วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย

ครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย
พระเจนดุริยางค์  ( ปิติ วาทยะกร )
            ถ้าจะกล่าวประวัติดนตรีสากลของเมืองไทย  บุคคลที่นักวิชาการต้องกล่าวอ้างในช่วงบุกเบิกวงการดนตรีสากลของเมืองไทยในยุคแรกๆ  ก่อนที่ดนตรีไทยในสมัยหลวงประดิษฐ์ไพเราะจะถูกบีบให้แผ่วเบาจากความนิยมโดยมีการเมืองเข้ามาแทรก  เพื่อนำสยามประเทศก้าวสู่ความเจริญตามประเทศแถบตะวันตก  ตามนโยบายเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
           ครูดนตรีสากลก้าวขึ้นมามีบทบาทในการนำศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในเมืองไทย เริ่มฝึกหัด เรียนรู้  พัฒนามุ่งสู่ความเจริญให้เทียบทันอารยะประเทศตะวันตก  ครูดนตรีท่านนั้นได้แก่พระเจนดุริยางค์ซึ่งเป็นครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย

ชีวประวัติของพระเจนดุริยางค์
            บิดาของข้าพเจ้าชื่อ Jacob Feit เป็นชาวอเมริกัน เชื่อชาติเยอรมัน มารดาของข้าพเจ้าเป็นไทย
บิดาเกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๔ (ค.ศ. ๑๘๔๔) ที่เมือง Trier ( Treves ) ในประเทศเยอรมนี แต่ถายหลังสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุประมาณ ๑๙ ปีแล้วครอบครัวได้อพยพจากประเทศเยอรมนีไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ในสหรัฐอเมริกา และในคราวสงครามกลางเมืองที่สหรัฐอเมริกาCivil War 1860 – 1864 สมัยที่ Abraham Lincoln เป็นประธานาธิบดีนั้นก็ได้เข้ารับราชการทหารฝ่ายเหนือในกองทัพสหรัฐอเมริกาผ่านศึกกลางเมืองด้วย
            ในราวปี พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. ๑๘๖๗) เมื่อสิ้นสงครามแล้วท่านได้เข้ามายังประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยวคนหนึ่งตามวิสัยชายหนุ่ม เมื่อได้มาพักในกรุงเทพฯชั่วเวลาหนึ่งแล้วท่านก็ได้รับคำเชื้อเชิญจากกงสุลอเมริกา (หมอจุนดเล S. Chandler) โดยกระแสรับสั่งให้เข้ารับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของสมเด็จพระยัณฑูรกรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ (วังหน้า) เมื่อสิ้นสมัยดังกล่าวนี้แล้วได้ถูกย้ายมาประจำเป็นครุแตรวงทหารบกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตลอดจนมาถึงวันที่ท่านถึงแก่มรรณะกรรมลง คือเมื่อวันที่  ๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙) รวมอายุได้ ๖๕ ปีเศษ ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก
            มารดาของข้าพเจ้าชื่อ ทองอยู่ วาทยะกร เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ และถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ รวมอายุได้ ๙๓ ปี (เป็นธิดานายปุ๊, นางเม้า เชื้อชาติรามัญบังคับไทย)
            ข้าพเจ้าเกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแม เวลาย่ำรุ่ง ที่บ้านญาติของมารดาตำบลบ้านทวาย ใกล้หัวถนนเวลานี้ เมื่อข้าพเจ้ามารดาได้พามารวมอยู่กับบิดาที่แพ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งเหนือปากคลองหลอด
            ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ. ๑๘๙๐) ข้าพเจ้ารับการศึกษาวิชาสามัญที่โรวเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) ในชั้นต้นเข้าเรียนภาษาฝรั่งเศสจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ (ค.ศ. ๑๘๙๘)จบหลักสูตรในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. ๑๘๙๙) ได้เข้าศึกษาภาษอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) รวมเวลาที่ข้าพเจ้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนแห่งนี้ได้ ๑๑ ปี บริบูรณ์
            ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. ๑๙๐๓) ข้าพเจ้าออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญโดยมีหนังสือรับรองของท่านอธิการบดีโรงเรียนนี้นำฝากเพื่อเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง แผนกกองเดินรถ (Traffic Department) และต่อมาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๓) รวมเวลารับราชการในการนี้ได้ ๑๔ ปี กับ ๘ เดือน
            ต่อจากนั้นเป็นสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายข้าพเจ้าจากกรมรถไฟหลวงมารับราชการในกรม มโหรศพ ในวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗) ประจำตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดกรม กองเครื่องสายฝรั่งหลวง มีหน้าที่ฝึกฝนอบรมนักดนตรี ทางการปฏิบัติเครื่องดนตรีสำหรับวงดนตรีฝรั่งหลวงแห่งพระราชสำนัก ต่อจากนั้นมาอีกประมาณ ๑ เดือนเศษ ข้าพเจ้าก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น
หลวงเจนดุริยางค์ ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗)
            วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๐) ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นปลัดกรม กองดนตรีฝรั่งหลวงและในวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๒) ก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระเจนดุริยางค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น