โครงสร้างเทตร้าคอร์ดพื้นฐาน
4
ชนิดที่ใช้ในการสร้างบันไดเสียง
บันไดเสียงที่ใช้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรีมีหลายรูปแบบแตกต่างตามโครงสร้างของบันไดเสียงนั้น
ๆ เดลามอนท์ (Delamont,
1976, 17) ได้กล่าวถึงโครงสร้างของบันไดเสียงว่าโครงสร้างของบันไดเสียงที่แตกต่างกันล้วนสร้างขึ้นมาจากการนำเตตร้าคอร์ดพื้นฐาน
(Basic tetrachord) 4
ชนิดมาเรียงต่อกันโดยให้ช่วงที่ต่อห่างกัน 1
เสียงเต็มเตตร้าคอร์ดพื้นฐานทั้ง 4
ชนิดมีแบบแผนการจัดระยะห่างของเสียงแตกต่างกันดังนี้
3. 1
เมเจอร์เทตร้าคอร์ด (Major tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่ 1-2 และขั้นที่ 2-3 มีระยะห่าง 1
เสียงเต็มส่วนขั้นที่ 3-4 มีระยะห่างครึ่งเสียง
C D E F
ภาพที่
1 แสดงแบบแผนเมเจอร์เตตร้าคอร์ด
3.
2 ไมเนอร์เทตร้าคอร์ด (Minor tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่
1-2 และขั้นที่ 3-4 มีระยะห่าง 1 เสียงเต็มส่วนขั้นที่ 2-3
มีระยะห่างครึ่งเสียงดังนี้ เทตร้าดอร์ด (Tetrachord) หมายถึงโน้ต
4 เสียงเรียงตามลำดับโน้ตตัวแรกห่างจากโน้ตตัวสุดท้ายขั้นค่ 4 เพอเฟ็คโน้ตที่อยู่ภายในขั้นคู่ 4
เพอเฟ็คมีระยะห่างที่แตกต่างกันตามชนิดของเทตร้าคอร์ดนั้น ๆ
เทตร้าคอร์ดที่ใช้เป็นหลักในการสร้างบันไดเสียงมี 4
ชนิดเรียกว่าเตตร้าคอร์ดพื้นฐาน (Basic tetrachord)
C D Eb F
ภาพที่
2
แสดงแบบแผนไมเนอร์เตตร้าคอร์ด
3. 3
ฟรีเจียนเทตร้าคอร์ด (Phrygian tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่
2-3 และขั้นที่ 3-4 มีระยะห่าง 1 เสียงเต็มส่วนขั้นที่ 1-2
มีระยะห่างครึ่งเสียงดังนี้
C Db Eb F
ภาพที่ 3
แสดงแบบแผนฟรีเจียนเทตร้าคอร์ด
3. 4
ฮาร์โมนิคเทตร้าคอร์ด (Harmonic tetrachord) มีการจัดแบบแผนให้โน้ตขั้นที่
1-2 และขั้นที่ 3-4
มีระยะห่างครึ่งเสียงส่วนขั้นที่ 2-3 มีระยะห่าง 1 เสียงครึ่งหรือ 3 ครึ่งเสียงดังนี้
C Db E F
ภาพที่
4
แสดงแบบแผนฮาร์โมนิคเทตร้าคอร์ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น