วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

วิวัฒนาการดนตรีสากล

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  วิวัฒนาการของดนตรีสากล

 

การจะสืบสานเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีสากลตั้งแต่สมัยโบราณนั้น ๆ เป็นเรื่องที่ยากเพราะดนตรีเป็นศิลปะของการใช้เสียง ถ้าหากไม่มีการจดบันทึกไว้ เสียงเหล่านั้น ย่อมสูญหายไปตามกาลเวลา และเนื่องจากการจดบันทึกทางดนตรีในสมัยโบราณไม่เคยมีมาก่อน การรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพิ่งจะมีปรากฏและเริ่มใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุคกลาง คือ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖ และการบันทึกก็มีเพียงเครื่องหมายแสดงระดับของเสียงและจังหวะ" เท่านั้น

แท้จริงแล้วดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์นั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำหรือแม้แต่ในโพรงไม้ มนุษย์ก็รู้จักการร้องรําทําเพลงตามธรรมชาติ เช่น รู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป็นต้น พร้อมกันนี้ก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามอุบัติการณ์ที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งการร้องรําทําเพลงของมนุษย์ในยุคนั้นมักทําเพื่ออ้อนวอนเทพเจ้า เพื่อช่วยให้ตน มีความสุขความสบายและรู้สึกปลอดภัย

โลกได้เปลี่ยนมาหลายยุคหลายสมัย ดนตรีก็มีวิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์ ทั้งนี้เครื่องดนตรีในสมัยเริ่มแรกที่เคยใช้ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นลําดับขั้น จนกลายเป็นเครื่องดนตรีที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน และเพลงที่เคยร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนาหรือเพลงที่ร้องโดยทั่วๆ ไป

ในระยะแรกๆ นั้น ดนตรีมีอยู่เพียงเสียงเดียวและแนวเดียว เรียกว่า “แนวทํานอง” (Melody) เท่านั้น ไม่มีการประสานเสียง เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษจนถึงศตวรรษที่ ๑๒ มนุษย์จึง เริ่มรู้จักใช้เสียงต่างๆ มาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา และนับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา นักปราชญ์ทางดนตรีก็ได้แบ่งดนตรีออกเป็นยุคต่างๆ อนุโลมเข้ากับยุคของศิลปะ ดังนี้

1.    ยุคกลาง (Middle Ages)

ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.ศ. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน    ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ 3/4 ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4 เพลงร้องพบได้ทั่วไป และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon)

บทเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงร้องที่ใช้ในโบสถ์เพื่อสรรเสริญพระเจ้าเพียงอย่างเดียว โดยบางครั้งอาจเป็นการร้องสอดประสานกันบ้างประมาณ 2-3 แนวในปลายยุคและยังไม่พบการบรรเลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานอย่างเด่นชัด

2.    ยุคเรเนซองค์ (Renaissance Period)

เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.ศ. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes) ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales) การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะและไม่มีอัตราจังหวะ ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยยังมีน้อยไม่ค่อยพบ ลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเริ่มมีการผสมวงเล็กๆเกิดขึ้น

 บทเพลงในยุคนี้เริ่มมีการผสมผสานระหว่างเพลงพื้นฐานกับเพลงที่ใช้ในโบสถ์ โดยการนำเอาเทคนิคการประพันธ์เพลงพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้กับเพลงสวด ทำให้เกิดการนำเอาเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบในเพลงสวดที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ออร์แกน ฮาร์ฟซิคอร์ด เป็นต้น

 

3. ยุคบาโรค (Baroque Period)

เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750) การสอดประสานเป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์และไมเนอร์แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย  เป็นลักษณะของความดัง-ค่อย มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง (Crescendo, diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso) บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้นบทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่มเครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น (Concerto grosso)

4.      ยุคคลาสสิค (Classical period)

เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1750-1825) การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้ การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสาน การใช้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์เป็นหลักในการประพันธ์เพลง ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน บริสุทธิ์ มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มีการแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น การบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว(Concerto) เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้ บทเพลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับเพลงเดี่ยว(Sonata)  ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก บทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่กำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือใหญ่ คือ วงเชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตราในการจัดวงออร์เคสตราใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีวงออร์เคสตรา ในยุคนี้ถือได้ว่ามีรูปแบบที่ใช้เป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน 

5.      ยุคโรแมนติก (Romantic period)

เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว ค.ศ. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้ คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก หลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ยังเป็นสิ่งสำคัญ แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้ บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมาก วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิค บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซิมโฟนี โซนาตา และแชมเบอร์มิวสิก ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น

ในยุคนี้ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับการพัฒนารูปร่างจนสามารถบรรเลงด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่หลากหลายได้เป็นอย่างดีในส่วนของการผสมวงออร์เคสตรา ยังคงใช้หลักการ ผสมวงออร์เคสตราตามยุคคลาสสิก และเพิ่มขนาดโดยการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีให้มีความยิ่งใหญ่ขึ้นเพื่อให้อารมณ์ของบทเพลงมีความหลากหลายและสามารถสื่อถึงผู้ฟังได้อย่างเด่นชัด 

6.      ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period)

เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ คลุมเครือไม่กระจ่างชัด เนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ เสียงไม่หนักแน่น ดังเช่นเพลงในยุคโรแมนติก     การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ ไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเพลงเป็นรูปแบบง่าย มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด 

7.      ยุคศตวรรษที่ 20 (Contemporary Period)

ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ และนำเอาหลักการเก่าๆ มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน เช่น หลักการเคาเตอร์พอยต์(Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน มีการใช้ประสานเสียงโดย การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลักในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Twelve-tone scale) ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance) วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก ไม่นิยมวงออร์เคสตรา มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์ ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น ในขณะที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน เรียกว่านีโอโรแมนติก (Neo-Romantic) กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20  นี้มีหลากหลายมากสามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมาแต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป  

8.      ยุคศตวรรษที่ 20 (Contemporary Period)

หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

รูปแบบดนตรีมีการผสมผสานรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งมีการนำเสียงจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องดนตรีด้วยและส่วนดนตรีในรูปแบบดนตรีคลาสสิกก็ยังคงใช้รูปแบบการผสมวงตามยุคคลาสสิก ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่จะเน้นที่รูปแบบการประพันธ์เพลงมากกว่าและในยุคนี้เริ่มมีวงดนตรีผสมผสานรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นรูปแบบวงดนตรีที่ผสมผสานระหว่างแอฟริกา ตะวันตก อเมริกาและยุโรป ที่เรียกว่า วงดนตรีแจ๊ส (Jazz) เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงมักประกอบด้วย ทรัมเป็ต คลาริเน็ต ทรอมโบน ทูบา และกลองประเภทต่างๆ เป็นต้น

1.ให้เรียงลำดับยุคสมัยต่างๆของดนตรีจากยุคใหม่ไปยุคเก่า

2.ให้อธิบายลักษณะสำคัญของดนตรียุคคลาสสิค


 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น