วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

ประวัติคีตกวีดนตรีสากล

 

ประวัติคีตกวีดนตรีสากล 

1.จิอะซิโน รอสชินี (Gioacchino Rossini,1792-1868)

ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1792 ที่เมืองเปซาโร (Pesaro) เรียนดนตรีครั้งแรกกับพ่อและแม่ซึ่งพ่อเป็นผู้เล่นฮอร์น และทรัมเปต ส่วนแม่เป็นนักร้องที่มีเสียงใสต่อมาจึงได้เรียนการประพันธ์ดนตรีแบบเคาน์เตอร์พอยท์ อย่างจริงจังกับTesei และ Mattei ที่เมืองโบโลญา (Bolongna) รอสชินีมีชื่อเสียงจากการประพันธ์โอเปร่า และโอเปร่าชวนหัวมีแนวการแต่งเพลงแบบค่อย ๆ พัฒนาความสำคัญของเนื้อหาดนตรีทีละน้อยไปจนถึงจุดสุดยอดในที่สุด

ผลงานที่มีชื่อเสียง

ผลงานโอเปร่าของรอสชินีได้แก่ La Scala di Seta, La Gazza Ladra, La Cenerentola, Semiramide, The Baber of Seville และ William Tell

2.ฟรานช์ ชูเบิร์ท (Franz Schubert,1797-1828)

ผู้ประพันธ์เพลงชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ 1797 มีชีวิตอยู่ในเวียนนาจนกระทั่งถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนค.ศ. 1828 พ่อชื่อฟรานช์ ธีโอดอร์ ชูเบิร์ท (Franz Theodor Schubert) แม่ชื่อมาเรีย เอลิซาเบ็ธ วิทซ์ (Maria Elisabeth Vietz) พ่อมีอาชีพเป็นครูและเป็นนักเชลโลสมัครเล่นที่มีฝีมือดีคนหนึ่งและพ่อเป็นคนแรกที่เป็นผู้ปลูกฝังนิสัยทางดนตรีให้แก่ชูเบิร์ทขณะที่ชูเบิร์ทมีอายุได้ 5 ขวบ พ่อก็เริ่มสอนวิชาเบื้องต้นให้ พออายุได้ 6 ขวบ ก็เข้าโรงเรียนประถมที่พ่อของเขาสอนอยู่ และก็ได้เริ่มฝึกหัดเปียโนบ้างเมื่ออายุ 8 ขวบพ่อก็สอนไวโอลิน และทำการฝึกซ้อมให้อย่างสม่ำเสมอ ในไม่ช้าเขาก็สามารถเล่นเพลงดูเอท (Duet) อย่างง่าย ๆ ได้อย่างดี ตลอดช่วงชีวิตสั้น ๆ ของชูเบิร์ทเพียง 31 ปี แทบไม่เคยได้รับการยกย่องในฐานะผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใดเขาได้ทิ้งผลงาน ซิมโฟนี 8 เพลง สตริงควอเตท 19 เพลงเปียโนโซนาต้า 21 เพลง และอื่น ๆ อีกกว่า 600

          ผลงานที่มีชื่อเสียง

Symphony No.5 in B flat:First movement 1816, Great C Major Symphony, Unfinished Symphony (ชูเบิร์ทยังประพันธ์ไม่เสร็จเพราะถึงแก่กรรมก่อน), String Quartet No. 13 in A minor : Second movement 1823, Rosam under : incidentat Music(ใช้ประกอบการแสดงบัลเลย์)

3. อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi)

