วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

ถอดบทเรียนโครงการภาคสนาม ทางมานุษยดุริยางควิทยา

 

ถอดบทเรียนโครงการภาคสนาม ทางมานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

-          ศูนย์ภาคสนามมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตำบลไล่โว่ หมู่บ้านกองม่องทะ จังหวัดกาญจนบุรี 

ดนตรีชาติพันธ์วรรณนา

          ศูนย์การเรียนภาคสนามทางมานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตำบลไล่โว่

หมู่บ้านกองม่องทะ จังหวัดกาญจนบุรี

ชื่อตำบลไล่โว่  ตามภาษากะเหรี่ยง ก็คือ ไล่โหว่เคอเริ่งไล่ = ศิลา แผ่นหินก้อนใหญ่ โหว่ = แดง, เคอเริ่ง=คอก  รวมแปลว่าหินแดง หรือหินผาแดง ตำบลไล่โว่ แต่ก่อนจะมีชื่อเรียกอีกหลายคำ เช่น ตะหมุไนกุรุ ตะหมุไนคีรี  สุวรรณคีรี เขตสัมปัตติ ไมนองเราะ ปุพพการี   ท่องเกรอะ   เขล่มืงเดิ่ง   เป็นต้น โดยมีความหมายดังต่อไปนี้

-          ตะหมุไนกุรุ, ตะหมุไนคีรี มีความหมายจะมุ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของภูเขา ขุนเขาทะมึนทรงพลังที่สลับซับซ้อนเป็นร้อยเป็นพันลูก

-          สุวรรณคีรี มีความหมายจะบ่งบอกถึง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ

-          สัมปัตติ (สัมป่งไต) ศัพท์นี้จะมีความหมายบ่งบอกถึงพื้นที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ (ซุ่งส่ง) เที่ยงตรง (โต่หล่ง) ตามนิติรัฐ   นิติธรรม    และมีความปกติของระบบธรรมชาติของโลกและจักรวาล โดยในเขตพื้นที่ สัมปัตติ จะมีหุบเขา 99 หุบ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไป บางหุบมีตำนาน นิทาน ทุกหุบเขามีน้ำไหลผ่าน  หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีตาน้ำ (ทิ่งโท่งผลุ) และเป็นทิ่งเมิ่งตลอดปี (ทิ่งเมิ่ง = น้ำมีชีวิตไม่แห้ง) ทำให้พื้นที่ชุ่มชื้นและสัตว์ต่าง ๆ จะได้ดื่มกิน ผู้ที่เฝ้าตาน้ำคือ หอย ปู ปลา โดยเฉพาะปลาก้าง เป็นผู้เฝ้าดูแลตาน้ำให้มีน้ำไหลอยู่ตลอดปีได้ดีที่สุด โดยชาวกะเหรี่ยงกล่าวคำพูดไว้ว่าย่าลิ่งโอ้เมิ่งทิ่ง  โดยที่ ย่าลิ่ง แปลว่าปลาก้าง โอ้ แปลว่าอยู่ เมิ่ง แปลว่าเป็นหรือมีชีวิต ทิ่งแปลว่าน้ำ  ซึ่งหมายความว่า  ปลาอยู่เพื่อน้ำมี ถ้ามีใครไปฆ่า หอย ปู ปลา ที่ตาน้ำนั้น น้ำจะแห้งหายไปทันที โดยมีความหมายที่ชาวกะเหรี่ยงใช้คล้ายกับคำว่า อยู่เพื่อให้มีลมหายใจ คล้ายกับคนชราเฝ้าบ้าน ถ้าจะมองผิวเผินก็จะไม่เห็นความสำคัญ เช่นคำกล่าว ย่าลิ่งโอ้เมิ่งทิ่เพราะย่าลิ่งเป็นปลาตัวเล็ก ๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟ แต่การว่ายเข้าออกในรูตาน้ำทำให้ตาน้ำไม่อุดตันน้ำจึงไหลออกมาบนผิวโลกตลอดปี

           ในดินแดนที่ตั้งของตำบลไล่โว่ปัจจุบัน อดีตเป็นป่าเขารกทึบที่มีด้วยกัน 99 หุบเขา   แต่ละหุบมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่หรือจุดเด่นที่มีอยู่ เช่น ทุงโพ่ง, ที่มูคี่ เล่เทะ,  ที่ฉ่วย, มีเซิ่ง, ที่พูเซอ, เป่อยี่ไตล, เกาะสะเดิ่ง, สะเนพ่อง, ไล่โว่, จะกีพื่อ, ปรองดี้, ไย่มีหลิ, ผะเฉ่อหนา คึยพะเหล, จะก่า เป็นต้น ซึ่งชาวบ้านอยู่และทำกินกระจัดกระจายไปทั่ว  (หุบหนึ่งมีชาวบ้านอยู่อาศัยประมาณ 45 ครอบครัว)  ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกกันว่า สุวรรณภูมิ เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากร มีประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีการปกครองกันเองโดยมี ตะละโควหรือ ฤษีเป็นผู้ดูแลซึ่งมีด้วยกัน 7 คนคือ 1. พูหว่องเหว่ 2. พู่ก่องวะ 3. พู่ดู่ 4. พู่หวี 5. ย่องโท่ 6. ย่องตะ และ 7. ย่องเค่หมะ

         กะเหรี่ยง  เป็นคำที่ชนชาติอื่นเรียก ส่วนกะเหรี่ยงเรียกตัวเองว่า โผล่ง

 คนกะเหรี่ยง  ดูเหมือนเป็นตัวแทนคนป่า  ในประเทศไทย  ทั้งประเทศ   ถ้าพูดถึงคนป่าคนดง   จะบ่งบอกความรู้สึกหมายถึง   คนกะเหรี่ยง  และกะเหรี่ยงเองก็ไม่ได้โต้เถียงโต้แย้ง  ซึ่งอาจจะเป็นหาเหตุอันเนื่องมาจากนิสัยพื้นฐานบรรพบุรุษของคนกะเหรี่ยงเอง   ที่รักสงบ เรียบง่ายไม่ชอบทะเลาะวิวาท ไม่ชอบเปิดเผยตัว ตอนที่เราเป็นเด็กได้มีโอกาสเข้าไปเรียนหนังสือในเมือง จะได้ยินคำว่า กะเหรี่ยงดงบ่อย ๆ 

           ความเป็นจริง ในอดีต  คนกะเหรี่ยงก็ได้อาศัยอยู่บนพื้นโลกใบนี้ เคยมีเมืองมีอาณาเขต   ทั้งในและนอกประเทศไทย   เช่นเมืองต่องอู่  เป็นเมืองของโผล่งต่องซู่   เมืองทะอ่อง เป็นเมืองของโผล่งซู เป็นต้น                                                                                                                       ประวัติความเป็นมาเข้าสู่ลายลักษณ์อักษร

