วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

นักวิชาการดนตรีกับการลงภาคสนาม โดย รศ.ดร.กาญจนา อินทรสุนานนท์

 

นักวิชาการดนตรีกับการลงภาคสนาม

โดย รศ.ดร.กาญจนา  อินทรสุนานนท์

          การเรียนในห้อนเรียนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง แต่วิธีค้นหาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ในด้านต่างๆ ต้องลงสืบค้นจากภาคสนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการวางแผนจัดการไว้ก่อนแล้วโดยการ

สืบค้นข้อมูลจากเอกสาร จากคำบอกเล่า และการสืบค้นโดยวิธีต่างๆ นักวิชาการดนตรีต้องมีผู้ช่วย

ที่ดี งานภาคสนามจึงจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น การลง

ภาคสนามแต่ละครั้งจึงต้องมี

-          มีการวางแผน

-          กำหนดพื้นที่

-          สำรวจพื้นที่เบื้องต้น

-          ติดต่อกับคนในพื้นที่

-          ทำแผนที่การเดินทาง

-          กำหนดแหล่งที่พัก(ถ้าต้องค้างคืน)

-          วางแผนการสัมภาษณ์บุคคลข้อมูล

-          วางแผนการเก็บภาพนิ่ง

-          วางแผนการเก็บภาพเคลื่อนไหว

-          วางแผนการเก็บข้อมูลเสียง

-          บันทึกข้อมูลทางดนตรีอย่างละเอียดทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูล

รวมทั้งของฝากให้บุคคลข้อมูล และชุมชน ถ้าตรงเทศกาลเช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสำคัญ

ทางศาสนา ควรมีของไปถวายวัด

          เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้ครบถ้วน นักวิชาการดนตรี และผู้ช่วยนักวิชาการต้องทำงานหนัก

ในการลงภาคสนามแต่ละครั้ง เพราะการเก็บข้อมูลต่างๆ ต้องดูที่โอกาสที่มีการเกิดข้อมูลจริง มิใช่

ข้อมูลจัดตั้ง จึงจะเกิดความถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบของการเก็บข้อมูลจริง โดยเฉพาะข้อมูลที่

เกี่ยวข้อง กับ “พิธีกรรม” พิธีกรรมทางดนตรีนั้น ในชุมชนมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครูบาอาจารย์

ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งเทพเจ้าทางดนตรีที่คนในชุมชนนับถือ การจัดพิธีกรรมต่างๆ จึงเป็นเรื่อง

ศักดิ์สิทธิ์ มีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งคนในชุมชนนั้นๆ มีความเชื่อในพิธีกรรรมที่จะนำความ

สมบูรณ์มาสู่ชีวิต บทเพลงที่บรรเลงในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ การลงไปเก็บข้อมูลภาคสนามในพิธีกรรม

ทางดนตรีจึงต้องระมัดระวังให้เกิดความถูกต้อง ไม่ลบหลู่ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในพิธีกรรมได้

          การเตรียมตัวของนักวิชาการดนตรี และผู้ช่วยนั้นจะต้องเตรียมตัวให้มีสุขภาพดี เพราะ

การเดินทางแต่ละครั้งอาจมีความเหน็ดเหนื่อย ร้อน หนาว การมีสุขภาพ แข็งแรง จึงจำเป็นมาก

สำหรับนักวิชาการดนตรี และผู้ช่วย

          การแต่งกาย ควรให้เหมาะสมกับการเดินทาง ชุดที่ใส่สะบายไม่มีสีฉูดฉาดจนโดดเด่นกว่า

ชาวบ้าน ควรใส่เสื้อผ้าให้กลมกลืนกับชาวบ้านในชุมชนจึงจะเกิดความเป็น “พวกเดียวกัน” การสืบ

ถามข้อมูลจะได้สะดวกไม่เคอะเขิน แต่อย่างไรก็ตาม การสืบถามข้อมูลต่างๆ ควรสืบถามอย่างน้อย

2 – 3 ครั้ง จึงได้คำตอบที่สมบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง หลงลืมและไม่ผิดพลาด เพราะมีการตรวจสอบ

ข้อมูลอย่างน้อย 3 ครั้ง

          การตั้งคำถาม นักวิชาการดนตรีและผู้ช่วย ควรมีหลักการตั้งคำถามกับบุคคลข้อมูลในชุมชน

โดยคุยเรื่องราวทั่วไปก่อนให้เกิดความคุ้นเคย เช่น เรื่องดิน ฟ้า อากาศ พืชผลไร่นา การทำมาค้าขาย

ประเพณีต่างๆในชุมชน  เมื่อเกิดความคุ้นเคยแล้วจึงค่อยสอบถามจากประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้

ดดยค่อยๆถามช้าๆ ทีละประเด็น โดยเว้นให้คิด และเว้นคุยแทรกบ้างเป็นครั้งคราว จึงถามคำถามใหม่

          ในกรณีพื้นที่ภาคสนามใหม่ ผู้ที่พึ่งพาหาข้อมูลให้ได้คือ พระ นักวิชาการดนตรี และผู้ช่วย

จึงควรเข้าวัดก่อน และเตรียมข้าวของไปถวายวัดด้วย เพราะพระจะรู้จักกับบุคคลต่างๆในชุมชนดี

โดยเฉพาะกลุ่มนักดนตรี เพราะดนตรีจะมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เกี่ยวข้องกับวัดอยู่เสมอ

