เด็กเก่งดนตรีสร้างได้ อัจฉริยะทางดนตรีต้องได้รับการสนับสนุนที่ถูกทาง...
เมื่อวันเสาร์ที่แล้วอาจารย์กฤษกร อ่อนละมุน(อาจารย์โจ้ ) มีผู้ปกครองนักเรียนมาส่งเสียงแอะอะปะเทิ้ง ว่าลูกชายเรียนที่โรงเรียนดนตรีกับโรงเรียนมาแล้ว 4 ครั้งแล้วยังไม่เก่งสะที ถ้าเรียนอีกครั้งหนึ่งแล้ว ยังไม่เก่งอีก จะไม่ให้เรียนแล้ว โดยนักเรียนคนนั้นพึ่งเริ่มต้นเรียนเครื่องดนตรีชิ้นนี้ เป็นชิ้นแรก ครั้งแรกในชีวิต ยังไม่มีเครื่องดนตรีฝึกซ้อมที่บ้าน พ่อแม่บอกว่าให้เล่นเก่งก่อนแล้วถึงจะซื้อให้
จริงๆก็เป็นโอกาสที่ดีมากแล้วที่เด็กคนนั้น ได้เล่นดนตรีครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ถ้าคุณ พ่อคุณแม่เข้าใจและให้เวลาเด็กคนนั้นอาจจะไม่เก่ง ( ถึงขั้นไหน ระดับไหน ) แต่คงได้ประโยชน์จากการเรียนดนตรีในด้านอื่นๆอีกแน่นอน นอกจากความเก่ง มีเรื่องเล่ามีนักเรียนของผมท่านหนึ่ง เคยได้รับประสบการณ์จากครอบครัวโดยการซ้อมดนตรีที่บ้านแล้วถูกทางบ้านบ่น หรือแซว หรือต่อว่าๆเสียงโหนกขู โหนกหู เสียงน่ารำคาญไม่เห็นเพราะเลยทำนองนั้น นักเรียนท่านนี้ของผมตอนนี้เรียนปริญญาตรีทางดนตรีแล้ว ประสบความสำเร็จทางดนตรีอย่างสูง เพราะว่าในที่ที่สุดแล้วเวลา ความสนับสนุนที่เข้าใจจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เด็กๆได้เองครับ
ดนตรี เป็นเรื่องของทักษะ ทักษะเป็นเรื่องของการฝึก " Practice makes perfect " แปลได้ว่า " อัจฉริยะได้มาจากการฝึก " มรว.ถนัดศรี สวัสิดวัฒน์ ท่านเคยพูดไว้ว่า " ไม่เก่ง แต่ชำนาญ ไม่เชี่ยวชาญแต่เคยมือ "
การสร้างความพร้อมให้กับลูกที่จะเรียนดนตรี ลูกจะต้องมีเครื่องดนตรี มีครูสอนดนตรี มีหนังสือ และห้องฝึกซ้อม เมื่อลูกมีความพร้อมทางกายภาพแล้ว ก็ต้องสร้างความพร้อมภายใน ให้ลูกอยากเรียน อยากฝึกซ้อมดนตรี
เมื่อลูกยังอายุน้อย จะต้องสร้างบรรยากาศการฝึกซ้อมดนตรี อย่างสม่ำเสมอ สร้างลูกให้เห็นความสำคัญของการฝึกซ้อมดนตรี เมื่อซ้อมแล้ว ให้สังเกตว่า เกิดอะไรขึ้น ฝึกซ้อม 1 ชั่วโมงทุกวัน เกิดอะไรขึ้น ฝึกซ้อม 2 ชั่วโมงทุกวัน เกิดอะไรขึ้น ฝึกซ้อม 3 ชั่วโมงทุกวันเกิดอะไรขึ้น ถ้าฝึกซ้อม 5 ชั่วโมงทุกวันจะเกิดอะไรขึ้น
ความชำนาญที่เป็นผลจากการฝึกซ้อม จะเป็นคำตอบของการเรียนดนตรี การฝึกซ้อมมาดี เมื่อขึ้นเวที ก็จะได้รับการปรบมือ เมื่อเรียนกับครู ก็จะได้รับคำชม หรือบังเอิญมีใครมาได้ยิน ก็จะได้รับคำกล่าวขวัญถึง สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวกระตุ้นส่งเสริม ให้เด็กอยากเรียนดนตรี
การที่เด็กได้ชมการเล่นดนตรีของนักร้อง นักดนตรีที่เด็กชื่นชอบ ก็เป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนดนตรีที่ดีมากอีกอย่างหนึ่ง เพราะเป็นตัวอย่างที่เด็กปรารถนา เป็นความใฝ่ฝันที่เด็กอยากเป็น อยากเลียนแบบ เมื่อเด็กได้เห็นนักดนตรีเก่ง ๆ แสดงสด จะทำให้มีพลังที่อยากจะเรียน อยากจะเป็นนักดนตรีอย่างไม่น่าเชื่อ
รวมทั้งการที่เด็ก ได้ออกแสดงดนตรีในที่สาธารณะ ได้แต่งตัว ใส่ชุดแสดงที่แตกต่างไปจากคนอื่น ๆ ก็สร้างความภูมิใจให้เด็ก ตอกย้ำความอยากเรียนดนตรี ให้เพิ่มมากขึ้น เพราะเด็กทุกคน อยากเด่น อยากแตกต่าง อยากเท่ห์ อยากได้รับคำชื่นชม แต่คำชื่นชมต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นจริง
รวบรวมข่าวสารดนตรีศึกษา ดนตรีวิทยา ดนตรีชาติพันธ์ การศึกษาทางมานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เด็กเก่งดนตรีสร้างได้ อัจฉริยะได้มาจาการฝึก
”จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีความถนัดทางดนตรี”...มักจะเป็นคำถามที่ติด
ใจพ่อแม่อยู่เสมอๆ และมักจะถามเมื่อลูกโตเข้าสู่วัยนี้แล้ว...ทั้งนี้ก็เพราะว่า พ่อแม่จะ เลี้ยงลูกแบบตั้งรับ ด้วยหวังว่าความถนัดของลูกจะโผล่ออกมาเองจากตัวลูก โผล่มาจาก ไหนก็ไม่รู้ หากความสามารถหรือความถนัดของลูกไม่โผล่อะไรออกมาเลย ลูกก็ต้องโตขึ้น ไปตามยถากรรม ซึ่งเป็นความผิดและเป็นกรรมของลูกแท้ๆ ที่ไม่มีความถนัดอะไรแสดง ออกมาเลย พ่อแม่แบบโบราณ คิดแบบโบราณ เชื่อตามกันมาว่าลูกเล็กเด็กนั้นไร้เดียงสา คือไม่รู้อะไร รอไว้ให้โตใหญ่ขึ้นแล้วค่อยเรียนรู้ บุญกรรมจะเป็นตัวกำหนดให้ลูกมีชีวิต และเป็นไปกับพ่อแม่สมัยใหม่อยู่กับความเจริญ มีเงิน ใช้เงินเลี้ยงลูก ลูกมีพี่เลี้ยงคอยดูแล พี่เลี้ยงก็ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูกอย่างดี เอาใจเด็ก ให้เด็กมีความสุขตามที่เด็กต้องการ ความสำเร็จของการเลี้ยงดูก็คือ การปรนเปรอให้เด็กได้รับความพอใจ ... พ่อแม่ทั้งสองแบบนี้จะหาความถนัดของลูกไม่เจอเลย แต่พ่อแม่ที่รู้วิธีเลี้ยงลูก จะปลูกฝังสิ่งที่ดีให้เข้าไปในตัวลูก อะไรก็ตามที่พ่อแม่เลือกแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดี และอยากให้ลูกได้รู้ พ่อแม่จะต้องขวนขวายให้ลูกได้เรียนได้รู้ เมื่ออยากให้ลูกเล่นดนตรี ก็ให้ลูกได้ฟังดนตรี อยู่ในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของดนตรี ได้เล่นดนตรี เรียนดนตรีตั้งแต่เล็กๆ เมื่อลูกได้มีประสบการณ์แล้ว อาการลูกจะบอกได้ว่า ลูกมีความถนัดมีความชอบอะไร สิ่งแรกที่พ่อแม่จะต้องทำก็คือ ทำความเข้าใจว่า “ดนตรีจำเป็นสำหรับลูก” เพราะดนตรีเป็นเรื่องของเสียง เสียงมีพลัง พลังสร้างความเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวสร้างความเปลี่ยนแปลง และ ความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนาดนตรี จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมให้กับเด็ก เมื่อเข้าใจ เห็นความสำคัญและ ความจำเป็นที่จะให้ลูกเรียนดนตรีแล้ว ลำดับต่อมาจะต้องสร้างประสบการณ์ทางดนตรี ให้กับลูกทั้งโดยตรง คือ ให้ลูกได้เรียนดนตรีจริงๆ และโดยอ้อม คือการให้ลูกได้อยู่ในบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมทางดนตรี เด็กได้ยินเสียงดนตรีซ้ำๆ บ่อยๆ จะคุ้นเคยกับเสียงทำให้หูฟังเสียงได้ชัดขึ้น ละเอียดมากขึ้น เด็กมีหูที่ดี (perfect pitch) เป็นประโยชน์สำหรับอาชีพดนตรีของเด็กอย่างยิ่ง ตัวอย่าง ทำไมเด็กอีสานพูดภาษาอีสานถูกต้องสมบูรณ์ ทำไมเด็กสุพรรณพูดเหน่อตามภาษาสุพรรณบุรีได้ถูกต้อง ก็เพราะว่า เด็กได้ฟังภาษาพูดจากต้นฉบับมาแต่กำเนิด จึงพูดได้ตามที่ได้ยินมา ลำดับสุดท้าย พ่อแม่จะตอบได้เองว่า ลูกมีความถนัดทางดนตรีหรือไม่ โดยไม่ต้องไปถามใครอีกต่อไป จะส่งเสริมทักษะทางดนตรีให้ลูกได้อย่างไร ดนตรีเป็นเรื่องของทักษะ ทักษะเป็นเรื่องของการฝึก พูดเป็นภาษาฝรั่งได้ว่า “Practice makes perfect” แปลได้ว่า “อัจฉริยะได้มาจากการฝึก” |
