หน่วยการเรียนรู้ที่
7 ประเภทของเพลงสากล
ประเภทเพลงสากล
มีการแบ่งได้หลายลักษณะ ในที่นี้คือ การแบ่งตามลักษณะของเพลงตามรูปลักษณะการบรรเลง
ซึ่งมี 4 ลักษณะใหญ่ๆ คือ เพลงคลาสิค เพลงแจ๊สเพลงตามสมัยนิยม เพลงศาสนา ซึ่ง 4
ลักษณะนี้ก็จะแตกแขนงออกไปอีกดังนี้
1.เพลงคลาสสิก
เพลงคลาสสิก หมายถึง ที่มีแบบแผน
หลักไวยากรณ์และมีกระบวนแบบเป็นเลิศ
ซึ่งสังคีตกวีนิพนธ์ขึ้นด้วยวิธีบันทึกทุกส่วนประกอบของบทเพลง ได้แก่ จังหวะ ทำนอง
เสียงประสาน ลีลาสอดประสาน ตลอดจนความดังเบา ลงเป็นตัวโน้ตบนกระดาษ
เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานให้นักดนตรีทำการบรรเลงหรือขับร้องตามที่โน้ตกำหนดอย่างเคร่งครัดและไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ
โน้ตทุกตัวทำให้เกิดเสียงดนตรีทุกเสียงที่มีเสน่ห์ดึงดูดอารมณ์ของผู้ฟัง
ยิ่งฟังซ้ำยิ่งไพเราะ เพราะสังคีตกวีผู้นิพนธ์ได้ออกแบบร้อยเรียงเสียงทุกเสียง
และแนวเสียงทุกแนวเข้าด้วยกันโดยใช้สังคีตศิลป์ชั้นสูง เพลงคลาสสิกจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1.1 กลุ่มบรรเลงด้วยวงออร์เคสตรา
(Orchestral
music) คือเพลงคลาสสิกที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตราที่นักดนตรีจริงเล่นเครื่องดนตรีจริงจากทุกสกุล
จำนวนนับร้อยคน
ตัวอย่างบทเพลง Symphony
no.9 ศิลปิน Beethoven
1.2 กลุ่มบรรเลงด้วยวงเชมเบอร์มิวสิก
(Chamber music) คือเพลงคลาสสิกที่บรรเลงด้วยวงเชมเบอร์มิวสิกที่ใช้เครื่องดนตรี
2-9 ชิ้น
ตัวอย่างเพลง W.A. Mozart – string
Quartet K 421 in D Minor ศิลปิน Mozart
1.3 กลุ่มบรรเลงเดี่ยว
คือดนตรีคลาสสิกที่ให้เครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งบรรเลงเดี่ยว
ตัวอย่างเพลง
Fur Eilse ศิลปิน Beethoven
1.4
กลุ่มดนตรีสำหรับประกอบการแสดงต่างๆ เช่น โอเปรา บัลเลต์ เป็นต้น
ตัวอย่างเพลง
Andre
Rieu ศิลปิน Figaro cavatina
ตัวอย่างเพลง KV 367 Ballet Music to Idomeneo ศิลปิน
Mozart
2. เพลงแจ๊ส
เพลงแจ๊สหมายถึง
เพลงที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน โดยพัฒนามาจากดนตรีบลูส์ที่มีลักษณะที่เศร้า อึดอัด
กดดัน ของทาสชาวผิวสีในยุคหนึ่งก่อนที่จะได้รับเสรีภาพ ซึ่งจะเน้นที่จังหวะที่ซับซ้อน
มีการอิมโพรไวเซชั่น ( การบรรเลงดนตรีออกมาในขณะเวลาหนึ่งที่นอกเหนือจากทำนอง หรือ
เมโลดี้หลักของเพลง ) ซึ่งเป็นการแสดงลักษณะเฉพาะของตัวผู้บรรเลง
ซึ่งแบ่งออกดังนี้
1.
