การเก็บข้อมูลภาคสนาม
และการนำข้อมูลสู่งานวิจัย
การศึกษาการภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา
การศึกษาภาคสนามชุมชนชาติพันธ์
ในสังคมประเพณี (Traditional
Society) ในอดีต อาจกล่าวได้ว่า
“กลุ่มชาติพันธุ์นิยาม
ตนผ่านคติชน” (Defining
their identity through their folklore) ดังจะเห็นได้จากชุดแต่งกาย
ของแต่ละชาติพันธุ์ ( ethnic
costume) ทั้งผ้าซิ่น สีเสื้อ ผ้าโผก ถุงย่าม,
ประเพณีพิธีกรรม การแสดง
การร้องเพลง อาหาร จนอาจกล่าวได้ว่า
“เห็นคติชนก็พอจะบอกชาติพันธุ์ได้”
กาลเวลาผ่านไป
ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามบริบท
ของแต่ละประเทศที่เปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ
วิถีชีวิตสมัยใหม่เข้ามาแทนที่วิถีชีวิตแบบเก่า
เสื้อยืดกางเกงยีนส์อาจแทนที่ชุดชาติพันธุ์
ณ ปัจจุบันนี้ก็อาจไม่ง่ายนักและเห็นได้ไม่ชัดนักที่จะบอก
“ชาติพันธุ์” ผ่าน “คติชน”
เช่นในอดีตอีกต่อไป
ในโลกปัจจุบัน
การแสดงตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์อาจไม่ได้แสดงออกผ่านคติชนของตน
ตลอดเวลา เนื่องจากบริบททางสังคมซับซ้อนและเปลี่ยนไป
กลุ่มชาติพันธุ์อาจเลือก แสดงตัวตน
ผ่านคติชนเป็นบางเวลา บางสถานการณ์
และบางบริบททางสังคม
ทุกวันนี้
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให่เกิดการเคลื่อนที่เดินทางของผู้คนทั้งหลาย
ในโลกในปริมาณที่มากกว่าในอดีต
ทำให้เกิดภาวะการเดินทาง “ข้ามชาติ” (transnationalism)
ทั้งในกรณีนักธุรกิจ
นักลงทุนที่มีกิจการผ่านบรรษัทข้ามชาติ นักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยวไปยังประเทศ
ต่างๆทั่วโลก ทั้งแรงงานข้ามชาติ เช่น
ผู้คนที่หลากหลายชาติพันธุ์จากประเทศเมียนมาร์ ลาว
กัมพูชาเข้ามาทำงานในประเทศไทย
หรือผู้อพยพลี้ภัย หรือหนีภัยสงครามจากตะวันออกกลางไปยัง
ยุโรป หรือ จากแอฟริกาไปยุโรป
ก็เป็นข่าวให้ได้ยินได้ฟังกันทุกวัน
กลุ่มในประเทศต่างๆ
ที่เดินทางข้ามจาปรพเทศของตนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือข้าม
จาหทวีปหนึ่งไปอีกทวีปหนึ่งในฐานะของผู้ลี้ภัย
ผู้อพยพ หรือแรงงานต่างด้าว ต้องนับว่าได้เปลี่ยน
สถานภาพของตนเป็น “ผู้พลัดถิ่น”
ในบริบทข้ามพรมแดน (tranborder)
ซึ่งนับได้เป็นพื้นที่
นอกมาตุภูมิ
การแสดงออกอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ในบริบทข้ามพรมแดน
ซึ่งเป็นบริบท “นอกมาตุภูมิ” ย่อมเป็นการแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่น่าจะต่างจาก
“ในมาตุภูมิ” ของตน
รวมทั้งการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยวซึ่งมีผู้ดู
ก็เช่นกัน
เพราะในบริบททางสังคมทั้งข้ามพรมแดน
และการท่องเที่ยว ผู้แสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์
ย่อมต้องมีความตั้งใจในการเลือกสรรว่าจะนำเสนอตัวตนอย่างไร
การลงพื้นที่ภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิยา
เป็นบริบทหนึ่งที่ลงสู่ข้อมูลพื้นที่จริง พื้นที่
ในการค้นหาตัวตน อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์
ได้ชัดเจนผ่านกระบวนการวิธีการภาคสนามทาง
มานุษยดุริยางควิทยา
ข้าพเจ้าเองได้เริ่มออกภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา
จากอดีตจนถึงปัจจุบันก็นับว่า