          ตำนานแห่งนักดนตรีเพลงคลาสสิคชาวอิตาลี เป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในสมัยบาโรก เกิดเมื่อ 4 มีนาคม พ..2221 (ค..1678 ) ที่เมืองเวนิชและเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ..2284 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย อายุรวม 63 ปี  อันโตนิโอ วิวัลดี มีชื่อเล่นว่า "นักบวชแดง" (Red Priest) ทั้งนี้เพราะว่าเคยบวชเป็นพระอยู่ 1 ปี และมีผมสีแดง แต่เนื่องจากสุขภาพไม่ดี จึงลาบวชจากพระกลับสู่ฆราวาสเหมือนเดิมในปี ค.ศ. 1704 วิวัลดีได้รับการฝึกฝนด้านดนตรี โด​​ยบิดาของเขา แต่ไม่เลิกอาชีพทางดนตรี  เขาเป็นครูสอนดนตรีในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ซึ่งมีเด็กจำนวนมากกว่า 6,000 คนอาศัยอยู่ วิวัลดีเขียนเพลงคอนแชร์โตไว้จำนวนมากกว่า 400  เพลงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมเด็กกำพร้าให้มีความสามารถด้านดนตรี

        นอกจากเพงคอนแชร์โตจำนวนมากแล้ว วิวัลดียังได้สร้างผลงานประเภทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ไว้หลายประเภท ได้แก่ โซนาตา 90 บท ซินโฟเนีย 20 บท อุปรากร 40 บท 

        จุดเด่นการประพันธ์เพลงของวิวัลดีก็คือ เป็นผู้ที่นำเอาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันมาใช้ในบทเพลง ได้แก่ การนำความแตกต่างของความดัง-เบามาใช้ การเปลี่ยนแปลงการประสานเสียง การเปลี่ยนแปลงด้านลีลาจังหวะ  ผลงานเพลงคอนแชร์โตกรอสโซ ชุด Four Seasons เป็นงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเขา

 

4.โยฮันน์ เซบาสเตียนบาค (Johann Sebastian Bach)

เป็นคตีกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมันเกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ..2228 (..1685) ใน ครอบครัวนักดนตรีที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสาหรับใช้ในโบสถ์เช่นแพชชั่นบาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ..2293 ที่เมืองไลพ์ซิก  บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรคเขาสร้าง ดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนา ดนตรีตะวันตกแม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ เช่น โมซาร์ท และเบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะ ปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุมด้วยความ พิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วยท่วงทำนองเสียงประสานหรือ เทคนิคการสอดประสานท่วงทำนองต่าง ๆ  รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้าแรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยมรวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง  ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้นเจริญเติบโตถึงขีดสุดแล้วเสื่อมสลายนั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์หรือเพลง ที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน

5. ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)