แร็กไทม์
ตัวอย่างเพลง Meple Leaf rag ศิลปิน scott
Joplin
2.
นิวออร์ลีน
ตัวอย่างเพลง when the saints go marching in ศิลปิน
Louis armstrong
3.
สวิง
ตัวอย่างเพลง sing sing sing ศิลปิน benny
goodman
4.
บีบ็อบ
ตัวอย่างเพลง Donna lee ศิลปิน Charlie
Parker
5.
คลูแจ๊ส
ตัวอย่างเพลง blue in green ศิลปิน Miles
davis
6.
ฟิวชั่น
ตัวอย่างเพลง tu tu ศิลปิน miles davis
3. ดนตรึสมัยนิยม
เพลงป็อปปูลาร์
หมายถึง เพลงที่ได้รับความนิยมจากมหาชนในแต่ละยุคสมัยอย่างกว้างขวาง
เพลงป็อปปูลาร์มีคุณลักษณะเกือบตรงกันข้ามกับเพลงคลาสสิก คือ ขึ้นอย่างง่ายๆ
มีไวยากรณ์เพลงไม่ซับซ้อนและไม่เคร่งครัดตามกฏระเบียบแบบแผน
มีมากหลายกระบวนแบบตามแนวคิดของศิลปินผู้สร้างสรรค์
ส่วนประกอบสำคัญของเพลงป็อปปูลาร์คือมีท่อนฮุก (Hook) ที่มีทำนองดึงดูดใจและสามารถจดจำได้ง่าย ท่อน catchy tune ซึ่งใช้ประโยคสั้นๆ ซ้ำๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังจดจำได้
จังหวะของเพลงป็อปปูลาร์มักเป็นจังหวะตกคงที่
ลักษณะจังหวะและกระบวนแบบของเพลงมีหลากหลายตามแหล่งกำเนิดเพลง
อัตราความเร็วมักเป็นอัตราเร็วเร้าใจ ชวนให้ลุกกระโดโลดเต้นและที่สำคัญ คือ
บทร้องมีสำนวนโวหารและสาระชวนฟังให้จดจำนำมาขับร้องตามเพราะรสทางวรรณศิลป์ครบถ้วน
ทั้งรสรัก รสเศร้า รสกล้าหาญ รสชวนขัน รสโกรธขึ้ง เป็นต้น
ซึ่งในแต่ละยุคสมัยจะมีสไตล์ดนตรีที่ต่างกัน
1.
ยุค 1950
ร็อคแอลโรส์ ตัวอย่าง บทเพลง Jailhouse rock ศิลปิน Elvis Presley
2.
ยุค 1960
มีนไอดอล ตัวอย่าง บทเพลง Don’t let me down สิลปิน
The beatles
3.
ยุค 1970 ดิสโก้
ตัวอย่างเพลง Y.M.C.A ศิลปิน Village
people
4.
ยุค 1980 ป๊อป ตัวอย่างเพลง
Billie
jean ศิลปิน Michael jackson
5.
ยุค 1990
อาร์แอนบี ตัวอย่างเพลง We Belong Together ศิลปิน
Mariah carey
6.
2000 ผสมผสาน
หลากหลาย สไตล์ ตัวอย่างเพลง You belong with me ศิลปิน
Taylor swift
4. เพลงศาสนา
เนื่องจากจุดเริ่มต้นของเพลงคลาสสิกเกิดจากนักบวชในศาสนาคริสต์เป็นผู้คิดค้นคว้าและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในศาสนพิธีและสวดสรรเสริญพระศาสดา
ซึ่งในแต่ละโบสถ์จะมีเนื้อเพลงที่มีความแตกต่างกันไป หลักๆ แบ่งได้ 2 หมวด คือ
หมวดที่ใช้ในพิธีสวดและพิธีกรรมสักการบูชา และหมวดที่ใช้ในพิธีการอื่นๆ เช่น
ใช้แสดงเป็นคอนเสิร์ตที่นำสาระจากคัมภีร์ไบเบิลมาแสดง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น