วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

ประเภทของวงดนตรีสากล

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ประเภทของวงดนตรีสากล

Bournemouth_Symphony_Orchestra p_rock_1

 

ประเภทของวงดนตรีสากล   แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber  Music)

หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย ในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนักหรือคฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นจากสถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่และใน Concert  Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะ 

 แชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆกัน โดยปกติจะมีนักดนตรี 2-9 คน
และเรียกชื่อต่างๆกันตามจำนวนของผู้บรรเลงดังนี้

 -  จำนวนผู้บรรเลง 2 คน   เรียกว่า ดูโอ (Duet)

- จำนวนผู้บรรเลง 3 คน    เรียกว่า ทริโอ (Trio)

-  จำนวนผู้บรรเลง 4 คน      เรียกว่า ควอเตท (Quartet)

- จำนวนผู้บรรเลง  5  คน    เรียกว่า ควินเตท (Quintet)

- จำนวนผู้บรรเลง 6 คน     เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet)

- จำนวนผู้บรรเลง 7 คน   เรียกว่า เซปเตท (Septet)

- จำนวนผู้บรรเลง 8 คน   เรียกว่า ออกเตท (Octet)

- จำนวนผู้บรรเลง 9  คน    เรียกว่า โนเนท (Nonet)

 

barker_college_quartetlarge_mark%20oconnor

RRP_080914_1339cropsmChamberMusic4

index_mainKAMMER202008

Chamber_Music_1_Fall_08ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ octet chamberChamberMusic07

 

2.  วงดุริยางค์ (Orchestra)

เป็นวงดนตรีที่ต้องผสมด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆจนครบทั้ง 4 ตระกูล ซึ่งจะต้องมีนักดนตรีบรรเลงเป็นจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60 คนขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้บรรเลงภายใน “หอดนตรี” (Music Hall)

แบ่งได้หลายขนาดตามจำนวนผู้บรรเลง  แต่ละขนาดจะเรียกชื่อต่างกัน

เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่มีนักดนตรีมากที่สุด และมี วาทยกร หรือ ผู้อำนวยเพลง (Conductor) เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีเพื่อกำกับจังหวะ ลีลา และความดังเบาของบทเพลง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

วงแชมเบอร์ออร์เคสตร้า 

เป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะเครื่องดนตรีตระกูลไวโอล์เท่านั้น มีผู้บรรเลงจำนวน 20 – 30 คน

วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า 

เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทั้ง 5 ประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง เครื่องคีย์บอร์ด และเครื่องกระทบ แบ่งขนาดของวงเป็น 3 ขนาดคือ

ขนาดเล็ก มีผู้บรรเลง 40 – 60 คน

ขนาดกลาง มีผู้บรรเลง 60 – 80 คน

ขนาดใหญ่ มีผู้บรรเลงตั้งแต่ 80 คน ขึ้นไป

1.วงดุริยางค์ซิมโฟนี (Symphony Orchestra) 
                เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีทุกชนิดทั้ง 4 กลุ่มขนาดเล็กมีผู้บรรเลง 40-60 คน ขนาดกลางมีผู้บรรเลง 60-80 คน ขนาดใหญ่มีผู้บรรเลง 80-100 คนหรือมากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดีรวมถึงวาทยากร (conductor) ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายเรียกว่า String Orchestra

แบ่งได้หลายขนาดตามจำนวนผู้บรรเลง  แต่ละขนาดจะเรียกชื่อต่างกันดังนี้

 

 

 

2.วงดุริยางค์ประกอบการแสดงอุปรากรและละคร (Orchestra for Accompaniments of Opera) 
           เป็นวงดุริยางค์เช่นเดียวกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี แต่มีขนาดเล็กกว่า มีนักดนตรีประมาณ 60 คน ใช้ประกอบการแสดงอุปรากร และละครเป็นหลัก

วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง และกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีผู้อำนวยเพลง (Conductor) ถือไม้บาตอง (Baton) ยืนอยู่ด้านหน้าวง มีหน้าที่ควบคุมการบรรเลงของนักดนตรีทั้งวง

JAN14727

วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า

Conductor

 

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular  Music)

ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป ประกอบด้วยเครื่องดนตรี กลุ่มแซกโซโฟน กลุ่มเครื่องทองเหลือง และ กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะวงป๊อปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี 3 ขนาด

1163869454

วงป๊อปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด  วงขนาดเล็ก (วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้
กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1 ตัว เทเนอร์แซ็ก 2 ตัว บาริโทนแซ็ก 1 ตัว

 กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3 ตัว ทรอมโบน 1 ตัว
กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1 ตัว กลองชุด 1 ชุด
( วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4)

2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน

3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7)  มี 16  ชิ้น เพิ่มทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว
ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน

 

4.วงคอมโบ (Combo  band)

             วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก Popular Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ 3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี พวกริทึม(Rhythm) และพวกเครื่องเป่า ทั้งลมไม้ และ เครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโน หรือ มีเครื่องเป่า ผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับวงป๊อปปูลามิวสิค วงคอมโบก็เป็นสมอลล์แบนด์ (small Band) แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักจึงเหมาะสำหรับ เล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆไปนอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วยเพลงไทยสากลและเพลงสากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆ

เป็นวงดนตรีที่พัฒนามาจากวงชาโดว์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ กีตาร์คอร์ด กีตาร์ลีด เบสคีย์บอร์ด กลองชุด บางวงอาจเพิ่มเครื่องเป่าเช่น ทรัมเป็ต แซกโซโฟน ทรอมโบนเข้าไปด้วย

 