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เด็กเก่งดนตรีสร้างได้ พา เค้า มา หา เรา
เด็กเก่งดนตรีสร้างได้
คงมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่เคยได้ยินคำว่า Suzuki Method หรือวิธีการสอนไวโอลิน สำหรับเด็ก ตามแนวทางของ ดร.ชินอิชิ ซูซูกิ กันมาบ้าง แต่คงมีหลายคนที่งง และสงสัยว่าเรียนไวโอลิน แล้วทำไมถึงได้บทเรียนชีวิตผมเลยถือโอกาสนี้เล่าเรื่องราวของชีวิต Suzuki Method ให้ฟังครับ
Suzuki Method ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดย ดร.ชินอิชิ ซูซูกิ ครูดนตรีชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โน่นแหละครับและกลายเป็นการสอนไวโอลินเด็กที่มีความนิยมไปทั่วโลก ไม่นานมานี้ บ้านเราก็มีการจัดเวิร์คช็อป เรื่องนี้ขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งโดยเชิญวิทยากรมาจากญี่ปุ่น
ดร.ซูซูกิ จบปริญญาเอกด้านดนตรีจากเยอรมนี ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีนานทีเดียวขนาดได้ภรรยาเป็นคนเยอรมัน แถมยังเป็นสหายฟังดนตรี สีไวโอลิน ของ อัลเบิร์ด ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่หายใจเข้าออกเป็นสูตรคณิตศาสตร์กับเสียงเพลงจากไวโอลินอีกเสียด้วย ดร.ซูซูกิ คิดค้น Suzuki Method ขึ้นมาจากการค้นพบธรรมชาติบางอย่างของเด็กโดยบังเอิญ วันหนึ่ง 70 ปีมาแล้ว มีคุณพ่อคนหนึ่งจูงลูกชายวัย 4 ขวบมาหา ดร.ซูซูกิ ที่บ้านแล้วบอกอยากให้ลูกชายเรียนไวโอลินช่วยสอนหน่อย คำร้องขอนี้ทำเอา ดร.ซูซูกิ ถึงกับมึน เพราะไม่รู้จะสอนเด็ก 4 ขวบ ให้เล่นไวโอลินได้อย่างไร
แต่เขาก็เกิดคำถามขึ้นมาแวบหนึ่งในสมอง....ทำไมเด็กทุกชาติทุกภาษา จึงสามารถพูดภาษาแม่ ภาษาถิ่นของตนเองได้ โดยที่ไม่ต้องมีโรงเรียนสอนเลย เด็กญี่ปุ่นทุกคนพูดภาษาญี่ปุ่นได้ เด็กโอซากาพูดภาษาญี่ปุ่นสำเนียงโอซากา เด็กโตเกียวพูดภาษาญี่ปุ่นสำเนียงโตเกียว แล้วทำไมเด็กโตเกียวจึงไม่พูดญี่ปุ่นสำเนียงโอซากา คำตอบที่เขาตอบตัวเองก็คือเด็กเหล่านี้เกิดและเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่เป็นเช่นนั้น เด็กทุกคนเกิดและเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่พุดภาษาญี่ปุ่น เด็กโอซาก้าเติบโตท่ามกลางสำเนียงพูดแบบโอซาก้า ในขณะที่เด็กโตเกียวก็เติบโตท่ามกลางสำเนียงแบบโตเกียว และสิ่งแวดล้องนี่แหละคือปัจจัยสำคัญที่หล่อหลอมให้เด็กเป็นอย่างนี้ นี่คือคำตอบที่ ดร.ซูซูกิได้รับ
แล้วโยงมาที่การเรียนไวโอลิน และการเรียนรู้ชีวิตได้อย่างไร ?
ดร.ซูซูกิ ให้คำอธิบายไว้ว่า ก็ในเมื่อเด็กญี่ปุ่นไม่ว่าจะฉลาดมากหรือน้อยก็ตาม ต่างก็เรียนรู้และพูดภาษาญี่ปุ่นได้ เพราะเติบโตในสิ่งแวดล้อมภาษาญี่ปุ่น แล้วทำไมเราจะสอนให้เด็กมีความรุ้ความสามารถในเรื่องอื่นไม่ได้ หากเราสามารถที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถนั้นของเด็ก หากเรามีวิธีการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก หากเราสอนเด็กในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ดร.ซูซูกิ ลงมือทำตามความคิดของตัวเองทันที เด็กคนนี้อยากเรียนไวโอลิน ก็ให้เด็กได้เรียน ได้เล่น ให้เด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเสียงเพลง เสียงไวโอลิน สิ่งแวดล้อมที่จะหล่อหลอมเขาให้เป็นนักไวโอลินที่ดี และในที่สุดเด็กคนนี้กลายเป็นนักไวโอลินที่มีชื้อเสียงระดับโลก น่าเสียดายครับที่เขาเพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้วนี่เอง ด้วยวัย 80 ปี เด็กน้อยคนที่กล่าวถึงนี้ก็คือ โตชิยะ อีโตะ (To shiya Eto) นักไวโอลินชื่อดังที่คอดนตรีคลาสสิกทั่วโลกติดตามผลงานของเขาอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ผมนำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง ก็เพราะอยากบอกว่าการพัฒนาความสามารถของมนุษย์นั้นต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ต้องอาศัยการฝึกฝน อาศัยการเรียนรู้ อาศัยครูที่รู้จักวิธีการที่เหมาะในการสอน มันถึงจะสามารถเกิดขึ้นได้ วิธีการของ ดร.ซูซูกิ ได้พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล และลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกก็มีอยู่มากมาย ประสบการณ์ของเขาเราสามารถนำมาเป็นบทเรียนเพื่อปรับใช้ในการอบรมเลี้ยงดูลูกของเราได้ครับ เรามาดูหลักคิดที่เป็นเสมือนปรัชญาของ Suzuki Method กันหน่อยครับ ดร.ซูซูกิ ไม่เชื่อเรื่อง “พรสวรรค์” ครับ แต่เชื่อเรื่อง “พรแสวง” นั่นก็คือเด็กทุกคนสามารถพัฒนาศักยภาพได้ หากมีโอกาส สิ่งแวดล้อมคือหัวใจสำคัญ อยากให้เด็กเป็นอย่างไร ผู้ใหญ่จะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมนั้นขึ้นมา อยากให้เด็กมีมารยาทดีผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นแบบอย่าง อยากให้เด็กเก่งดนตรีก็ต้องสร้างบรรยากาศของดนตรีให้เด็กได้สัมผัส แต่ ดร.ซูซูกิ เขามองไว้มากกว่าดนตรีเขามองว่าเด็กจะต้องเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติในอนาคตด้วย ดั้งนั้น สถาบันดนตรีของเขาจึงเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของการเป็นคนดีของสังคมให้เด็กด้วย จะว่าไป ดร.ซูซูกิ ใช้หลักการของทฤษฏีเซลล์กระจกเงามานานกว่าครึ่งศตวรรษ ก่อนจะมีการค้นพบเซลล์กระจกเงาในสมองมนุษย์แล้วครับ เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน การสอนจะต้องเน้นที่สภาพของเด็ก ไม่ใช่ที่ความต้องการของครู ช่วงแรกๆ ของการเรียนรู้เด็กอาจจะช้าแต่พอถึงจุดหนึ่งเด็กจะไปไว และจุดที่ว่านี้ในเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ครูผู้สอนมีหน้าที่ที่จะต้องหาจุดนี้ในเด็กแต่ละคนให้เจอ ถ้าเด็กสนุก การเรียนรู้จะไปได้เร็ว การได้ฝึกฝน การได้ลงมือทำ จะช่วยให้การเรียนรู้มีความคงทนมากขึ้น ความรัก ความเมตตาของครู คือสิ่งที่จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