จำนวนหลายครั้งแล้ว แต่ทุกๆครั้งที่ต้องออกภาคสนามอีก
ก็จะมีเรื่องใหม่ๆ มีเรื่องที่ยังต้อง
เตรียมความพร้อม ปรับปรุงแก้ไข ไม่มีตำรา
คัมภีร์สำเร็จรูปใดๆที่เหมาะสมกับทุกพื้นที่ในการ
ภาคสนาม ทุกพื้นที่ในการภาคสนามมีเรื่องใหม่ๆ
การเตรียมความพร้อม องค์ประกอบที่
เหมาะสมของแต่ละพื้นที่
เช่น เวลา งบประมาณ เศรษฐกิจ สังคมการเมือง เป้าประสงค์ใน
การลงพื้นที่ภาคสนาม
อีกทั้งเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฯลฯ
จากที่กล่าวมาข้างต้น
ข้าพเจ้าขอถอดบทเรียนเขียนประสบการณ์ ในการลงพื้นที่ภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา
ดังต่อไปนี้
ศูนย์ฝึกภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ตำบลไล่โว่ หมู่บ้านกองม่องทะ
ศุนย์แห่งเกิดขึ้นจากการเรียนการสอนระดับปริญญาโท
สาขามานุษยดุริยางควิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ใช้เป็นสถานที่ฝึกภาคสนามเพื่อการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
จากวิถีชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ศิลปินท้องถิ่น โดยมีกาเรียนรู้เครื่องดนตรีต่างๆของชุมชน ได้แก่
เครื่องดนตรีนาเด่ย
เครื่องดนตรีเมตาลี่ และเครื่องดนตรีวงชะพูชะอู ศึกษาขนบวัฒนธรรมชุมชน
โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ลงหลักปักมุด ปลูกกระท่อมลานเรียนรู้ ซื้อเครื่องดนตรี เป็นแหล่งรวม
ศิลปินครูเพลงท้องถิ่น แหล่งรวมการเสวนาภาษาดนตรีวิถีชาวกระเหรี่ยง
การถ่ายทอดการแสดง
ดนตรีภายในและภายนอกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้การภาคสนามนิสิตปริญญาโท
หลักสูตรมานุษย
ดุริยางควิทยาหลายรุ่นจนถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งศึกษาประเพณี 12 เดือน ของชาวกระเหรี่ยง เช่น
พิธีการฟาดข้าว พิธีงานบุญกินข้าวใหม่ เป็นต้น
บทบาทหน้าที่ในการภาคสนาม
-
กำหนดเป้าประสงค์ จุดมุ่งหมายในการภาคสนาม
-
ศึกษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนในภาพกว้าง
-
ศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีของชุมชน ในกรณีศึกษาจากศิลปินท้องถิ่น
-
ศึกษาเครื่องดนตรีวงชะพูชะอู นาเด่ยและเมตาลี่
-
วัฒนธรรมการแสดงกับชุมชนชาวบ้านในบริบทผู้แสดง ผู้ฟังและคณะกรรมการดำเนินการ
-
วัฒนธรรมการแสดงวงดนตรีชะพูชะอู
องค์ความรู้จำเป็นในการภาคสนาม
-
วิถีชีวิตชุมชน
-
วิถีชีวิตครอบครัว
ทำไมต้องมีการภาคสนาม
งานภาคสนามเป็นสิ่งสำคัญในงานสังคมวิทยา มานุษยวิทยา
และมานุษยดนตรีวิทยา
นำไปสู่การยอมรับทางการศึกษาจากโต๊ะทำงานนางมานุษยวิทยาทางดนตรีมีการบันทึกเสียง
สัมภาษณ์ ถ่ายรูป และการสังเกตตีความจากตัวโน้ต
ในการรวบรวมข้อมูลต้องใช้ประสบการณ์ต่างๆ มากมายในงานภาคสนาม
ในอดีตงาส่วนใหญ่แค่รวบรวมเอกสารจากห้องสมุด
แต่นักมานุษยดนตรีวิทยาในทุกวันนี้ต้องรวบรวมวัสดุ ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลจริงๆ
ได้สัมผัสจริงๆ มรการบันทึกโน้ตตามวิธีที่เชื่อถือได้
มีการสอบสวนประวัติศาสตร์โดยการสัมภาษณ์ ล้วนแล้วแต่หาความจริงจากแห่งข้อมูลโดยตรง
สำหรับนักมานุษยดนตรีวิทยาในการลงสนาม ต้องใช้ความสามารถในภูมิศาสตร์
และภาษาศาสตร์ด้วย การลงสนามแต่ละครั้งนั้นไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้
สิ่งที่เป็นรูปแบบทั่วไปของการลงภาคสนามมีดังนี้
