ปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกซ้อมของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
( ฝ่ายมัธยม )
The
influential factors toward the rehearsal of student wit music option from
satit
prasarnmit demonstration school ( secondary )
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.
เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมดนตรีของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกทางดนตรี
ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร ( ฝ่ายมัธยม )
2.
เพื่อศึกษาถึงสาเหตุในการไม่ซ้อมดนตรีของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกทางดนตรี
ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร ( ฝ่ายมัธยม )
ทีมาของงานวิจัย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
มุ่งพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ปฏิบัติได้ ใฝ่รู้
ใฝ่เรียน รู้จักท้องถิ่นของตนและเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ เพราะการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถสร้างคนให้มีคุณภาพ คือ
คิดเป็น (คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์
คิดเชิงวิเคราะห์ วิจัย) และเรียนอย่างมีความสุข
กระบวนการปฏิรูปการศึกษาจึงต้องสามารถสร้างนักคิดในสังคม คือ
คนที่คิดได้ คิดเป็น ประยุกต์เป็น
สามารถคิดทันในประเด็นใหม่ ๆ แข่งขันได้
และเลือกรับสิ่งที่ดีที่สุดโดยใช้ยุทธศาสตร์อื่น ๆ
เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นรูปธรรม (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2546: 6)
ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
และมีความสำพันธ์ทางจิตใจกับมนุษย์มาช้านานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดนตรีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสบายอกสบายใจ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือประกอบการร่ายรำ ( หรรษา
นิลวิเชียร 2535:195 ) ดนตรีเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส
ที่ใดมีเสียงดนตรีที่นั่นจะเต็มไปด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ ปราศจากความสับสนวุ่นวาย มนุษย์เรามีความเฉลียวฉลาด สามารถประดิษฐ์เสียงต่างๆ อันได้แก่
เสียงสูงเสียงต่ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งหลายให้เป็นเสียงดนตรี โดยนำมาเรียบเรียงด้วยความปราณีตบรรจง
เกิดเสียงอันไพเราะมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก
ดนตรีมีบทบาทสำคัญต่อวงสังคมของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าชาติใดภาษาใด ดนตรีไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ดังรั้นเพลงของชาติใดๆก็ตาม ถือว่าเป็นมรดกของโลก ยิ่งทุกวันนี้มีการสื่อสารคมนาคมติดต่อกันได้สะดวกรวดเร็ว
การดนตรีจึงขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก และมีการเปลี่ยนแปลงกันไปเรื่อยๆ จึงกล่าวได้ว่า ดนตรีเป็นภาษาของมนุษยชาติ ( วิรัช
ซุยสูงเนิน 2520 : 1 )
ในเมื่อดนตรีมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทุกเพศทุกวัย
ดนตรีจึงมีความจำเป็นต่อการศึกษา
แต่เดิมความเชื่อเดิมของสังคมไทย
ดนตรีเป็นวิชาเต้นกินรำกินข้างถนน
พ่อแม่ไม่ใคร่สนับสนุนให้ลูกเรียน
แต่มาในปัจจุบันปรัชญาดนตรีศึกษาเริ่มได้เปลี่ยนไป
ผู้ปกครองเริ่มให้ความสนใจในการส่งลูกหลานเรียนดนตรีกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่าดนตรีเป็รส่วนหนึ่งของชีวิตดนตรีช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านต่างๆของผู้เรียนให้สมบูรณ์ ( สุกรี
เจริญสุข 2532 : 7 )
การเรียนดนตรีให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือการฝึกซ้อม จากประสบกราณ์ของผู้วิจัยในฐานะครูสอนวิชาดนตรีพบว่า
ปัญหาหลักอย่างหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติเครื่องดนตรีคือปัญหาการฝึกซ้อมของนักเรียน ดนตรีเป็นวิชาที่ว่าด้วยการปฎิบัติทักษะ
ดังนั้นการฝึกซ้อมจึงเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนดนตรี
ผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมดนตรีของนักเรียนเพื่อนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอน
ตลอดจนสร้างความเข้าใจกับนักเรียนและผู้ปกครอง
เพื่อให้การเรียนการสอนดนตรีประสบความสำเร็จต่อไป
การดำเนินงาน
และผลงานที่ได้รับจากงานวิจัย (โดยสังเขป ) พร้อมภาพประกอบ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ( Survey
Research ) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมดนตรีของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรีและทักษะดนตรี
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม ) ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่
นักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรีและทักษะดนตรีสากลจำนวน 211 คน
กลุ่มตัวอย่าง การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้
ได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกและทักษะดนตรี จำนวน 211
คน คำนวณหากลุ่มตัวอย่างประชากรจากนักเรียนที่เป็นประชากรทั้งหมด
211 คน
โดยใช้ตารางสำหรับพิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามทรรศนะของเคร็คกี และมอร์แกน
การเลือกกลุ่มประชากรเพื่อทำการสัมภาษณ์ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) จำนวน 211 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้
เป็นข้อคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง โดยข้อคำถามจะเบ่งได้เป็น
3 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ได้รับการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระยะเวลาในการเรียนดนตรี
ความสามารถทางดนตรีของผู้ปกครอง สาเหตุที่เลือกเรียนดนตรี
ตอนที่ 2 ข้อมูลการฝึกซ้อมของผู้ได้รับการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฝึกซ้อม ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกซ้อมต่อครั้ง
ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกซ้อมใน 1 สัปดาห์ วันที่นักเรียนทำการฝึกซ้อม
สิ่งที่นักเรียนฝึกซ้อม การจัดเวลาในการซ้อมดนตรี การไม่ฝึกซ้อมดนตรี
และเหตุผลในการไม่ฝึกซ้อมดนตรี
ตอนที่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมดนตรี ประกอบด้วย ผู้ปกครอง
นักเรียน ครู เพื่อน บทเพลง เครื่องดนตรีและบรรยากาศในการฝึกซ้อม
กิจกรรมส่งเสริมการแสดงออก และปัจจัยที่นักเรียนคิดว่าส่งผลต่อการฝึกซ้อมมากที่สุด
และปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมน้อยที่สุด
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ศึกษาค้นคว้าเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.
สร้างข้อคำถามเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการสัมภาษณ์นักเรียนที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรีและรายวิชาทักษะดนตรีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝายมัธยม )
การจัดกระทำกับข้อมูล
- ข้อมูลทั่วไปของผู้ได้รับการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (
Frequency ) หาค่าร้อยละ ( Percentage )
นำเสนอเป็นตารางประกอบคำบรรยาย
- ข้อมูลการฝึกซ้อมดนตรีของผู้ได้รับการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) และค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean)
นำเสนอเป็นตารางประกอบคำบรรยายและพรรณนา
- ข้อมูลด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมดนตรีของผู้ได้รับการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ( Frequency
) หาค่าร้อยละ ( Percentage ) นำเสนอเป็นตารางประกอบคำบรรยาย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติดังนี้
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ได้รับการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ( Frequency ) หาค่าร้อยละ
( Percentage )
2. ข้อมูลการฝึกซ้อมดนตรีของผู้ได้รับการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ
(Percentage) และค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean)
3.ข้อมูลด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกซ้อมดนตรีของผู้ได้รับการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ
(Percentage)
การนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้
นำผลวิจัยการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกซ้อมของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเลือกดนตรี
ไปใช้ในการเรียนการสอนแผนการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม )
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย
การเก็บข้อมูลการวิจัยโดยการกรอกแบบสอบถามสัมภาษณ์นักเรียนจะรีบร้อนทำ
และไม่กรอกข้อความให้ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือบางครั้งอาจไม่ตั้งใจอ่าน
หรือทำความเข้าใจในข้อความที่จะตอบสัมภาษณ์ในแบบสอบถาม ทำให้ต้องเสียเวลาในการตามข้อมูลเป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.
การกรอกข้อมูลแบบสอบถามสัมภาษณ์ควรให้ทำทีละคน เป็นรายบุคคล
2.
การกรอกข้อมูลแบบสอบถามสัมภาษณ์บางข้อความ
ควรตีความและทำความเข้าใจให้นักเรียน
งานวิจัยที่คาดว่าจะดำเนินการต่อไป
1.
ควรทำการศึกษาในเชิงลึก
โดยศึกษาทีละปัจจัยเพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจน
2.
ควรทำการศึกษาโดยใช้ประชากรที่เฉพาะเครื่องดนตรีใดเครื่องดนตรีหนึ่งเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น