วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เด้กเก่งดนตรีสร้างได้ ต้องได้รับการสนับสนุนที่ถูกทาง

เด็กเก่งดนตรีสร้างได้  อัจฉริยะทางดนตรีต้องได้รับการสนับสนุนที่ถูกทาง...
                เมื่อวันเสาร์ที่แล้วอาจารย์กฤษกร  อ่อนละมุน(อาจารย์โจ้ ) มีผู้ปกครองนักเรียนมาส่งเสียงแอะอะปะเทิ้ง  ว่าลูกชายเรียนที่โรงเรียนดนตรีกับโรงเรียนมาแล้ว 4 ครั้งแล้วยังไม่เก่งสะที ถ้าเรียนอีกครั้งหนึ่งแล้ว  ยังไม่เก่งอีก  จะไม่ให้เรียนแล้ว  โดยนักเรียนคนนั้นพึ่งเริ่มต้นเรียนเครื่องดนตรีชิ้นนี้ เป็นชิ้นแรก ครั้งแรกในชีวิต  ยังไม่มีเครื่องดนตรีฝึกซ้อมที่บ้าน  พ่อแม่บอกว่าให้เล่นเก่งก่อนแล้วถึงจะซื้อให้
               จริงๆก็เป็นโอกาสที่ดีมากแล้วที่เด็กคนนั้น ได้เล่นดนตรีครั้งหนึ่งในชีวิต  แต่ถ้าคุณ พ่อคุณแม่เข้าใจและให้เวลาเด็กคนนั้นอาจจะไม่เก่ง ( ถึงขั้นไหน ระดับไหน ) แต่คงได้ประโยชน์จากการเรียนดนตรีในด้านอื่นๆอีกแน่นอน นอกจากความเก่ง  มีเรื่องเล่ามีนักเรียนของผมท่านหนึ่ง เคยได้รับประสบการณ์จากครอบครัวโดยการซ้อมดนตรีที่บ้านแล้วถูกทางบ้านบ่น หรือแซว หรือต่อว่าๆเสียงโหนกขู  โหนกหู  เสียงน่ารำคาญไม่เห็นเพราะเลยทำนองนั้น  นักเรียนท่านนี้ของผมตอนนี้เรียนปริญญาตรีทางดนตรีแล้ว  ประสบความสำเร็จทางดนตรีอย่างสูง เพราะว่าในที่ที่สุดแล้วเวลา  ความสนับสนุนที่เข้าใจจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เด็กๆได้เองครับ               
             ดนตรี เป็นเรื่องของทักษะ ทักษะเป็นเรื่องของการฝึก " Practice makes perfect "  แปลได้ว่า " อัจฉริยะได้มาจากการฝึก " มรว.ถนัดศรี สวัสิดวัฒน์ ท่านเคยพูดไว้ว่า " ไม่เก่ง แต่ชำนาญ ไม่เชี่ยวชาญแต่เคยมือ "
              การสร้างความพร้อมให้กับลูกที่จะเรียนดนตรี ลูกจะต้องมีเครื่องดนตรี มีครูสอนดนตรี มีหนังสือ และห้องฝึกซ้อม เมื่อลูกมีความพร้อมทางกายภาพแล้ว ก็ต้องสร้างความพร้อมภายใน ให้ลูกอยากเรียน อยากฝึกซ้อมดนตรี
              เมื่อลูกยังอายุน้อย จะต้องสร้างบรรยากาศการฝึกซ้อมดนตรี อย่างสม่ำเสมอ สร้างลูกให้เห็นความสำคัญของการฝึกซ้อมดนตรี เมื่อซ้อมแล้ว ให้สังเกตว่า เกิดอะไรขึ้น ฝึกซ้อม 1 ชั่วโมงทุกวัน เกิดอะไรขึ้น ฝึกซ้อม 2 ชั่วโมงทุกวัน เกิดอะไรขึ้น  ฝึกซ้อม 3 ชั่วโมงทุกวันเกิดอะไรขึ้น  ถ้าฝึกซ้อม 5 ชั่วโมงทุกวันจะเกิดอะไรขึ้น 

              ความชำนาญที่เป็นผลจากการฝึกซ้อม จะเป็นคำตอบของการเรียนดนตรี การฝึกซ้อมมาดี เมื่อขึ้นเวที ก็จะได้รับการปรบมือ เมื่อเรียนกับครู ก็จะได้รับคำชม หรือบังเอิญมีใครมาได้ยิน ก็จะได้รับคำกล่าวขวัญถึง สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวกระตุ้นส่งเสริม ให้เด็กอยากเรียนดนตรี
             การที่เด็กได้ชมการเล่นดนตรีของนักร้อง นักดนตรีที่เด็กชื่นชอบ ก็เป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนดนตรีที่ดีมากอีกอย่างหนึ่ง เพราะเป็นตัวอย่างที่เด็กปรารถนา  เป็นความใฝ่ฝันที่เด็กอยากเป็น อยากเลียนแบบ เมื่อเด็กได้เห็นนักดนตรีเก่ง ๆ แสดงสด  จะทำให้มีพลังที่อยากจะเรียน อยากจะเป็นนักดนตรีอย่างไม่น่าเชื่อ
            รวมทั้งการที่เด็ก ได้ออกแสดงดนตรีในที่สาธารณะ ได้แต่งตัว ใส่ชุดแสดงที่แตกต่างไปจากคนอื่น ๆ ก็สร้างความภูมิใจให้เด็ก ตอกย้ำความอยากเรียนดนตรี ให้เพิ่มมากขึ้น เพราะเด็กทุกคน อยากเด่น อยากแตกต่าง อยากเท่ห์ อยากได้รับคำชื่นชม แต่คำชื่นชมต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นจริง
     
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น