ShadowsBand_Feb-3-2009_Fargo_Theatre1053

5. วงชาร์โด (Shadow)

 เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก  วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะ The Beattle หรือสี่เต่าทอง  เครื่องดนตรีในสมัยแรก  มี 4 ชิ้น  คือ  กีตาร์เมโลดี้ (หรือกีตาร์โซโล)   กีตาร์คอร์ด 

กีตาร์เบส     กลองชุด

เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มีเครื่องดนตรีอยู่ 3 ชิ้นคือกีตาร์ เบส และกลองชุด ผู้ขับร้องก็เป็นนักดนตรี 

 

beatles2

วงชาโดว์ ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่าเช่น แซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม และบางทีอาจมีไวโอลินผสมด้วยเพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น

6.วงโยธวาทิต  (Military  Band)

 โยธวาทิต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี” ส่วนในรากศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Military Band โดยคำว่า Military นั้นหมายถึงกองทัพ ส่วนคำว่า Band มาจากคำว่า Banda (ในภาษาอิตาเลียน) ใช้เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า Marching Band ซึ่งไม่ว่ารากศัพท์จากภาษาต่างประเทศจะกล่าวอย่างไรแต่ในประเทศไทยเรียกว่าวงโยธวาทิต

G00450

วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร ในสมัยสงครามครูเสด ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อมาในสมัยของนโปเลียน ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดเช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตรและต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์  นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ ในตระกูลแซกฮอร์น จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย จึงสมบูรณ์อย่างในปัจจุบัน

โยธวาทิต แบ่งตามลักษณะการบรรเลง ได้ดังนี้

วงเดินแถว (marching band) เป็นโยธวาทิตที่มีลักษณะการเดินบรรเลง เป็นแถวตอนลึก อาจบรรเลงเฉพาะวงหรือนำหน้าขบวนต่างๆ ที่ต้องการรูปแบบที่เป็นระเบียบ เข้มแข็ง เร้าใจ ส่วนมากจะนิยมบรรเลงเพลงมาร์ช

วงนั่งบรรเลง (concert band) หมายถึง การนำโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเป็นลักษณะของคอนเสิร์ต โดยนำบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับโยธวาทิตมาบรรเลง ลักษณะคล้ายวงออร์เคสตรา หรืออาจนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับโยธวาทิต จึงทำมีอีกชื่อเรียกว่า วงซิมโฟนิค (Symphonic

 

วงแปรขบวน (display) หมายถึง การนำโยธวาทิตมาบรรเลงประกอบการแปรแถว โดยผู้บรรเลงต้องเดินแปรรูปขบวนเป็นรูปต่างๆ ซึ่งเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเหมาะสมกับรูปแบบที่แปรขบวนด้วย วงแบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โชว์แบนด์ (show Band

 

 

7.แตรวง (Brass  Band)

แตรวง เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีที่ผสมด้วยเครื่องดนตรี(เป่า,ตี)  ชนิดต่างๆเพียงสองตระกูลเท่านั้น วงดนตรีในลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้บรรเลงนำในการเดินแถวในทุกสภาพท้องถิ่นเพราะแตรเป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นด้วยโลหะ และไม่มีส่วนประกอบที่กระจุกกระจิกเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ ทนต่อการโยกย้ายหรือหอบหิ้วไปได้โดยสะดวก

ปัจจุบันแตรวงได้มีการพัฒนาการเป็น 2  รูปแบบคือ

1.แตรวงที่พัฒนาเป็นวงโยธวาธิต ที่ใช้ในกิจกรรมของกองทัพ และตามโรงเรียนมัธยม มีรูปแบบในการบรรเลง เช่นใช้โน้ตเพลงที่แยกกันแต่ละชิ้น มีการประสานเสียง

2.แตรวงพื้นบ้านที่ใช้ในกิจกรรมชาวบ้าน ในการแห่ประกอบงานรื่นเริง    งานบวช งานสมโภช งานบุญต่างๆ โดยบรรเลงแบบวงปี่พาทย์ คือใช้บทเพลงที่ใช้กับวงดนตรีทั่วไป โดยเน้นความสนุกสนานแตรวงพื้นบ้านจะมีเครื่องดนตรีไม่มากนัก เครื่องดนตรีที่ใช้จะเป็นจำพวกแตร    การฝึกหัดก็จะใช้การถ่ายทอดสืบต่อกันมาไม่มีการดูโน้ตเพลง

ในเวลาการบรรเลงต้องอาศัยการจดจำ นั่งล้อมวงกันบรรเลงแตรวงจึงเป็นการละเล่นพื้นบ้านในการดำรงชีวิต ของชาวบ้าน ผู้ที่เล่นทั้งชายและหญิงทุกวัย ตั้งแต่เด็กหนุ่มสาวผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้สูงอายุตามโอกาส

ลูกทุ่ง และเพลงอื่น ๆ มีลีลาจังหวะที่สนุกสนาน ใช้บรรเลงประกอบงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแห่ต่าง ๆ เป็นต้น

8.      วงโฟล์คซอง (Folksong)

ความหมายที่แท้จริงของ โฟล์คซอง คือ เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงของชาวบ้านที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เครื่องดนตรีที่ใช้ก็เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในท้องถิ่น ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่แน่นอน
สำหรับประเทศไทย มีผู้เอาคำว่า โฟล์คซองมาใช้ในความหมายว่า การขับร้องเพลงยอดนิยมทั่วไป โดยมีเครื่องดนตรีกีตาร์โปร่งมาบรรเลงประกอบ และมีเครื่องดนตรีมาประสมคือ ขลุ่ย เม้าท์ออร์แกน
และเครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น