ชนเผ่าซูเป็นชนเผ่าดั้งเดิม เรียกตัวเองว่า โพล่ง หรือ Pwo ส่วนชนเผ่าส่อง เรียกกลุ่มตัวเองว่า ปกากะญอ หรือ  skaw อีกชนเผ่าหนึ่งเรียกกลุ่มตัวเองว่า บะเว หรือ Baghwe ส่วนพวกสุดท้าย เรียกตัวเองว่า ต่องสู้หรือ Tangtsu ชนเผ่าซูเป็นชนชาติมูหละ (ดั้งเดิม) เรียกว่า ซูฉื่อพู คำว่ากะเหรี่ยงนี้เป็นคำเรียกกลุ่มชนรวมชน 4 เผ่า ของพวกมิชชั่นนารี ผู้เผยแพร่ศาสนาคริสและนักมานุษยวิทยาชาติพันธุ์ เพื่อเน้นการแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์

การอพยพเข้าสู่ประเทศสยาม

(กะเหรี่ยง เรียกคนไทยว่า  ไส้  ตามรากฐานศัพท์ภาษาอังกฤษคือ siam)

          นับจากอดีตกาลโน้นจนถึงปัจจุบัน ชนชาติชาวกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาในประเทศสยาม มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าชนชาติอื่น ๆ ในการช่วยให้สยามประเทศอยู่รอดปลอดภัย ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หลายช่วงหลายคราวได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ชนชาติกะเหรี่ยงนั้น มีความจงรักภักดีต่อแผ่นดินสยาม ซึ่งอันเนื่องมาจากนิสัยพื้นฐานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติกะเหรี่ยงที่ได้ร่วมรบเป็นแนวสอดแนมที่มีประสิทธิภาพมาก   กองหนึ่ง ในกำลังปราบราชอาณาเขตของกองทัพสยามในอดีต ยามสงบก็ได้ร่วมดูแลความสงบเรียบร้อยในอาณาเขตสยามพระเทพ บางครั้งถูกดูหมิ่นเหยียบหยามว่าเป็นคนป่าคนดอยหรือเป็นแพะรับบาป ชาวกะเหรี่ยงก็ไม่ย่อท้อ กลับมีความจงรักภักดีต่อแผ่นดินเกิดแผ่นดินแห่งสยามประเทศ และปลูกฝังคนรุ่นต่อ ๆ ไปในความภักดีนั้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          

           การอพยพชนชาติกะเหรี่ยงเข้าสยาม

          การอพยพของชาติกะเหรี่ยงเข้าสู่ดินแดนสยามนับตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี 2108 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ใกล้เคียงกับชนชาติมอญ เนื่องจากชนชาติกะเหรี่ยงกับชนชาติมอญมีความสัมพันธุ์กัน กาอพยพของชนชาติมอญทุกครั้งจะมีชนชาติกะเหรี่ยง อพยพด้วย เนื่องจากชาวกะเหรี่ยง (โผล่ง) มีความใกล้ชิดกันกับมอญในด้านศาสนามากที่สุดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน หลักฐานฝ่ายมอญกล่าวว่าในขณะที่ชนชาติมอญ มีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศครั้งโน้น ในอดีต มีชนเผ่าที่อยู่ใกล้ชิดกันชนชาติมอญคือกะเหรี่ยงได้มีนักปราชญ์มอญร่วมกับอำมาตย์กะเหรี่ยง พู่ไดะโก่" อยู่กับพระมหากษัตริย์มอญช่วยคิดประดิษฐ์อักษร ตัวหนังสือของกะเหรี่ยงขึ้นโดยใช้อักษรมอญเป็นบรรทัดฐาน ยังมีบันทึกชัดเจนอยู่จนทุกวันนี้ (คุณประเสริฐ หลวงทิพย์ /2519 ) มิลเตอร์ เดสมอล์น กอล์ฟ ชนชาติเยอรมัน สัญชาติอังกฤษ เข้ามาศึกษาข้อมูลเผยแพร่ศาสนาไว้กล่าวว่า สังขละ มาจากคำว่า ซังเคลียะ ซึ่งเป็นภาษาพม่า หมายถึง เมืองที่อยู่ชายแดนทุรกันดารเป็นเส้นทางผ่านของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อมาประกอบอาชีพหรือเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาคงแผลงเป็นสังขละ คือ อำเภอสังขละบุรีในปัจจุบัน (มิสเตอร์ เดสมอล์น กอล์ฟ /กันยายน /2532)

          สมัยอยุธยา เมื่อพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำอิระวดีและแม่น้ำสาละวิน จึงได้รุกรานชนกลุ่มอื่น ๆ ที่เคยอาศัยอยู่ก่อน คือมอญและกะเหรี่ยงทำให้กลุ่มชนชาติเหล่านี้ต้องอพยพเคลื่อนย้ายเข้าสู่ดินแดนไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ โดยครั้งชุมชนอยู่ที่บริเวณชายแดนไทย ซึ่งฝ่ายไทยก็ยินดีให้กลุ่มชนเหล่านั้นอาศัยอยู่ เพื่อเป็นแนวกันชนกับฝ่ายตรงข้าม ทั้งยังตั้งกลุ่มชนและสร้างเมืองเรียกว่า เมืองหน้าด่าน ทำหน้าที่ช่วยเหลือไทย เพื่อป้องกันการรุกรานของฝ่ายพม่า ซึ่งได้ผลดีเยี่ยม จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่พม่าทัพมา ฝ่ายไทยจะรู้ก่อนทุกครั้ง เนื่องจากมีตัวสอดแนมของกะเหรี่ยงและมอญทำงานอย่างได้ผลแจ้งข่าวสารให้กับฝ่ายไทย ตามบงการการกล่าวไว้ว่าในเขตกาญจนบุรี มีหัวเมืองที่ปกครองโดยกะเหรี่ยงและมอญอยู่  8 หัวเมือง

1.       เมืองสิงห์     เจ้าเมืองมอญปกครอง

2.       เมืองลุ่มสุ่ม   เจ้าเมืองกะเหรี่ยงปกครอง

3.       เมืองท่าตะกั่ว          เจ้าเมืองกะเหรี่ยงปกครอง

4.       เมืองไทรโยค เจ้าเมืองมอญปกครอง

5.       เมืองทองผาภูมิ        เจ้าเมืองมอญปกครอง

6.       เมืองท่าขนุน (สังขละ) เจ้าเมืองกะเหรี่ยงปกครอง

7.       เมืองท่ากระดาน      เจ้าเมืองกะเหรี่ยงปกครอง

8.       เมืองศรีสวัสดิ์          เจ้าเมืองกะเหรี่ยงปกครอง

สำหรับเมืองสังขละบุรีซึ่งภายหลังรวมกับเมืองท่าขนุนครองพื้นที่ฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำ แควน้อยจนจดชายแดนด่านพระเจดีย์สามองค์

