วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

บทบาทของดนตรีในการสะท้อนสังคม

 

หน่วยการเรียนรู้ที่  2    บทบาทของดนตรีสากลในการสะท้อนสังคม

 

ดนตรีในแต่ละยุคสมัย เป็นเครื่องสะท้อนให้ผู้ฟังเห็นสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นๆ และอาจเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยอื่นๆ ผลงานเพลงและดนตรีจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาวะของสังคมในแต่ละยุคสมัยทั้งด้านค่านิยม และความเชื่อดังนี้

ค่านิยมของสังคมในผลงานดนตรี ค่านิยม คือสิ่งที่สังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และกำหนดการกระทำของตนซึ่งมักจะเปลี่ยนไปตามกระแสความนิยมและตามสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ค่านิยมของสังคมที่ปรากฎอยู่ในบทเพลงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามปี พ.ศ. และตามสภาวะของระบบการปกครอง จารีตประเพณี และีวิถีชีวิต ตัวอย่างเช่น เนื้อหาในบทเพลงต่างสมัยต่างสะท้อนค่านิยมของสังคมของตน ดังต่อไปนี้

1.ค่านิยมของสังคมในผลงานดนตรี สมัยอดีต หนุ่มสาวนิยมเกี้ยวพาราสีกันด้วยการเขียนจดหมายรักโต้ตอบกัน สมัยปัจจุบัน เกี้ยวพาราสีกันด้วยการส่งเสียงฝากรักผ่านโทรศัพท์มือถือ

สมัยอดีตผู้คนนิยมบทเพลงที่มีสำนวนภาษาไพเราะกินใจแบบบทกวี สมัยปัจจุบันนิยมสำนวนแบบตรงไปตรงมาเหมือนคำพูดซึ่งไม่เน้นฉันทลักษณ์

2. ความเชื่อของสังคมในผลงานดนตรี ความเชื่อต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานดนตรี นับตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบัน มีทั้งที่ยังคงอยู่และทั้งที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น

2.1 นักแต่งเพลงพื้นบ้านในอดีตไม่บอกนามตนเอง เพราะเชื่อว่าสวรรค์ ให้พรจึงแต่งได้ แต่นักแต่งเพลงในปัจจุบันพยายามโฆษณาประชาสัมพันธชื่อเสียงของตนอย่างเต็มที่

2.2 นักเทวศาสตร์เชื่อว่าดนตรีถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจจากสวรรค์ในคราวเดียวกันกับที่ให้มนุษย์มีเสียงพูด แต่นักวิชาการดนตรีสมัยปัจจุบันเชื่อตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

 2.3 พระในคริสต์ศาสนา เชื่อว่าดนตรีสามารถยกระดับของบุคคลให้สูงขึ้นไปหาพระเจ้าปัจจุบันก็ยังเชื่อเช่นนั้นอยู่

2.4 ชาวพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นหนทางตรัสรู้จากเสียงพิณ 3 สาย ที่พระอินทร์ดีดถวาย ซึ่งปัจจุบันก็ยังเชื่อเช่นนั้นอยู่

2.5 ชาวไทยในภาคใต้เชื่อว่าเสียงปี่กาหลอ สามารถส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ไปสู่สวรรค์

2.6 ชาวม้งเชื่อว่าเสียงแคนจะช่วยส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปพบญาติ ซึ่งล่วงลับไปก่อน

2.7 ชาวไทยอีสานเชื่อว่าเสียงแคนเป็นพาหนะให้เทพเสด็จลงมาได้

2.8 บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชสะท้อนความเชื่อทางศาสนาไว้หลายบทเช่น ในเพลงแสงเทียนสะท้อนความเชื่อเรื่องการทำบุญไว้ให้มาก เพื่อเตรียมไว้ใช้ในภพหน้า เป็นต้น

2.9 นักดนตรีพิธีกรรมเชื่อว่า เครื่องดนตรีเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเก็บไว้ ใครแตะต้องอาจมีโทษอาจมีโทษถึงตาย แต่นักดนตรีบางคนในปัจจุบันถือว่าเครื่องดนตรีเป็นเพียงของใช้งานเท่านั้น

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กวี ดนตรีผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักเทวศาสตร์ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระในคริสต์ศาสนา ดนตรีผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนทางตรัสรู้จากเสียงพิณ 3 สาย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปี่กาหลอผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แคนม้งผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมอแคนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แสงเทียน ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักดนตรี ยุคกลาง

3. ดนตรีสะท้อนความคิดของสังคม

ความคิดคือสิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจหรือความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจที่ก่อเกิดการแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไปของบุคคล

ความคิดของสังคม หมายถึง สิ่งที่กลุ่มคนนึกรู้ หรือเกิดความรู้ขึ้นร่วมกันอย่างต่อเนื่องตามระเบียบ กฎเกณฑ์ และมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน ความคิดของสังคมที่ปรากฏอยู่ในผลงานดนตรีมีอยู่มากมายทั้งที่เป็นปรัชญา คำสอน คำปลุกใจ การเล่าเหตุการณ์ คำปลอบประโลมหรืออุดมคติ เรียกได้ว่า มีครบทุกรสแห่งวรรณกรรม คือ รสแห่งความรัก รสแห่งความขบขัน รสแห่งความเมตตา กรุณา รสแห่งความโกรธเคือง รสแห่งความกล้าหาญ รสแห่งความโกรธเคือง รสแห่งความกล้าหาญ รสแห่งความทุกข์-ความกลัว และรสแห่งความสันติสุข และเนื่องจากผู้คิดสร้างสรรค์ผลงานดนตรีมึถึง 4 จำพวกคือ