หากเราลองเอาแนวคิดของ ดร.ซูซูกิ มาเปรียบเทียบกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่กำลังเป็นที่เล่าขานกันอยู่ในบ้านเราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น Child-Centered หรือ Brain-Based Leaning ผมว่ามันแทบจะไม่ต่างกันเลยและ Suzuki Method มันก็พิสูจน์ตนเองมากว่าครึ่งศตวรรษแล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่จะลองเอาแนวคิดนี้ไปพิจารณาเพื่อปรับใช้หรือเก็บไว้เป็นความรู้ก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายครับ
วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การฝึกเครื่องสายสำหรับผู้เริ่มต้น
การฝึกเครื่องสายสำหรับผู้เริ่มต้น
โดย อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด
คำถามยอดฮิตก่อนเรียน ลูกเรียนดนตรีแล้วเมื่อไหร่จะเล่นเป็นเพลง ลูกเรียนดนตรีแล้วเมื่อไหร่จะเก่ง ต้องซื้อเครื่องดนตรีก่อนเรียนหรือเรียนแล้วเป็นแล้วค่อยซื้อ ครูที่นี่สอนเก่งมั๊ย จบจากไหน สอนมานานหรือยังเลือกครูผู้สอนแต่ไม่เลือกที่จะชม จะดูตอนคูณลูกซ้อมดนตรีคือวิชาดนตรีเด็กๆที่จะเก่งดนตรีหรือไม่นั้น ไม่ได้มาจากเพียงครูผู้สอนเท่านั้น แต่ต้องอาศัยจากคนทางบ้านคุณพ่อ คุณแม่ วัฒนธรรมดนตรีในครอบครัว การฟังดนตรีในบ้าน คุณพ่อคุณแม่เคยฟังคุณลูกซ้อมดนตรีที่บ้านหรือไม่ เคยชื่มชมเวลาลูกซ้อมมั๊ย ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการเรียนของเด็กๆ การชมเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก พ่อแม่ที่เคยเรียนดนตรีจะรู้ดีว่าตอนเริ่มเรียนใหม่ๆ การที่จะควบคุมให้เสียงดนตรีออกมาให้ได้อรรถรสนั้นแล้วมันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และพัฒนาการที่สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
การเรียนดนตรี
การเรียนดนตรีในโรงเรียน ในหลักสูตรพื้นฐานเป็นการเรียนดนตรีที่ล้มเหลวเพราะเริ่มต้นจากการเรียนภาคความรู้ ภาคทฤษฏีตามมาตรฐานการเรียนรู้ ทำให้เด็กๆไม่มีโอกาสที่จะได้เล่นเครื่องดนตรีจริงๆในชั่วโมงเรียนวิชาดนตรีในโรงเรียน ก็เหมือนกับความล้มเหลวของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของเด็กไทยเพราะในหลักสูตรเน้นการเรียนไวยกรณ์ ก่อนการเรียนที่จะพูดจริงๆในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นการเรียนภาคทฤษฎีดนตรีในหลักสูตร ในโรงเรียนมากเกินไป ทำให้เด็กๆต้องไปหาความเก่งทางดนตรี การเรียนภาคปฎิบัติเครื่องดนตรีตามโรงเรียนนอกหลักสูตรสถานศึกษาหรือที่คุ้นชินกับการที่เรียกว่าโรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนพิเศษ ถ้าลูกๆคุณๆอยากเก่งดนตรีก็ต้องเรียนดนตรีนอกสถานศึกษาพื้นฐาน
โรงเรียนนอกสถานศึกษาได้แก่ โรงเรียนสอนพิเศษดนตรีสยามกลการ โรงเรียนดนตรีKPN โรงเรียนดนตรีมีฟ้า จินตการดนตรี ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีที่มีความหลากหลายของหลักสูตรและความถนัดในการสอน โดยอาศัยการโฆษณาโรงเรียนจากโรงเรียนแม่ แล้วขยายกิจการแยกย่อยอีกมากมาย
โรงเรียนดนตรีเฉพาะทาง ( Conservatory) เป็นโรงเรียนที่สถาบันการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆมาเปิดเป็นโครงการสอน เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศิลปรากร เปิดเป็นโครงการพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสได้เรียนดนตรีอีกทางหนึ่งเช่นศูนย์ความเป็นเลิศทางดนตรี (MEC.)เพื่อการพัฒนาหลักสูตร Mix Metod Violin นักเรียนก็จะได้มีโอกาสที่จะเรียนกับอาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์ อาจารย์ดร.แมสเธียส โบกเนอร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีก่อนที่นักเรียนระดับมัธยมจะตัดสินใจในการเลือกเรียนวิชาชีพในระดับที่สูงกว่า
วัฒนธรรมดนตรีในครอบครัว
การชื่นชมหลังการเรียน การฝึกซ้อมเพื่อสร้างกำลังใจ วัฒนธรรมการฟังเพลง คุณพ่อคุณแม่ฟังเพลงอะไร ถ้าจะสร้างบรรยากาศและความเข้าใจต้องเริ่มสร้างและเพิ่มการฟังเพลงคลาสสิกและเพลงในบทเรียนเข้าไปอีกหนึ่งอย่างในครอบครัว วัฒนธรรมการดูการชมดนตรีคลาสสิกหรือบทเพลงที่เรียน สื่ออินเตอร์เนต ชมคอนเสริต์จริงๆอย่างน้อยปีละครั้ง การสร้างเป้าหมายในการเรียน ระหว่างผู้เรียน ผู้ปกครอง กิจกรรมสร้างสรรค์ทางดนตรี การเล่นร่วมกับเพื่อน การเล่นรวมเป็นวงดนตรี การแสดงดนตรี การสร้างแรงบันดาลใจ ดนตรีสร้างระเบียบวินัย
ค่านิยมการเรียนดนตรีครอบครัวแบบเก่า
- เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- เพื่อเป็นหน้าเป็นตาของครอบครัวชั้นดี
- เพื่อชดเชยสิ่งที่พ่อแม่ไม่มีโอกาสในตอนวัยเยาว์
ค่านิยมการเรียนดนตรีครอบครัวแบบใหม่
- พ่อ แม่ เคยเรียนดนตรีมาแล้ว
- เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กให้เติมเต็มชีวิตสมบูรณ์
- เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดนตรีอย่างจริงจัง
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ปิติ วาทยะกร ครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย 2
ปิติ วาทยะกร ครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย 2 ผู้วางรากฐานดนตรีสากล