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้จัดระเบียบการปกครองใหม่ มีเมืองหน้าด่านเพิ่มขึ้นอีกหลายเมือง เช่น เมืองสังขละบุรี (ก่อนรวมอยู่กับเมืองท่าขนุน) การตั้งเมืองเหล่านี้เพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ทางทหาร และได้ตั้งแม่ทัพนายกองนายด่านชายกะเหรี่ยงขึ้นปกครองตามหลักฐานที่ปรากฏ

               ขุนพิทักษ์ไพรวัน                         นายกองกะเหรี่ยงบ้านยางโทน

               หลวงพิทักษ์บรรพต                    นายกองกะเหรี่ยงบ้าท่าตะกั่ว

               หลวงประเทศเขื่อนขันธ์                   นายกองกะเหรี่ยงเมืองไทรโยค

               พระศรีสุวรรณคีรี                       เจ้าเมืองสังขละบุรี

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ในสมัยก่อนที่หมู่บ้านยังไม่มีการปกครองตามระเบียบราชการเหมือนเช่นในปัจจุบัน เจ้าเมืองคนแรกที่ทำการปกครองในสมัยนั้น คือ พระศรีสุวรรณคีรี ซึ่งไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเป็นเจ้าเมืองคนแรกมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการสันนิษฐานกันว่าตำแหน่งพระศรีสุวรรณคีรี รัชกาลที่ 5 เป็นผู้พระราชทานมาให้ การสืบทอดตำแหน่งของพระศรีสุวรรณคีรี เป็นไปตามลำดับดังนี้

1.       พระศรีสุวรรณคีรีคนที่ 1 (ภวะโพ่)

2.       พระศรีสุวรรณคีรีคนที่ 2 (กรมเมะจะ)

3.       พระศรีสุวรรณคีรีคนที่ 3 (ย่องตะมุ)

4.       พระศรีสุวรรณคีรีคนที่ 4 (ป่วยดงภู)

5.       พระศรีสุวรรณคีรีคนที่ 5 (ทะเจียงโปรย ) เป็นนายอำเภอสังขละบุรีคนแรก

           (มณฑล คงแควทอง/ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง 2534)

 

 

ข้อมูลทั่วไปในปัจจุบัน ..2528

ทำเลที่ตั้งตำบล  ตำบลไล่โว่เป็น 1 ใน 3ตำบลในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง 4 ส่วน คือ

ทิศเหนือ จรด    ตำบลแม่จันทะ อำเภออุ้งผาง จังหวัดตากและอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

ทิศใต้  จรด       ตำบลหนองลู และตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ทิศตะวันออก จรด   ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิและตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์   จังหวัดกาญจนบุรี

ทิศตะวันตก  จรด  ประเทศเมียร์ม่า

 

เขตปกครอง     รวม 6 หมู่บ้าน   ในปัจจุบัน คือ

          หมู่ที่ 1  บ้านเสน่ห์พ่อง  นายนิพนธ์  เสตะพันธ์      เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ 2  บ้านกองม่องทะ  นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์    เป็นกำนันตำบลไล่โว่

          หมู่ที่ 3  บ้านเกาะสะเดิ่ง  นายอภิวันท ไทรสังขสินธิติ    เป็นผู้ใหญ่บ้าน.

          หมู่ที่ 4  บ้านไล่โว่ นายคมสันต์  พิทักษ์ชาติคีรี       เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ 5  บ้านทิไล่ป้า นายภากร  เคียวเซ้ง  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ 6 บ้านจะแก นายภิรมย์  กมลยืนยง  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

เนื้อที่     ตำบลไล่โว่ มีพื้นที่ประมาณ 1,723.98 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 1,077,847.50 ไร่ คิดเป็นพื้นที่เกษตร 12,700 ไร่ ประกอบด้วย

          - พื้นที่ทำนา               ประมาณ         1,700 ไร่

          - พื้นที่ปลูกข้าวไร่ พืชไร่   ประมาณ         7,500 ไร่

          -พื้นที่ทำสวน               ประมาณ         3,500 ไร่

                 

ประชากร

จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร  จากข้อมูลของสำนักทะเบียนราษฎร์ของอำเภอสังขละบุรี พบว่า ตำบลไล่โว่ มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 2,481  คน  จำแนกเป็นชาย  1,325  คน  หญิง  1,156  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  0.70  คนต่อตารางกิโลเมตร  และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 456 ครัวเรือน     

จำนวนครัวเรือน

หมู่

ชื่อหมู่บ้าน

   ครัว  เรือน

ประชากรสัญชาติไทย

ประชากรที่ไม่ใช่สัญชาติไทย

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านเสน่ห์พอง

 153               

352

296

648

150

120

270

2

บ้านกองม่องทะ

207

377

332

709

327

242

569

3

บ้านเกาะสะเดิ่ง

55

143

137

280

47

37

84

4

บ้านไล่โว่

53

126

99

225

103

67

170

5

บ้านทิไล่ป้า

82

206

192

398

91

91

182

6

บ้านจะแก

160

345

310

655

439

339

778

รวม

710

1.549

1,366

2,915

1,157

896

2,053

        หมายเหตุ          ที่มา: ข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์ อำเภอสังขละบุรี  ณ วันที่  30 เมษายน  ..  2554         

          สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

องค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี ประมาณ  ๖ กิโลเมตร และศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี  ประมาณ  ๒๑๕ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ ( กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ-สังขละบุรี)  ลักษณะเส้นทางเป็นทางลาดชัน    มีเนื้อที่ประมาณ ๑๗,๒๓๙ ตารางกิโลเมตร   หรือประมาณ ๑,๐๗๗,๔๘๗.๕๐ ไร่เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม เขตป่าสงวนช้างเผือก มีป่าไม้นานาพันธุ์ มีภูเขาสูงสลับกับพื้นที่ราบ มีประชากร ๒,๗๕๓ คน เป็นชาย ๑,๔๗๖ คน หญิง ๑,๒๗๗ คน (ข้อมูล ณ ๓๐ ธันวาคม  ๒๕๕๒) มีครัวเรือนจำนวน ๗๒๔ ครัวเรือนประกอบอาชีพทำไร่ข้าวหมุนเวียนประมาณ๗,๕๐๐ไร่ปลูกพริกกะเหรี่ยงมีเนื้อที่ทำไร่๓,๘๐๙ไร่ทำสวน๒,๑๒๕ไร่ 


