”จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีความถนัดทางดนตรี”...มักจะเป็นคำถามที่ติด
ใจพ่อแม่อยู่เสมอๆ และมักจะถามเมื่อลูกโตเข้าสู่วัยนี้แล้ว...ทั้งนี้ก็เพราะว่า พ่อแม่จะ เลี้ยงลูกแบบตั้งรับ ด้วยหวังว่าความถนัดของลูกจะโผล่ออกมาเองจากตัวลูก โผล่มาจาก ไหนก็ไม่รู้ หากความสามารถหรือความถนัดของลูกไม่โผล่อะไรออกมาเลย ลูกก็ต้องโตขึ้น ไปตามยถากรรม ซึ่งเป็นความผิดและเป็นกรรมของลูกแท้ๆ ที่ไม่มีความถนัดอะไรแสดง ออกมาเลย พ่อแม่แบบโบราณ คิดแบบโบราณ เชื่อตามกันมาว่าลูกเล็กเด็กนั้นไร้เดียงสา คือไม่รู้อะไร รอไว้ให้โตใหญ่ขึ้นแล้วค่อยเรียนรู้ บุญกรรมจะเป็นตัวกำหนดให้ลูกมีชีวิต และเป็นไปกับพ่อแม่สมัยใหม่อยู่กับความเจริญ มีเงิน ใช้เงินเลี้ยงลูก ลูกมีพี่เลี้ยงคอยดูแล พี่เลี้ยงก็ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูกอย่างดี เอาใจเด็ก ให้เด็กมีความสุขตามที่เด็กต้องการ ความสำเร็จของการเลี้ยงดูก็คือ การปรนเปรอให้เด็กได้รับความพอใจ ... พ่อแม่ทั้งสองแบบนี้จะหาความถนัดของลูกไม่เจอเลย แต่พ่อแม่ที่รู้วิธีเลี้ยงลูก จะปลูกฝังสิ่งที่ดีให้เข้าไปในตัวลูก อะไรก็ตามที่พ่อแม่เลือกแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดี และอยากให้ลูกได้รู้ พ่อแม่จะต้องขวนขวายให้ลูกได้เรียนได้รู้ เมื่ออยากให้ลูกเล่นดนตรี ก็ให้ลูกได้ฟังดนตรี อยู่ในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของดนตรี ได้เล่นดนตรี เรียนดนตรีตั้งแต่เล็กๆ เมื่อลูกได้มีประสบการณ์แล้ว อาการลูกจะบอกได้ว่า ลูกมีความถนัดมีความชอบอะไร สิ่งแรกที่พ่อแม่จะต้องทำก็คือ ทำความเข้าใจว่า “ดนตรีจำเป็นสำหรับลูก” เพราะดนตรีเป็นเรื่องของเสียง เสียงมีพลัง พลังสร้างความเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวสร้างความเปลี่ยนแปลง และ ความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนาดนตรี จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมให้กับเด็ก เมื่อเข้าใจ เห็นความสำคัญและ ความจำเป็นที่จะให้ลูกเรียนดนตรีแล้ว ลำดับต่อมาจะต้องสร้างประสบการณ์ทางดนตรี ให้กับลูกทั้งโดยตรง คือ ให้ลูกได้เรียนดนตรีจริงๆ และโดยอ้อม คือการให้ลูกได้อยู่ในบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมทางดนตรี เด็กได้ยินเสียงดนตรีซ้ำๆ บ่อยๆ จะคุ้นเคยกับเสียงทำให้หูฟังเสียงได้ชัดขึ้น ละเอียดมากขึ้น เด็กมีหูที่ดี (perfect pitch) เป็นประโยชน์สำหรับอาชีพดนตรีของเด็กอย่างยิ่ง ตัวอย่าง ทำไมเด็กอีสานพูดภาษาอีสานถูกต้องสมบูรณ์ ทำไมเด็กสุพรรณพูดเหน่อตามภาษาสุพรรณบุรีได้ถูกต้อง ก็เพราะว่า เด็กได้ฟังภาษาพูดจากต้นฉบับมาแต่กำเนิด จึงพูดได้ตามที่ได้ยินมา ลำดับสุดท้าย พ่อแม่จะตอบได้เองว่า ลูกมีความถนัดทางดนตรีหรือไม่ โดยไม่ต้องไปถามใครอีกต่อไป จะส่งเสริมทักษะทางดนตรีให้ลูกได้อย่างไร ดนตรีเป็นเรื่องของทักษะ ทักษะเป็นเรื่องของการฝึก พูดเป็นภาษาฝรั่งได้ว่า “Practice makes perfect” แปลได้ว่า “อัจฉริยะได้มาจากการฝึก” |
รวบรวมข่าวสารดนตรีศึกษา ดนตรีวิทยา ดนตรีชาติพันธ์ การศึกษาทางมานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เด็กเก่งดนตรีสร้างได้ อัจฉริยะได้มาจาการฝึก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น