บุรุษผู้เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์อันอัจฉริยะในเชิงดนตรี เค้ามีแนวดนตรีที่แตกต่างจากแนวดนตรีทั่วไปในสมัยนั้น  จนออกมาเป็นแนวดนตรีคลาสิคที่ในสมัยนั้นยังไม่ได้มีผู้ใดรังสรรค์ และต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นแนวดนตรีที่แปลกแยก แต่คีตกวีรายนี้มีความยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งอยู่ที่ความไม่ย่อท้อต่อเคราะห์กรรมที่ได้เกิดขึ้นกับร่างกายของเขา  นั่นคืออาการทางประสาทหู  จนถึงขั้นดับสนิท  บีโธเฟ่นผู้ที่ไม่เคยตายจากวงการดนตรีคลาสสิค ได้สร้างเสียงเพลงอมตะประดับโลกของเราเอาไว้ให้งดงามถึงแม้หูของเขาจะหนวกสนิท บีโธเฟน เกิดที่กรุงบอนน์ (อดีตเมืองหลวงประเทศเยอรมนีตะวันตก) เมื่อปลายปี ค.ศ.1770 เป็นลูกชายของนักร้องประจำราชสำนักแห่งกรุงบอนน์ ชื่อว่า โยฮานน์ (Johann) และแม่ชื่อว่า มาเรีย แมกเดเลน่า ( Maria Magdalena) มีชีวิตความเป็นอยู่ในวัยเด็กที่ค่อนข้างลำบาก  เพราะครอบรัวยากจน  และมีพ่อเป็นนักร้องขี้เมา ซึ่งได้พยายามปั้นบีโธเฟนให้เป็น โมสาร์ท สองเพื่อหวังให้หาเงินเลี้ยงครอบครัว (บีโธเฟนเกิดหลังโมสาร์ท 15 ปี)บีโธเฟนน้อยได้ถูกพ่อขี้เมาบังคับให้ฝึกเรียนเปียโนที่ยาก ตั้งแต่วัยเพียง วัย 4-5 ขวบ และถ้าเล่นไม่ได้จะถูกทำโทษ  แต่ที่บีโธเฟนยังรักดนตรีอยู่ อาจจะเพราะคุณปู่ซึ่งเป็นนักร้องประจำราชสำนักที่ประสบความสำเร็จบีโธเฟน ทำงาน(ครั้งแรก) เลี้ยงครอบครัวตั้งแต่อายุ 11 ขวบ  โดยทำงานเป็นนักออร์แกน ผู้ช่วยประจำราชสำนัก  โดยในขณะนั้นเขามีความรู้เพียงชั้น ป.4 แต่ได้พยายามศึกษาเล่าเรียนดนตรีจนมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง และบีโทเฟ่นได้เล่นเปียโนสดให้โสสาร์ท ฟังเป็นครั้งแรก และทำให้โมสาร์ทต้องตะลึง ในวัยเพียง 17 ปีเท่านั้น ที่กรุงเวียนนา และจากนั้นเพียง 2 สัปดาห์ต่อมา เขาต้องรีบกลับกรุงบอนน์ เพราะแม่ป่วยหนักและเสียชีวิต  และเขายังคงดูแลพ่อและน้องอีก 2 คนด้วยการทำงานหนักเช่นเดิมปี ค.ศ.1792  บีโธเฟ่นได้มีโอกาสแสดงผลงานต่อหน้า  โยเซฟ ไฮเดน (Joseph Haydn) ปรมาจารย์ทางดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุค เดินทางกลับจากอังกฤษ ได้แวะเยี่ยมเยียนราชสำนักกรุงบอนน์ ทำให้ไฮเดนทึ่งในความสมารถและรับเขาเป็นศิษย์ และพากลับไปเรียนที่กรุงเวียนนาด้วยด้วยบีโทเฟ่นเป็นคนหนุ่มไฟแรงอารมณ์ร้อน หยิ่ง และดื้อรั้น จึงก็ไม่พอใจการสอนของไฮเดน แต่ก็ยังเกรงใจอาจารย์ผู้อาวุโส เขาจึงแอบย่องไปเรียนกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงหลายคนหลังจากจบการศึกษากับอาจารย์ ไฮเดนและอื่นๆ ในปี 1795 บีโธเฟ่นได้แสดงผลงานเพลงและเริ่มสร้างชื่อเสียงในฐานะนักประพันธ์ดนตรีอย่างเต็มตัว ทำให้ผลงานเพลงยุคแรกของบีโธเฟน จะคล้ายคลึงกับดนตรีของไฮเดน และโมสาร์ท แต่ยังคงมีกลิ่นอายของบีโธเฟนอยู่ ทำให้เขาได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างรวดเร็วผลงานของบีโธเฟนในช่วงแรกที่น่าสนใจ คือ เปียโนทรีโอ 1 เปียโนโซนาตา 2 เปียโนโซนาตา 7 เปียโนโซนาตา 13 (Pathetique) เป็นต้น

             บีโธเฟน เริ่มแต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรี และออกนอกรีตนอกรอยมากขึ้น จึงเกิดเป็นยุคโรแมนติก (Romantic Period)เขามีแนวความคิดเป็นนักปฏิวัติทั้งในด้านดนตรีและความคิดทางสังคม   โดยสอดแทรก ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนลงในดนตรี ซึ่งไม่ใช่วิสัยในยุคนั้น (ที่เรียกว่า Classical period) ดนตรีขั้นสูงคือรูปแบบทางศิลปที่สมบูรณ์ สูงส่ง และอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่นั้นกลับเป็นการพลิกโฉมหน้าของโลกศิลปการดนตรี และทำให้นักวิชาการด้านดนตรี ต้องตั้งชื่อยุคของดนตรีขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก (Romantic Period)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น