ศาสนาและวัฒนธรรม

ประชาชนชาวกะเหรี่ยงโป (Pwo) หรือเรียกตนเองว่า "โพล่ง" ส่วนใหญ่นับถือพุทธ และนับถือควบคู่ไปกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ในวันพระก็จะไปทำบุญที่วัดของหมู่บ้าน  การนับถือศาสนาคริสต์มีบ้างเพียงเล็กน้อย ในอดีตชาวกะเหรี่ยงไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์มาตั้งแต่บรรพบุรุษแต่เนื่องจากมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศพม่า ต่อมาจึงได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์มายังชาวกะเหรี่ยงที่อยู่ชายแดนไทย และเข้ามาฟื้นฟูความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงให้ดีขึ้นจากเดิม

           วัด จำนวน  ๖ แห่ง  คือ วัดสเนพ่อง  วัดกองม่องทะ  วัดเกาะสะเดิ่ง  วัดไล่โว่   วัดทิไล่ป้า  วัดจะแก  

          สำนักสงฆ์ จำนวน  ๕ แห่ง  คือ สำนักสงฆ์วาชุคุ  สำนักสงฆ์โต่งปอง  สำนักสงฆ์สันติธรรมาราม   สำนักสงฆ์ไรวาบ่อง   สำนักสงฆ์เวฬุวัน  - สำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ ม.1ม.5  - ที่พักสงฆ์รันตี  ม.2

          ศาลเจ้า จำนวน 6  แห่ง  คือ   ศาลเจ้าบ้านสเนพ่อง     ศาลเจ้าบ้านกองม่องทะ   ศาลเจ้าบ้านเกาะสะเดิ่ง     ศาลเจ้าบ้านไล่โว่   ศาลเจ้า บ้านทิไล่ป้า       ศาลเจ้าบ้านจะแกบน     ศาลเจ้าบ้านจะแกล่าง


ประวัติหมู่บ้านกองม่องทะ

                                                                              

หมู่ที่  2  ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี       กองม่องทะ แปลว่า ห้วยมาบรรจบตั้งหมู่บ้าน เมื่อ พ.. ๒๔๕๒    เขตของหมู่บ้าน

ทิศตะวันออก  ติด     ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ                                                  

ทิศตะวันตก  ติด     ตำบลหนองลู และหมู่บ้านเสน่พ่อง

ทิศเหนือ  ติด      บ้านเกาะสะเดิ่ง

ทิศใต้  ติด        ตำบลปรังเผล

มีจำนวนประชากร  ๘๙๓ คน

มีพื้นที่ทำกิน  ๑๔,๕๔๖ ไร่

กำหนดใช้พื้นที่  ป่า ๔ ชั้น

-          ที่อยู่อาศัย

-          ที่ทำกิน

-          ที่เลี้ยงสัตว์

-          ที่อนุรักษ์ชั้นพิเศษ

 

ประวัติผู้นำกองม่องทะ

1.ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน

1.1.  ผู้ใหญ่บ้าน นายเจ่งญะ   บ้านกองม่องทะช่วงนั้นเป็นหมู่ที่  4   และมีการทำบัตรประชาชนเป็นครั้งแรก  คุ้มมู่บ้านในสมัยนั้นอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ  กลุ่มละ 5-10  กว่าหลังคาเรือน    เช่น  กลุ่มสะนี่พ่องเผ่ง   ไฮว่พู่กล่า     เฮ้พู่กล่า    เผิ้งช้ายหว่อง     กองหม่องหว่อง  โน่งพู่คี่ง       ปรั่งผะเล  โลงหล่องท่อง  ป่งป้ง   หนองไม๊ะโด่ง    ชึ่งที่หนองไม๊ะโด่ง นี้มีวัดอยู่ด้วย     บ้านกองม่องทะ ก่อนผู้ใหญ่บ้านเจ่งญะการปกครองต้องขึ้นต่อผู้ใหญ่บ้านทิ่งพู่โฉ้ง

1.2.   ผู้ใหญ่บ้าน  นายกิตติศักดิ์   ธาราวนารักษ์  บ้านกองม่องทะได้เปลี่ยนมาเป็นหมู่ที่  2   และได้รวบรวมชาวบ้านที่กระจัดกระจายกันอยู่   ให้กลับมาอยู่รวมกันภายในหมู่บ้านกองม่องทะด้วยกัน  ตลอดถึงได้รับเอาประชาชนส่วนหนึ่งที่ถูกน้ำท่วมอันเนื่องจากปิดเขื่อนเขาแหลมในปี  .. 2528

1.3.  ผู้ใหญ่บ้าน นายไพบูลย์   ช่วยบำรุงวงศ์ ในปี พ..2534 เป็นต้นมาได้เข้ามารับตำเหน่ง.  ผู้ใหญ่บ้าน  ในช่วงนี้หมู่บ้านกองม่องทะได้รับการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาคุณภาพชีวิตไปหลาย ๆ ด้าน ตามโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้าน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนอำเภอสังขละบุรีและส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ตลอดถึงองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆ ด้วย  ส่วนปัญหาคมนาคมเส้นทางเข้าหมู่บ้านยังต้องลงเรืออาศัยแม่น้ำรันตี ซึ่งเพิ่งได้รับการแก้ไขเมื่อปี พ..2551 โดยได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าตัดถนนและถมที่ให้ในช่วงที่ถูกน้ำท่วม

   ในปี  ..2555  นายไพบูลย์   ช่วยบำรุงวงศ์   ได้เข้ามารับตำเหน่ง.  กำนันตำบลไล่โว่    จนถึงปัจจุบัน

                                                                                                                                                                                     

 งานที่กำลังดำเนินการอยู่ในปี พ..  2555   

1.การสำรวจพื้นที่ เขตตำบลไล่โว่  ทำร่วมกันกับตำบลหนองลู   ตำบล    ปรังเผล   ซึ่งได้ทำมาหลายครั้งแล้วในช่วงกำนันแต่ก่อน      แต่ปัญหายังมีอยู่

2.การสำรวจพื้นที่ เขตป่า มติ   เขตรักษาพันธุ์  และเขตอุทยาน  ตลอดถึงเขตพื้นที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ แต่ละหมู่บ้านภายในตำบลไล่โว่

3.การสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพิงอาศัย  ในพื้นที่ตะเข็บชายแดนตำบลไล่โว่

4.   การปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  ในเขตพื้นที่ตำบลไล่โว่ โดยการยึดหลัก   ความถูกต้องทางกฎหมาย   และความยุติธรรมทางสังคม

(ที่มา.นายไพบูลย์     ช่วยบำรุงวงศ์    เป็น กำนันตำบลไล่โว่  1  ตุลาคม  2555)

 

2.ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกองม่องทะ

  วัดกองม่งทะ ได้ตั้งเป็นวัดเมื่อปี  ..2452   และมีเจ้าอาวาส  8  รูป ที่ได้ดูแลรักษามาตลอดถึงปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ คือ

