หน่วยการเรียนรู้ที่
1 ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรี
ความเชื่อกับการสร้างสรรค์ทางดนตรี
มนุษย์ชนเผ่าต่างๆ
ในสมัยโบราณมีลัทธิความเชื่อว่าชีวิตของมวลมนุษย์นั้นมีสิ่งที่มีอำนาจลึกลับเหนือมนุษย์และเหนือธรรมชาติควบคุมอยู่
มนุษย์จึงจัดให้มีพิธีกรรมบวงสรวง อ้อนวอนขอความคุ้มครองจากสิ่งลึกลับตามที่ตนเชื่อ
ซึ่งในพิธีกรรมมักมีดนตรีบรรเลงประกอบการฟ้อนรําและการขับร้องเพลงสังเวย
เนื่องจากเชื่อว่าจะทําให้สิ่งลึกลับนั้นโปรดปรานแล้วให้ในสิ่งที่ตนต้องการ
ชาวกรีกโบราณเชื่อว่านักร้องและนักดนตรีเป็นทูตสวรรค์ ผู้นําคําสอนของพระเจ้ามาสื่อสารกับมวลมนุษยชาติ
ผ่านเสียงบรรเลงดนตรีและขับร้อง นักร้องนักดนตรีจึงเป็นผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน
ลัทธิความเชื่อนี้ทําให้เกิด นักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงผู้สร้างสรรค์
ผลงานดนตรีอย่างมากมาย
มนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์มีลัทธิความความเชื่อว่า ตนเองสามารถใช้เสียงดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและควบคุมสรรพสิ่งในธรรมชาติ
เช่น ใช้เรียกสิ่งดีๆ ให้มาหา
ใช้ขับไล่ความชั่วร้ายให้หนีไปใช้ป้องกันและบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ใช้เรียกลมฝน
ช่วยบันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
ช่วยให้ออกหาปลาล่าสัตว์ได้อย่างปลอดภัยและประสบผลสําเร็จ
1.ชาวฮินดูเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง 2.ชาวจีนเชื่อว่าสเกลเสียงดนตรีมาจากนกฟีนิกช์
3.ชาวอียิปต์เชื่อว่าดนตรีเป็นของขวัญจากเทพเจ้าโอชิริส 4.ชาวยิวเชื่อว่าจูบาสเป็นบุตรของ
อดัม มนุษย์คนแรกของโลกเป็นผู้ผลิตฮาร์ปและออแกน 5.ชาวแอฟริกันโบราณเชื่อว่าเสียงกลองสามารถสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ขจัดปัดเป่าภยันตราย
ใช้บําบัดรักษาคนไข้ ใช้ประกอบการเต้นรํา เพื่อปลุกใจให้ฮึกเหิมในยามสู้รบ
6.ชาวเขาเผ่าม้งในประเทศไทย
เชื่อว่าเสียงแคนจะช่วยส่งวิญญาณ
ให้เดินทางไปพบญาติผู้ล่วงลับไปก่อนหน้าแล้วภายในเวลา ๗ วัน เป็นต้น
สําหรับคนไทยก็ใช้เสียงเพลงและดนตรีในพิธีกรรมต่างๆ
อย่างมากมาย เช่น1. คนไทยภาคกลางใช้วงปี่พาทย์บรรเลงในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 2.คนไทยภาคเหนือใช้กลองนานาชนิดตีในพิธีกรรมที่หลากหลาย
3.คนไทยภาคอีสานใช้แคนประกอบลำในพิธีบําบัดคนไข้
4.คนไทยภาคใต้ใช้ปี่กาหลอบรรเลงในงานศพ
ศาสนากับการงานสร้างสรรค์ทางดนตรี
มนุษย์รู้จักพัฒนาลัทธิความเชื่อในสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติให้กลายเป็นความเลื่อมใส
ศรัทธาในศาสนาที่มี “พระศาสดา”
เป็นผู้ให้พระธรรมคําสอน แต่ยังคงมีการใช้เสียงบรรเลงดนตรี และการขับร้องเพลงเป็นส่วนประกอบของพิธีกรรมตามศาสนา
คริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิก
และนิกายโปรเตสแตนต์ใช้เพลงขับร้องประกอบดนตรีใน ศาสนพิธี
มีพระผู้ใหญ่ที่เป็นทั้งพระและสังคีตกวีได้สร้างผลงานดนตรีขึ้นในทางศาสนาเป็นจํานวนมาก
ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีสากล
1. ความเชื่อ อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
ซึ่งในปัจจุบันมนุษย์ก็ยังคงมีความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เช่น
การนับถือบูชาผีสาง เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
