรือต้องมาเรียนดนตรีไทยในประเทศไทยกับคนไทยครูผู้สอนดนตรีไทยเท่านั้น
วัฒนธรรมสากลหรือดนตรีสากลได้พัฒนาก้าวหน้าไปไกล โดยเฉพาะเรื่องการเรียน
ไม่ต้องเรียนเครื่องดนตรีสากล(ดนตรีตะวันตก)กับคนในแถบประเทศยุโรป กับคนเยอรมัน
กับคนอังกฤษ กับคนฝรั่งเศสเท่านั้น
แต่สามารถเรียนเครื่องดนตรีสากล(ดนตรีตะวันตก) ได้กับคนจีน
คนญี่ปุ่นหรือชนชาติอื่นๆอีกมาก
ถ้าในอนาคตข้างหน้าสามารถมีครูสอนดนตรีไทยได้ อยู่ในทั่วทุกมุมโลก
มีครูดนตรีชนชาติจีนสามารถสอนดนตรีไทยที่ประเทศจีน
มีครูดนตรีชนชาติเยอรมันที่สอนดนตรีไทยในประเทศเยอรมัน เราควรต้องทำอะไร อย่างไร
องค์ประกอบสำคัญของดนตรีได้แก่
คนเล่นดนตรี คนแต่งเพลงและ
คนฟังดนตรี
บริบทดนตรีไทยในยุคปัจจุบันยังขาดผลสัมฤทธิต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยให้เกิดความเข็มแข็งและ
เข้าถึงเยาวชนรุ่นใหม่หรือ กลุ่มผู้ฟังต่างๆให้หลากหลายและทั่วถึง
ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้การเผยแพร่ดนตรีไทยต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ รูปแบบการแสดง
วิธีการบรรเลงใหม่ๆที่สามารถเรียกร้องดึงดูดกลุ่มผู้ฟังสนใจดนตรีไทย ก็จะทำให้ดนตรีไทยเข็มแข็งและพัฒนาต่อเนื่อง
ดังนั้น การวิจัยเรื่องศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทางด้านการศึกษาบุคคลากรทางดนตรีที่มีภูมิปัญญาความรู้ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่ในตัวคนเดียวหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนสองวัฒนธรรม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในบริบทการแปลงทำนองเพลงจากเครื่องดนตรีไทยคือซอด้วงไปสู่เครื่องดนตรีสากลคือไวโอลิน
ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบรรเลงเพื่อเผยแพร่ดนตรีไทย
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.
เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
2.
เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
วิธีการดำเนินการวิจัย
ในการศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาโดยยึดหลักการทางมนุษยดุริยางควิทยา ( ETHNOMUSICOLOGY ) ซึ่งได้ออกภาคสนาม (
FILEDWORK ) การสัมภาษณ์
การสังเกต การบันทึก และการศึกษาทางเอกสาร ตำราวิชาการ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการรวบรวมเรียบเรียง
จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลต่างๆที่รวบรวมไว้มาทำการศึกษาวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนาวิจัยตามประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ประวัติรองศาสตราจารย์
โกวิทย์ ขันธศิริ
1.1 ประวัติส่วนตัว
1.2 ประวัติการศึกษาทั่วไป
1.3 ประวัติทางด้านดนตรี
1.4 ประวัติการทำงาน
1.5 ผลงาน
1.5.1
ผลงานการแสดงและ ประสบการณ์
1.5.2
ผลงานทางด้านดนตรีไทย
1.5.3
ผลงานทางด้านดนตรีสากล
1.6 ผลงานตำราและ
งานวิจัย
1.7 ผลงานทางด้านการสอนไวโอลิน
1.8 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
2. ศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพนของรองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
2.1 ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือขวาเช่น การใช้คันชักถ่ายทอดอารมณ์เพลงไทย ประเภทของคันชัก
2.2 ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคมือซ้ายเช่น เทคนิคการพรมนิ้ว การรูดนิ้ว และการวิบราโต
2.3 ศึกษาลูกเอื้อน
ลูกคลอ ลูกสะบัดในดนตรีไทย
เทคนิคการกดนิ้วควบสองสาย
เทคนิคการดีดสายไวโอลินด้วยมือซ้ายในบทเพลงไทย
อภิปรายผล
รองศาสตราจารย์
ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ เป็นครูดนตรีอาวุโสทั้งทางด้านดนตรีไทย และดนตรีสากล เป็นนักดนตรีไทยอย่างเชี่ยวชาญท่านหนึ่งที่มีบทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยในต่างแดนและ
การบรรเลงเดี่ยวซอด้วงในบทเพลงกราวใน
ด้วยการศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่ยังเล็กจากคุณหลวงไพเราะเสียงซอ และครูจำนง
ราชกิจ
ซึ่งทำให้ท่านมีความแตกฉานทางดนตรีไทย
และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากบรมครูอีกหลายท่าน
ทำให้ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในลักษณะผสมผสานระหว่างดนตรีไทยและดนตรีสากลได้อย่างลงตัว มีความไพเราะ และมีคุณค่าทางดุริยศิลป์อย่างสูง ซึ่งในการสอนดนตรีของท่านนั้น
ท่านได้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบรรเลงดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่เสมอซึ่งสอดคล้องกับ