เมื่ออายุ 7 ขวบ ท่านเริ่มรับการศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ในชั้นต้นได้เข้าเรียนในแผนกภาษาฝรั่งเศส จนจบหลักสูตร แล้วจึงได้เข้าเรียนต่อในแผนกวิชาภาษาอังกฤษ รวมเวลาที่อยู่ในโรงเรียนนี้ 11 ปี ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาวิชาดนตรีจากบิดาพร้อมกับพี่ชายอีก 2 คน ซึ่งปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว เมื่อพระเจนดุริยางค์อายุได้ 10 ขวบ ท่านได้ฝึกหัดเชลโล เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวต่อไป จากการฝึกหัดอย่างจริงจัง ทำให้ท่านมีความสามารถในการเล่นดนตรีอย่างยอดเยี่ยม และก่อให้เกิดความรักอันซาบซึ้งในดนตรีแบบ คลาสสิก ขึ้นอย่างมาก พออายุ 17 ปี จึงได้หัดเรียนเปียโนโนอีกอย่างหนึ่ง พร้อมกันนี้ท่านก็ได้เริ่มแสวงหาความรู้ทาง "ดุริยางค์ศาสตร์" อย่างกว้างขวาง รวมทั้งเริ่มหัดเครื่องดนตรีชนิดอื่นอีกหลายอย่างเช่น คลาริเนท ฟรุต และทรอมโบน ในปี พ.ศ. 2444 ท่านได้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จนถึง พ.ศ. 2445 เป็นครูอยู่ 2 ปีก็ลาออกจากนั้นก็สมัครเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวงแผนกเดินรถ ถึง พ.ศ. 2456 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น "ขุนเจนรถรัฐ" ท่านรับราชการอย่างสามารถอยู่ที่กรมรถไฟหลวงเป็นเวลา 14 ปี ด้วยความอัจฉริยะทางดนตรีอันเป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง จากนั้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2460 รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปรับราชการในกรมมหรสพ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่ง มีหน้าที่ฝึกฝนอบรมนักดนตรีทางการปฏิบัติเครื่องดนตรี สำหรับวงดนตรีฝรั่งหลวงแห่งราชสำนัก แล้วได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "หลวงเจนดุริยางค์" เมื่อได้รับการทาบทามให้ไปอยู่กรมมหรสพนั้นท่านลังเลใจอยู่ เนื่องจากรำลึกถึงคำกำชับของบิดาว่ามิให้ยึดถือและอาศัยวิชาดนตรีที่ท่านได้ให้ไว้นั้นเป็นอาชีพอย่างเด็ดขาด เพราะ
"คนไทยเราไม่ใคร่สนใจในการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่น ๆ สนุก ๆ ไปชั่วคราว แล้วก็ทอดทิ้ง" แต่เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการจึงต้องไป ท่านได้ทุ่มเทเวลาความสามารถทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ฝึกฝนนักดนตรีรุ่นใหม่ได้บังคับบัญชาอย่างกวดขัน ชั่วเวลาเพียง 2 - 3 ปีเท่านั้น วงดุริยางค์สากลวงแรกของไทยก็สามารถออกบรรเลงโชว์ฝีมือในงานพระราชพิธีต่าง ๆ จนได้รับคำชมเชยจากผู้ฟังทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากมาย ถึงกับกล่าวกันว่า เป็นวงเก่งที่สุดในภาคตะวันออก จากความสามารถดังกล่าวนี้เองท่านก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระเจนดุริยางค์" ตำแหน่งปลัดกรมกองดนตรีฝรั่งหลวง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 24 ทำให้กิจการดนตรีสากลของไทยมีมาขึ้นทัดเทียมกับต่างประเทศ และจากความสามารถในการจัดสร้างวงดุริยางค์สากลได้สำเร็จเป็นอย่างดีขั้นต้น ในปี 2470 ท่านจึงได้ถูกขอร้องให้ไปช่วยเหลือปรับปรุงวงดนตรีของกองทัพเรือ ฃึ่งมีวงโยธวาทิต (แตรวง) และวงดุริยางค์
ปี พ.ศ. 2473 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตสภา ได้ทรงเริ่มจัดการให้พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนากระทรวงวัง เจ้าสังกัดวงปี่พาทย์และโขนหลวง สั่งให้ครูดุริยางค์ดนตรีและผู้ชำนาญการจดโน้ตเพลงมาร่วมกันบรรเลง และบันทึกเป็นตัวโน้ตไว้ทั้งนี้กระทำกัน ณ วังวรดิศ สัปดาห์ละ 2 วัน จนถึง พ.ศ. 2475 ก็หยุดชงักไปชั่วคราว พระเจนดุริยางค์ก็มีส่วนร่วมในการบันทึกโน้ตคือ มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการบันทึกโน้ต ซึ่งเป็นผลงานที่ท่านภาคภูมิในยิ่งอีกชิ้นหนึ่ง มาเมื่อปลายปี 2474 พระเจนฯได้พบปะกับเพื่อนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งสนิทสนมกันมาก่อนคือ นาวาตรี หลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ซึ่งเป็นผู้ขอร้องให้พระเจนฯ แต่งเพลงให้บทหนึ่งให้มีทำนองเป็นเพลงที่มีความคล้ายคลึงกับเพลงชาติฝรั่งเศส ท่านก็ตอบว่าไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะเพลงชาติที่มีชื่อ สรรเสริญพระบารมีของเราก็มีอยู่แล้ว นายทหารเรือผู้นั้นก็ตอบว่า อยากจะให้ไทยเรามีเพลงปลุกใจเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนเพลงของประชาชนนั้นไม่มี พระเจนก็ได้ตอบปฎิเสธไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรากฎว่าเพื่อนคนนั้นได้ร่วมในคณะผู้ก่อการด้วย และขอร้องให้ท่านแต่งทำนองเพลงเพลงชาติให้ได้โดยบอกว่าเป็นความประสงค์ของผู้ก่อการท่านจึงยากที่จะปฏิเสธ และท่านได้ขอให้เวลาสำหรับแต่งเพลงสำคัญนี้ 7 วัน แต่พอจะครบกำหนดท่านก็ยังไม่สามารถแต่งได้จนกระทั่งถึงวันสุดท้าย ขณะที่ท่านกำลังนั่งรถรางสายบางขุนพรหมจะไปทำงานตามปกติ ท่านจึงเกิดนึกทำนองเพลงชาติขึ้นมาได้พอไปถึงที่ทำงานจึงลองเล่นเปียโนดูพร้อมกับจดโน้ตไว้ ปรากฏว่าสามารถใช้ได้ทันการพอดี ดังนั้นท่านจึงได้แต่งทำนองเพลงชาติขึ้นเป็นทำนองเพลงมารช์ใช้ได้คึกคักเร่งเร้าใจ ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่อย่างทุกวันนี้ สำหรับเนื้อร้องของเพลงชาตินั้นเดิมเป็นของขุนวิจิตร มาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) และนายฉันท์ ขำวิไล ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นของ พ.อ. หลวงสารานุประพันธ์ ทั้งร้องอยู่ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2477 กิจการของวงดนตรีสากลได้ย้ายไปสังกัดในกรมศิลปากร งบประมาณถูกตัดโดยทางราชการมีข้อเสนอให้เลือก 2 ประการคือ ให้ปลดนักดนตรีออกครึ่งหนึ่ง และให้ลดเงินเดือนของแต่ละคนออกครึ่งหนึ่ง ซึ่งพระเจนฯ ไม่สามารถจะเลือกปฏิบัติแต่อย่างใดได้เลย พอปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ส่งท่านไปดูงานดนตรีในต่างประเทศ เมื่อท่านกลับมาแล้วในพ.ศ. 2483 ได้ไปประจำอยู่กองทัพอากาศ