1.ผู้ให้ข้อมูล (Informer) เป็นบุคคลที่สนับสนุนเรื่องราวต่างๆ
ที่เขาอยากรู้ คำบอกเล่าต่างๆ อาจจะยากในการศึกษาข้อมูล
เราต้องคุยให้มีความใกล้ชิดเหมือนคุยกับเพื่อน
ทำผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมกับการสัมภาษณ์ ข้อมูลจะดีหรือไม่ดี ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนสำคัญมาก
ผู้คนในงานภาคสนามเหล่านี้จะเป็นผู้บอกเราเกี่ยวกับการเป็นอยู่และดนตรีของเขา
2.งานภาคสนามที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี และวัฒนธรรม (เกี่ยวกับพิธีกรรม
ประเพณี และความเป็นอยู่) และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนา การบันทึก การตัดต่อต่างๆ เพื่อช่วยให้งานสะดวกขึ้น
3.การจดบันทึกในรูปแบบของการบันทึกภาคสนาม
มีการบันทึกเสียงดนตรี การสัมภาษณ์ลงเทป การถ่ายภาพนิ่ง การบันทึกวีดีทัศน์
รวบรวมงานภาคสนามที่พบลงในสมุด การบันทึกเครื่องดนตรี การบรรเลง
โดยรูแบบส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
ในงานมานุษยดนตรีวิทยา คือ การเก็บบันทึกข้อมูล และการรักษาข้อมูล
รวมถึงการถ่ายข้อมูลไปที่ทำงาน บ้าน หอเอกสาร
จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมในเรื่องมนุษยดนตรีวิทยาทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของ
สาขาที่ได้ให้ความหมายของวิชามานุษยดนตรีวิทยานี้ไว้ว่า
เป็นวิชาที่แยกตัวออกจากดนตรีวิทยา (Musicology)
วิชาดังกล่าวเป็นการศึกษาเฉพาะดนตรีที่มีอยู่สังคมของชาวตะวันตก
แต่ในทางดนตรีมานุษยวิทยา (Ethnomusicology)
เป็นการศึกษาดนตรีที่อยู่นอกวัฒนธรรมของชาวตะวันตกแม้ว่าเราจะอยู่นอกวัฒนธรรมตะวันตกก็ตามแต่เราก็ยังใช้ชื่อมานุษยดนตรีวิทยาในการเรียกชื่อวิชาที่ศึกษาถึงดนตรีที่อยู่นอกวัฒนธรรมของเรา
เช่น ดนตรีชาวเขา ดนตรีพื้นบ้าน ฯลฯ
สำหรับความเกี่ยวข้องของงานภาคสนามกับวิชามานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) นั้นกล่าวโดยสังเขป
คือ งานสนามเป็นหัวใจของดนตรีมานุษยวิทยาก็ว่าได้ เพราะงานสนามเป็นหนทางของข้อมูลที่นำมาศึกษาวิจัย
โดยงานสนามมุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อความเข้าใจ การจดบันทึก
และทำความเข้าใจกับดนตรีในแง่ต่างๆ เช่น พฤติกรรมของสังคมที่มีต่อดนตรี
ความสำคัญของตัวดนตรีที่มีต่อวัฒนธรรม ฯลฯ
ดนตรีเผ่าพันธุ์
Ethnic Music )ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นศิลปะอันรงคุณค่า มีความงาม มีความเป็นสุนทรียศาสตร์
ภายในตัวเอง ในแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนนั้นๆ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมอื่น
คุณค่า ความงาม และสุนทรียศาสตร์ ในศิลปวัฒนธรรมของพวกเขา ก็ไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมอื่น
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ นั้นกำลังสูญหายไป
ถ้าทุกวันนี้เรายังนิ่งนอนใจไม่ได้ให้ความสำคัญ กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมในด้านต่างๆ
ความรู้และศิลปะอันทรงคุณค่าของกลุ่มวัฒนธรรมในด้านต่างๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความรู้ภูมิปัญญาที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
เหล่านั้นจะสูญเสียวัฒนธรรมของตนเองไป