กาญจนา อินทรสุนานนท์ ( 2540: 105 )
ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมที่แสดงความเจริญงอกงาม
วัฒนธรรมเป็นมรดกที่สำคัญยิ่งของสังคมมนุษย์
มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาย่อมมีวัฒนธรรมซึ่งได้มาโดยการเรียนรู้จากการถ่ายทอดของคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
มนุษย์ที่เกิดมาอยู่ในสังคมใดก็จะเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้นมีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่
สนองความต้องการของตนเอง
เพาะมนุษย์ทุกคนยังมีความต้องการในสิ่งต่างๆอย่างไม่สิ้นสุด
การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพนจากแนวคิดที่ว่า คนเล่นไวโอลินก็จะเล่นแต่บทเพลงคลาสสิก ส่วนคนคนเล่นซอไทยก็จะเล่นแต่เพลงไทย
ไม่มีใครนำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน เพื่อทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิก
แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นไทย เพียงแต่นำสีสัน สำเนียง
ซุ่มเสียงแล้วเทคนิคขั้นสูงมาใช้อย่างเหมาะสม
เป็นอัตลักษณ์เพลงไทย เป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ทำลายให้เสียหาย สามารถเรียกว่าเป็นอัตลักษณ์เพลงไทยในการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไวโอลินซึ่งได้สอดคล้องกับ กาญจนาอินทรสุนานนท์ (2552 : 29 - 38 ) การวิจัยองค์ความรู้ศิลปินแห่งชาตินายศิริ วิชเวชเพื่อศึกษาประวัติศิลปิน และผลงานด้านดนตรีไทย
และได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ
องค์ความรู้และผลงานของครูศิริ
วิชเวช นั้นมีหลายด้าน นับเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่า การได้รับการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้
จะนำไปสู่การขับเคลื่อนต่อระบบการศึกษาวัฒนธรรมไทยต่อวงการดนตรีไทยต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สาธารณชน สู่นานาชาติ
การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินบทเพลงลาวแพนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์
ขันธศิริเป็นการคิดนอกกรอบของดนตรีไทย
ซึ่งเป็นแนวคิดดนตรีไทยแนวประยุกต์อย่างสร้างสรรค์
เพื่อเป็นการเผยแพร่บทเพลงไทยโดยเครื่องดนตรีไวโอลิน
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสากลที่คนนานาชาติต่างๆสนใจและ เข้าใจต่อการฟังดนตรี
ดังนั้นการบรรเลงดนตรีที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ไม่ได้เป็นการล้มล้างความคิด
วัฒนธรรมเดิมแต่เป็นการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อการเผยแพร่ดนตรีไทยนั่นเองซึ่งสอดคล้องกับ มานพ
วิสุทธิแพทย์ (2552 : 19
) การวิจัยองค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ
นายจรัส อาจณรงค์
เพื่อศึกษาประวัติศิลปิน และผลงานทางด้านดนตรีไทย
เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทย
และเผยแพร่องค์ความรู้ของครูด้านดนตรีไทย
ครูจรัส
นับได้ว่าเป็นปรมาจารย์ด้านดนตรีไทยที่มีความรู้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดนตรีไทยว่าท่านเป็น
“คลัง” หรือ “ธนาคารดนตรีไทย” ได้แก่องค์ความรู้ทางด้านบทเพลงองค์ความรู้ทางด้านการปฏิบัติและ
องค์ความรู้ทางด้านการนำไปใช้
การบูรณาการองค์ความรู้
นำองค์ความรู้ที่ได้จัดทำฐานคลังข้อมูลทางวัฒนธรรม
การวิจัยเรื่องการศึกษาเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน
เป็นการศึกษาอัตลักษณ์เพลงไทยโดยการบรรเลงด้วยไวโอลิน จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทางด้านการศึกษาบุคคลากรทางดนตรีที่มีภูมิปัญญาความรู้ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากลอยู่ในตัวคนเดียวหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนสองวัฒนธรรม
และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในบริบทการแปลงทำนองเพลงจากเครื่องดนตรีไทยคือซอด้วงไปสู่เครื่องดนตรีสากลคือไวโอลิน
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
การศึกษาการเดี่ยวไวโอลินเพลงลาวแพน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับที่จะทำการศึกษาต่อไปนี้
1.
ควรทำการศึกษาเพลงอื่นๆ การบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน
ของรองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
2.
ควรทำการศึกษานักดนตรีท่านอื่นๆเปรียบเทียบระหว่าง
การบรรเลงเดี่ยวไวโอลินหรือเดี่ยวเครื่องดนตรีสากลอื่นๆในบทเพลงไทยเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น