เพื่อจัดตั้งวงดนตรีของกองทัพอากาศขึ้น เพื่อบรรเลงเพลงประกอบภาพพจน์ด้วย พอถึง พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรก็เรียกตัวท่านคืน กิจการดนตรีสากลของกรมศิลปากรเมื่อถูกตัดงบประมาณลงไปแล้ว ทำให้ทรุดโทรมเรื่อยมา นักดนตรีบางพวกก็แยกย้ายกระจัดกระจายกันไปอยู่ที่อื่น เช่นไปอยู่กับคณะละครของกรมศิลปากรไปอยู่กับวงดนตรีแจ๊สของกรมโฆษณากร (กรมประชาสัมพันธ์) ตัวคุณพระเองก็ถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้ากองดุริยางค์ศิลปากรไปรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดนตรีสากล แต่พอโรงเรียนฝึกหัดครูดนตรีสากลล้มเลิกไป ท่านก็ได้ตำแหน่งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาการดนตรีประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้น พ.ศ. 2490 ทางราชการได้มีคำสั่งให้พระเจนฯ ย้ายไปประจำกองการสังคีต กรมศิลปากร เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงวงดุริยางค์สากลให้ได้มาตรฐานดีเช่นเดิม แต่ท่านก็ได้พบอุปสรรค์มากมาย จึงเสนอขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาดนตรีขึ้น เพื่อผลิตนักดนตรีใหม่แต่ไม่เป็นผลท่านจึงได้ลาออกจากกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2497 รวมเวลาที่ท่านได้รับราชการในกรมมหสพและกรมศิลปากรเป็นเวลา 37 ปี เต็ม หลังจากออกจากราชการแล้ว ท่านก็ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญแผนกดุริยางค์สากลของกรมศิลปากรอยู่อีกต่อไป ในบั้นปลายของชีวิตท่านถูกขอยืมตัวจากกรมศิลปากร ไปอยู๋ในกรมตำรวจ ท่านจัดตั้งวงดุริยางค์ตำรวจให้กับโรงเรียนพลตำรวจในภาคต่าง ๆ รวมทั้งโรงเรียนพลตำรวจนครบาล พร้อมกันนี้ท่านก็ได้รวบรวมตำราแบบเรียน แบบฝึกหัด สำหรับอบรมนักดนตรีในโยธวาทิตเพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึกนักดนตรีอีกด้วย ด้วยผลงานที่ท่านปฏิบัติมาก เป็นเหตุให้กรมตำรวจขอโอนท่านจากกรมศิลปากรมารับราชการในกรมตำรวจในตำแหน่งผู้อำนวยการฝึกสอนดนตรีและผู้เชี่ยวชาญวิชาดนตรี ประจำกองดุริยางค์ตำรวจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2511
พระเจนดุริยางค์ได้แต่งบทเพลงอันไพเราะไว้มากพร้อมทั้งแยกเสียงประสาน เพื่อใช้เล่นกับวงดุริยางค์สากลได้อีกด้วย บทเพลงเหล่านี้ได้แก่ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเรา เรื่องพระเจ้าช้างเผือก และบทเพลงในมหาอุปรากรเรื่อง "มหาดารณี" เป็นต้นนอกจากนี้ท่านยังได้นำเพลงไทยเดิมแยกประสานเสียง สำหรับบรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากลหลายเพลงเช่น เพลงเขมรไทรโยค แขกเชิญเจ้า ต้นบรเทศ สุธากันแสง มหาฤกษ์ มหาชัย เป็นต้น ท่านได้แต่งตำราวิชาการดนตรีสากลไว้หลายเล่ม ซึ่งล้วนมีคุณค่าสำหรับประเทศไทย เช่น การดนตรี หลักวิชาการดนตรี และการขับร้อง แบบเรียนวิชาการประสานเสียงเล่ม 1 และ เล่ม 2 แบบเรียนดุริยางค์สากล ท่านได้อบรมลูกศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องดนตรีสากลเป็นจำนวนมากมายหลายคนกำลังเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงหรือหัวหน้าวงที่มีชื่อเช่น เอื้อ สุนทรสนาน ,สง่า อารัมภีร์, ชลหมู่ ชลานุเคราะห์, สุรพล แสงเอก และเรืออากาศโท ประกิจ วาทะยากร (บุตรของท่านเอง) มรณกรรมของคุณพระเจนดุริยางค์ ปรมาจารย์ทางดนตรีสากล เจ้าของทำนองเพลงชาติไทย อันเร้าใจและอมตะ และเป็นผู้วางรากฐานทางดนตรีสากลในเมืองไทยให้เป็นหลัก นับเป็นการสูญเสียงครั้งยิ่งใหญ่ในการดนตรีไทย แม้ว่าตัวของท่านจะจากไป แต่ผลงานอันเป็นอมระของท่านก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของพวกเราชาวไทยตลอดไป
"คนไทยเราไม่ใคร่สนใจในการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่น ๆ สนุก ๆ ไปชั่วคราว แล้วก็ทอดทิ้ง" แต่เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการจึงต้องไป ท่านได้ทุ่มเทเวลาความสามารถทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ฝึกฝนนักดนตรีรุ่นใหม่ได้บังคับบัญชาอย่างกวดขัน ชั่วเวลาเพียง 2 - 3 ปีเท่านั้น วงดุริยางค์สากลวงแรกของไทยก็สามารถออกบรรเลงโชว์ฝีมือในงานพระราชพิธีต่าง ๆ จนได้รับคำชมเชยจากผู้ฟังทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากมาย ถึงกับกล่าวกันว่า เป็นวงเก่งที่สุดในภาคตะวันออก จากความสามารถดังกล่าวนี้เองท่านก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระเจนดุริยางค์" ตำแหน่งปลัดกรมกองดนตรีฝรั่งหลวง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 24 ทำให้กิจการดนตรีสากลของไทยมีมาขึ้นทัดเทียมกับต่างประเทศ และจากความสามารถในการจัดสร้างวงดุริยางค์สากลได้สำเร็จเป็นอย่างดีขั้นต้น ในปี 2470 ท่านจึงได้ถูกขอร้องให้ไปช่วยเหลือปรับปรุงวงดนตรีของกองทัพเรือ ฃึ่งมีวงโยธวาทิต (แตรวง) และวงดุริยางค์
ปี พ.ศ. 2473 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตสภา ได้ทรงเริ่มจัดการให้พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนากระทรวงวัง เจ้าสังกัดวงปี่พาทย์และโขนหลวง สั่งให้ครูดุริยางค์ดนตรีและผู้ชำนาญการจดโน้ตเพลงมาร่วมกันบรรเลง และบันทึกเป็นตัวโน้ตไว้ทั้งนี้กระทำกัน ณ วังวรดิศ สัปดาห์ละ 2 วัน จนถึง พ.ศ. 2475 ก็หยุดชงักไปชั่วคราว พระเจนดุริยางค์ก็มีส่วนร่วมในการบันทึกโน้ตคือ มีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการบันทึกโน้ต ซึ่งเป็นผลงานที่ท่านภาคภูมิในยิ่งอีกชิ้นหนึ่ง มาเมื่อปลายปี 2474 พระเจนฯได้พบปะกับเพื่อนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งสนิทสนมกันมาก่อนคือ นาวาตรี หลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ซึ่งเป็นผู้ขอร้องให้พระเจนฯ แต่งเพลงให้บทหนึ่งให้มีทำนองเป็นเพลงที่มีความคล้ายคลึงกับเพลงชาติฝรั่งเศส ท่านก็ตอบว่าไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะเพลงชาติที่มีชื่อ สรรเสริญพระบารมีของเราก็มีอยู่แล้ว นายทหารเรือผู้นั้นก็ตอบว่า อยากจะให้ไทยเรามีเพลงปลุกใจเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนเพลงของประชาชนนั้นไม่มี พระเจนก็ได้ตอบปฎิเสธไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรากฎว่าเพื่อนคนนั้นได้ร่วมในคณะผู้ก่อการด้วย และขอร้องให้ท่านแต่งทำนองเพลงเพลงชาติให้ได้โดยบอกว่าเป็นความประสงค์ของผู้ก่อการท่านจึงยากที่จะปฏิเสธ และท่านได้ขอให้เวลาสำหรับแต่งเพลงสำคัญนี้ 7 วัน แต่พอจะครบกำหนดท่านก็ยังไม่สามารถแต่งได้จนกระทั่งถึงวันสุดท้าย ขณะที่ท่านกำลังนั่งรถรางสายบางขุนพรหมจะไปทำงานตามปกติ ท่านจึงเกิดนึกทำนองเพลงชาติขึ้นมาได้พอไปถึงที่ทำงานจึงลองเล่นเปียโนดูพร้อมกับจดโน้ตไว้ ปรากฏว่าสามารถใช้ได้ทันการพอดี ดังนั้นท่านจึงได้แต่งทำนองเพลงชาติขึ้นเป็นทำนองเพลงมารช์ใช้ได้คึกคักเร่งเร้าใจ ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่อย่างทุกวันนี้ สำหรับเนื้อร้องของเพลงชาตินั้นเดิมเป็นของขุนวิจิตร มาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) และนายฉันท์ ขำวิไล ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นของ พ.