1.พระฉัตร   2452 – 2458    6 ปี

2.พระพ่องเยะ  2458 -2462     4ปี

3. พระหนิ่งแอ   2462 -2471    9ปี

4.พระย่องป๊ะ   2471 – 2490     17ปี

5.พระเนละฉอง   2490 – 2501    11ปี

6.พระเนหว่าย      2501-2523     22ปี

7.พระย่องหลู่  2523-2529     6ปี

8.พระเจ่งหง่วย

9.พระครูสิริกาญจนทัต (พระก้อง)  2529-2555   26ปี

( สำรวจเมื่อวันที่ 27 ..2542  จาก ลุงหนิ่งแอ  มักทายก พระธงชัย  ภินันโท วัดกองม่องทะ)

นายไพบูลย์     ช่วยบำรุงวงศ์    กำนันตำบลไล่โว่  1  ตุลาคม  2555)

 

ผู้รวบรวมข้อมูลดิบ นายยอภิชาติ   เสตะพันธ์ 

 

ข้อมูลภาคสนามงานบุญข้าวใหม่ ตำบลไล่โว่ อำเภอกองม่องทะ จังหวัดกาญจนบุรี

วันที่  21 – 24  มกราคม  2559  งานบุญกินข้าวใหม่หมู่บ้านไล่โว่เป็นเจ้าภาพประจำปี 2559

แนวคิดที่มางาบุญกินข้าวใหม่

ปีนี้ได้ข้าวกันเพียงเล็กน้อย  การปลูกข้าวของพวกเราเป็นข้าวไร่ปลูกในบริเวณพื้นที่ลาดชัน

ขุดหลุมหยอดเมล็ดข้าว กลบแล้วปล่อยให้ธรรมชาติดูแลคอยดายหญ้า กำจัดวัชพืชเป็นครั้งคราว หากฟ้าฝนดีเอื้ออำนวยเป็นใจผลผลิตที่ได้ก็ดี แต่หากฝนตกน้อยไปหรือทิ้งช่วงผิดระยะผลผลิตก็ได้น้อยลงไป  ปีนี้ฟ้าฝนดี อุดมสมบูรณ์แต่กลับได้ข้าวน้อย เพราะยังมีหนูระบาดอยู่เป็นปีที่ ปีที่แล้วหนูระบาดหนักมากไม่ได้ผลผลิตเลย ปีนี้หนูน้อยลงแต่ยังไม่หมด ได้ผลผลิตกันเพียงเล็กน้อยคนเฒ่าคนแก่บอกลูกหลานว่าสาเหตุที่หนูมากเป็นเพราะไม้ผากซึ่งเป็นไม้ไผ่ชนิดหนึ่งออกดอกออกผลซึ่งเรียกกันว่า "ขุยไผ่" แล้วแห้งตาย หนูชอบกินขุยไผ่มาก เมื่อมีขุยไผ่ซึ่งเป็นอาหารมาก หนูก็เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ต่อมาต้นไผ่ผากตาย ขุยไผ่น้อยลง หนูก็อพยพเข้ามาหากินตามไร่และบ้านเรือน

ไม้ไผ่ส่วนมากจะออกดอก และตายเป็นกอ ๆ แต่ละกอออกดอกและตายไม่พร้อมกัน ไม่ผากเป็นไม้ไผ่ที่แปลกกว่าชนิดอื่น ๆ ที่ออกดอกและตายพร้อมกันหมดทั้งป่า ไม่ว่าจะเป็นในเขตไทย พม่า กัมพูชา ลาว แม้ กระทั่งตอนใต้ของจีนไม่มีใครรู้ว่าทำไมไม้ผากจึงต้องมาออกดอกและตายพร้อมกัน ประมาณ 50 ปี ไม้ผากจึงออกดอกและตายหนึ่งครั้ง ตอนนั้นหนูจะระบาดหนักอยู่ 2 ปี แล้วก็กลับสู่สภาพเดิม

แม้จะได้ข้าวเพียงเล็กน้อย หมู่บ้านของเราก็ทำพิธีทำบุญข้าวใหม่เช่นทุกปี

การทำบุญข้าวใหม่นี้เรียกในภาษากะเหรี่ยงว่า "ชุพลี่บิ๊โย่มี่" (ชุ = ถวาย, พลี่ = ใหญ่ , บิ๊โย่ = แม่โพสพ และมี่ = ข้าว) โดยจะทำพิธีในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 บางทีอาจเลื่อนเป็นเดือน 2 หรือ เดือน 4 แล้วแต่ว่าจะเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเมื่อใด ตามปกติแม้เก็บเกี่ยวเสร็จก่อนก็มักรอทำพิธีในเดือน 3 การทำบุญข้าวใหม่เป็นการขอบคุณธรรมชาติที่ให้กำหนิดและเลี้ยงดูให้อาหารโดยเฉพาะข้าว ซึ่งชาวกะเหรี่ยงเชื่อกันว่า แม่โพสพเป็นผู้ประทานข้าวให้ด้วยความเมตตา เพื่อไม่ให้ชาวบ้านอดอยาก นอกจากนี้การทำบุญข้าวใหม่ยังเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลทั้งหลายทั้งปวงให้แก่สัตว์และพืชที่ต้อง

ตายหรือถูกทำร้ายเพราะการปลูกข้าวไร่ โดยเฉพาะการเผาไร่ เพื่อเตรียมที่เพาะปลูก เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวได้มาแล้ว ก็ทำบุญอุทิศให้ ขอขมาลาโทษเพื่อไม่ให้เป็นบาปเป็นเวรเป็นกรรมกันสืบไป

ขั้นตอนกิจกรรมลำดับเหตการณ์พิธีกินข้าวใหม่

วันแรก วันที่  21 มกราคม 2559

1.       เช้าวันงาน ทุกคนมาพร้อมกันที่ศาลาแม่โพสพพร้อมข้าวปลาอาหารและขนม ซึ่งนำไปวางไว้กลางศาลาแม่โพสพ บางคนที่พอได้ข้าวจะนำข้าวเปลือกข้าวเจ้าและข้าวเปลือกข้าวเหนียวมาร่วมทำบุญโดยวางไว้ริมศาลา คนเฒ่าคนแก่นั่งบนศาลาแม่โพสพรอบ ๆ อาหารคนอื่น ๆ นั่งข้างล่างบริเวณลานหน้าศาลาแม่โพสพ 

2.       พิธีเริ่มจากผู้นำหมู่บ้านซึ่งเป็นคนเฒ่าคนแก่อาวุโสสูงสุดกรวดน้ำ บอกกล่าวแก่เทวดาฟ้าดิน หมู่สัตว์ พืช และธรรมชาติ ให้รับรู้ถึงจิตกตัญญูกตเวที

3.       การขอบคุณและขอขมาลาโทษที่ล่วงเกินขอเชิญมารับส่วนบุญ กุศลเหล่านี้และรับอาหารคาว - หวาน จากนั้นทุกคนในหมู่บ้านจะร่วมกันรับประทานอาหาร เป็นเสร็จพิธี