          การลงภาคสนามควรลงหลายๆครั้งในที่เดิม จึงจะเกิดความคุ้นเคย การรู้จักมักคุ้นจะทำให้

ได้ข้อมูลจริง และองค์ความรู้จริง เพื่อนำมาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง

การทำกลุ่มสนทนา ( Focus group ) มีความจำเป็นในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากกลุ่ม

บุคคลในชุมชน ต้องการความคิดเห็น ต้องการพัฒนาสิ่งต่างๆ ตามความเห็นของผู้นำชุมชนและ ประชาชน การจัดกลุ่มสนทนาจึงมีความจำเป็นมาก

          วิธีการจัดกลุ่มสนทนา จัดทำได้โดยต้องมีบุคคลต่างๆ ในชุมชน ดังนี้

-          ประชาชนทั่วไปในชุมชน

-          พระ  2 – 3 รูป

-          ผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน )

-          ปราชญ์ชาบ้านทางวัฒนธรรม  2 – 3 คน

-          ปราชญ์ชาวบ้านทางดนตรี 2 – 3 คน

-          นักวิชาการทางดนตรี และผู้ช่วย 2 – 3 คน

เมื่อมีกลุ่มสนทนาดดยมรบุคคลต่างๆ ดังกล่าวแล้ว มีประเด็นปัญหาคำถามต่างๆที่ต้องการ

นักวิชาการทางดนตรีต้องเป็นผู้นำเสนอให้ตะล่อมประเด็นให้คงที่ ไม่ใช่พูดปัญหาอื่น เพราะจะไม่ตรงประเด็น นักวิขาการดนตรีต้องควบคุมเวลาให้เหมาะสม ไม่เกินเวลาการทำมาหากิน

และทำให้เสียเวลาขิงบุคคลที่มาร่วมสนทนามากเกินไป การทำกลุ่มสนทนาสามารถทำได้อีกโดยการ

นัดหมายของนักวิชาการดนตรี

คุณสมบัติของนักวิชาการดนตรี

          นักวิชาการดนตรีควรมีความรู้หลากหลาย มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน กระตือรือร้น ไม่ชอบอยู่เฉย

คุยเก่ง เป็นกันเอง เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคน ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บันทึกข้อมูลได้

รวดเร็ว ไม่ขี้ลืม

เทคนิคของการเก็บข้อมูลภาคสนามของนักวิชาการดนตรี

-          จดจำข้อมูลต่างๆได้ดี

-          จดจำบุคคลข้อมูลได้ดี (จำชื่อเขาให้ได้ แม้แต่ชื่อหมาของเขา )

-          มีเทคนิคการจดบันทึก โดยการใช้ปากกาหลายๆสี การขีดเส้น การวง การวาดภาพโดยเร็ว

-          ยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคน

-          พูดจาเป็นกันเอง ไม่พูดส่อเสียด แซวจนเสีย และไม่นำข้อด้อยของผู้สนทนาด้วยมาพูด เช่นถ้าบุคคลข้อมูลพูดติดอ่างก็อย่าล้อเลียน บุคคลข้อมูลศรีษะล้านก็อย่าพูดถึงศรีษะเป็นต้น

 

การลงภาคสนามของนักสวิชาการดนตรีแต่ละครั้งควรมีผู้ช่วย (เป็นนิสิตทั้งระดับปริญญาตรี

และปริญาโท ) ร่วมลงภาคสนามด้วย เพราะเป็นการฝึกฝนให้เกิดนักวิชาการดนตรีเพิ่มขึ้น

          ข้อสำคัญที่สุดของนักวิชาการดนตรีในการลงภาคสนามคือ “ความเป็นนักวิชาการ”

-          รู้จักสังเกต และตั้งข้อสังเกต

-          จดจำสิ่งต่างๆเป็นขั้นตอน

-          ถ่ายภาพตลอดเวลา (เพราะภาพสามารถเล่าเรื่องได้)

-          กินอาหารแบบเดียวกับชาวบ้าน (ถ้ากินไม่ได้ก็เลี่ยง อย่าให้น่าเกลียดว่าเรารังเกียจอาหารของเขา แต่ไม่ใช่ทำเป็นชอบจนออกนอกหน้า )

-          เก็บข้อมูลทุกชนิดโดยละเอียด ทั้งจดจำ บันทึกเทป ถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลเสียง ซึ่งสำคัญกับนักวิชาการดนตรี

-          และสุดท้ายคือต้องเป็ยผู้รู้อยู่เสมอ โโยเฉพาะการเรียนนอกห้องเรียน การเรียนในห้องใหญ่ คือ การลงภาคสนาม

ความสรุปของนักวิชาการดนตรี

     สุขใดไม่แม้นแดนดง

สุขแล้วเข้าหลงพงป่า

สุขล้ำได้เห็นนานา

สุขพาไปในดงดอน

     เพลงพิณได้ยินไพเราะ

เพลงเพราะบนเขาใครสอน

เพลงเสนาะยังก้องร้องวอน

เพลงพรจากดงพงไพร

     ภูเขาสงบเพราะสยบให้สงัด

ภูเขาจัดจังหวะเสียงหรือไฉน

ภูเขายืนผืนฟ้ากว้างอำไพ

ภูเขาให้เสียงเพลงบรรเลงดัง

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น