อ. หลวงสารานุประพันธ์ ทั้งร้องอยู่ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2477 กิจการของวงดนตรีสากลได้ย้ายไปสังกัดในกรมศิลปากร งบประมาณถูกตัดโดยทางราชการมีข้อเสนอให้เลือก 2 ประการคือ ให้ปลดนักดนตรีออกครึ่งหนึ่ง และให้ลดเงินเดือนของแต่ละคนออกครึ่งหนึ่ง ซึ่งพระเจนฯ ไม่สามารถจะเลือกปฏิบัติแต่อย่างใดได้เลย พอปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ส่งท่านไปดูงานดนตรีในต่างประเทศ เมื่อท่านกลับมาแล้วในพ.ศ. 2483 ได้ไปประจำอยู่กองทัพอากาศ
เพื่อจัดตั้งวงดนตรีของกองทัพอากาศขึ้น เพื่อบรรเลงเพลงประกอบภาพพจน์ด้วย พอถึง พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรก็เรียกตัวท่านคืน กิจการดนตรีสากลของกรมศิลปากรเมื่อถูกตัดงบประมาณลงไปแล้ว ทำให้ทรุดโทรมเรื่อยมา นักดนตรีบางพวกก็แยกย้ายกระจัดกระจายกันไปอยู่ที่อื่น เช่นไปอยู่กับคณะละครของกรมศิลปากรไปอยู่กับวงดนตรีแจ๊สของกรมโฆษณากร (กรมประชาสัมพันธ์) ตัวคุณพระเองก็ถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้ากองดุริยางค์ศิลปากรไปรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดดนตรีสากล แต่พอโรงเรียนฝึกหัดครูดนตรีสากลล้มเลิกไป ท่านก็ได้ตำแหน่งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาการดนตรีประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้น พ.ศ. 2490 ทางราชการได้มีคำสั่งให้พระเจนฯ ย้ายไปประจำกองการสังคีต กรมศิลปากร เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงวงดุริยางค์สากลให้ได้มาตรฐานดีเช่นเดิม แต่ท่านก็ได้พบอุปสรรค์มากมาย จึงเสนอขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาดนตรีขึ้น เพื่อผลิตนักดนตรีใหม่แต่ไม่เป็นผลท่านจึงได้ลาออกจากกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2497 รวมเวลาที่ท่านได้รับราชการในกรมมหสพและกรมศิลปากรเป็นเวลา 37 ปี เต็ม หลังจากออกจากราชการแล้ว ท่านก็ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญแผนกดุริยางค์สากลของกรมศิลปากรอยู่อีกต่อไป ในบั้นปลายของชีวิตท่านถูกขอยืมตัวจากกรมศิลปากร ไปอยู๋ในกรมตำรวจ ท่านจัดตั้งวงดุริยางค์ตำรวจให้กับโรงเรียนพลตำรวจในภาคต่าง ๆ รวมทั้งโรงเรียนพลตำรวจนครบาล พร้อมกันนี้ท่านก็ได้รวบรวมตำราแบบเรียน แบบฝึกหัด สำหรับอบรมนักดนตรีในโยธวาทิตเพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึกนักดนตรีอีกด้วย ด้วยผลงานที่ท่านปฏิบัติมาก เป็นเหตุให้กรมตำรวจขอโอนท่านจากกรมศิลปากรมารับราชการในกรมตำรวจในตำแหน่งผู้อำนวยการฝึกสอนดนตรีและผู้เชี่ยวชาญวิชาดนตรี ประจำกองดุริยางค์ตำรวจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2511
พระเจนดุริยางค์ได้แต่งบทเพลงอันไพเราะไว้มากพร้อมทั้งแยกเสียงประสาน เพื่อใช้เล่นกับวงดุริยางค์สากลได้อีกด้วย บทเพลงเหล่านี้ได้แก่ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเรา เรื่องพระเจ้าช้างเผือก และบทเพลงในมหาอุปรากรเรื่อง "มหาดารณี" เป็นต้นนอกจากนี้ท่านยังได้นำเพลงไทยเดิมแยกประสานเสียง สำหรับบรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากลหลายเพลงเช่น เพลงเขมรไทรโยค แขกเชิญเจ้า ต้นบรเทศ สุธากันแสง มหาฤกษ์ มหาชัย เป็นต้น ท่านได้แต่งตำราวิชาการดนตรีสากลไว้หลายเล่ม ซึ่งล้วนมีคุณค่าสำหรับประเทศไทย เช่น การดนตรี หลักวิชาการดนตรี และการขับร้อง แบบเรียนวิชาการประสานเสียงเล่ม 1 และ เล่ม 2 แบบเรียนดุริยางค์สากล ท่านได้อบรมลูกศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องดนตรีสากลเป็นจำนวนมากมายหลายคนกำลังเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงหรือหัวหน้าวงที่มีชื่อเช่น เอื้อ สุนทรสนาน ,สง่า อารัมภีร์, ชลหมู่ ชลานุเคราะห์, สุรพล แสงเอก และเรืออากาศโท ประกิจ วาทะยากร (บุตรของท่านเอง) มรณกรรมของคุณพระเจนดุริยางค์ ปรมาจารย์ทางดนตรีสากล เจ้าของทำนองเพลงชาติไทย อันเร้าใจและอมตะ และเป็นผู้วางรากฐานทางดนตรีสากลในเมืองไทยให้เป็นหลัก นับเป็นการสูญเสียงครั้งยิ่งใหญ่ในการดนตรีไทย แม้ว่าตัวของท่านจะจากไป แต่ผลงานอันเป็นอมระของท่านก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของพวกเราชาวไทยตลอดไป
ครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย
ครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย
พระเจนดุริยางค์ ( ปิติ วาทยะกร )
ถ้าจะกล่าวประวัติดนตรีสากลของเมืองไทย บุคคลที่นักวิชาการต้องกล่าวอ้างในช่วงบุกเบิกวงการดนตรีสากลของเมืองไทยในยุคแรกๆ ก่อนที่ดนตรีไทยในสมัยหลวงประดิษฐ์ไพเราะจะถูกบีบให้แผ่วเบาจากความนิยมโดยมีการเมืองเข้ามาแทรก เพื่อนำสยามประเทศก้าวสู่ความเจริญตามประเทศแถบตะวันตก ตามนโยบายเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
ครูดนตรีสากลก้าวขึ้นมามีบทบาทในการนำศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในเมืองไทย เริ่มฝึกหัด เรียนรู้ พัฒนามุ่งสู่ความเจริญให้เทียบทันอารยะประเทศตะวันตก ครูดนตรีท่านนั้นได้แก่พระเจนดุริยางค์ซึ่งเป็นครูเชลโล่คนแรกของเมืองไทย
ชีวประวัติของพระเจนดุริยางค์
บิดาของข้าพเจ้าชื่อ Jacob Feit เป็นชาวอเมริกัน เชื่อชาติเยอรมัน มารดาของข้าพเจ้าเป็นไทย
บิดาเกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๔ (ค.ศ. ๑๘๔๔) ที่เมือง Trier ( Treves ) ในประเทศเยอรมนี แต่ถายหลังสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุประมาณ ๑๙ ปีแล้วครอบครัวได้อพยพจากประเทศเยอรมนีไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ในสหรัฐอเมริกา และในคราวสงครามกลางเมืองที่สหรัฐอเมริกาCivil War 1860 – 1864 สมัยที่ Abraham Lincoln เป็นประธานาธิบดีนั้นก็ได้เข้ารับราชการทหารฝ่ายเหนือในกองทัพสหรัฐอเมริกาผ่านศึกกลางเมืองด้วย