1. พวกที่เอาเหตุการณ์หรือเรื่องจริงมาแต่ง เรียกว่า พวกอรรถกวี

2. พวกที่คิดประดิษฐ์เรื่องหรือสาระขึ้นด้วยตนเอง เรียกว่า พวกจินตกวี

3. พวกที่จำเอาเรื่องที่ได้ยิน ได้ฟัง จากคนอื่นมาแต่ง เรียกว่า พวกสุตกวี

4. พวกที่มีปฏิภาณไหวพริบ นำความคิดที่เกิดฉับไวมาแต่ง เรียกว่า พวกปฏิภาณกวี

จึงทำกวีเหล่านั้นสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่สะท้อนความคิดของสังคมขึ้นมาได้อย่างหลากรสตามแนวคิดของกวีแต่ละพวกแต่ละคน

คำถามประจำบท  ดนตรีสากลมีบทบาทในการสะท้อนสภาพสังคมไทยอย่างไรบ้าง

บทบาทของดนตรีสากลในการสะท้อนสังคม

ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น และได้เป็นเพื่อนทางจิตใจของมนุษย์มาช้านานแล้ว คำถามที่ว่าศิลปะแขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ใดสามารถให้คำตอบได้ แต่ว่าอาศัยหลักฐานและข้ออิงทางมานุษยวิทยาแล้วก็จะกล่าวได้ว่า ดนตรีเริ่มมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นานนักหนาแล้ว มีหลักฐานว่าอารายธรรมของดนตรีในซีกโลกตะวันออกนั้น เกิดขึ้นมาก่อนดนตรีในซีกโลกตะวันตก ประมาณ 2,000 ปี สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดดนตรีขึ้นครั้งแรก คือ ความหวาดกลัวปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าการเกิดกลางวันหรือกลางคืน การผลัดเปลี่ยนของฤดูกาล ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงและความกังวลใจให้แก่มนุษย์ในยุคนั้นเป็นอันมาก พวกเขามีความเข้าใจว่า ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้มีทั้งพระเจ้าที่ดีและร้ายอยู่ในตัว

ดนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยไม่จำกัดเพศ วัย ระดับการศึกษา หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ดนตรีสำหรับบางคนอาจมีวัตถุประสงค์ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อความซาบซึ้งไปกับอารมณ์ของบทเพลง บางคนต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเพื่อเป็นนักร้อง นักดนตรี ฯลฯ การมีประสบการณ์ทางดนตรีในลักษณะต่างๆ แต่ละคนจึงมีมุมมองเกี่ยวกับดนตรีในมิติที่แตกต่างกัน อาทิเช่น มิติที่เป็นรูปแบบของศิลปะวัฒนธรรม มิติที่เป็นรูปแบบของความคิดและจินตนาการ มิติที่เป็นรูปแบบของนันทนาการและการบันเทิง มิติที่เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง มิติที่เป็นหลักสูตรการศึกษา มิติที่เป็นสุนทรียภาพ มิติที่เป็นสื่อธุรกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ผ่านมาสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับชีวิตได้ชัดเจนมากขึ้น มุมมองเกี่ยวกับดนตรีในมิติที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต จึงกำลังเป็นที่สนใจ มีการขยายผล นำไปประยุกต์ใช้ และค้นคว้าทดลองอย่างจริงจังในปัจจุบัน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับชีวิตมีประเด็นการศึกษา

การดำเนินชีวิตของคนไทยตลอดชีวิต ต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นไปตามความเชื่อและวัฒนธรรมหรือวิถีไทย ดนตรีจะมีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสุข ความสนุกสนาน เพื่อให้คลายจากความกลัว ความกังวน ความเหน็ดเหนื่อย หรือความทุกข์ทั้งหลาย ดนตรีนับว่ามีคุณค่าต่อมนุษย์อย่างมากมาย ดนตรีมีบทบาทในชีวิตคนเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยเฉพาะคนไทยถ้าได้ยินเสียงดนตรีที่ไหนก็ตาม หมายความว่าที่แห่งนั้นจะต้องมีงานมหรสพ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานกุศล งานฉลองต่าง ๆ หรืองานศพ เช่น พอเด็กเกิดมาก็จะมีการทำขวัญเดือน โกนผมไฟ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีมงคลแก่ชีวิตเด็ก ซึ่งผู้ใหญ่ต้องเป็นฝ่ายทำให้ และเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก็มีการโกนจุกซึ่งแสดงว่าเด็กเข้าสู่วัยที่โตแล้ว ในช่วงชีวิตต่อไปก็คือ การอุปสมบทของชายก็มีการทำขวัญนาค นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลายงาน อาทิเช่น การแต่งงาน การฉลองอายุ ฉลองครบรอบแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ใช้ดนตรีประกอบทั้งสิ้น เป็นการแสดงให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริง มองดูศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจะเห็นว่าการดำเนินชีวิตของคนไทยจะมีความสัมพันธ์กับดนตรีมาตลอด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น