4.       ภาคกลางคืนมีงานเลี้ยงฉลอง โดยการแสดงจากหมู่บ้านเจ้าภาพ

-          การแสดงวงดนตรีชะพูชะอู

-          การแสดงวงดนตรีชะพูชะอู ประกอบกับการรำตรง

-          การรำตรงหมู่ของเด็ก

-          การรำตรงหมู่ของคนหนุ่มสาวในหมู่บ้าน

-          การรำตรงหมู่ของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน

-          การแสดงของเด็กๆในหมู่บ้านกองม่องทะ  

การแสดงนาเด่ยจากศิลปินประจำหมู่บ้าน

วันที่สอง วันที่ 22 มกราคม 2559

1.       7.00 น. ใส่บาตรข้าวใหม่ โดยทางวัดและชาวบ้านหุงข้าวไว้ที่โรงครัว ผู้ที่จะใส่บาตรก็สามารถไปตักข้าวสวยที่หุงไว้แล้วที่โรงครัวหรืออาจนำมาจากบ้าน โดยมีดอกไม้โรยไว้บนถ้วยข้าวสวย  ทุกคนที่จะใส่บาตรเช้าก็จะขึ้นไปใส่บาตรกันศาลาวัดด้านบน โดยก่อนที่จะใส่บาตรพระทั้งวัดกองม่องทะ ขึ้นบนศาลาเพื่อสวดมนตืเช้า สวดทำวัดเช้าหลังจากสวดทำวัดเช้าจบ ก็จะเป็นการตักบาตร โดยวิธีการตักบาตรจะใช้วิธีเรียงลำดับตามอาวุโส โดยเริ่มจากผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายชายเป็นอันดับแรกในการนำใส่บาตร และไล่เรียงลำดับอายุลงมาจนหมดทางผู้ชาย ก็จะเริ่มผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายผู้หญิง เรียงตามลำดับอายุลงมาเช่นกัน จนครบจำนวนชาบ้านที่มาใส่บาตรบนศาลาเป็นการจบพิธีการใส่บาตรเช้า

2.       9.00 น. พิธีสวดงานบุญข้าวใหม่ บนศาลาวัด

3.       17.00 น. การจัดงานร้านค้าสวรรค์ พิธีสวดงานบุญร้านค้าสวรรค์

3.1   พิธีกร กล่าวต้อนรับและเรียนเชิญแขกที่มาร่วมงานบริเวณร้านค้าสวรรค์

3.2   พระสงฆ์จะนวน 9 รูป ขึ้นสวดบริเวณเวทีร้านค้าสวรรค์ เมื่อพระสวดเสร็จก็จบพิธีทางสงฆ์ พระเดินทางลงจากเวทีร้านค้าสวรรค์กับศาลาที่พัก

3.3   เริ่มเข้าสู่พิธีการกินอาหารบริเวณร้านค้าสวรรค์

4.       18.00 น. เข้าสู่การกินอาหารในร้านค้าสวรรค์ มีธิดาสวรรค์ 7 ธิดา อยู่ในร้านค้าเพื่อรอต้อนรับ เมื่อถึงเวลาก็จะเรียงลำดับอาวุโสของหมู่บ้านหรือผู้ที่มาร่วมงาน ซื้อบุญเข้าไปกินอาหารในร้านค้าสวรรค์  บุคคลทั่วไปเข้าซื้อบุญเพื่อกินอาหารในร้านค้าสวรรค์

5.       การแสดงฉลองงานบุญข้าวใหม่ บริเวณเวทีใหญ่กลางลานกว้าง

-          การแสดงวงดนตรีชะพูชะอู

-          การแสดงวงดนตรีชะพูชะอู ประกอบกับการรำตรง

-          การรำตรงหมู่ของเด็ก

-          การรำตรงหมู่ของคนหนุ่มสาวในหมู่บ้าน

-          การรำตรงหมู่ของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน

-          การแสดงของนักเรียนกองม่องทะ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่3 โดยเรียงลำดับจากเด็กเล็กไปหาเด็กโต

-          การแสดงนาเด่ยจากศิลปินประจำหมู่บ้าน

วันที่สามหรือวันต่อมาในเดือนบุญช้าวใหม่

1.       ไปเลือกพื้นที่ปลูกข้าว ในปีฤดูการปลูกต่อไป

ข้าวเปลือกที่มาร่วมพิธีจะขายในราคาถูกมาก ให้แก่ครอบครัวที่อดอยาก ได้ข้าวน้อยที่สุด เงินที่ได้จากการขายข้าวเปลือกและการทำบุญจะใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรม สำหรับปีนี้ตกลงกันว่า ให้นำเข้ากองทุนธนาคารของหมู่บ้าน  ปีนี้แม้ได้ข้าวเพียงเล็กน้อย กินไม่กี่เดือนก็คงหมด แต่ข้าวเปลือกที่นำมาร่วมทำบุญก็มีจำนวนมากไม่แพ้ปีที่ข้าวอุดมสมบูรณ์ ความอดอยากขัดสนดูไม่มีผลต่อการทำบุญของชาวบ้าน  นึกถึงคำพูดของคนในเมืองบางคนที่พูดว่า "ลำพังจะกินก็ยังไม่มี และจะเอาอะไรไปทำบุญ" แต่กับพวกเราในป่าแล้ว ชาวกะเหรี่ยงกลับคิดว่า "เพราะไม่มีกินถึงต้องรีบเร่งทำบุญ เพื่อจะได้มีกินในโอกาสต่อไป หากไม่มีกินแล้วยังไม่เร่งทำบุญอีก ก็คงไม่มีกินตลอด" และนึกแปลกใจที่คนในเมืองยิ่งอดอยาก ยิ่งดิ้นรน ยิ่งเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น แต่กับพวกเรายิ่งอดอยาก ชาวกะเหรี่ยงกลับยิ่งสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่มีครอบครัวใดอดอยาก ในขณะที่อีกครอบครัวมีกินอุดมสมบูรณ์จะต้องแบ่งปันกัน จนอดอย่างเท่าเทียมกันทั้งหมู่บ้าน