ในราวปี พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. ๑๘๖๗) เมื่อสิ้นสงครามแล้วท่านได้เข้ามายังประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยวคนหนึ่งตามวิสัยชายหนุ่ม เมื่อได้มาพักในกรุงเทพฯชั่วเวลาหนึ่งแล้วท่านก็ได้รับคำเชื้อเชิญจากกงสุลอเมริกา (หมอจุนดเล S. Chandler) โดยกระแสรับสั่งให้เข้ารับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของสมเด็จพระยัณฑูรกรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ (วังหน้า) เมื่อสิ้นสมัยดังกล่าวนี้แล้วได้ถูกย้ายมาประจำเป็นครุแตรวงทหารบกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตลอดจนมาถึงวันที่ท่านถึงแก่มรรณะกรรมลง คือเมื่อวันที่ ๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙) รวมอายุได้ ๖๕ ปีเศษ ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก
มารดาของข้าพเจ้าชื่อ ทองอยู่ วาทยะกร เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ และถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ รวมอายุได้ ๙๓ ปี (เป็นธิดานายปุ๊, นางเม้า เชื้อชาติรามัญบังคับไทย)
ข้าพเจ้าเกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแม เวลาย่ำรุ่ง ที่บ้านญาติของมารดาตำบลบ้านทวาย ใกล้หัวถนนเวลานี้ เมื่อข้าพเจ้ามารดาได้พามารวมอยู่กับบิดาที่แพ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งเหนือปากคลองหลอด
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ. ๑๘๙๐) ข้าพเจ้ารับการศึกษาวิชาสามัญที่โรวเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) ในชั้นต้นเข้าเรียนภาษาฝรั่งเศสจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ (ค.ศ. ๑๘๙๘)จบหลักสูตรในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๒ (ค.ศ. ๑๘๙๙) ได้เข้าศึกษาภาษอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) รวมเวลาที่ข้าพเจ้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนแห่งนี้ได้ ๑๑ ปี บริบูรณ์
ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ (ค.ศ. ๑๙๐๓) ข้าพเจ้าออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญโดยมีหนังสือรับรองของท่านอธิการบดีโรงเรียนนี้นำฝากเพื่อเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง แผนกกองเดินรถ (Traffic Department) และต่อมาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ (ค.ศ. ๑๙๑๓) รวมเวลารับราชการในการนี้ได้ ๑๔ ปี กับ ๘ เดือน
ต่อจากนั้นเป็นสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายข้าพเจ้าจากกรมรถไฟหลวงมารับราชการในกรม มโหรศพ ในวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗) ประจำตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดกรม กองเครื่องสายฝรั่งหลวง มีหน้าที่ฝึกฝนอบรมนักดนตรี ทางการปฏิบัติเครื่องดนตรีสำหรับวงดนตรีฝรั่งหลวงแห่งพระราชสำนัก ต่อจากนั้นมาอีกประมาณ ๑ เดือนเศษ ข้าพเจ้าก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น
“ หลวงเจนดุริยางค์ ” ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗)
วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๐) ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นปลัดกรม กองดนตรีฝรั่งหลวงและในวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๕ (ค.ศ. ๑๙๒๒) ก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น “ พระเจนดุริยางค์ “
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
คนไทยต้องรักกัน คนไทยไม่ทิ้งกัน
เมืองไทยได้ฉายาสยามเมืองยิ้มมานมนาน เพราะอะไร เพราะผู้คนชาวไทยเป็น...แต่วันนี้นิสัยคนไทยที่น่ารักมันหายไปไหน คนไทยต้องรักกัน รักประเทศชาติ คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อน ประเทศรอด ปวงชนชาวไทยทุกคนก็จะรอด
"หลวงพ่อประยุทธ์" คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ท่านบอกเมื่อวาน (๑๔ พ.ย.) ที่ฝั่งธนฯ นั่นไงล่ะว่า....... “วันนี้เราต้องเลิกขัดแย้งกัน เราต้องใช้เวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่า สิ่งที่ขัดแย้งกันอยู่เดิม ไม่ว่าจะหลายเรื่อง ทั้งการเมือง การเมืองท้องถิ่น จะต้องพูดคุยกันให้รู้เรื่องว่าจะอยู่กันอย่างไร คงไม่ได้ที่จะอยู่เขตใดเขตหนึ่ง หรืออยู่เขตเดียวไม่ได้ ทั้งประเทศ ๕๐ เขตต้องอยู่ด้วยกัน ๗๗ จังหวัดต้องอยู่ด้วยกัน..... เราต้องใช้เวลาที่อยู่ด้วยกันนี้รักกันให้มากๆ อย่าไปต่อว่า เพราะมีแต่จะทำให้เสียใจ ซึ่งเวลาผมลงพื้นที่แล้วมีใครมาต่อว่า ผมก็เสียใจ แล้วก็ไม่อยากช่วย ดังนั้น ต้องทำตัวให้น่ารัก นิสัยคนไทยต้องน่ารัก มันหายไปนานแล้ว ช่วยทำให้มันน่ารักเหมือนเดิม คนที่เขาเห็นเราทำตัวน่ารัก เขาก็อยากช่วย อยากให้รู้ว่าไม่มีใครอยากปล่อยน้ำมา ไม่มีใครอยากให้น้ำท่วม ผมเข้าใจความรู้สึกว่าเป็นอย่างไรที่ต้องสูญเสียบ้าน สูญเสียทรัพย์สิน แต่อย่าให้สูญเสียความเป็นคน ความเป็นมนุษย์ที่มีน้ำจิตน้ำใจที่เป็นนิสัยคนไทย”
นี่แหละ...ท่าน ผบ.ทบ. ท่าน "จริงใจพูด" ได้ชัดเจน ใช้ "สติ" กันให้มากกว่า "ความรู้สึก" นะครับ แล้วความเป็นมนุษย์ที่มีน้ำจิตน้ำใจเป็นนิสัยคนไทยจะคืนมาเอง เพราะแท้จริงแล้ว "น้ำจิต-น้ำใจ" อันเป็นคุณสมบัติคนไทยนั้น ไม่ได้หายไปไหน มีอยู่ในสายเลือดไทยทุกคน หากแต่ยาม "ขาดสติ" ความเป็นมนุษย์ คือความเป็นผู้มีใจฝึกแล้วจึงประเสริฐหายไป น้ำจิต-น้ำใจที่เป็นนิสัยไทยจึงถูกน้ำแห่งโมหะท่วมหายไปชั่วขณะ!
นี่แหละ...ท่าน ผบ.ทบ. ท่าน "จริงใจพูด" ได้ชัดเจน ใช้ "สติ" กันให้มากกว่า "ความรู้สึก" นะครับ แล้วความเป็นมนุษย์ที่มีน้ำจิตน้ำใจเป็นนิสัยคนไทยจะคืนมาเอง เพราะแท้จริงแล้ว "น้ำจิต-น้ำใจ" อันเป็นคุณสมบัติคนไทยนั้น ไม่ได้หายไปไหน มีอยู่ในสายเลือดไทยทุกคน หากแต่ยาม "ขาดสติ" ความเป็นมนุษย์ คือความเป็นผู้มีใจฝึกแล้วจึงประเสริฐหายไป น้ำจิต-น้ำใจที่เป็นนิสัยไทยจึงถูกน้ำแห่งโมหะท่วมหายไปชั่วขณะ!