ดังนั้น จึงมีการประกอบพิธีกรรมเพื่อแสดงถึงความเคารพบูชา องค์ประกอบต่างๆของการนำมาประกอบพิธีกรรมนั้น
ส่วนหนึ่งจะเป็นเครื่องเซ่นไหว้ เช่น พวงมาลัย อาหาร
ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ดนตรี ซึ่งต้องเป็นดนตรีที่มีคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์
ดนตรีที่เกิดขึ้นจากความเชื่อจึงทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบในพิธีกรรมหรือเรียกว่า ดนตรีพิธีกรรม (Ritual music) เช่น
การประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ เป็นต้น
2. ศาสนา นับเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์
ซึ่งนอกจากความเชื่อในการนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติแล้ว
มนุษย์ก็ยังมีความเชื่อและศรัทธาในศาสนา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็มีการสร้างสรรค์เพื่อนำมาใช้ประกอบพิธีกรรม
เช่น ในศาสนาคริสต์ได้นำเพลงสวดมาขับร้องเพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆของพิธีแมส (Mass)
หรือพิธีมิสซา (Missa) เป็นต้น
ในส่วนศาสนาพุทธก็มีการดนตรีในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช งานศพ งานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น
3. วิถีชีวิต มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ดนตรีเป็นอย่างมาก ดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางวิชาการเรียกว่า ดนตรีชาวบ้าน ( Secula Music) ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนยุคกรีกโบราณ เป็นดนตรีที่สร้างสรรค์จากวิถีชีวิตของมนุษย์เกิดจากความต้องการที่จะบรรยาย
พรรณนาเรื่องราว ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกผ่านบทเพลง
หรือเพื่อเป็นการนันทนาการ ผ่อนคลายความเครียดและให้ความบันเทิงแก่ผู้คน
เช่น การแสดงอุปรากร (Opera) ของชาวยุโรป การแสดงโขนของไทย การแสดงละครคาบูกิ (Kabuki) ของชาวญี่ปุ่น
4. เทคโนโลยี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดนตรีได้รับการสร้างสรรค์และพัฒนา
การพัฒนาเทคโนโลยีส่งผลต่อการพัฒนาดนตรี
และในทางกลับกันดนตรีก็ทำให้เทคโนโลยีปรับตัวตามไปด้วย
ช่วยทำให้เกิดการพัฒนาในดนตรีมาตั้งแต่สมัยโบราณเห็นได้ชัดจากการนำเอาวิธีคิดของ พีทาโกรัส (Pythagoras) นักปราชญ์ชาวกรีก
มาช่วยในการปรับปรุงระบบการตั้งบันไดเสียงในดนตรีสากล โดยการนำไปประยุกต์พัฒนาวิธีการปรับปรุงบันไดเสียงให้ได้ตามที่เทคนิคและรูปแบบของดนตรีที่เปลี่ยนไป
ในด้านเทคโนโลยีการบันทึกเสียง ก็ได้รับการพัฒนาให้คุณภาพเสียงมีความใกล้เคียงเสียงดนตรีจริง
ส่งผลให้มีการทำซ้ำและเผยแพร่ออกไปสู่มวลชนได้รวดเร็ว เป็นการกระตุ้นให้นักประพันธ์ดนตรีสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ๆ
ออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะดนตรีสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์ ทำให้ดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบออกไปในช่วงเวลาที่สั้นลงกว่าในสมัยก่อน
โดยมีการเปลี่ยนแปลงประมาณทุก 2-5 ปี
อย่างที่เรามีคำศัพท์เรียกรูปแบบดนตรีเพลงที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งเป็นทศวรรษ
เช่น ดนตรีสมัย 60s (Sixties) หรือ 70s (Seventies)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น