ด้วยชีวิตที่ดำเนินตามธรรมชาติในป่าเขามานับพันปี ชีวิตของกะเหรี่ยงจึงกลมกลืนแนบแน่นกับธรรมชาติ ภัยธรรมชาติคือปรากฏการณ์ปกติที่หมุนเวียนกันตามโอกาสกาละต่าง ๆ ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่ใช่สิ่งทีน่าสะพรึงกลัวไม่มีการโกรธเพ่งโทษธรรมชาติไม่ใช่การกลั่นแกล้งหรือลงทัณฑ์จากธรรมชาติ ชาวกะเหรี่ยงมอง ปรากฏการณ์นี้ด้วยความรู้เท่าทันว่าเป็นธรรมดา และพร้อมที่จะเผชิญกับภัยธรรมชาตินั้นอย่างมั่นคง ชาวกะเหรี่ยงทราบดีว่า ในปีหน้าข้าวไร่จะได้มากเพิ่มขึ้นกว่าปีนี้ ปัญหาเรื่องหนูจะลดลงจนหมดไปปีหน้าจะได้ข้าวอย่างเพียงพอ ส่วนปีนี้ต้องอดข้าวตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไป แต่พวกเราก็ไม่เดือดร้อนนัก เพราะคนเฒ่าคนแก่พูดไว้เสมอว่า ธรรมชาติมีสองด้าน เราจะต้องพบทั้งสองด้าน คือ มีสุข และมีทุกข์ มีอิ่มและมีอด มีได้ก็มีเสีย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่เสมอ ไม่มีอะไรแน่นอน ขอให้ทำใจยอมรับกับความเป็นจริง อย่าไปฝืน ธรรมชาติ การทำบุญข้าวใหม่เป็นการน้อมลงเคารพต่อธรรมชาติ ทำบุญให้ธรรมชาติ ด้วยสำนึกกตัญญูกตเวที อย่างสัมพันธ์เข้าใจและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ

 

บันทึกใจความสำคัญ การสัมภาษณ์ คุณอภิชาติ  เสตาพันธ์ 

วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เวลา 17.00 น. บริเวณบนเรือนบ้านคุณอภิชาติ

 

-          งานบุญข้าวใหม่จะสลับกันเป็นเจ้าภาพ ปีละหมู่บ้าน โดยสลับกันไปทั้ง 6 หมู่บ้าน

-          จะมีการเตรียมงานก่อนจัดงาน 7 วันจัดสถานที่ อาหาร อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงาน

-          การจัดร้านค้าสวรรค์

-          การทำงาน การช่วยเหลืองานสามารถทำตามอิสระของแต่ละคนที่มีความถนัด หน้าที่ ที่จะช่วยเหลืองานต่างๆ ในงานบุญข้าวใหม่ ไม่มีการนัดหมายกหรือแบ่งมอบหมายหน้าที่เป็นรายบุคคล ทุกอย่างเป็นไปตามความสะดวกและจิตสำนึกของแต่ละคนที่ทำและช่วยเหลืองาน

-          มีงานทำครัว ทำอาหารเพื่องานบุญกินข้าวใหม่

-          สวดมนต์เย็นเพื่อเตรียมงานบุญกินข้าวใหม่

-          มีมหรสพ ในวันงานเพื่อฉลองงานบุญกินข้าวใหม่

-          มีการทำน้ำมนต์

-          วันที่สองของการจัดงาน มีการทำบุญตักบาตรตอนเช้าที่วัด ใส่บาตรข้าวใหม่

-          ทำอาหารเลี้ยงพระเช้า  หุงข้าวใหม่ อาหารแม่โพธิ์สพ

-          ไม่มีอาหารเฉพาะงาน ที่สำคัญคือการหุงข้าวใหม่

-          พิธีทำบุญแม่โพธิ์สพ เป็นการทำในวันแรกของงานบุญกินข้าวใหม่ โดยทำที่บ้าน มีพิธีการผูกข้อมือ  มีการเรียกขวัญ 3 – 7 วัน  มีการทำกระต๊อบปวย มีการบรรเลงดนตรี และมีการอ่านคำกล่าวเพื่อถวายในพิธีแม่โพธิ์สพ

-          ทำบุญเลี้ยงพระ เลี้ยงเพลในวันทำพิธีแม่โพธิ์สพ

-          พิธีการผูกข้อมือสามารถทำได้ในหลายวาระ เช่น เด็กเกิดใหม่เกิดมา 7 วัน ก็ต้องผูกข้อมือ ในเดือนสิงหาคม ก็มีพิธีฉลองผูกข้อมือ  และงานบุญข้าวใหม่ ก็มีการผูกข้อมือ

-          คำแปลคำกล่าว ปู้ล่า ปู้ล่า ในพิธีถวายแม่โพธิ์สพ  แปลความว่า รุ้งกินน้ำ เกิดขึ้น(ลางสังหรณ์)

-          การผูกข้อมือ สายสินธ์ต้องอยู่กับตัวเรา 3 – 7 วัน

 

 

 

บันทึกใจความสรุปการสัมภาษณ์ลุงเนเส่ง  งานบุญกินข้าวใหม่

วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 8.00 น. ตำบลไล่โว่ อำเภอกองม่องทะ จังหวัดกาญจนบุรี

 

-          งานบุญกินข้าวใหม่แต่เดิมทำกันเพียงในครอบครัว หลังจากการฟาดข้าวเสร็จแล้ว

-          มาภายหลังพื้นที่ได้รับเป็นมรดกโลก และกลัวพิธีการทำบุญข้าวใหม่จะสูญหาย จึงเริ่มมาทำร่วมกัน ทั้ง 6 หมู่บ้าน โดยประมาณว่าทำร่วมกันและสามารถวนได้ประมาณ 3 รอบแล้วหรือประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา

-          เริ่มทำพิธีงานบุญข้าวใหม่ที่ทำร่วมกันครั้งแรก ที่บ้านหมู่ที่ 1  หมู่สะเพโพ้

-          การกินข้าวใหม่เพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจและเป็นสิริมงคล เพื่อเริ่มการปลูกข้าวในปีต่อไป

-          ถ้ากินข้าวใหม่ไม่เสร็จ ก็จะเลือดพื้นที่การปลูกข้าวในปีต่อไปไม่ได้

-          พานถวายแม่โพธิ์สพ มีดอกไม้ ธูปเทียน มะพร้าว กล้วย เส้นผมวิกผม เสื้อผ้า

-          ขบวนการงานพิธีที่เกี่ยวกับข้าว เริ่มจากการการฟาดข้าว  ต่อมางานบุญกินข้าวใหม่ และเลือกพื้นที่เพาะปลูกข้าว และเริ่มฤดูการปลูกข้าวในประจำปี

-          งานบุญกินข้าวใหม่จะมีพิธีการสวอเรียกขวัญ

-          มีหลักการสวด 4 อย่าง เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างมารวมกัน

 

 

บันทึกใจความสำคัญบทสัมภาษณ์ลุงโหล่ง และตาคองเจ่ง  พิธีงานบุญกินข้าวใหม่

วันที่ 22 – 24 มกราคม  2559 เวลา 10.00 – 12.00 น.