สร้างเสถียรภาพขั้นตอนในกระบวนการภาคสนาม
การทำงานภาคสนามเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับนักเรียนทางด้านมานุษยดนตรีวิทยา
นักภาคสนามประกอบไปด้วยศาสตร์หลายด้านไม่ว่าจะเป็น
มานุษยวิทยา
คติชนวิทยา โบราณคดี
ภาษาศาสตร์ชาติพันธ์ ฯลฯ หรือแม้แต่งานทางด้านวิทยาศาสตร์
เช่น นิเวศน์วิทยา
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น
การทำงานภาคสนามให้มีประสิทธิภาพ
ต้องมีการซักซ้อมหรือฝึกปฏิบัติก่อนเสมอ ดังนั้น
การศึกษาในศาสตร์ที่ต้องมีการปฏิบัติภาคสนาม นิสิตนักศึกษาต้องมีการฝึกภาคสนามในระหว่าง
การเรียนการสอนในรายวิชา
หรือเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับอาจารย์ในการทำงานวิจัยที่ต้องออกภาคสนาม
การทำงานภาคสนามให้ประสบความสำเร็จต้องสร้างเสถียรภาพขั้นตอน กระบวนการภาคสนาม ดังต่อไปนี้
1.
การสังเกต ( Observation
)
การสังเกต คือการเฝ้าดูอย่างเป็นระบบ
วิธีนี้มักเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนของการสำรวจพื้นที่
ภาคสนามเบื้องต้นก่อนการทำงานจริง
ได้แก่
1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ( Participant Observation )
เป็นการที่ผู้วิจัยมีบทบาทเป็นผู้เข้าร่วมสังเกตแบบสมบูรณ์แบบ
กล่าวคือ การเข้าไป
มีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริงเสมือนกับเป็นคนในชุมชนนั้นๆ
เพื่อจะได้เรียนรู้ถึงความหมาย
บทเพลง พิธีกรรม สังคม วัฒนธรรม
ประเพณี ในวิถีชีวิตที่แท้จริงของชุมชนนั้น
ดังเช่น คณะศิลปกรรมศาสตร์
สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริน
ทรวิโรฒ โดย รองศาสตราจารย์ มานพ
วิสุทธิ์แพทย์ และรองศาสตราจารย์ กาญจนา อินทรสุนานนท์
ได้เปิดศูนย์ภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา
ที่ตำบลไล่โว่ หมู่บ้านกองม่องทะ เป็นปักหมุดลงลึก
เพื่อเข้าถึงวิถีชุมชน
วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเข้าไปทำการภาคสนามที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
และผู้ศึกษา
วิจัยได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มชนนั้น
สำหรับการทำงานภาคสนามทางด้านมานุษยดุริยางควิทยา ขั้นตอนของการสังเกตแบบ
มีส่วนร่วมมักรวมไปถึงการได้มีโอกาสเข้าร่วมในพิธีกรรม หรือร่วมบรรเลงดนตรีของกลุ่มชนนั้นๆ
หรือมีโอกาสเรียนรู้ ฝึกฝนเครื่องดนตรีของท้องถิ่นนั้นๆ
ซึ่งเป็นหลักสำคัญตามที่แมนเทิล ฮูด
ปรมาจารย์ผู้บุกบิกการศึกษาภาคสนามทางด้านมานุษยดุริยางควิทยาที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ศึกษาควร
ฝึกฝนดนตรีของกลุ่มชนที่ตนเองได้เข้าไปศึกษางานวิจัยด้วย
1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ( Non – Participant Observation )
เป็นลักษณะที่ผู้วิจัยไม่แสดงบทบาทใดๆ
ต่อเหตการณ์นั้นๆ เช่น ขณะที่กลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง
กำลังประกอบพิธีกรรมอยู่นั้น
ผู้วิจัยได้แต่สังเกตดูอยู่ภายนอก มิได้เข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรม
แต่อย่างใด
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมอาจต้องระวังเรื่องต้องไม่เป็นส่วนขัดขวางหรือ
ทำให้พิธีกรรม
ติดขัดหยุดชะงักเพราะการเข้าร่วมสังเกตการ
เช่น เรื่องเสียงรบกวน ตำแหน่งที่ยืนดู ฯลฯ
2.