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ยุคสมัยดนตรีตะวันตก วิชาศิลปพื้นฐาน(ดนตรี)
ยุคเรอเนสซองส์
Renaissance (1450-1600)
สไตล์ หรือท่วงที ลีลา รูปแบบและลักษณะของดนตรีแบบฉบับในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 450 ถึง 1450 หรือที่ทราบกันในนามของ Medieval Period หรือยุคกลางของยุดรปซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง 1,000 ปีนั้น ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างเชื่องช้ามาก เนื่องจากการคมนาคมและการสื่อสารในจุดนั้นยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือกว่าที่ใครจะผุดแนวคดใหม่ทางดนตรีขึ้นมา และส่งผลกระทบถึงสังคมซึ่งใช้เวลานานมาก ดนตรีของสังคมหนึ่งๆจึงคงลักษณะเฉพาะของตัวเองไว้ได้นาน
ลักษณะของดนตรีในยุคโมดิเอวัลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นๆ สรุปได้ว่าเป็น 2 จำพวก คือ เพลงสวดในโบสถ์ ซึ่งเริ่มต้นจากทำนองเดียวโดดๆ แล้วขยายเป็น 2 ทำนอง 3 ทำนอง โดยแปรเปลี่ยนทิศทางของท่วงทำนองไปตามสมควร เพลงพวกนี้คือจำพวก Organum อย่างหนึ่ง และเพลงของฆราวาสหรือประชาชนธรรมดาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งภายหลังมากลายเป็นบทเพลงหลายทำนองอย่างแท้จริง โดยมีคีตกวีสำคัญสองท่านจากค่ายดนตรี Notre Dame คือ Perotin และ Leonin เป็นหลัก จากนั้นแนวคิดเรื่องบทเพลงหลายทำนองก็ค่อยๆแผ่ขยายกว้างขวางออกไป
สไตล์ของดนตรีในช่วงต่อมามีความเปลี่ยนแปลงไปจากยุคเมดิเอวัลคือยุรเรอเนส์ซองซ์ (Renaissance) ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 150 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1450-1600 อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้เป็นเพียงการหมายรู้ในทางวิชาการเท่านั้น หาใช่จุดแบ่งอันชัดเจนเหมือนรั้วหรือความแตกต่างระหว่างขาวกับดำไม่ แท้จริงแล้วยังมีบริเวณคาบเยวระหว่างดนตรีลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่งอยู่ด้วย เปรียบเสมือนรอยต่อสีเทาระหว่างขาวแล้วค่อยๆกลายไปเป็นดำฉะนั้น
ดนตรีในยุคเรอเนซองส์ระหว่าง ค.ศ. 1450-1600 นี้ ก็ยังคงจำแนกออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดิมคือ บทเพลงทางศาสนา (Sacred Music) และบทเพลงของฆราวาส (Secular Music) คำว่า Renaissance มีความเช่นเดียวกับคำว่า Rebirth หรือ “การเกิดใหม่” ซึ่งหมายถึงการมีแนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การค้นพบสิ่งใหม่ๆเป็นจุดแห่งการสำรวจ การค้นคว้า ทั่งทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งมีผลมาจากทางการเมืองการปกครองและสังคม เริ่มต้นจากการเดินทางสำรวจดินแดนของท่านคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (1492) การเดินทางของวาสโก ดา กามา (1498) และเฟอร์ดินาน แมกเจนแลนท์ (1519-1522)
เรอเนสซองส์เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัย และมีคำถามแง่มุมต่างๆมากมาย พูดง่ายๆว่าเป็นยุคที่ผู้คนรู้จักใช้ความคิดมากการการเชื่อตาม จึงก่อให้เกิดลัทธิตัวใครตัวมัน (Individualism) ขึ้นมา ศิลปกรต่างๆรวมทั้งดนตรีจึงมีความหลากหลายมากว่าแต่ก่อน
แนวความคิดที่เป็นแกนนำของสังคมสมัยนั้นคือ แนวคิดที่เรียกว่า “Humanism/มนุษยนิยม” ซึ่งเพ่งเล็งถึงความสำคัญและการสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นหลัก “นักมนุษยนิยม” ไม่สนใจแม้กระทั่งนรกหรือสวรรค์วิมานอะไรทั้งสิ้น พวกนี้ไม่แคร์คำสอนของคริสเตียน แต่ใช้วัฒนธรรมแบบกรีกและโรมันโบราณ ทำให้ผู้เคร่งศาสนามองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นพวกนอกศาสนาหรือเป็นพวกโบราณนิยม ซึ่งแนวคิดของนักมนุษยนิยมนี้มีผลอย่างยิ่งของศิลปกรรมยุโรป
ภาพเขียนก็ดี ภาพปั้นก็ดี จะแสดงสัดส่วนอันงดงามของเรือนกายมนุษย์โดยไม่มีผ้าผ่อนท่อนสไบมาปิดบัง ดังนั้น “มาดอนน่า” จึงไม่ใช่เด็กไร้เดียงสาอีกต่อไป แต่เป็นการแสดงออกถึง “ความงามของเด็กสาว”
ในช่วงนี้โบสถ์คริสต์และนักบวชทั้งหลายเสื่อมอำนาจลง หลังจากได้เช่นฆ่าสตรีที่เข้าใจว่าเป็น “แม่มด” เสียนับไม่ถ้วน ความเสื่อมอำนาจของคาธอลิคเห็นเด่นชัดด้วยกำเนิดของนิกายโปรแตสเต็นท์ที่นำโดย Martin Luther (1483-1546) ดนตรีในยุคเรเนสซองศ์รุ่งเรืองขึ้นเช่นเดียวกับศิลปะอื่นๆ เนื่องจากมีการประดิษฐกรรมด้านการพิมพ์เกิดขึ้นจึงสามารถพิมพ์โน้ตเพลงได้ ทำให้ดนตรีแบบใหม่ๆแพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็ว มีคีตกวีและนักดนตรีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย
11-11-11 Good Day
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ดนตรีพื้นฐาน 4
ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
1. รหัสวิชา ศ. 32219
2. รายวิชา ดนตรีพื้นฐาน 4
3. จำนวนหน่วยการเรียน 1.0 หน่วยการเรียน
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดนตรี – นาฎศิลป์
5. สถานศึกษา โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
6. ภาคการศึกษา ภาคเรียนที่ 2
7. ปีการศึกษา 2554
8. ชื่อผู้สอน อาจารย์ยงยุทธ เอี่ยมสอาด
9. เงื่อนไขรายวิชา นักเรียนแผนการเรียนดุริยางคศิลป์
10. ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/3
11. ชื่อหลักสูตร หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร
(ฝ่ายมัธยม)
12. จำนวนคาบที่สอน 2 คาบต่อสัปดาห์
13. จุดประสงค์ของรายวิชา
1. มีความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีและโสตทักษะการฟังและนำไปใช้ในเชิงบูรณาการ
2. ศึกษาบันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์ การย้ายทำนองเพลง
14. กระบวนการเรียนการสอน
สัปดาห์ที่/คาบที่
|
สาระการเรียนรู้
(เนื้อหา)
|
กิจกรรมการเรียนการสอน
|
วิธีการวัดผล/
ประเมินผลระหว่างเรียน
|
1
|
บทเริ่มต้น แนะนำการเรียนการสอนข้อพึงปฏิบัติ ทดสอบความรู้ก่อนเรียน
|
อภิปราย อธิบาย คำถาม
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
2
|
เครื่องหมายกำหนดจังหวะแบบสามพยางค์
|
ทำแบบทดสอบ พูดคุย
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
3
|
กลุ่มตัวโน้ตที่ไม่ธรรมดา
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
4
|
ระดับเสียงพิเศษ
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
5
|
เครื่องหมายตัวจรพิเศษ
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
6
|
บันไดเสียงเมเจอร์
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
7
|
บันไดเสียงเมเจอร์
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
8
|
สอบกลางภาคเรียนที่ 1 นอกตารางสอบ
|
แบบทดสอบกลางภาคเรียน
|
ตรวจข้อสอบ
|
9
|
บันไดเสียงไมเนอร์
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
10
|
บันไดเสียงไมเนอร์
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
11
|
หลักการหาคีย์ของทำนองเพลง
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
12
|
ขั้นคู่เสียงอ๊อกเมนเต็ดและดิมินิชท์ ขั้นคู่เสียงผสม
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
13
|
การย้ายทำนองเพลง
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
14
|
ตรัยแอ็ด การประดับประดา
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
15
|
ค้นคว้าข้อมูล ทบทวนการเรียนการสอน
|
อธิบาย แบบฝึกหัด ใบงาน
|
สังเกต ซักถาม ตรวจการบ้าน
|
16
|
สอบปลายภาคเรียนที่ 1 นอกตารางสอบ
|
แบบทดสอบปลายภาคเรียน
|
ตรวจข้อสอบ
|
15. การวัดและประเมินผลการเรียน
- คะแนนจุดประสงค์ระหว่างเรียน 20 คะแนน
- คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน
- คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน
- คะแนนอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 20 คะแนน (ฝ่ายวิชาการกำหนด)
- คะแนนจิตพิสัย 10 คะแนน
- เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินผลการเรียน
ใช้เกณฑ์มาตรฐานเปรียบเทียบคะแนนตัดสินเป็นระดับผลการเรียนดังนี้
คะแนน
|
ระดับผลการเรียน
|
80 – 100
|
4
|
75 – 80
|
3.5
|
71 – 74
|
3
|
65 - 70
|
2.5
|
60 – 64
|
2
|
55 – 59
|
1.5
|
50 – 54
|
1
|
0 – 49
|
0
|
- หัวข้อในการประเมินจิตพิสัย
1. การเข้าเรียนตรงต่อเวลา
2. กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนและ อื่นๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)