ลานใต้ถุนบ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

-          รำตงมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ รำตงเก่า รำตงกลาง และรำตงใหม่

-          รำตงใหม่ จะเป็นเด็กรุ่นใหม่ๆรำกัน เครื่องดนตรีใช้แต่กลอง จังหวะมีความเร็วมาก

-          คำศัพท์ต่างๆ หน่อมึงปี้ แปลว่านักร้องหญิง

-          สาธิตบทเพลงเชิญแม่โพธิ์สพ

-          อะเย่ย เป็นละครพันทาง จะใช้รำถวายในงานพิธีสำคัญต่างๆ

-          การจัดร้านค้าสวรรค์ เป็นสถานที่ประกอบพิธี มีธิดาสวรรค์ 7  คน มีลงแขกช่วยกันการทำกับข้าว หุงข้าว ขนม่างๆเพื่อเตตรียมจัดเลี้ยง โดยเป็นการกินแบบบุพเฟ่ย์ 1 บาท โดยการกินหรือการเข้าร้านค้าสวรรค์ จะเรียงลำดับตามอาวุโสของหมู่บ้าน โดยเริ่มจากผู้เถ้าผู้แก่ชายของหมู่บ้านเป็นอันดับแรกก่อน และเรียงลำดับอาวุโสน้อยต่อๆมา

จนถึงเด็กๆในหมู่บ้าน โดยการซื้อบุพเฟ่ย์ 1 บาท ในการทุกรายการอาหารตามความต้องการ

-          รำตง มีหลายอย่างดังนี้ รำตงมู่หลัน  รำตงม่องหยู้ โดยแบ่งเป็นรำตงเก่า รำตงกลาง รำตงใหม่ รำเอ้อหลีโต

-          การแบ่งการรำตง แบ่งจาก ด้วยอะไร คือ ท่ารำ เพลง คนรำ

 

 

การละเล่นรำตรง

การละเล่นรำตงเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปว์) ในท้องที่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นและความศรัทธา  โดยยกหลักธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นการอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกะเหรี่ยง 

 

       การละเล่นรำตง  จัดเป็นนาฏกรรมที่ปรากฏมานานกว่า 200 ปี ในอดีตนิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันกลับปรากฏเฉพาะในงานพิธีกรรมสำคัญซึ่งเป็นงานประจำปีของชนเผ่าเท่านั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่รู้สึกสัมผัสได้ แต่อาจจะไม่ใช่ด้วยระบบประสาททั้งห้า

       ซึ่งนายนรพล คงนานดี ที่ปรึกษาโครงการสานสายใย สามสายน้ำ ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เล่าว่า รำตง หรือ เท่อลี่ตงในภาษากะเหรี่ยงนั้น หมายถึง การเหยียบย่ำ หรือการเต้นรำ ให้เข้าจังหวะ เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดัง ตง ตง ตง ตง โดยมีเครื่องเคาะจังหวะที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการเลียนเสียงมาจากเครื่องดนตรีเฉพาะที่เรียกว่า วาเหล่เคาะเป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรีซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะประเภทหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง ทำจากไม้แดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฉิ่งวางหงายทางด้านบนอยู่มุมใดมุมหนึ่ง

      รำตงมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้คิดค้นท่ารำและเพลงจะตั้งชื่อตามคณะของตนเอง การแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ปัจจุบันเหลืออยู่ 5 ชุด คือ รำตงอะบละ รำตงเหร่เร รำตงไอ่มิ รำตงหม่องโยว์การแสดงของเด็ก และรำตงหม่องโยว์การแสดงของผู้ใหญ่ รำตงเป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงที่ผสมผสานทั้งการร้อง การรำ และการทำจังหวะ พร้อมกับการแสดงอารมณ์และความรู้สึกออกมาอย่างอิสระ

     “การรำตง ผู้แสดงจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจำนวน 12-16 คน หรืออาจมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่แสดง ซึ่งอาจเป็นเวทีในร่มหรือสนามหญ้า ตั้งแถวเป็นแถวลึกประมาณ 5-6 แถว ยืนห่างกันประมาณ 1 ช่วงแขน ส่วนการแต่งกายนั้นแยกตามลักษณะของหญิงและชาย

      โดยผู้หญิงจะสวมชุดกระโปรงสีขาวยาวกรอมเท้า หรือที่ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า ไช่กู่กี๋เป็นเครื่องแต่งกายประจำชนเผ่าของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง มีลักษณะเป็นเสื้อกระโปรงยาวกรอมเท้าสีขาว บางครั้งจะทอเป็นลวดลายสีแดงในแนวตั้ง บางครั้งทอยกดอกเป็นตาราง มีพู่ห้อยเป็นระยะ คอแหลม คาดเข็มขัดเงินที่เอว  

       สำหรับผู้ชายก็ใส่ชุดประจำเผ่าเป็นเสื้อสีแดง  นุ่งโสร่ง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง (ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) ในด้านของท่ารำเป็นท่าที่เรียบง่ายเพื่อต้องการความพร้อมเพรียง คล้ายกับฟ้อนพม่า เอกลักษณ์อยู่ที่การย่ำเท้าด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเพลงนายนรพล คงนานดี เล่า

       อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง คือ  ผ้าเช็ดหน้าที่ผูกกับนิ้วกลางข้างขวา ทั้งนี้เพื่อเสริมให้เห็นความพร้อมเพรียงในการรำมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในท่าที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยการใช้อุปกรณ์ในมือ หรือเมื่อมีการสะบัดข้อมือ ในส่วนของบทเพลงร้องประกอบการแสดง เนื้อหาในการแสดงโดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาเฉพาะกลุ่มชน

       รำตงจึงมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงเป็นอย่างมาก แต่ไม่นิยมจัดแสดงบ่อยครั้งนัก จะแสดงในงานที่สำคัญๆ ได้แก่ งานสงกรานต์ งานศพ ประเพณีทำบุญข้าวเปลือกใหม่ ซึ่งประเพณีดังกล่าวมีพิธีกรรมทำบุญรับขวัญข้าวใหม่และขอบคุณพระแม่โพสพ รำตงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยรำตงที่นำมาจัดแสดงถวายนี้มักมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นการอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกะเหรี่ยง

       รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้มีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญในเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน

      วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม

     ไม่นานเชื่อได้ว่า การแสดงรำตงนี้จะเป็นที่รู้จักและอยู่คู่กับชาวกะเหรี่ยงต่อไปได้เพราะมีโครงการสานสายใย สามสายน้ำ ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มาเก็บรวมรวม ดึงเด็กและเยาวชนที่เป็นรากฐานของสังคมมาสืบสาน สืบทอด และเผยแพร่ออกสู่สังคมแล้ว

     และนั่นไม่เพียงแต่จะทำให้สังคมได้รู้จักการแสดงรำตง แต่นั่นจะเป็นส่วนที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมนี้ได้อยู่ชาวกะเหรี่ยงได้สืบนานเท่านาน...