การสัมภาษณ์ ( Interview )
การสัมภาษณ์มีหลายรูปแบบ แต่ก็ต้องมีการฝึกฝน และค้นหาเทคนิค
เพื่อให้ได้ข้อมูล
หรือเป้าหมายของการสัมภาษณ์ เช่น อาจมีลักษณะพูดคุยไปเรื่อยๆอย่างเป็นกันเอง
หรือการกำหนด
หัวข้อในการสัมภาษณ์อย่างละเอียด
การสัมภาษณ์จะเลือกใช้ในรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใน
การสนทนา และความสามารถของผู้สัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์ต้องทำให้บรรยากาศการสัมภาษณ์
ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด ถึงแม้ว่าการสัมภาษณ์นั้นจะต้องการผลคำตอบที่เป็นจริง
สมบูรณ์ถูกต้อง อย่างชัดเจนแค่ไหนก็ตาม
การสัมภาษณ์สามารถแบ่งเป็นรูปแบบสำคัญ
2
ลักษณะ ได้แก่
2.1
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ( Informal
Interview ) เป็นลักษณะแบบเป็นกันเองซึ่งอาจมีทั้งการเตรียมและไม่ได้เตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการอาจ
มีลักษณะเป็นการสนทนาไปเรื่อยๆ
สลับกับการถามคำถามที่ไม่สร้างความลำบากใจในการตอบ
คำถาม
หัวข้อในการสนทนาอาจเริ่มจากการถามสารทุกข์สุกดิบทั่วไป หรือสภาพทั่วไปของชุมชน
หรือแม้แต่หัวข้อที่ชุมชนนั้นให้ความสนใจ
เพื่อสร้างความคุ้นเคย และความไว้วางใจก่อนที่จะถาม
คำถามตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ในโอกาสต่อไป
2.2
การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ ( Formal
Interview )
เป็นการสัมภาษณ์ที่มีการเตรียม
คำถามไว้ล่วงหน้า ทั้งคำถามแบบเจาะจง
และคำถามแบบปลายเปิด
ข้อพึงระวังการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ
-
ต้องคอยสังเกตคำถามที่อาจทำให้สร้างบรรยากาศตึงเครียด
หรือไม่อยากตอบในคำถามนั้น
-
บางคำถามอาจทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ หรือล่วงละเมิดไปถึงเรื่องส่วนตัว
-
วัฒนธรรมภาษา ที่ทำให้เข้าใจความหมายผิดไปจากข้อคำถาม เช่นศัพท์พื้นเมือง ศัพท์ทางดนตรี
คำศัพท์เฉพาะท้องถิ่น ฯลฯ
-
ความรู้สึกนึกคิดระหว่างความเป็นคนในวัฒนธรรม
กับคนนอกวัฒนธรรมย่อมมีความแตกต่าง
การจัดทำกระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตราฐาน เทคนิคการภาคสนาม
การเตรียมตัว
1.
การเตรียมเอกสาร
-
ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ๆจะลงภาคสนาม ( Basic Imfomation )
-
ภาษาท้องถิ่น ที่จะสามารถสื่อสารได้ขั้นพื้นฐาน
-
แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์หรือแแบบคำถาม
-
หนังสือเดินทาง บัตรประชาชน
2.
การเตรียมความพร้อมของตนเอง
-
สุขภาพร่างกาย
-
สภาวะจิตใจ
-
วิธีการ
-
เครื่องมือ
-
ปัญหาและอุปสรรค
3.
