วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมต่อดนตรี

 

หน่วยการเรียนรู้ที่  9   แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทย

 

โลกปัจจุบันมีพัฒนาการทั้งทางด้านสังคม  วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองอย่างรวดเร็ว มีการรวมกลุ่มประเทศเข้าเป็นระบบเดียวกัน  มีความเจริญก้าวหหน้าทางด้านการผลิต การค้า ด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ มีการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่าส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และอาจส่งผลต่อค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อดนตรีได้ โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทยเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

      1. กระแสความนิยมวัฒนธรรมตะวันตก

กระแสวัฒนธรรมตะวันตก เป็นค่านิยมในสังคมไทยที่ปรากฏชัดเจนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาต่อยังประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา กลุ่มคนดังกล่าวได้มีโแอกาสเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามแนววัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประเพณีและวัฒนธรรมไทย เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้กลับมาประเทศไทยก้ได้นำแนวคิด รูปแบบการดำเนินชีวิต และค่านิยมตะวันตกมาสู่สังคมไทยด้วย ซึ่งค่านิยมบางประการก็ได้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะรสนิยมในด้านความบันเทิงของคนไทยในด้านการชม การฟัง และบรรเลงดนตรีก็ได้เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งลักษณะดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อดนตรีไทย เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจดนตรีไทยลดลงไปจากเดิมมาก

   2.ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งต่อการเปลี่ยนแปลงดนตรีไทยและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง  ค่านิยมของคนไทยในการนำวงดนตรีไทยไปบรรเลงในงานพิธีกรรมต่างๆ เริ่มลดน้อยลง แม้การประกอบอาชีพดนตรีัของศิลปินไทยยังคงมีอยู่ แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการรวมวงของศิลปินรุ่นใหม่ รับงานบรรเลงในสังคมร่วมสมัย บางส่วนรวมศิลปินมีชื่อเสียงนำเสนอเพลงไทยคุณภาพด้วยการบันทึกผลงานแผ่นซีดี หรือ ในระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าวได้มีส่วนทำให้แนวโน้มดนตรีไทยปรับเปลี่ยนไป

 

 

   3. ระบบการศึกษาวิชาการดนตรีไทย

ในอดีตการศึกษาวิชาการดนตรี บุตรหลานของศิลปินจะได้รับการฝึกหัดและเรียนดนตรีไทยภายในครอบครัวของตนที่เป็นเสมือนสำนักดนตรี ส่วนบรรดาเด็กๆ ที่มิใช่บุตรหลานของครูดนตรี ผู้ปกครองก็จะนำไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครู เพื่อเรียนดนตรีในสำนักดนตรีหรือประจำวงดนตรีของครู ใช้สำนักของครูเป็นที่เรียน ที่อยู่  ที่กิน และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์อาชีพดนตรี  เด็กเหล่านี้จึงมีโอกาสเรียนรู้ดนตรีไทยจากครูดนตรีโดยตรง  โดยการเรียนดนตรีจะเริ่มตั้งแต่เช้า เพื่อซ้อมเพลงร่วมกัน พอสายก็ต่อเพลงจากครู  ในบางวันหากมีงานบรรเลงซึ่งมีผู้ติดต่อว่าจ้าง เด็กเหล่านี้ก็จะไปปฏิบัติหน้าที่เป็นนักดนตรี  จึงได้ทั้งความรู้ ทักษะทางดนตรีและได้ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ เมื่อเติบโตก็กลายเป็นนักดนตรีที่ดี  มีฝีมือ และศิลปินเต็มตัว แต่ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนดนตรีไทยได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นการเรียนดนตรีตามหลักสูตรการศึกษา เนื้อหาที่เรียนจะเกี่ยวกับสาระดนตรีทั่วๆไป โดยผู้ที่สนใจดนตรีไทยก็จะต้องเลือกเรียนในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านดนตรีโดยเฉพาะ  ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่หลายสถาบันด้วยกัน เช่น โรงเรียนมัธยมสังคีต  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นต้น

   4. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทย

วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนแตกต่างไปจากโครงสร้างวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจและความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต  ทำให้ผู้คนในปัจจุบันมีโอกาสน้อยที่ที่ใช้เวลากับประเพณีและกิจกรรมต่างๆอย่างที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ได้เคยใช้วิถีชีวิตเช่นนั้นมาทำให้คนไทยในปัจจุบันปรับเปลี่ยนค่านิยมของตนต่อดนตรีไทย โดยบรรดากิจกรรมที่ประกอบกันจนเป็นประเพณี พิธีกรรม  ความเชื่อ ที่มีมาแต่เดิมก็ห่างออกไป รวมทั้งเกิดช่องว่างของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ซึ่งช่องว่างดังกล่าวได้ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อดนตรีไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น