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
-
ปากกาดินสอ สมุดบันทึกและอุปกรณ์ที่จำเป็น
-
เครื่องบันทึกเสียง ภาพ และอุปกรณ์การบันทึกเสียง ภาพ
-
ถ่านแบตเตอรี่ อุปกรณ์พาวเวอร์แบงค์ (Power Bank ) และหรืออุปกรณ์ชาร์ทพลังงานเครื่องบันทึกภาพและเสียง
-
คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก เพื่อสามารถถ่ายเก็บข้อมูลที่บันทึกภาพและเสียงหรืออื่นๆได้
-
แบตเตอรี่รถยนต์ ในหมู่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่
เป็นหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
คนในหมู่บ้านต้องใช้แบตเตอรี่รถยนต์เป็นอุปกรณ์เพื่อจำหน่ายไฟฟ้า
เพื่อใช้ในแต่ละครัวเรือน
-
กล้องที่ใช้ฟิล์ม และกล้องดิจิตอล ควรศึกษา specification ของกล้อง อุปกรณ์ประกอบต่างๆ และฟิล์ม
ไฟ ฉาก
ข้อควรระวังในการเก็บข้อมูลเสียงดนตรี
-
ไม่ควรใช้ไฟบ้าน ควรใช้ถ่านไฟฉายเท่านั้น เพราะกระแสไฟคงที่
-
รู้ธรรมชาติของเสียงดนตรีแต่ละชนิดเพื่อประโยชน์ในการวางไมค์
การเก็บข้อมูลภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
การเก็บข้อมูลภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.
ภาพข้อมูลบุคคล
-
มีความชัดเจนสามารถระบุบุคคลได้ ควรถ่ายเป็นภาพหน้าตรงครึ่งตัวและเต็มตัว
-
ภาพที่เป็นธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ไม่ผ่านการจัดการเสริมแต่งเพื่อให้ดูผิดจากธรรมชาติ
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ต่างจากความเป็นปัจจุบัน
เช่นมีการแต่งองค์ทรงเครื่องใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่ทำให้ผิดไปจากปกติวิสัย
-
ภาพกำลังบรรเลงเครื่องดนตรี ทั้งเดี่ยว และเป็นวงดนตรี
-
ภาพขณะการสัมภาษณ์ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.
ภาพข้อมูลสถานที่
-
ภาพรวมที่เป็นส่วนสำคัญของเหตุการณ์นั้นๆ เช่น บ้าน วัด ศาลเจ้า ป่า ถนน
ท้องนาฯลฯ
-
ภาพส่วนละเอียดหรือส่วนย่อยของเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ เช่น บริเวณในครัว
ใต้ถุน ห้องนอน บนโต๊ะ ทางเข้า โคนต้นไม้ ในเก๋งเรือ บนหลังควาย ฯลฯ
3.
ภาพข้อมูลเครื่องดนตรี
-
ภาพเครื่องดนตรีเต็มชิ้น หมดทุกมุม ด้านหน้า หลัง บน ล่าง
-
ภาพส่วนสำคัญ เช่น หน้ากลอง สาย ไม้ดีด ฯลฯ
-
ภาพวิธีการบรรเลง
-
ภาพขณะบรรเลงในวง หรือบรรเลงเดี่ยว
-
มีเครื่องดนตรีแสดงมาตราส่วนของเครื่องดนตรี เช่น ไม้บรรทัด (ควรใช้ไม้บรรทัดโปรแท็กเตอร์วางข้างเครื่องดนตรี
)
4.
ภาพเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
-
ภาพขณะกำลังแต่งตัว
-
ภาพเครื่องแต่งกาย ชุดการแสดงที่แต่งตัวเสร็จแล้ว เต็มตัว ทั้งด้านหน้า
ด้านข้าง ด้านหลัง
-
ภาพเครื่องแต่งกาย ชุดการแสดงที่แต่งตัวเสร็จแล้ว แยกถ่ายเป็นส่วนๆ
-
ภาพการแต่งกายชุดการแสดง (ไม่ต้องแต่งตัว) แยกเป็นชิ้นๆ
-
ภาพขณะกำลังแสดง
5.
ภาพการแสดง
ภาพขณะกำลังแสดง เป็นท่าสำคัญๆของการแสดงนั้นๆ
หมายเหตุ
การเก็บข้อมูลภาคสนามนั้น
ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและ เพียงพอ หากเกิดเหตุขัดเข้อง
ทำให้เกิดการพลาดเหตุการณ์สำคัญๆ ในการเก็บข้อมูลภาคสนามถือว่าเป็นข้อผิดพลาดอย่าง
ใหญ่หลวง หรีอทำให้ไม่สามารถย้อนเวลา
ย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลับไปได้อีก
ปฏิทินแผนงาน
/ ชุมชน
แนวทางในการสัมภาษณ์ พูดคุย หรือเก็บข้อมูลจากชาวบ้าน
เครื่องมือในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจชุมชน
-
แผนที่เดินดิน
-
ผังเครือญาติ
-
การจัดสร้างผัง โครงสร้างองค์กรณ์ ชุมชน
-
ปฏิทินชุมชน
-
ประวัติศาสตร์ชุมชน
-
ประวัติชีวิตบุคคลในชุมชน
เรื่องเล่าจากชุมชน คติชนวิทยา
คติชนวิทยา
หรือบางครั้งเรียกกันว่า คติชาวบ้าน แนวคิด เรื่องเล่า คือความพยายามที่จะ
รวบรวมสะสมสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีตัวตนจับต้องได้
และที่ไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ ที่เคยมี เคยเห็น เคยเป็นในอดีต
และอาจยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบัน ให้เข้ามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนในปัจจุบัน
ได้รู้จักตนเอง รู้จักชุมชนของตน รู้จักชาติบ้านเมือง
เผ่าพันธุ์ รู้จักสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม
คนสำคัญ ในคติชาวบ้านมีทั้งที่เป็นวีรบุรุษ วีรสตรี
ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ และชาวบ้านธรรมดาสามัญ ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้ใหญ่ และผู้เด็ก
เรื่องเล่าสำคัญของคติชาวบ้าน
มีกันตั้งแต่เรื่องการตั้งบ้าน ตั้งเมือง เรื่องทำไร่ ทำนา
เรื่องการทำมาหากิน เรื่องถ้อยคำภาษา
และยังเชื่อมโยงต่อไปจนถึงชุมชนเพื่อนบ้าน การติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองอื่น การย้ายถิ่น
การแต่งงานกับคนต่างถิ่นบ้านเมืองอื่น ฯลฯ จากภาพเล็กๆ
เรื่องใกล้ตัว เชื่อมโยงไปสู่ภาพใหญ่
เรื่องราวของบ้านเมืองที่กว้างไกลออกไป
อย่างที่มักพูดกันในปัจจุบันว่า โลกไร้พรมแดน
เรื่องราวของชาวบ้านนั้น
บางครั้งและบ่อยครั้ง เป็นที่สนใจของคนอื่นนอกบ้านนอกชุมชน
มีผู้คนมากมายผ่านเข้ามาเยี่ยมเยือนไต่ถามและบันทึกเรื่องราวที่ได้ยิน
ได้ฟังได้รู้ จากคนในชุมชน
หรือจากการอ่านบันทึก อ่านเอกสารเก่าแก่ในเรื่องราวของชุมชน
แล้วนำไปเขียนไปเผยแพร่
เอาไปเล่าต่อ
แล้วบางที่หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป เรื่องราวของบ้านเราชุมชนเรา
ที่เขาเล่าต่อ
ก็กลายเป็นเรื่องราว ที่เรารับเอามาเชื่อถือ และจดจำตามนั้น
จนบางครั้งเราก็เชื่อ จนกลายเป็นคติชนวิทยาในเรื่องของเราที่เขาเล่า
มากกว่าเรื่องที่เราเล่ากันเอง (ทฤษฎี
การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม)
ความหมายของคติชนวิทยา
คือ การบันทึกหรือเรื่องเล่าต่างๆทั้งคนภายในและภายนอก
ชุมชนสามารถบอกเล่า
และอธิบายเรื่องราวของชุมชนได้ เป็นการทำความเข้าใจ และอธิบาย
เรื่องต่างๆเหล่านั้น
เป็นความภาคภูมิใจให้เกิดแก่คนในชุมชน
ตั้งแต่เด็กๆจนเชื่อมโยงไปถึง
คนเฒ่าคนแก่ให่มีความสุขความชื่นใจ
ชื่นชมและภูมิใจปราชญ์ท้องถิ่นที่อยู่ในชุมชนของเขาเอง
และสามารถได้ยินได้ฟังเรื่องเล่าเหล่านั้นสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า
การเข้าชุมชน
1.
ก่อนเข้าชุมชนหรือพื้นที่ ควรมีการศึกษาข้อมูลเบื่องต้นของชุมชน ( Basic
Information ) พื้นที่นั้นก่อนอาจจะอ่านหนังสือ
หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือสอบถามจากคนที่รู้จัก เพื่อทำความเข้าใจลักษณะพื้นฐานของชุมชนในพื้นที่นั้นๆ
2.
การสัมภาษณ์คนชุมชน ควรเริ่มจากคนที่เป็นผู้นำชุมชนก่อน อาทิเช่น เจ้าอาวาสวัด
ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล ครูที่โรงเรียน ฯลฯ
เพื่อได้ภาพรวมของชุมชน และให้ชุมชนได้รู้จักเราว่าเป็นใครใาจากไหน มาทำอะไร
3.
การเข้าสัมภาษณ์ชาวบ้านตามบ้าน ควรจะมีการนัดหมายล่วงหน้า
และได้รับการแนะนำเข้าไปจากผู้นำชุมชน เพราะจะทำให้ชาวบ้านรู้สึกสะบายใจ
และผู้ไปสัมภาษณ์ก็จะทำงานได้สะดวกมากขึ้น
4.
การทำงานกับเด็ก
หรือเยาวชนในชุมชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราได้รู้จักชุมชน และได้ข้อมูล
5.
การเข้าร่วมและช่วยงานต่างๆ ในชุมชนที่ไม่เกี่ยวกับของตัวเอง
เช่นงานบุญตามประเพณี งานศพ งานบวช
งานแต่งงาน ฯลฯ
ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให่เราเข้าถึงชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้เร็ว และง่ายที่สุด
6.
การสื่อสารแบบตรงไปตรงมาระหว่างเรากับชุมชน พื้นที่ เป็นสิ่งที่ควรทำ
เพราะการสื่อสารจะช่วยลดความคาดหวัง และความเข้าใจผิดระหว่างกันลงได้
นอกจากนี้ยังทำให้ชุมชน พื้นที่รู้ตัวอยู่เสมอถึงขอบเขตารทำงาน และความช่วยเหลือจากเรา
7.
เมื่อเริ่มรู้สึกว่า งานทุกอย่างที่เราร่วมทำกับชุมชน พื้นที่
มาอยู่ที่เราเพียงคนเดียวการแบ่งงานให้ชุมชน พื้นที่ได้ทดลองทำเอง
ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เราไม่ต้องแบกรับภาระทุกอย่างไว้เพียงคยเดียว
นอกจากนั้นยังเสริมความมั่นใจ และกำลังใจในการทำงานให้กับชุมชนในพื้นที่เป็นอย่างดี
การเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
-
ภาพการเดินทาง เป็นภาพการเดินทางตลอดทางหรือช่วงเวลาที่สำคัญๆ
-
ภาพการบรรเลงเครื่องดนตรี การแสดง และขบวน เป็นภาพการบรรเลงดนตรี การแสดง ขบวน
ตลอดจนการแสดงนั้นๆ ภาพส่วนสำคัญของการแสดงนั้นๆ
-
ภาพวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรี โดยเน้นวิธีทำให้เกิดเสียง
การเก็บข้อมูลเสียง
การเก็บข้อมูลเสียงภาคสนามนั้นต้องเป็นการเก็บข้อมูลสด
และเป็นข้อมูลดิบจริงๆ หากต้องการข้อมูลเสียงที่สมบูรณ์
และต้องการรายละเอียดของเพลงเพิ่ม ก็สามารถเก็บข้อมูลเสียงจากห้องบันทึกเสียงได้
ซึ่งเป็นข้อมูลอันดับรองลงไป
การเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์
ต้องแน่ใจว่าได้ข้อมูลครบถ้วน
และได้คุณภาพเสียงที่ดีสามารถจับคำพูดได้ทุกคำ
การเก็บข้อมูลเสียงดนตรี
1.
ข้อมูลของเสียงเครื่องดนตรี
-
เริ่มบันทึกก่อนเสียงดังประมาณ 2 – 3 วินาที
-
หยุดการบันทึกเมื่อเสียงสิ้นสุดลงแล้วประมาณ 2 – 3 วินาที
-
จัดตั้งไมค์ เครื่องบันทึกเสียงต่างๆ ให้ระยะที่เหมาะสม
2.
ข้อมูลการแสดงดนตรี
-
เริ่มบันทึกตั้งแต่เริ่มการแสดงจนจบการแสดง
-
จัดตั้งไมค์ให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี และได้ข้อมูลเสียงครบทุกชิ้นเครื่องดนตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น